ประเด็นการพัฒนาความรู้ของที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร


การสลายการชุมนุมประท้วง

    การสลายการชุมนุมประท้วง

      เมื่อครั่งที่ผมปฏิบัติหน้าที่ ประจำที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร (ฝ่ายปกครอง) ในตำแหน่งพนักงานปกครอง 5 (ผู้ช่วยจ่าจังหวัด) มีการชุมนุมประท้วงและปิดถนยนสายเอเชีย หมายเลข 41บริเวณสี่แยกทุ่งสววค์ (ทางเข้าตัวอำเภอละแม) เรียกร้องให้ทางราชการ รับผิดชอบเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจอำเภอละแมยิงคนตาย  แล้วนำศพไปทิ้งในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ประชุมประท้วงประมาณ 100 คน มีการนำรถยนตืโลงศพปิดถนนไว้ ทำให้ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ รถติดเป็นแนวยาวประมาณสิบกิโลเมตร ทำให้ประชาชนที่เดินทางโดยใช้ถนนดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน

      จังหวัดชุมพร โดยที่ทำการป้องกันจังหวัด ได้รับวิทยุรายงานแล้ว นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทราบและดำเนินการแก้ไขปัญหา ขณะเวลาประมาณ 17.00 น.ผมเลิกงานพอดี กำลังจะกลับที่พักได้พบท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ซึ่งกำลังเดินทางไปยังที่ที่มีเหตุการณ์ประท้วง ท่านออกปากชวนผมไปด้วย ระหว่างทางที่นั่งรถไป ท่านรองผู้ว่าฯได้สอบถามความเป็นมาของเรื่องที่ประชาชนชุมนุมประท้วงกัน ผมนั้นไม่รู้รายละเอียดเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากไม่ได้เป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบ ทราบเพียงว่าก่อนหน้านี้มีชาวบ้านที่บ้านเขาหลาง อำเภอละแม ถูกยิงตายแล้วพบศพที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาญาติผูตายกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ของสภ.อ.ละแมเป็นผู้พาไปยิง

       ท่านรองผู้ว่าฯทราบว่าผมเคยปฏิบัติหน้าที่ในกองร้อย อส.ร่วมดำเนินการทุกครั้ง จึงขอให้เสนอความเห็นว่าควรจะทำอย่างไรกับการชุมนุมและปิดถนนครั่งนี้ผมได้เสนอข้อคิดเห็นซึ่งนำมาจากประสบการณ์ในการทำงานในเรื่องดังกล่าว คือ

   1.ซักซ่อมก่อนปฏิบัติการ แต่บางครั้งหากเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่สามารถซักว้อมล่วงหน้ได้ ก็ใช้วิธีมอบหมายหน้าที่กันระหว่างเดินทาง(ในรถ)

   2. ให้เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้าไปรวมตัวกับผู้ประท้วงเพื่อหาข่าว และศึกษาข้อมูลในรายละเอียดว่าใครเป้นแกนนำ ผู้ชุมนุมต้องการอะไรและมีข้อเสนออย่างไร

     3. ใช้นกหวีดเป็นตัวช่วยในการทำงาน เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และสร้างความสับสนให้แก่ผู้ชุมนุม

      4. การสั่งการต้องมีความรัดกุม และต้องเตรียมวิธีดำเนินการอย่างน้อย 2-3 วิธี เวลาในการปฏิบัติต้องจำกัดแรวดเร็ว

       5. ใช้สถานการณ์เป็นเครื่องมือในการสลายการชุมนุม

     ในระหว่างเดินทาง ผมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการสลายการชุมนุมประท้วง ให้ท่านรองผู้ว่าฯเป็ฯแนวคิดในการดำเนินการ เช่น เรื่องที่ชาวสวนกาแฟประท้วงต่อรองราคากาแฟ บริเวณที่หน้าศาลากลางจังหวัดชุมพรในขณะที่ผู้ชุมนุมรอพรรพวกจากอำเภอต่าง ๆเป็นเวลาเลิกงานพอดีผมได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการใด ๆ แต่ผมบอกกับสมาชิก อส.ว่าที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในขณะนั้นว่า ให้อำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการที่กำลังจะเดินทางออกจากศาลากลางเพื่อกลับที่พักด้วย เพราะมีรถยนต์ของผู้ชุมนุมจอดกรีดขวางทางเข้า - ออกอยู่ สมาชิก อส.ก็ใช้อุปกรณืประจำตัว ก็คือ นกหวีด เพื่อเป็นสัญญาณบริการรถเข้าออกซึ่งมีทั้งรถของข้าราชการและประชาชนที่มารอฟังข่าวการชุมนุมอยู่  เมื่อรถคันแรกขยับออกไปคันต่อ ๆ มาก็เริ่มทยอยกันออกไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเหตุผล ตัวแทนที่ปราศรัยอยู่บนเวทีได้พยายามประกาศให้อยู่ต่อ  เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้  ผู้บังคับบัญชาของผมขณะนั้นคือ  นายมนัส  เพ็งสุทธิ์  ผู้บังคับกองร้อย  อส.ฯ  ได้ใช้สถานการณ์นี้เป็นโอกาสในการสลายการชุมนุม  โดยสั่งการให้สมาชิก  อส. ที่รักษาความปลอดภัยในบริเวณศาลากลางจังหวัดทั้งหมด  ออกมาปฏิบัติการโดยใช้นกหวีดที่ติดตัวอยู่เป่าให้สัญญาณอำนวยความสะดวก  (ซึ่งมีทั้งรถของข้าราชการและชาวบ้าน)  เสียงดังไปทั่วบริเวณ  ปรากฎว่าสามารถทำให้รถยนต์ในศาลากลางจังหวัด  ออกไปจากบริเวณหน้าศาลากลางได้  รวมทั้งเมื่อผู้มาชุมนุมสมทบเห็นรถยนต์ทยอยกันออกไป  เข้าใจว่าการชุมนุมสิ้นสุดลงแล้ว  ก็ไม่เข้าไปสู่บริเวณที่ชุมนุม บางคนก็ขับรถกลับไปเลยผู้ปราศรัยบนเวทีแม้จะพูดด้วยเครื่องขยายเสียง  แต่ถูกกลบด้วยเสียงนกหวีด  และรถยนต์แต่ละคันปิดกระจกติดแอร์  ไม่สามารถได้ยินเสียงผู้ปราศรัยได้การสลายการชุมนุมในครั้งนั้นสำเร็จลง  โดยการหยิบฉวยโอกาส  ใช้สถานการณืเวลาเลิกงานเป็นเครื่องมือในการทำงาน

      อีกครั้งหนึ่ง  เมื่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนายกนก  ยสาระวรรณ  ได้เรียกผมเข้าไปพบ  แล้วสั่งการให้เตรียมกำลังสมทบ  กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร  ตำรวจตระเวณชายแดน  และทหารจากจังหวัดทหารบกชุมพร  เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ  ของเทศบาลเมืองชุมพร  ในการจัดระเบียบทางจราจรให้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ของแม่ค้าตลาดท่าน้ำ ที่วางขายบริเวณริมถนนปรมินทรมรรคา  ตำบลท่าตะเภา  อำเภอเมืองชุมพร  ไปรวมกันไว้ที่  สภ.อ.เมืองชุมพร  บรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายรู้ข่าวก็รวมตัวกันชุมนุมประท้วง  โดยมีสมาชิกสภาจังหวัดชุมพรในสมัยนั้นเป็นแกนนำ  ผมได้รับมอบหมายจาก  ผบ.ร้อย  อส.จ. ชุมพร  (นายมนัส  เพ็งสุทธิ์)  ให้หาข่าวจำนวนผู้ชุมนุมปรากฎว่ามีประมาณ  50  คน  ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่มีจำนวน  80  คน  ผมได้รับคำสั่งให้นำสมาชิก  อส. 5 นาย  ทำหน้าที่พิเศษ  คือต้องเข้าไปนำพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงและราชินี   กับธงชาติไทย  ออกมาให้ได้โดยมิให้เกิดการเสียหาย  ผมจะเป็นผ้ให้สัญญาณ  ส่วนกำลังอื่น  ๆ  คือเจ้าที่เทศบาลตำรวจ  ทหาร  ให้ช่วยกันขนอุปกรณ์ของพ่อค้าแม่ค้าที่วางกีดขวางทางจราจรออกให้หมด  เมื่อถึงเวลาปฏิบัติการ  ผมเป่านกหวีดให้สัญญาณ ทุกคนลงมือทำหน้าที่ของตนเอง  โดยไม่มีการเจรจาต่อรองเนื่องจากได้รับคำสั่งจากท่านผู้ว่าฯ  ว่าให้สลายการชุมนุมให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว  บรรดาพ่อค้าแม่ค้าไม่ทันรู้ตัว  เมื่อถูกจู่โจมก็ใช้อาวุธในมือ เช่น ไม้คาน กระจาด กระป๋อง ฟาดกันนัวเนีย  ทางด้านเจ้าหน้าที่ไม่มีอาวุธอะไร  ใช้มือเปล่าเพื่อขนย้ายอุปกรณ์ของแม่ค้าขึ้นรถที่จอดรออยู่แล้วอย่างเดียว  กฏโดนกันไปคนละทีสองที ผมเองโดยไม้คานแม่ค้าไป 2 ที  (ยังจำหน้าได้อยู่ว่าเป็นแม่ค้าคนไหน  บังเอิญว่าสินค้าที่เขายายผมไม่ทาน  เลยไม่ได้ไปอุดหนุน ) สุดท้ายก็สามารถสลายการชุมนุมได้สำเร็จ  ต่อมาทางเทศบาลได้จัดสถานที่ให้พ่อแม่ค้าเหล่านั้น  ขายกันในตลาดสดเทศบาล  (ใกล้สถานีขนส่ง)  ซึ่งเป็ฯตลาดสดที่มีผู้ซื้อขายกันจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน

     สำหรับการชุมนุมของชาวบ้านครั้งนี้  ผมเสนอแนวทางว่า  จะต้องรู้จำนวนของผู้ชุมนุมที่แท้จริงว่ามีจำนวนเท่าไร  ตามรายงานจำนวน 100  คนนั้น อาจรวมผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง  หรือผ้ที่ขับรถมาติดค้างเนื่องจากการชุมนุมอยู่ก็ได้ สำหรับกำลังเจ้าหน้าที่มีตำรวจในท้องที่อำเภอละแม และสมาชิก อส.จ.มีทางป้องกันจังหวัดมาสมทบอีก รวมจำนวนเกือบ 100 นายเช่นกัน ท่านรองผู้ว่าฯ สั่งการให้ประสานหารือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ ให้ดำเนินการให้เสร็จโดยเร้วเนื่องจากยิ่งนาน แระชาชนที่เดินทางโดยใช้เส้นทางนี้จะได้รับความเดือดร้อน

       เมื่อถึงสี่แยกทุ่งสววค์ก็เป้นที่น่าตกใจมาก เพราะมีจักรยายนต์จอดรออยู่จำนวนมากโดยฉพาะรถที่ขึ้นมาจากใต้ มุ่งหน้าไปกรุงเทพฯ ตรงกลางมีโลงศพตั้งวางอยู่บนโต๊ะประชากรที่ยืนชุมนุมอยู่รวมกัน 100 คน โดยประมาณ เมือ่ไปถึงนายอำเภอละแมและสว.สภอ.ละแม รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่านรองผู้ว่าฯๆด้ขอเชิญนายอำเภอ สว.สภอ.ละแม และเจ้าหน้าที่ ตำรวจจำนวนหนึ่ง หารือเพื่อจะดำเนินการแก้ไขปัยหา ผมเสนอว่าผู้ที่ชุมนุมประท้วงจริง ๆในบริเวณนี้มีไม่มาก ถ้าไม่รวมคนมาดุการชุมนุมส เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนรถไปได้ ดังนั้นจึงต้องแยกเอาผู่ดูและผู้ที่อยู่ในสภาพจำยอม ออกจากบริเวณเสียก่อนเพื่อให้ทราบจำนวนผู้ชุมนุมที่แท้จริงเปรียบเทียบระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ว่ามีสัดส่วนเท่าในถ้ากำลังฝ่ายเจ้าหน้าที่มีมากกว่าหรือเท่า ๆกันก็จะสามรถดำเนินการได้ง่ายโดยจะใช้วิการแบบจู่ดจมอาจมีบาดเจ็บบ้าง ต้องระมัดระวังกันเอาเองถึงอบ่างไรพวกเจ้าหน้าที่ก้มีเครื่องแบบ เป็นทุนของแผ่นดินอยู่แล้ว หน้าที่ก้เป้นตัวช่วย ถ้าประชาชนจะทะอะไรก้ต้องคิดว่าถุกหรือผิดในการที่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงาน ผมได้หาข่าวจากฝ่ายผู้ชุมนุมแล้ว ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดตัดสินใจดำเนินการทันทีผมถือโอกาสแบ่งหน้าที่กันทำงน โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและสมาชิก อส.ชุดหนึ่ง มีหน้าที่นำหีบศพออกจากบริเวณถนน อีกชุดหนึ่งให้แจ้งรถยนตืทุกคันที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเตรียมเคลื่อนตัวออกทีนทีเมื่อได้รับสัญญาณ ส่วนผมขอสนับสนุนรถดับเพลิงพร้อมด้วยเครื่องขยายเสียง เพื่อเจรจาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1ชุด เพื่อรักษาความปลอดภัยเมื่อทุกฝ่ายพร้อม ผมได้ประกาศให้ประชาชน ผู้ไม่เกี่ยวข้องกบการชุมนุมออกจากบริเวณที่มีการชุมนุมโดยเร็วที่สุด ในขณะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและสมาชิกที่ไม่เกี่ยวข้องออก ใช้เวลานี้ไม่เกิน 5 นที สามารถแยกคนออกไปได้ คงเหลือผู้ชุมนุมประท้วงจริง ไ เพียง 50 คคน จากนั้นผมให้สัญญาณกับชุดปฏิบัติการอีก 2ชุด คือชุดที่นำหีบศพออกจากบริเวณที่จอดอญุ่เดินทางได้ทุกอย่างดำเนินการไปตามแผนที่วางไว้อย่างรวดเร็ว ผู้ประท้วงไม่ทันตั้งตัว มีการประทะกันเล็กน้อยไม้มีการสูญเสียชีวิตและทรัพยืสวินต่อมาเป็นขั้นตอนการเจรจาต่อรองโดยท่านรองผู้ว่าฯ รับปากจะจะดำเนินการให้ความเป้นะรรมทั้งสองฝ่ายผู้ชุมนุมก็สลายตัวกันไปส่วนผมเองก็แอบ ๆอยู่ห่าง ๆปะปนกับเจ้าหน้าที่แล้วรีบขึ้นรถกลับบ้านพักทันที 

 

  

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2406เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2005 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท