ไตรยางค์


การผันอักษร

ไตรยางค์และการผันอักษร

ไตรยางศ์   
         ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ จัดแบ่งตัวพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ได้แก่
           หมู่ที่ 1  เรียกว่า   อักษรสูง    มี 11  ตัว  คือ   ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ห
           หมู่ที่ 2  เรียกว่า   อักษรกลาง มี   9  ตัว คือ   ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ
           หมู่ที่ 3  เรียกว่า   อักษรต่ำ    มี 24  ตัว คือ   ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ 
                       (ข.ขวด มีหัวหยักเช่นเดียวกับ ซ    ค. คน ส่วนบนหยักเช่นเดียวกับ   ต
                                                              ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในการเขียนแล้ว)


การผันอักษร
       การผันอักษร   คือการออกเสียงพยางค์ที่ประสมด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์  ซึ่ง
เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น

                           กา   ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า
      ก่อนผันอักษรต้องเข้าใจเรื่องความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน คือ

1. คำเป็น คำตาย
       คำเป็น หมายถึง
           1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา เช่น มา รู โต
          2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น นาง กิน ปม นาย หิว
       
          ข้อสังเกต เสียงสระของคำเป็นใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
       คำตาย หมายถึง
         1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา เช่น ปะ ติ ฉุ
         2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ เช่น นก มัด รับ
          ข้อสังเกต เสียงสระของคำตายใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว

คำเป็นเป็นเช่นอย่างนี้

สระยาว อา อี

อู เอ อือ แอ อัว เออ ฯลฯ

  

แม่กง กน กม นะเธอ

สะกดอย่าเผลอ

สระยาวสั้นย่อมได้

  

อำ ใอ ไอ เอา ก็ใช่

จดจำใส่ใจ

คือคำเป็นแท้แน่นอน

  

คำตายจำไว้เนื้ออ่อน

เสียงสั้นสังวร

อะ อิ อุ เอะ เอาะ แอะ

  

แม่กก กด กบ นั่นแหละ

ครูขอชี้แนะ

คำตายหมายจดหมายจำ

  

2. พื้นเสียง
              หมายถึงพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์
               ต่อไปนี้จะเป็นการผันอักษรทีละหมู่
   อักษรกลาง
     พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรกลางทั้ง 9 ตัว (ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ) เมื่อนำมาประสมกับ
สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น
                    ก่า   จ่า   ด่า   ต่า   บ่า   ป่า   อ่า
        อักษรกลางคำเป็น
          พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ    เช่น            กา   ดง   จน  ปม   เตย   กลอง
              ผันด้วย  ไม้เอก   เป็นเสียงเอก เช่น ก่า  ด่ง   จ่น  ป่ม   เต่ย  กล่อง
              ผันด้วย  ไม้โท    เป็นเสียงโท  เช่น  ก้า  ด้ง   จ้น  ป้ม  เต้ย   กล้อง
              ผันด้วย ไม้ตรี     เป็นเสียงตรี เช่น    ก๊า  ด๊ง   จ๊น  ป๊ม  เต๊ย   กล๊อง
              ผันด้วย ไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า  ด๋ง   จ๋น  ป๋ม  เต๋ย   กล๋อง
         จะเห็นว่าอักษรกลางคำเป็น ผันได้ครบ 5 เสียง และเสียงกับรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
       อักษรกลางคำตาย
          พื้นเสียงเป็นเสียงเอก     เช่น                 ปะ   กาก   จด  โบก
             ผันด้วย ไม้โท   เป็นเสียงโท เช่น        ป้ะ  ก้าก   จ้ด  โบ้ก
             ผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น          ป๊ะ   ก๊าก   จ๊ด  โบ๊ก
             ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวาเช่น    ป๋ะ  ก๋าก    จ๋ด  โบ๋ก

        ( คำที่ยกตัวอย่าง เพียงเพื่อให้เห็นวิธีผัน อาจไม่มีที่ใช้เป็นปรกติในภาษาก็ได้)
      อักษรต่ำ
                พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรต่ำทั้ง 24 ตัว (ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ
ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ )
ถ้านำมาประสมกับสระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน
จะออกเสียงวรรณยุกต์ ได้ตรงกันทั้งหมู่ต่างกันแต่เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์เท่านั้น  เช่น  
คัง    งัง   ชั่ง   นั่ง   ค้อน   ช้อน   ฟ้อน
              ต่อไปนี้จะผันอักษรต่ำ
      อักษรต่ำคำเป็น
                 พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ      เช่น    คา  ซน  โคน   วาว เชย
             ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท     เช่น    ค่า  ซ่น  โค่น  ว่าว  เช่ย
             ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี     เช่น     ค้า  ซ้น  โค้น ว้าว เช้ย
       จะเห็นว่า อักษรต่ำคำเป็น ผันได้เพียง 3 เสียง คือ สามัญ โท ตรี
   อักษรต่ำคำตาย
         สระเสียงสั้น
                   พื้นเสียงเป็นเสียงตรี      เช่น       คะ  นัด   รัก
              ผันด้วย ไม้เอก   เป็นเสียงโท เช่น    ค่ะ  นัด รั่ก
        สระเสียงยาว
                 พื้นเสียงเป็นเสียงโท      เช่น     มาก    เชิต    โนต
              ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น     ม้าก    เชิ้ต    โน้ต
           จะเห็นว่า อักษรต่ำคำตาย สระเสียงสั้น ผันได้เพียง 2 เสียง คือ  โท  และตรี
(การผันคำตายด้วย ไม้จัตวามีผู้ใช้เป็น ครั้งคราว  แต่ออกเสียงไม่สะดวกเหมือน
เสียงจัตวาของคำเป็น)
   อักษรสูง
         พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรสูง ทั้ง 11 ตัว (ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห)
ถ้านำมาประสมกับ สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน  จะออกเสียงวรรณยุกต์
ได้ตรงกันทั้งหมู่ ต่างกันแต่พยัญชนะต้นของพยางค์ เท่านั้น   เช่น
   
                                    ข่า    ฉ่า    ส่า     ข้า    ฉ้า    ส้า
              ต่อไปนี้จะผันอักษรสูง  
      อักษรสูงคำเป็น
                      พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา    เช่น    ขา  ผง   เขย   สาว
                 ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก เช่น    ข่า  ผ่ง  เข่ย  ส่าว
                 ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท เช่น       ข้า ผ้ง   เข้ย   ส้าว
      อักษรสูงคำตาย
             พื้นเสียงเป็นเสียงเอก    เช่น      สะ ผลิ  ฝาก ขูด
  ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท แต่คำที่ผันได้ไม่มีที่ใช้หรือไม่มีความหมายจึงมิได้แสดงไว

อักษรคู่ อักษรเดี่ยว
       อักษรต่ำ 24 ตัว ยังแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ  
1. อักษรคู่
      คือ อักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 14 ตัวได้แก่ ค ค(ค.คน) ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ
ฟ ภ ฮ จับคู่กับ อักษรสูง 7 คู่    ได้แก่
 
           ค ค(ค.คน) ฆ      คู่กับ       ข ข (ข ขวด ส่วนหัวมีหยัก)      
           ช ฌ                  คู่กับ       
                                คู่กับ       ศ ษ ส      
           ฑ ฒ ท ธ            คู่กับ       ฐ ถ    
           พ ภ                  คู่กับ          
                                คู่กับ             
                                คู่กับ       
         อักษรคู่เหล่านี้ เมื่อนำอักษรสูงที่เป็นคู่มาผันร่วมกันระหว่างคู่ของตน จะได้เสียง
วรรณยุกต์ครบ ทั้ง 5 เสียง
ตัวอย่างเช่น
                สามัญ       เอก       โท       ตรี       จัตวา
                  คา         ข่า         ค่า      ค้า         ขา
                                           ข้า
                 ชา          ฉ่า         ช่า      ช้า         ฉา
                                           ฉ้า
2. อักษรเดี่ยว
      คือ พยัญชนะที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่ มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ  ณ  น  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ
หากต้องการจะผัน ให้ครบทั้ง 5 เสียง ต้องใช้ ห   นำ
       ตัวอย่าง เช่น
              สามัญ       เอก        โท        ตรี        จัตวา
                งอ         หง่อ        ง่อ       ง้อ          หงอ
                                         หง้อ
                มอ        หม่อ        ม่อ      ม้อ          หมอ
                                         หม้อ
     ข้อสังเกต อักษรเดี่ยวทั้ง 10 ตัวนี้ ถ้าเขียนตามอักษรกลางหรืออักษรสูง และประสม
สระเดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของอักษรเดี่ยว  จะตามเสียงวรรณยุกต์อักษรกลาง   หรือ
อักษรสูงที่มาข้างหน้า ไม่ว่าจะ เป็น พยางค์เดียว หรือสองพยางค์    เช่นในคำ  หรู   อยู่ 
เฉลา    ปลัด    สนาม


ข้อสังเกตเพิ่มเติม
    1. อักษรนำ อักษรตาม
           หมายถึงพยัญชนะสองตัวเรียงกัน  ประสมด้วยสระเดียวกัน  ตัวแรกเป็นอักษรสูง
หรืออักษรกลาง   จะบังคับให้พยางค์หลัง    ซึ่งมีพยัญชนะต้นของพยางค์เป็นอักษรเดี่ยว  
มีเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก
ตัวอย่างเช่น
           ขยาย   ขย  เป็นอักษรนำ  อักษรตามอักษรตัวแรก  (อักษรสูง) นำอักษรตัวหลัง
ย (อักษรเดี่ยว)    จึงต้อง ออกเสียงวรรณยุกต์ตามอักษรตัวแรก คือ     คำเช่นนี้ เรา
ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นอะ กึ่งมาตรา  ขาย  มีเสียง ว รรณยุกต์จัตวา  ในคำ ขยาย  
จึงต้องอ่านพยัญชนะหลัง   เป็น เสียงจัตวา
(อ่านว่า ขะ-หยาย)  
          
ตลิ่ง   ตล เป็นอักษรนำ อักษรตาม อักษรตัวแรก ต (อักษรกลาง) นำอักษร
ตัวหลัง ล (อักษรเดี่ยว) เราอ่าน พยัญชนะตัวแรกเป็น อะกึ่งมาตรา พยางค์หลัง ออกเสียง
เป็นเสียงเอก ตามเสียงอักษรกลาง ต ถ้าประสมกับ สระอิ มีวรรณยุกต์เอก อ่านว่า    ติ่ง  
เพราะฉะนั้นพยางค์หลัง  จึง อ่านว่า
หลิ่ง   มีคำมากกว่าสองพยางค์ เช่น  อุปราช  ศักราช 
อุปโลกน์       ซึ่งอักษรกลาง  เป็น ตัวสะกดของพยางค์หน้า      บังคับเสียงวรรณยุกค์ของ
พยางค์หลัง   ให้เป็นไป ตามเสียงอักษรกลาง จึงอ่านออกเสียง พยางค์หลังเป็นเสียงเอก
อักษรนำ อักษรตาม 
          มีอีกประเภทหนึ่ง คือ   ห นำ อักษรเดี่ยวทุกตัว  และไม่ออกเสียง ห    ตัวอย่าง เช่น
เหงา หงอย หญ้า หนา หมู หมุน หยัก ไหล แหล่ง หว่าง ฯ.ล.ฯ

2. อักษรควบ
        หมายถึงพยัญชนะสองตัวเรียงกันออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวนั้น      ในการผัน  
ก็เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาแล้วด้วยเช่นกัน
       อักษรควบมี 2 ประเภท คือ อักษรควบแท้และอักษรควบไม่แท้

     1. อักษรควบแท้    คือพยัญชนะ  2  ตัว ที่มี   ตัว ร ล ว  ประสมอยู่ด้วย    ประสมด้วย
สระเดียวกัน อ่านออกเสียง พร้อมกันทั้ง 2 ตัว
เช่น
                กลาง  ครัว กวาง
    2. อักษรควบไม่แท้   ได้แก่   พยัญชนะที่มีตัว  ร   ควบอยู่ด้วย   แต่ไม่ออกเสียงตัว ร
หรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็น เสียงอื่นไป
 
         ตัวอย่างอักษรควบไม่แท้ที่ออกเสียงแต่พยัญชนะตัวแรก เช่น  
              จริง ไซร้   สร้าง   ศรี  เศรษฐี
         ตัวอย่างอักษรควบไม่แท้ ทร ออกเสียงเป็น ซ   
             ไทร  ทราย   อินทรีย์   ทรัพย์   มัทรี ฯ
        ตัวอย่างการผันอักษรควบไม่แท้
             สามัญ          เอก          โท          ตรี          จัตวา
              จริง            จริ่ง         จริ้ง         จริ๊ง          จริ๋ง
               -               สร่าง        สร้าง         -           สราง
              ไซร             -          ไซร่          ไซร้           -

http://www.prd.go.th/files/peoplefile/d0241f2a5f29f136083934092fc0ce7a.doc

 

คำสำคัญ (Tags): #ไตรยางค์
หมายเลขบันทึก: 240047เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

 * สวัสดีค่ะ ครูภา แวะมาเยี่ยมค่ะ  ไตรยางค์ ดีมากเลย 

    ขออนุญาตคัดลอกมาสอนนักเรียนนะค่ะ

สวัสดีค่ะครูเพ็ญ

  • ดีใจมากค่ะที่สนใจ
  • แล้วแวะมาเยี่ยมอีกนะคะ

ดีมากครับ ขออนุญาตนำไปใช้ให้นักเรียนค้นคว้าในแบบ offline นะครับ

สวัสดีค่ะ

สรุปเนื้อหาชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ขออนุญาตนำไปไปใช้กับนักเรียนในห้องเรียนนะคะ

ดีมากเลยค่ะได้รู้อะไรหลายหลายอย่างเช่น อักษร สูง กลาง ต่ำ อักษรควบเเท้ไม่เเท้ การผันอักษร อัการเดี่ยวอัการคู่

สวัดดีครับผมอยากจะรู้ข้อสอบเกี่ยวกับเรื่องไตรยางค์คับ

ไม่เห็นมีข้อสอบเลย

Dมากเลยครับขอเอาไปเปนข้อสอบให้น.ร.นะครับ

ควรทำอักษรไห้อ่านง่ายกว่านี้นะค่ะ..^^ เเต่ก้อได้ความรู้มากๆๆเลยล่ะค่ะเเตงค์กิ้วค่ะ *-*

ดีมากๆค่ะขอลอกไปทำการบ้านหน่อยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท