ชีวิตที่พอเพียง : 3. คุยกับลูก


มีทั้งคุยด้วยวาจา และ "คุยแบบไม่มีเสียง"

ชีวิตที่พอเพียง : 3. คุยกับลูก

  • ผมมีลูกถึง ๔ คน (แม่เดียว)   โชคดีที่แม่ยายมาช่วยเลี้ยง   และพี่ภรรยาช่วยอุปถัมภ์ทางอ้อมหลายด้าน
  • วันหนึ่งลูกคนเล็กอายุประมาณ ๘ ขวบ (เวลานี้ ๒๖) มาบอกว่า   ไปเล่นกับเพื่อนที่บ้านหนึ่ง   เขามีห้องคนละห้อง   มีโน่นมีนี่   ห้องก็ติดแอร์   สบายมาก   ลูกถามทางอ้อมว่าทำไมบ้านเราไม่มี   ผมบอกลูกว่า แม้บ้านเราทั้งพ่อและแม่เป็นหมอเหมือนเขา    แต่เราไม่ได้เปิดคลินิค   พ่อแม่มีแต่เงินเดือน   ไม่มีเงินมากพอที่จะมีสิ่งเหล่านั้นได้   เราต้องประหยัด   ถึงเวลานี้ผมต้องขอบคุณลูกทุกคน ที่ไม่มีใครบ่นในสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องประหยัด
  • การใช้ชีวิตแบบประหยัดของพ่อแม่ (คือภรรยาและผม) ทำให้ลูกๆ เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ   ขยันเรียนทุกคน   ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข   เป็นต้นทุนชีวิตแบบหนึ่งของลูกๆ ที่พ่อแม่สร้างไว้ให้ลูก   เป็นการสร้างแบบปลูกฝัง    คือให้งอกงามได้เอง    พ่อแม่เพียงเพาะเมล็ดไว้    
  • การคุยกับลูก มีทั้งแบบคุยด้วยวาจา   และ “คุยแบบไม่คุย” คือไม่ต้องใช้วาจา    แต่ปฏิบัติให้ดู ให้ซึมซับในชีวิตประจำวัน จนเป็นนิสัยไปเอง   ครอบครัวผม จึงมีนิสัยร่วมกัน ในการมีชีวิตแบบพอเพียง 
  • ผมโชคดีที่ลูกๆ ไม่มีใครบ้าสินค้าแบรนด์เนมเลย   ทุกคนนิยมซื้อสินค้าไทย ราคาถูก คุณภาพพอสมควร (แบบพ่อแม่) 
  • ลูกคนหนึ่งไปไกลถึงขนาดเกษียนงานบริษัทต่างประเทศที่ให้เงินเดือนงาม เมื่ออายุ ๒๙ ปี    เพื่อกลับมาทำงานมูลนิธิช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลน (ดูรายละเอียดที่ www.geocities.com/poonpalang)   คงจะมีผลจากการ “คุยแบบไม่คุย” เรื่องชีวิตที่พอเพียงอยู่บ้าง  
  • อีกคนหนึ่ง ฝักใฝ่ทางธรรม กำลังเรียนการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบทิเบตอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ  ดูรายละเอียดได้ที่ www.naropa.net และ  http://vichak.blogspot.com/
  • อีก ๒ คนขยันหาเงิน   แต่ก็เป็นคนมีนิสัยประหยัด 
  • เขียนจบ รู้สึกว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อหัวข้อเป็น “คุยเรื่องลูก” มากกว่า 


วิจารณ์ พานิช
๑๔ เมย. ๔๙
ปรับปรุง ๑๗ เมย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 24069เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2006 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
กราบขอบคุณอาจารย์ที่นำเรื่องนี้มาเล่าค่ะ เพราะตนเองก็ยึดหลักคล้ายๆแบบนี้ แต่มีความรู้สึกไม่มั่นใจในวิธีการที่ทำอยู่ (ไม่ถึงกับอย่างนั้น แต่เป็นว่า ไม่ค่อยกล้าเล่าความคิดตัวเองเท่าไหร่มากกว่า)  พอได้ทราบว่าด้วยวิธีที่อาจารย์เล่า ทำให้ได้คนคุณภาพแก่สังคมได้ถึง 4 ท่านเช่นนี้ มั่นใจว่าจะยึดถือเป็นแนวทางเพื่อสร้างคนคุณภาพให้ได้อีก 3 คนค่ะ
ขอโฆษณาลูกอีกหน่อยนะครับ เขามี บล็อกด้วย ที่ gotoknow.org/poonpalang และhttp://muthita.exteen.com/

Thanks for a simple yet touching story ka. I'm very happy for you na ka, Ajarn Mor+ Vicharn. I do think that you've also served as an excellent model for our academic community, not only in terms of 'feeling sufficient' with life....but also time devoted to family even though you've had so many demanding work challenges ka.

Our ajarns tend to work so hard that they don't have enough time and attention for their own families and selves.....the most important foundation of our society ngai ka.

Cheers.

Ptk

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท