วันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๒


การเฉลิมฉลองการสหกรณ์ครบรอบ ๙๓ ปี เป็นการรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย"

 วันสหกรณ์แห่งชาติ  ประจำปี  ๒๕๕๒”

 

 

           

             ในโอกาสวันสหกรณ์แห่งชาติเวียนมาบรรจบครบรอบ  ๙๓  ปี  ในวันพฤหัสบดีที่  ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ขบวนการสหกรณ์ไทย และเครือข่าย 5 ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กำหนดจัดงาน “วันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี ๒๕๕๒” เพื่อถวายสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกสหกรณ์ ตระหนักถึงคุณค่าและศรัทธาในระบบสหกรณ์ ตลอดจนเป็นการรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ที่ทรงนำระบบสหกรณ์มาเผยแพร่ ช่วยให้ประเทศชาติมีการกินดีอยู่ดี รู้รักสามัคคีเอื้ออาทร และเป็นหนึ่งเดียวกันของขบวนการสหกรณ์ไทย ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ให้สาธารณชนได้ทราบโดยทั่วกัน 

 

              สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศร่วมกับสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและเครือข่าย ๕  ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ ร่วมกิจกรรมพิธีถวายสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

 

กิจกรรมงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๒

 

๑. สันนิบาตสหกรณ์ฯ และเครือข่าย ๕ ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติและขบวนการสหกรณ์

   พิธีทางศาสนา และทำบุญตักบาตร

   พิธีสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

   มอบโล่บุคลากรสหกรณ์ดีเด่น

   กิจกรรมกีฬาสามัคคีและงานเลี้ยงสังสรรค์

๒. ในส่วนภูมิภาค  ๗๕  จังหวัด  สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศร่วมกันจัดกิจกรรมงานวันสหกรณ์

   แห่งชาติ โดยมีการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

   พิธีสักการะพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ

   กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ หรือ กิจกรรมที่แสดงพลังเอกภาพ และความสามัคคี

๓. กิจกรรมแข่งขันกีฬาสามัคคี ณ สนามกีฬาโรงงานยาสูบ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

๔. กิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ สร้างความสามัคคีขบวนการสหกรณ์ ณ ศูนย์การประชุม

    แห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร

 

 

หมายเลขบันทึก: 238765เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ตามมาดูวันสหกรณ์ พี่สบายดีไหมครับ

(*-*) อ.ขจิต  พี่สบายดีตอนนี้เตรียมงานวันสหกรณ์แห่งชาติค่ะ ไม่ได้เข้าบล็อกเกือบสองเดือน ต้องขยันเข้าบล็อกบ่อยๆ แล้วอิอิอิ อ.ขจิตเป็นอย่างไรบ้างสบายดีป่าวค่ะ แล้วจะเก็บภาพงานวันสหกรณ์แห่งชาติ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒  มาฝากค่ะ 

สวัสดีครับ ทุกคนต่างคิดถึงท่านห่างหายไป  ดีใจได้เห็นคอมเม้นท่านในบันทึก ท่านเป็นกำลังใจที่สำคัญกับผมตลอดมา สบายดีนะครับ  ผมได้วิธีดูแบงค์จากบันทึกท่าน  หังว่าจะได้อ่านบันทึกดีดีจากท่านอีก ขอให้ท่านโชคดีครับ

                              

                 พระประวัติและพระนิพนธ์

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี"

พระประวัติ
พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง  เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี  พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์  พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖     

พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา" พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐   พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน

พระโอรส-ธิดา
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสมรสกับคุณพัฒน์ บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์ รัชนี หม่อมเจ้าศะศิธร บุนนาค หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์ รัชนี ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (วรวรรณ) พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ
หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ี้

พระนิพนธ์
ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากพระนามเดิม รัชนีแจ่มจรัส มีผลงานตีพิมพ์ ได้แก่
1. ชีวิตชั้นๆ
2. เรื่องตามเสด๊จอเมริกา จดหมายถึงเพื่อน
3.จดหมายจางวางหร่ำ
4.นิทานเวตาล
5.กนกนคร
6.ความนึกในฤดูหนาว
7.ประมวลนิทานของ น.ม.ส.
8.ชุดวิตและงาน น.ม.ส.
9.ฉันท์ สดุดี สังเวย

พ.ศ. ๒๔๔๘ - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ -สืบราชสมบัติ พ.ศ. ๒๔๕๙ - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา พ.ศ. ๒๔๖๑ - นิทานเวตาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒกร รัชนี พ.ศ. ๒๔๖๕ - กนกนคร พ.ศ. ๒๔๖๗ - ความนึกในฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๙ - ปาฐกถา เล่ม ๑ พิมพ์แจกในงานพระราชเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม พ.ศ. ๒๔๗๒ - ปาฐกถา เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๔๗๓ - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา พ.ศ. ๒๔๗๔ - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พ.ศ. ๒๔๗๓ - กลอนและนักกลอน พ.ศ. ๒๔๗๔ - คำทำนาย พ.ศ. ๒๔๗๗ - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ - เสภาสภา พ.ศ. ๒๔๘๑ - ปฤษาณาเหรันศิก พ.ศ. ๒๔๘๗ - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรพระเนตรมืด ต้องให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอก

 

            ทำบุญเลี้ยงพระและพิธีวางพานพุ่ม
                     วันสหกรณ์แห่งชาติ 52

           ณ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

                                     แข่งขันกีฬาสามัคคี
         วันสหกรณ์แห่งชาติ 26 ก.พ.52 ณ สนาม สอ.โรงงานยาสูบ

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท