การดำเนินงานห้องสมุด และเป็นบรรณารักษ์ในระดับสากล !!!!


การปฏิบัติการของบรรณารักษ์ไม่น่ามีปัญหาในการเป็นบรรณารักษ์ระดับสากล แต่งบประมาณในการซื้อโปรแกรมห้องสมุดมาใช้ซิน่าจะยากมากกว่า

          ในสาขาอาชีพด้านบรรณารักษ์ ในสายตาของคนทั่วไป งานห้องสมุดคือการจัดหนังสือขึ้นชั้น เฝ้าห้องสมุด และทำหน้าตาเป็นยักษ์คอยจ้องจับผิดผู้ใช้บริการที่ทำเสียงดัง และแอบกินขนมในห้องสมุด ภาพลักษณ์และภาพพจน์โดยธรรมชาติของงานถูกสร้างมาให้เป็นแบบนั้น งานเบื้องหน้าคืองานบริการ แต่งานเบื้องหลังคืองานเทคนิคซึ่งคนส่วนใหญ่จะมองเห็นเพียงงานเบื้องหน้า นั่นคือการคอยให้คำแนะนำการใช้ห้องสมุด งานบริการช่วยค้นคว้า งานยืม-คืน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าบรรณารักษ์คนหนึ่งนั้นสามารถที่จะทำทุกอย่างเกี่ยวกับ “หนังสือ” ได้ตั้งแต่การผลิตกระดาษจนกระทั่งจัดเก็บ แน่นอน... วิชาเอกบรรณารักษ์ นักศึกษาสาขานี้ต้องเรียนรู้เรื่องบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น ความเป็นมาของห้องสมุด ความเป็นมาของกระดาษและตัวอักษร ขั้นตอนการผลิตตัวอักษร และในลำดับต่อมาก็ต้องเรียนถึงการผลิตหนังสือ เรียนการซ่อมหนังสือ เรียนการจัดหมวดหมู่หนังสือ จนถึงการจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบที่ “ใช้พื้นที่น้อยที่สุด ได้สารนิเทศครบถ้วนมากที่สุด” เรียนเกี่ยวกับวารสารและหนังสือพิมพ์, การจัดทำหนังสือ การผลิตหุ่นและละครสำหรับเด็ก, การจัดทำบรรณานุกรม ดรรชนี และสารสังเขป เรียนรู้ไปจนถึงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดประเภทต่างๆ ทั้งห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเฉพาะ ซึ่งถึงแม้จะเน้นเรื่องบรรณารักษ์ แต่นักศึกษาสาขานี้ก็ต้องเรียนเกี่ยวกับวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอีกครึ่งหนึ่งเป็นไฟท์บังคับตามหลักสูตรเต็มคือ “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” ซึ่งหมายถึง บรรณรักษ์ต้องรู้จักและใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศในงานห้องสมุดได้

           และในระดับสูงถึงปริญญาโทที่เปิดสอนทั้งบรรณารักษศาสตร์ (Library Science),บรรณารักษ -ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (Library and Information Science) , สารสนเทศศาสตร์ศึกษา (Information studies) นักศึกษาสาขานี้ก็จะต้องเรียนเกี่ยวกับ สารสนเทศศาสตร์ (Information Science) การบริหารงานห้องสมุด (Library Management) การวางระบบห้องสมุด (Library System) ระบบเครือข่ายในงานห้องสมุด (Library Networking) การดำเนินงานห้องสมุดด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบบูรณาการ (Computerized Integrated Systems for library Management) เป็นต้น และถึงระดับปริญญาเอก คนที่เรียนในสาขานี้ต้องรอบรู้ถึงการการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล ค้นคว้าวิจัย และพัฒนางานในสาขาให้ก้าวหน้า และเป็นโชคดีที่ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือทั่วโลกใช้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบ DC / LC / NLM หรือ ระบบอื่นๆ เฉพาะทาง ดังนั้น ไม่ว่าจะเรียนจบบรรณารักษ์จากสถาบันใดในโลก ก็สามารถทำงานได้ในทุกห้องสมุดในโลกนี้เช่นกัน
           แต่ไม่ว่าจะวิชาการแน่นเปรี๊ยะแค่ไหนก็ตาม งานบรรณารักษ์ก็ยังเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งสมองและแรงงาน แถมยังเป็น “งานหนัก” ที่คนทั่วไปมักจะไม่รู้อีกเช่นกันเพราะการยกหนังสือ ย้ายหนังสือขึ้นชั้น เป็นงานที่ต้องใช้ “แรง” ทั้งสิ้น และแปดสิบเปอร์เซ็นต์ของคนที่ทำงานด้านนี้เป็นผู้หญิง...

หมายเลขบันทึก: 240533เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2009 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • หากถามถึงเรื่องของบรรณารักษ์ ป้าแดงมักจะทึ่งเรื่องการจัดเก็บ หนังสือ การจัดทำรหัสดัชนีต่างๆ
  • เมื่อก่อนที่คิดอยากทำหนังสือทำมือก็ปรึกษาน้องบรรณารักษ์ เขาทำออกมาหน้าตาสวยมากๆๆค่ะ
  • เราต่างภาคภูมิใจในวิชาชีพของเรานะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

มาชม

ยกหนังสือ คืองานออกกำลังกายที่ได้มา

ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน...นะครับ

หายเหนื่อยแล้วค่ะ

ที่มคนรู้ว่า งานบรรณารักษ์เป็นงานที่เหนื่อยและหนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน

ที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

ด้วยว่า "ห้องสมุดไม่ใช่แค่ห้องเก็บหนังสือ...แต่...เป็นแหล่งเรียนรู้"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท