ยึดติดกับ.. สมติฐาน


ตอนนี้ผู้เขียนขอดำรงอยู่ในความเงียบ คือการไตร่ตรองความคิดตนเอง กลับไปตั้งคำถามกับสมมติฐานของตนเอง และไม่ปกป้องสมมติฐานของตนเอง โดยการโต้แย้งหรือแสดงอากัปกิริยาขุ่นเคืองใจกับใครบุคคลใด-ใด ทั้งสิ้น

ไม่คิดไม่ฝันว่าตัวเองจะเข้านอนตอนหกโมงเช้า เพียงเพื่อการทำ พาวเวอร์พ้อยท์ การนำเสนอโครงการ (ซึ่งไม่มีใครบอกให้ทำ และไม่รู้ว่าจะมีใครอยากรับฟังการนำเสนอหรือไม่?) เพียงแต่เห็นว่ามันเป็นซึ่งหนึ่งที่สำคัญเพราะการรับฟังและเห็นภาพ จะทำให้คณะกรรมการ เข้า+จำกิจกรรมได้ง่ายกว่ารูปแบบการเสนอเอกสารโครงการเดิม-เดิม ที่ทำกันมา ซ้ำๆ เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนปีเปลี่ยนวันที่ >> จบ

เพราะผู้เขียนมองว่า โครงการที่ผู้เขียนทำค่อนข้างใหม่ และสุ่มเสี่ยง ต่อการเผชิญกับปัญหาต่างๆตามมามากมาย เพราะเหตุผลเหล่านี้ นี่เองจึงอยากให้คณะกรรมรับทราบถึงกระบวนการและ สักถามทำความเข้าใจ เพื่อก่อ ให้ เกิดประเด็น และเฝ้าระวังการเกิดปัญหา ก่อนลงมือทำจริง เชื่อเสมอว่าการทำในสิ่งใหม่มันยากแต่สำหรับผู้เขียน มีคติ ประจำใจในการทำงาน เป็นคำถามสั้น-สั้นกับตัวเองว่า "ทำไม่ได้ หรือไม่ได้คิดจะทำ"

วันเสาร์-อาทิตย์นี้ >> เรียกว่าใช้ชีวิตได้คุ้มค่าจริง-จริง ห้องสี่เหลี่ยม กับหน้าจอสี่เหลี่ยม ของโน้ตบุคส่วนตัว เวลาส่วนตัว แต่เรากับ นั่งคิดและอ่าน และ โครงการ เพื่อ ของบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลไม่รู้ว่ามันเพลิน มันสนุก หรือว่า มันอึดอัด ที่ กองทุน มีเงิน มี มี มี แต่ถูกใช้ไปกับ โครงการส่งเสริมสุขภาของสถานนีอนามัย เขียนของบประมาณเข้ามา ?? ส่วนหนึ่งก็จากชุมชน และก็เป็นโครงการส่งเสริมออกกำลังกาย (โดยการจ้างครูเต้นแอโรบิค)  เคยเดินเล่น-เล่น ไปสำรวจถือโอกาสเก็บข้อมูล จากการสังเกต และซักถาม

บริเวณสวนศรีภูวนาถ ตรงข้ามกับ .. ที่พักนี่เอง แฝงตัวไปเป็นสมาชิก หนึ่งคนที่ร่วมเต้น อิอิ รับรู้ได้เลยว่าครูนำเต้นเก่ง (ทักษะ.. คือสิ่งที่ไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถทำ) จึงมองว่าค่าใช้จ่ายในการจ้างครูนำเต้นจึงยังจำเป็นอยู่ เพราะ หากให้นำกันเองในชุมชน ความต่อเนื่อง และความสนุกสนาน มันเทียบกันไม่ได้เลยจริงจริง ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าให้ผู้เขียนไปนำเต้นเอง ก็คงจบละคร๊า 555+  ประเด็นของความยั่งยืน ในกรณีนี้จึงไม่ใช่การสร้าง ผู้นำเต้นจากชุมชน แต่มันอยู่ที่ว่า งบประมาณที่ใช้ .. ต้องของบสนับสนุนไปเรื่อยๆ งั้นเหรอ?

"การพึ่งตนเองอย่างสมดุล ประชาชนมีส่วนร่วม เน้นการร่วมส่งเสริม.. สุขภาพดี " ผู้เขียนมองว่า โจทย์ และคำถามมันอยู่ที่ ทำยังไง ? ให้ประชาชน รู้สึกว่า การดูแลสุขภาพ เป็นเรื่องของตนเอง เริ่มต้นจากการ

พึ่งพาตนเอง และสุดท้าย หน่วยงานต่าง-ต่าง จึงเข้าไปสนับสนุนในส่วนที่ขาด เท่านั้นเอง การก่อตั้งให้เป็นชมรมใหญ่ มารวมคนรวมทุนกัน นั้นคือบริจาค เท่าที่มี 5-10 บาท เพื่อใช้เป็ค่าใช้จ่ายในการจ้างครูนำเต้น ในแต่ละวัน เช่นกัน รายได้ของครูนำเต้นก็คะไม่คงที่ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับศักยภาพ ในการดึงคนและดึงการมีส่วนร่วมของผู้เต้น ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกด้วย เชื่อเหลือเกินว่า ..

ชาววิชิต เป็นชุมชนหนึ่งที่พร้อมจะมีส่วนร่วม ดังนั้น เงินเล็กน้อยแลกมากับสุขภาวะและสุขภาพที่ดีของตนมันคงไม่ใช่เรื่องยาก ทั้งนี้ผู้เขียนคำนึงถึงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองปัญหาสุขภาพพื้นที่อย่างแท้จริง ไม่ใช้ร่วมแต่กระบวนการคิด และขอ พอวันนึงงบประมาณไม่มีให้ ก็ขับเคลื่อนต่อไปได้ ความยั่งยืนและปลายทางของการพึ่งพาตนเอง จึงกลายเป็นเพียงภาพฝัน เพราะฉนั้นการผสมผสานและให้องค์ความรู้กับชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับบริบทแวดล้อม และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็น

หันไปเห็นเครื่องออกกำลังกาย พื้นที่สี่เหลี่ยม กว้าง-ยาวไม่มากนัก กับ เหล็กที่นำมาต่อ กันเป็นเครื่องออกกำลังกายแบบง่าย-ง่าย ใช้การจักรกลธรรมดา ไม่มีการใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำจนเกินความจำเป็น และสามารถดูแลรักษาได้ไม่ยาก เดินไป ใกล้-ใกล้ ยิ้มออกเลยที่เดียว เพราะในนั้น มีคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยเข้าไปใช้บริการ มันเหมือนฟิตเนทกลางแจ้ง ที่จะเข้าถึงและรับบริการเมื่อไหร่ก็ได้ วันฝนตกก็มีหลังคา ยืนอยู่ ตรงกลาง ระหว่าง กลุ่มที่กำลังเต้นแอโรบิค กับ กลุ่มที่กำลังใช้เครื่องออกกำลังกายดังกล่าว ก็ตั้งสมฐานอยู่ในใจ ว่า ..   "อะไรคือความยั่งยืน?"

อันที่จริงสมมติฐานนั้นมาจากการสะสมตัวของความนึกคิด (Thought) และความรู้สึก (Felt) ที่เป็นการรับรู้และเรียนรู้ของเราในอดีตที่ผ่านมาทางกิจกรรมต่างๆ และประสบการ์ณของชีวิต เมื่อสะสมตัวเป็นอดีตไปแล้ว หลายครั้งเป็นการยากที่เราจะแยกว่าสิ่งที่สะสมไว้นี้เป็นความคิดหรือความรู้สึก เพราะมันฟอร์มตัวเป็นทัศนะที่เราใช้มองโลก ตัดสินสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างไปแล้ว และทำหน้าที่สำคัญประการหนึ่งอย่างเงียบๆ คือการบ่งชี้ความเป็นตัวตนของเรา ซึ่ง David Bohm เคยกล่าวเชิงเปรียบเทียบไว้เช่นกันว่า สมมติฐานที่เราสะสมไว้เป็นเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในจิตใจของคน และเอาไว้ใช้ตัดสินเรื่องราวต่าง-ต่าง

การที่เรายึดติดกับสมมติฐานไว้ เป็นเพราะสมมติฐานบ่งชี้ความเป็นตัวตน  การรู้สึกถึงความเป็นตนเอง และใช้ตัดสินสิ่งต่างๆ   เมื่อเกิดการท้าทาย  สมมติฐานจะได้รับการปกป้องจากตัวเรา และหลายครั้งที่การปกป้องเป็นไปด้วยอารมณ์  และสภาวะทางอารมณ์ ความรู้สึกอึดอัด ขุ่นมัว ขัดเคือง ไม่พอใจ หรือโกรธ ภายในจิตใจที่อาจเกิดขึ้นก็ตาม  เราสามารถจัดการสิ่งนี้ได้โดยรั้งความรู้สึกที่เกิดวูบขึ้นมา  เผชิญหน้าและรับรู้การเกิดขึ้นโดยตรง  ด้วยสภาวะ “รู้” ในใจ (ส่วนหนึ่งที่ได้จากการศึกษากระบวนการ “Dialogue” )

และช่วงเวลาสองวันที่ผ่านมา การได้มานั่งทบทวน ศึกษาโครงการที่ทางอนามัย ส่งมาขอสนับสนุนงบประมาณ ความรู้สึก “ละวาง” สมมติฐานไว้  การไม่ตัดสินว่า ผิด-ถูก, ดี-ไม่ดี, และ ใช้ได้-ใช้ไม่ได้ หรืออื่นๆ อย่างใดก็ตาม ขณะที่เราอยู่ในสภาวะ “รู้” พร้อมอยู่ทุกขณะจิต เรากำลังสร้างสิ่งที่เรียกว่า “สติ (Consciousness)  ที่รู้ตัวว่าตนกำลังทำงาน สิ่งที่เกิดและสัมผัสได้คือแรงพลัก ในการทำงาน 2 โครงการ กับ 1 โปรเจคใหญ่ (ของตัวเอง)

หลายคนมองว่า  .. จริงจังกับ การทำงานเกินไป แรงไป? ชน? คะ ผู้เขียนมองว่าการทำงาน ให้มีคุณภาพ นั้น เป็นสิ่งที่ "ต้องทำ" ไม่ ใช่แค่... "ควรทำ"  เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน จะต้องพาตัวเองให้ห่างไกลจาก คำว่า "เช้าชาม - เย็นชาม"  .. มองกลับกันว่า หากลองเหนื่อย งานเหล่านี้ รวมถึงงานประจำให้มีคุณภาพ งานก็จะเป็นระบบ และมันคงไม่ยุ่งเหยิง ชนิดที่เรียกว่า ต้องตามแก้ปัญหา ไปเรื่อยๆ ถูกต้องไม่มีกระบวนการใดสมบูรณ์ หากแต่เมื่อเจอข้อผิดพลาด ติดขัด ก็ต้องรีบแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยไว้ หลบซ่อนไว้ .. แอบมันไว้ ไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงใดใด แค่มาตรฐาน พื้น-พื้น ยังไม่ผ่าน จะเอาอะไร ไปพัฒนา ?

ผู้เขียนลงทุนหาซื้อหนังสือ มา 3 เล่ม งืม ปาไปเกือบห้าร้อย เหงื่อตก เลยทีเดียว 555+ ก็ ไม่มีทางไปนี่คร๊า บอกแล้วเวลางานของนักวิชาการ (อย่างอรุฎา) ไม่ได้อยู่แค่ช่วงเวลา 08.30-16.30 น. แต่มันอาจเป็น 24 ชั่วโมงก็ได้ ถ้า มีปัจจัยเอิ้อและสนับสนุน (เท่าที่ทราบมาตอนนี้ทางนายกขอคู่สายโทรศัพท์มาให้แล้ว) เอาน๊า .. แค่รู้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่ เข้าใจและให้การสนับสนุน มันก็เป็นทุนทางใจ ในการทำงานแน่นอน เชื่อเถอะคะว่า ..

การศึกษา การเรียนรู้จากประสบการณ์ และคำสอนของพ่อแม่ ผลลัพธ์ ที่เกิดมันต้องเป็นไปทางบวกแน่นอน ^^" ยังแอบเหนื่อยใจกับคนที่คิด.. คิดได้ จะเอาไปใช้ในทางไม่ถูกไม่ควร แม่เจ้า!! เชื่อเถอะคะ กระบวนการคิด มีมากพอที่จะแยกแยะว่าควรใช้มันยังไง จำได้ว่าผู้เขียนเริ่มเรียนรู้ และใช้ internet มาตั้งแต่ มอสอง ตอนนั้น อายุยังไม่ถึง 15 ปี เลย นับถึงวันนี้ ก็ 10 ปีกว่า แล้วคะ รู้ทั้งผลดีและผลเสียของมัน (มากพอ) ++

สุดท้าย : ตอนนี้ผู้เขียนขอดำรงอยู่ในความเงียบ คือการไตร่ตรองความคิดตนเอง กลับไปตั้งคำถามกับสมมติฐานของตนเอง และไม่ปกป้องสมมติฐานของตนเอง โดยการโต้แย้งหรือแสดงอากัปกิริยาขุ่นเคืองใจกับใครบุคคลใด-ใด ทั้งสิ้น

หมายเลขบันทึก: 239078เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาบอกว่า
  • ทำอะไรก็ได้ที่มีความสุข
  • ไม่เดือดร้อนคนอื่น
  • สบายดีไหมครับ
  • มาช่วยตรวจอักษร
  • อิอิๆๆๆ
  • แฟงตัวไปเป็นสมาชิก
  • แวะมาชื่นชมครับ
  • คิดว่าการนำเสนอ Project วันนี้คงผ่านไปด้วยดีนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้ครับผม

ไอที่ว่า.. "ไม่เดือดร้อนคนอื่น " น้องเปิ้ลสักไม่แน่ใจ

เพราะจากบันทึกที่ผ่านผ่านมา ส่งผลกระทบทางลบ

กับผู้เขียน ละคะ

อ้าว... ซะงั้น

ไอที่ว่า.. "ไม่เดือดร้อนคนอื่น " น้องเปิ้ลสักไม่แน่ใจ

เพราะจากบันทึกที่ผ่านผ่านมา ส่งผลกระทบทางลบ

กับผู้เขียน ละคะ

**มันส่งผลทางลบ กับผู้เขียนเหรอ มันก็อาจจะมีบ้างเพราะคนเรา จะทำให้ใครทุกคนมีความสุข และชอบใจในการกระทำของเราได้ทุกคนหรอกน่า เพราะฉะนั้นอย่าคิดมาก เราเขียนแล้วเราสบายใจ ไม่พาดพิงถึงใคร และไม่ทำให้ใครเค้า เสียหาย จงคิดไว้เลย เราสบายใจและมีความสุขที่ได้ทำ ก็ทำต่อไป จะเข้ามาอ่านบ่อย ๆนะ .....อิอิ

ชีวิตเปลี่ยนได้เสมอ..เสมอ
วันหนึ่งย่อมเจอะเจอสิ่งหลากหลาย
สุขบ้างทุกข์บ้างประปราย
ชีวิตเปลี่ยนได้ไม่เว้นวัน..

 

กลับมาทบทวน ตัวเองอีกรอบและ อีกรอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท