ระบบย่อยอาหาร


โครงสร้างป้องกันอาหารเข้าสู่หลอดลม

ระบบย่อยอาหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด แล้วดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 ประเภทของการย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร มี 2 วิธี คือ

  1. การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) คือ อาหารที่ถูกฟันบดเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลงจนสามารถดูดซึมได้
  2. การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) คือ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลให้เล็กลงไปอีกโดยเอนไซม์ในน้ำลาย กระเพาะ และลำไส้เล็ก(รวมทั้งตับ) จะมีน้ำย่อยอยู่

 อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

กระเพาะอาหาร (Stomach)
ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) : ซีกัม (Cecum), โคลอน (Colon), เร็กตัม (Rectum) หรือ ไส้ตรง, ทวารหนัก (Anus)
  1. ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลิ้น ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และคลุกเคล้าอาหารให้อ่อนตัว ต่อมน้ำลาย มีหน้าทีผลิตเอนไซม์ในน้ำลายคือ อะไมเลส (96% ของน้ำลายคือน้ำย่อยที่มีเอนไซม์อะไมเลส ส่วนอีก 3% คือ น้ำ)
  2. หลอดอาหาร ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังมีกล้ามเนื้อที่ยึดและหดตัวได้ บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหาร โดยส่วนบนของหลอดลมจะมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกันอาหารไม่ให้เข้าสู่หลอดลม ไม่มีต่อมสร้างน้ำย่อยแต่มีต่อมขับน้ำเมือกช่วยให้อาหารใหลผ่านได้สะดวก
  3. กระเพาะอาหาร ผลิตกรดไฮโดรครอริคและน้ำย่อยอาหารประเภทโปรตีนมีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัวเจ ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวเมื่อมีอาหารได้อีก 10 - 40 เท่าตามผู้ที่เป็นเจ้าของสามารถกินได้ กระเพาะอาหารสามารถย่อยได้โดยการบีบตัวทำให้อาหารแตกเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะ ซึ่งน้ำย่อยประกอบด้วยกรดที่ใช้ย่อยโปรตีนชื่อว่า เป็ปซินและเรนนิน
  4. ลำไส้เล็ก ผลิตน้ำย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์มีรูปร่างเป็นท่อ ในลำไส้เล็กมีน้ำย่อยหลายชนิดใช้ย่อยอาหารได้ทุกประเภท ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ถ้าน้ำย่อยในลำไส้เล็กไม่พอจะมีน้ำย่อยจากตับและตับอ่อนเข้ามาช่วย โดยตับจะสร้างน้ำดีสำหรับย่อยไขมันให้มีขนาดเล็กลง นอกจากนี้ ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเกือบทุกชนิดอีกด้วย
  5. ลำไส้ใหญ่ ดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ วิตามินบางชนิดและกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร ***ทวารหนัก***ขับถ่ายกากอาหาร

 อวัยวะช่วยย่อยอาหาร

การย่อยอาหารในคนนอกจากมีอวัยวะที่เป็นทางเดินอาหารแล้ว ยังมีอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เนื่องจากอวัยวะต่างๆที่ได้กล่าวมานั้นไม่สามารถที่จะย่อยสารอาหารบางชนิดได้ทำให้ต้องมีอวัยวะช่วยย่อยอาหาร ในการย่อยสารอาหารบางชนิดได้แก่ตับและตับอ่อน

 

  1. ตับ เป็นอวัยวะซึ่งมีต่อมที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ช่องท้องใต้กระบังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วนำไปเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี น้ำดี ประกอบด้วยเกลือน้ำดี และรงควัตถุน้ำดี ท่อนำน้ำดีช่วงแรกเรียกว่า common bile duct ช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเปิดเข้า ลำไส้เล็ก โดยไปรวมกับท่อจากตับอ่อนเรียกว่า hepato pancreatic duct ตับมีหน้าที่โดยสรุปดังนี้
    1. สร้างน้ำดีในการช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้น้ำย่อยไขมันสามารถย่อยไขมันได้ดีในลำไส้เล็ก
    2. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ
    3. สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ
    4. ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
    5. สลายกรดอะมิโนให้เป็นยูเรีย
    6. ศูนย์กลางเมแทบอลิซึมอาหารที่ให้พลังงานได้
    7. สะสมไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลจากเลือดสะสมไว้ในตับ
    8. ทำลายจุลินทรีย์โดยมี kupffer’ s cell ทำหน้าที่ทำลายจุลินทรีย์
    9. คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน 0.1 %
  2. ตับอ่อนช่วงแรกเรียกว่า ท่อแพนครีเอติค( pancreatic duct) ช่วงหลังเรียกว่าท่อจากตับอ่อน( hepato pancreaticduct) หน้าที่ของตับอ่อนสรุปได้ดังนี้
    1. มีต่อมสร้างน้ำย่อยหลายชนิดส่งให้ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อย แป้ง โปรตีนและไขมัน
    2. มีต่อมไร้ท่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
    3. สร้างสารที่เป็นด่างกระตุ้นให้น้ำย่อยในลำไส้เล็กทำงานได้ดี โดยเฉพาะเอนไซม์
ข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki
คำสำคัญ (Tags): #ระบบย่อบอาหาร
หมายเลขบันทึก: 240035เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตับอ่อน " หนักประมาณกี่กรัม ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท