ต่อจากที่แล้วครับ และก็จบครับ


“กลุ่มเพศวิถี “ชาย” กับสิทธิ์ทางศาสนา”(8)

แต่ในทัศนะผู้เขียนเอง ฟันธงแบบไม่ต้องคิดได้เลยว่าผู้เขียนเชื่อได้เลยวิธีการดังกล่าวไม่ได้ถูกสนองตอบแน่นอน และเป็นเรื่องที่ห่างไกลต่อโอกาสที่จะเป็นไปได้อย่างแน่นอนแต่ในเวลาเดียวกันก็มีกลุ่มที่เห็นด้วยและสนับสนุนกลาย ต่อพฤติกรรมดังกล่าวว่าสามารถบวชได้ถ้าไม่ทำให้เกิดเป็นโลกวัชชะชาวโลกติเตียนที่ว่าทำตัวเหมือนกะเทยโยม แต่งหน้าทาปาก หรือใช้เครื่องสำอางค์มีวิธีแต่งผ้าจีวรที่แปลกจากรูปแบบในพระธรรมวินัย ถ้าบวชเพื่อปฏิบัติจริงตรงนั้นควรสนับสนุน แล้วถ้าพระพุทธศาสนาจะออกแบบเป็นกรณีไป ก็คงเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาได้มีช่องทางในการเข้าถึงและแสวงหาพุทธธรรมได้มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมแห่งพุทธธรรมอย่างแท้จริง มิใช่กลายเป็นวิวาทะและเกิดช่องว่างในฐานะเป็นชาวพุทธด้วยกัน จนกระทั่งกลายเป็นการเผชิญหน้ามากกว่าที่จะหาทางออกร่วมกันเพื่อแสวงหาสันติตามแบบของชาวพุทธได้

สรุป

ประเด็นปัญหานี้คงไม่มีคำตอบว่าได้หรือไม่ได้เสียทีเดียว แต่เพื่อเป็นการแสวงหาความเข้าใจร่วมกันเสียมากกว่า       โดยทัศนะส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับต่อสถานะของกลุ่มพระตุ๊ด

เณรแต๋วโดยตรงแต่ยอมรับในฐานะเป็นสมาชิกในสังคมที่จะสามารถปฏิบัติธรรม และเรียนรู้ได้ ก็หมายความว่า  แนวคิดในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้ยกให้เป็นเงื่อนไขหรือผู้ใดเท่านั้นก็หมายความว่าพระพุทธศาสนาก็เปิดโอกาสให้ แต่ก็มีบางทัศนะที่มองว่าถ้าเข้ามาด้วยเจตนาที่ประสงค์ต่อการปฏิบัติจริง ก็เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน แต่ในเวลาเดียวกันก็ต้องป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะแก่สมณสารูปอันจะเป็นสาเหตุของ โลกวัชชะเหมือนกับที่เกิดขึ้นถึงความเหมาะสมไม่เหมาะสมได้

พระพุทธศาสนายอมรับ ศักยภาพของมนุษย์ในฐานะเป็นผู้ที่จะสามารถพัฒนาได้ และในเวลาเดียวกันศาสนาก็ไม่ได้มีเงื่อนไขต่อเพศ ในการเข้าถึงธรรมหรือบรรลุธรรมแต่ประการใดดังกรณีที่พระองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ แต่เงื่อนไขกับสิทธิ์ในการบวชเป็นกระบวนการคัดสรรค์ โดยมีเป้าหมายปลายทางเพื่อการรักษาสังฆะก็คือหมู่คณะ กรอบเกณฑ์เหล่านี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะเสียมากกว่าความเป็นปัจเจก

ดังนั้นเพียงแต่เราแสวงหาความเข้าใจร่วมกัน และสามารถหาทางออกร่วมกันได้ในเบื้องต้น เพื่อพัฒนาการของพระพุทธศาสนาอาจสร้างทางเลือกมากขึ้น โดยไม่ละเลยกรอบเกณฑ์เดิมอันดีไว้ก็จะเป็นการสมควรไม่น้อย และในเวลาเดียวกันความเจริญหรือจะเสื่อมของพระพุทธศาสนาก็โดยพุทธบริษัท เราเองในฐานะเป็นชาวพุทธ ใน ๔ก็มีหน้าที่และความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบริษัทอื่นแต่อย่างใด        ในการที่จะช่วยกันรักษาและสืบต่ออายุ

พระพุทธศาสนา รวมไปถึงช่วยกันรักษา คุณค่าและ ความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนาไว้ร่วมกันในฐานะเป็นชาวพุทธ รวมไปถึงปฏิบัติตนเพื่อไปสู่ปลายทางแห่งพุทธธรรมด้วยภาวะที่เราเป็นอย่างตั้งใจ จะมีประโยชน์อะไรถ้ามีผ้ากาสาวะคลุมกายแต่ไม่ได้พัฒนาจิตยกใจเพื่อไปสู่พุทธธรรม จะต่างอะไรกับผ้าที่ใช้คลุมขอนซึ่งผ้าก็ไม่ได้ทำให้ขอนพัฒนาไปสู่หนทางใดได้         แต่ขอนก็ไม่ได้รับรู้ต่อคุณค่าของผ้าอันเป็นสัญลักษณ์ของความ

บริสุทธิ์แต่ประการใด

พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตถ้ายกจิตบริหารใจได้ จะมีอาภรณ์ใดคลุมกายก็ช่าง ความบริสุทธิ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติอย่างแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 238755เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

รบกวนขยายตัวอีกษรด้วยค่ะ ตัวเล็กมองไม่เห็นค่ะ ขอประทานอภัยค่ะ

สวัสดีค่ะ

พยายามมาอ่านค่ะ แต่ดังที่คุณศิลาว่า....ตัวเล็กมาก อ่านไม่ค่อยออก...

ขอบคุณค่ะ

(^__^)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านอีกครั้ง ตัวหนังสือใหญ่ขึ้นอ่านได้ชัดเจนและง่ายขึ้นแล้วค่ะ

มาขออนุญาตแนะนำตัวค่ะ เพราะคุณวิญญาณเสรี ได้กล่าวไว้ในบันทึกของคนไม่มีรากว่า...

"สรรรพสิ่งล้วนไร้ราก"  ยังไม่แตกฉานนักค่ะ แต่คุณครูกานท์ ท่านได้กรุณาประพันธ์ร้อยกรองนี้ให้ และคิดว่าตรงกับ ตัวตน ของตัวเอง จึงนำมารายงานตัวไว้ค่ะ...

 ไม่มีราก เพราะตัดราก จากกิเลส(^___^)

 

คุณ วิญญาณเสรี มีที่ปรึกษาซึ่งเก่งและเชี่ยวชาญคือ คุณศิลา ... ไม่ต้องฝากตัวกับคนอื่นแล้วค่ะ...

ยินดีต้อนรับค่ะ

ขอโทษนะคะ เกิดอะไรไม่ทราบค่ะ

ลอกมาแล้วไม่โพสต์ทั้งหมด...เอาใหม่ค่ะ

 ไม่มีราก เพราะตัดราก จากกิเลส(^___^)

สุดวิเศษ ไม่พะวง บ่วงสงสาร

นี้คือพร ซ่อนลึก ในพฤกษ์พนานต์

ทุกปีกาล สวัสดี นิรันดร"

 

สวัสดีครับ ขอขอบพระคุณมากครับที่ให้เกียรติเข้าไปทักทาย ในฐานะเป็นชาวพุทธ แต่ก็ยังไม่เข้าใจในพุทธเท่าไร ก็ได้แต่อ่านหนังสือ ยังขาดครูบาอาจารย์ที่จะช่วยชี้แนะ  บันทึกของผมเป็นเพียงประสบการณ์ในการทำงานเท่านั้น ได้เห็นได้พบอะไรก็นำมาฝึกเขียนในบันทึก ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง ครับ

พี่ครูต้อยเอามาฝากนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างค่ะ

http://gotoknow.org/blog/fortune/206989

เรื่องราวที่เขียนเป็นประเด็นที่โดนใจค่ะ ขอเป็นศิษย์ด้วยค่ะ

จิตบริหารใจ ยากที่ต้องฝึก เหมือนคนว่ายน้ำไม่เป็น และเมื่อว่ายเป็นแล้ว คงเหลือที่ความมานะพยายาม และพัฒนาให้มากขึ้น หากหยุดซ้อม ความสามารถย่อมลดน้อยลง จนถึงอาจต้องหัดว่ายใหม่

ขอบคุณนะค่ะ

  • ตามมาดูค่ะ
  • แวะเข้ามาหลายนาทีแล้ว
  • เนื่องจากเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ
  • จึงคลิ๊กย้อนไปอ่านตอนก่อน ๆ ค่ะ
  • เป็นข้อมูล ความรู้ ดีมากค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ ที่แวะไปแนะนำตัวที่บันทึกของครูอิง
  • ทำให้ครูอิงได้มาอ่านบันทึกดี ๆ เช่นนี้
  • ขออนุญาตเผยแพร่ ด้วยการไปแนะนำเพื่อนอีกคนให้มาอ่านนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ยินดีที่ได้รู้จัก
  • และขอขอบคุณที่กรุณาไปเยีรี่ยมบันทึก
  • ติดตามมาอ่านเรื่อง..ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา
  • ได้มีความเข้าใจ..มากขึ้นค่ะ
  • แล้วจะมาติดตามอ่านอีกเรื่อย ๆ นะคะ
  • เขียนได้ดีมากครับ
  • เอาอันนี้มาฝากก่อนนะครับ
  • ตกแต่งบล็อก

    http://gotoknow.org/blog/katti/199894

    ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

  • การเอารูปภาพขึ้น

    ·     ไปที่เมนูของ silinb

    ·     ไปที่ไฟล์อัลบัม

    ·     กดนำไฟล์ขึ้น

    ·     browse หาภาพจากเครื่อง

    ·     กดบันทึก

    ·     ไปที่บันทึก

    ·     กดแก้ไขบันทึก

    ·     ข้างล่างเขียนเขียนว่า

    ·     แทรกรูปภาพ

    ·     กดที่แทรกภาพ

    ·     จะเห็นภาพปรากฏ

    ·     กดที่ภาพ

    ·     ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก

    ·     กดบันทึกเก็บ

    ·     เดี๋ยวจะตามมาดูนะครับ

    "'old soldiers never die: they simply fade away'

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่ไปเยี่ยม

มาให้กำลังใจ

ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท