บริหารแบบร่วมใจด้วยสี่แนวคิดพิชิตคุณภาพการศึกษา


นวัตกรรมการบริหาร แบบร่วมใจ

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ด้านการบริหาร

เรื่อง บริหารแบบร่วมใจด้วยสี่แนวคิดพิชิตคุณภาพการศึกษา

 

หลักการและวิธีการใช้ใช้ใจนำ” 4 ด้าน ได้แก่

1. ใจศรัทธา

2. ใจอาสาพากเพียร

3. ใจเรียนให้เข้าใจงาน

4. ใจประสานสัมพันธ์ในการปรับปรุงและพัฒนางาน

การนำไปใช้

ขั้นตอนการนำไปใช้ มีดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำงานด้วยใจ ใจศรัทธานั้น มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 สถานศึกษาใช้การปลุกกระแสจิตเพื่อสร้างความตระหนักให้กับครูและบุคลากรโดยให้เขาได้ตระหนักว่าจะต้องทำงานงานด้วยใจรัก ใจศรัทธาต่องานที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น งานจึงสำเร็จผลตามที่ตนคาดหวังเอาไว้

ขั้นตอนที่ 2 สถานศึกษาสร้างความตระหนักให้กับครูและบุคลากรได้รับรู้ว่า งานคือ

เกียรติยศ ดังนั้น ผู้ทำงาน คือผู้มีเกียรติยศ การที่จะได้เกียรติยศนั้นมา ต้องทำงานด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รักงานเหมือนชีวิต

ขั้นตอนที่ 3 สถานศึกษาให้ครูและบุคลากรได้เกิดการอาสางาน เมื่อบุคลากรได้เกิดความ

ตระหนักในภารกิจของงานที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในสถานศึกษาแล้ว จะต้องมีการกำหนดให้ครูและบุคลากรได้ร่วมกันอาสาที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยใช้หลักการร่วมด้วยช่วยกันตามระบบPDCA ร่วมกันวางแผน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมกันตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุง

ขั้นที่ 2 ใช้ความพากเพียร ใจอาสาพากเพียร นั้น มี 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 เพียรพยายามให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ดำเนินงานหรือปฏิบัติกิจกรรมการบริหารงานในโรงเรียนตามรายการกิจกรรม ดังต่อไปนี้

1. บริหารสถานศึกษาโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School based Management)

บริหารงานแบบให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เอานักเรียนเป็นตัวตั้ง (เป้าหมายหลัก)

ครูเป็นตัวคูณ (ตัวเร่งหรือก่อผลทวีคูณ) และผู้บริหารเป็นตัวหาร (ร่วมรับผิดชอบทุกเรื่อง)

2. ผู้บริหารงานหรือตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับ

การพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชนอยู่เสมอ

3. ผู้บริหารมุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ และเต็มความสามารถและเต็มใจ

4. ผู้บริหารมุ่งพัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง และเป็นรูปธรรม

5. ผู้บริหารพัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ

6. ผู้บริหารบริหารงานโดยเน้นผลถาวรที่เกิดกับครูและผู้เรียน

7. ผู้บริหารรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบครบวงจร

8. ผู้บริหารปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากร เพราะตัวอย่างที่ดีย่อมมีค่า

มากกว่าคำสอน

9. ผู้บริหารร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์เพื่อการมีส่วนร่วมใน

การพัฒนาสถานศึกษา

10. ผู้บริหารแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาสถานศึกษา

11. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และเสริมสร้างความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีแก่ครูและบุคลากร

12. สรรสร้างองค์กรให้สามารถพัฒนาได้ทุกสถานการณ์

ขั้นตอนที่ 2 เพียรพยายามให้ครูและบุคลากรทำงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู 12 ด้าน คือ

1. เน้นการเรียนการสอนโดยการปฏิบัติจริง

2. อิงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละคน

4. อุทิศตนและทุ่มเทพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้จริงกับผู้เรียน

5. เพียรพยายามสรรสร้างพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อ

การเรียนรู้อย่างรวดเร็วของผู้เรียนเป็นสำคัญ

6. สรรสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในทุกด้าน

7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบครบวงจร

8. เน้นสอนคุณธรรม จริยธรรมโดยการทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี

9. มีการร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

10. ใช้วิทยากรภายนอกชุมชนอย่างสร้างสรรค์

11. เลือกสรรหาข้อมูลข่าวสาร และใช้ข้อมูลข่าวสารทันสมัยในการพัฒนาผู้เรียน

12. เพียรพยายามให้ครูและบุคลากรได้สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น โดยถือว่า การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่

ขั้นที่ 3 ใจเรียนให้เข้าใจงาน ใจเรียนให้เข้าใจงาน มีวิธีการดำเนินการดังนี้

ขั้นที่ 1 เรียนให้เกิดความรู้ความจำในงาน โดยสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูได้ใช้

เทคโนโลยีในการสืบค้นหาความรู้อยู่เสมอ เช่น สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต สืบค้นข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่ออื่น ๆ แล้วนำความรู้มาจัดไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นที่ 2 เรียนให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงาน โดยเน้นการประยุกต์หรือการ

บูรณาการในการทำงาน สามารถเชื่อมโยงงานต่าง ๆ ให้เข้าด้วยกันได้

ขั้นที่ 3 เรียนให้สามารถเกิดทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไป

ขั้นที่ 4 เรียนให้เกิดทักษะการวิเคราะห์งานของตนเองได้

ขั้นที่ 5 เรียนให้เกิดการสังเคราะห์งานเองได้

ขั้นที่ 6 เรียนให้เข้าใจในการประเมินค่าของงานที่ตนเองทำ

ขั้นที่ 4 ใจประสานสัมพันธ์ในการปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น มี ขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างสรรค์ความสามัคคี และความเป็นเอกภาพของบุคลากรภายในสถานศึกษา

ขั้นที่ 2 พัฒนางานในโรงเรียนโดยใช้รูปแบบกระบวนการพัฒนางานเชิงระบบ คือ

1. สร้างความตระหนักว่าต้องมีการปรับปรุงพัฒนา

2. วิเคราะห์หาจุดเด่นจุดด้อยในการปรับปรุงพัฒนา

3. แสวงหาวิธีใหม่แนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงพัฒนา

4. ลงมือนำพาปฏิบัติกิจกรรมในการปรับปรุงพัฒนา

5. ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ได้ปรับปรุงพัฒนางานแล้ว

6. สร้างความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ปรับปรุงพัฒนาแล้ว

 

จาก ...วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ด้านการบริหาร

เรื่อง บริหารแบบร่วมใจด้วยสี่แนวคิดพิชิตคุณภาพการศึกษา

โดย โรงเรียนบ้านกุดจิก (รัชชุศิริอนุกูล) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4

หมายเลขบันทึก: 239121เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท