ผลประโยชน์ในโลกของปัญญา


ในโลกชองปัญญาก็มีผลประโยชน์เหมือนกัน  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเด็กอยากเขียนภาพแม่  การได้เขียนภาพแม่ก็เป็นผลประโยชน์(ทางปัญญา)   อยากจะเขียนวรรณกรรม  การได้เขียนวรรณกรรมก็เป็นผลประโยชน์, อยากไปดูภาพศิลปะในพิพิธภัณฑ์  การได้ไปดูก็เป็นผลประโยชน์, อยากเขียนตำรา การได้เขียนตำราก็เป็นผลประโยชน์,  อยากทำโจทย์เลข  การได้ทำโจทย์เลขก็เป็นผลประโยชน์,  อยากอ่านหนังสือ การได้อ่านก็เป็นผลประโยชน์, อยากจะเสนอความคิดในที่ประชุม  การได้เสนอก็เป็นผลประโยชน์  อยากจะทำวิจัย  การได้ทำก็เป็นผลประโยชน์,  อยากทดลองทางวิทยาศาสตร์  การได้ทดลองก็เป็นผลประโยชน์,อยากสร้างยานอวกาศ  การได้สร้างก็เป็นผลประโยชน์, อยากจะท่องดวงดาว  การได้ท่อง  ก็เป็นผลประโยชน์, ฯลฯ   เหล่านี้  จัดอยู่ในกลุ่มผลประโยชน์ในโลกของปัญญา

นักเรียนเรียนอยู่ในห้องเรียนทุกวัoๆ ก็อยู่ในโลกของปัญญา  และหากว่า "อยากเรียน"  การได้เรียนก็เป็นผลประโยชน์ ทางปัญญา  นักวิทยาศาสตร์อยากรู้อะไรอย่างหนึ่งจึงหมกมุ่นอยู่ในห้องทดลองเป็นเดือน  การได้บรรลุผลการทดลองถือเป็นผลประโยชน์, สถาปนิกต้องการออกแบบบ้านที่เป็นเลิศ  การได้แบบบ้านดังกล่าวก็เป็นผลประโยชน์,  วิศวกรอยากสร้างรถยนต์ที่ไม่เหมือนใคร  การได้บรรลุผล  ก็เป็นผลประโชน์, เป็นต้น

ผู้ที่ต้องการผลประโยชน์ดังที่กล่าวมา  จัดเป็นผูที่อยู่ในโลกของปัญญา  ผลประโยชน์เป็นผลประโยชน์ทางปัญญา

ถ้าจะถามว่า  คนทั้งโลก  ถ้าจัดเข้ากลุ่มใฝ่หาผลประโยชน์ทางกาย / อารมณ์  กลุ่มหนึ่ง  กับกลุ่มใฝ่หาผลประโยชน์ทางปัญญาอีกกลุ่มหนึ่ง  แล้วกลุ่มไหนจะมากกว่ากัน?  คำตอบน่าจะเป็นดังนี้

ถ้าเรานำความรู้จากโค้งปรกติมาใช้  ก็น่าจะได้ว่า  พวกอยู่ในโลกของปัญญามีน้อย  คือราวๆ  16 %  พวกที่อยู่ในโลกของกาย และอารมณ์จะมีมากราวๆ 84% !!!

 

หมายเลขบันทึก: 238621เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2009 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สงสัย ๒ ประเด็น...

ประเด็นแรก เมื่อมี ผลประโยชน์ ก็น่าจะสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งนี้ แต่ก็ยังนึกไม่ออกว่าอะไรน่าจะเหมาะสม...

ประเด็นหลัง คำว่า โค้งปรกติ จินตนาการไม่ได้เลยว่าเป็นอย่างไร... ถ้าจะกรุณา อาจารย์ช่วยขยายความเพิ่มเติมเรื่องโค้งปรกติสักหน่อย เพราะไม่มีพื้นฐานด้านนี้...

เจริญพร

ผมเข้าใจอย่างนี้ครับอาจารย์...ผลประโยชน์ที่อาจารย์กล่าวถึง...หมายถึงผลสำเร็จของความอยาก...ผลประโยชน์ในโลกปัญญาของอาจารย์น่าจะเป็นผลสำเร็จของความอยากที่เป็นกุศลกรรม...

เลยเกิดคำถามว่า....คำว่าปัญญาที่อาจารย์ใช้ เป็นปัญญาทางโลกหรือโลกุตระ...

เช่นนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าโค้งปกติ...ปัญญาทางโลกผมให้อยู่ที่ค่า 1 SD   ถ้าเป็นปัญญาทางโลกุคระ 2 SD ก็ยังมากไปมังครับ อาจารย์...

ด้วยความเคารพ

นมัสการพระคุณเจ้า

โค้งปรกติหรือ Normal Curve เป็นโค้งที่ได้จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ได้มาจากการสังเกตข้อมูลจริงในโลกจริง เรียกกันว่าโค้งทางทฤษฎี ลักษณะของโค้งคือ คล้ายภูเขา กองทราย ที่ตรงกลางโป่ง ปลายทั้งสองด้านแฟบลง พื้นที่ภายใต้โค้งนี้ประมาณ 100 % ถ้าลากเส้นจากยอดลงมาตั้งฉากกับฐานแล้วเส้นนั้นจะแบ่งโค้งออกเป็นสองซีกเท่าๆกัน ตรงจุดกึ่งกลางของเส้นฐานกำหนดให้เป็นจุด 0 จากจุด 0 ไปทางซ้ายและทางขวาเรียกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard diviation : SD) โดยแบ่งออกเป็นช่วงๆละเท่ากัน ไปทางขวา +1SD จะกันพื้นที่ใต้โค้งไว้ ราว 34 % ถัดไปอีก 1SD คือที่ +2SD จะกันพื้นที่ไว้อีกราว 14% ถัดไปอีกที่ +3SD จะมีพื้นที่ราว 2% รวมพื้นที่ด้านบวกก็ราว 50% ถ้าไปทางด้านซ้ายมือก็จะได้ -1SD(34%), -2SD(14%), -3SD(2%) รวมเป็น 50% เหมือนกัน

คราวนี้ถาเราเอาแบบทดสอบมาตรฐานที่วัดความคิด หรือปัญญาของคนเป็นจำนวนมากๆแล้วนำคะแนนมาแจกแจงความถี่ ก็จะพบว่า เป็นโค้ง "คล้ายๆกัน" คือตรงกลางโป่งปลายทั้งสองแฟบ แต่ก็จะไม่เป็นแบบโค้งเชิงทฤษฎีที่กล่าวมา เราก็ "อุปนัย"เอาว่า ถ้าทดสอบกับคนมากๆ เช่นเป็นล้านๆ และอย่างสุ่มๆแล้ว เราจะได้โค้งแบบปรกติ

ต่อไปก็มาถึงการตีความ เราตีความว่า ในบริเวณ +3SD นั้น จะเป็นพวกอัจฉริยะ ฉลาดมากๆ มีราว 2 คนใน 100 คน ที่บริเวณ +2SD จัดเป็นพวกฉลาด มีราว 14คนใน 100 คน ในบริเวณ -1SD - +1SDจัดเป็นพวกปานกลาง มีราว 68คนใน 100คน ถัดไปก็เป็นพวกค่อนข้างโง่ มีราว 14 คนใน 100คน ถัดไปอีกก็เป็นพวกโง่มากมีราว 2คนใน 100 คน

คนส่วนใหญ่เป็นพวกปานกลางมีราว 68 คนใน 100คนครับ ระบอบประชาธิปไตยให้ถือเสียงส่วนใหญ่ ก็แน่นอนครับ เป็นเสียงของพวก 68%นี้แหละครับที่ปกครงประเทศ !!!

และยังรวมเอาพวกปลายโค้งทางซ้ายเข้าไปอีก 16%ด้วย ซึ่งเป็นพวกโง่และโง่มากๆเข้าไปร่วมปกครองประเทศด้วย จึงมีอย่เนืองๆที่คนปลายโคงทางขวางตีอกชกหัวตัวเองด้วยความแค้นใจที่ไม่ได้ดังใจ!! นั่นแหละประชาธิปไตย !!!

เมื่อผมมาพิจารณาขบคิดและได้เสนอ"ทฤษฎีสามโลกของมนุษย์"ขึ้นมานี้ ผมได้ตั้งสมมุติฐานเชิงทฤษฎีว่า พวกที่ลุ่มหลงอยู่ในโลกของกายและอารมณ์น่าจะเป็นคนพวก 84%นี้อย่างมีความน่าจะเป็นสูง

ผมทดสอบทฤษฎีนี้ไม่ทัน เพราะย่างเข้าวัยชราแล้ว จึงได้ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังเขาได้ดูกันในเว็บนี้ครับ จึงขอขอบคุณพระคุณเจ้าและทุกคนที่อ่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

คุณ"นายขำ"ของผม

"ผลประโยชน์" มีความหมายดังที่คุณว่านั่นแหละ แม้ไม่เต็มร้อยก็ถือว่าใช่ ผมได้นิยามไว้ในบางแห่งในบล็อกเหล่านี้ว่า "ผลประโยชน์คือสิ่งที่ผู้นั้นต้องการ" เรายังไม่ได้เป็นผู้แทน แต่ "เราอยากเป็นผู้แทน" การได้เป็นผู้แทนก็เป็น"ผลประโยชน์"ของเรา ถ้าเราได้เป็นผู้แทนแล้ว "ตำแหน่งผู้แทนที่เราครองอยู่"ก็เป็น"ผลประโยชน์"ของเรา

ในเรื่องของปัญญาว่าเป็นแบบโลกียะหรือโลกุตระนั้น ปัญญาอย่างโลกียะ และอย่างโลกุตระ ต่างก็เป็น "สับเซ็ต"ของ"ปัญญา"

ในตัวอย่างเรื่องการคิดเลข ขณะที่เราคิดโจทย์เลขนั้น จัดเป็นพฤติกรรมในโลกแห่งปัญญา แม้ว่าในขณะนั้นเราจะใช้มือเขียนเลข(กาย) ตากลอกกลิ้งไปมา(กาย)ลำตัวกะดุกกะดิกไปมา มือไม้เกานั่นนี่อย่างไม่ได้ตั้งใจ(กาย) บางทีหงุดหงิดเพราะคิดไม่ออกหรือมีคนรบกวน(อารมณ์)บ้างก็ตาม ก็เป็นเพียงส่วนน้อย ส่วนใหญ่เป็นบทบาทการคิดของโลกทางปัญญา

ปัญญาทางโลกหรือโลกียะปัญญาเป็นปัญาที่คนใช้มันเพื่อรับใช้กายและอารมณ์ เช่นแพทย์และวิศวะที่ต้องใช้ปัญญาค่อนข้างสูง แต่ถ้าผู้นั้นมุ่งหวังที่จะออกไปหาเงินลูกเดียว ก็จัดเข้าเป็นพวกใช้ปัญญารับใช้กายและอารมณ์ เป็นโลกียะปัญญา แต่ถ้าพวกเขามุงหวังที่จะช่วยคนมากกว่าหาเงิน ว่างก็ใช้ปัญญาของคนค้นคิดยาขนานใหม่ วิธีผ่าตัดใหม่ๆ เพื่อให้คนพ้นทุกข์ทรมานจากการปว่ยไข้โดยไม่ได้คิดนำผลนั้นไปหาเงินให้พอกพูน ก็เปนโลกุตระปัญญาได้

"การคิด"ใดๆถ้าไม่ไปรับใช้กายและอารมณ์แล้ว ก็ถือเป็นโลกของปัญญาได้ แต่ผมพยากรณ์ว่า มีความน่าจะเป็นน้อยมากกับพวกบริเวณน้อยกว่า +1SD ลงไป และมีความน่าจะเป็นสูงกับพวกแถบ +1SD ขึ้นไป

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

  • อนุโมทนาอย่างยิ่ง

ตั้งใจอ่านสองเที่ยวก็พอเข้าใจและจินตนาการได้ เพียงแต่รายละเอียดบางอย่างเท่านั้นที่รู้สึกว่ายังงงๆ...

ตามความเห็นอาจารย์ไป... ทำให้นึกถึงแนวคิดเรื่อง philosopher king (คลิกที่นี้) ซึ่งเป็นแนวคิดของพลาโต้ที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย แล้วก็เสนอการเลือกสรรนักปกครองโดยวิธีการศึกษาไปเรื่อยๆ (อาจารย์น่าจะเคยผ่านเรื่องนี้)

ประเด็นเรื่องโค้งปกติของอาจารย์นี้ อาตมาคงนำไปใช้เพื่อขัดคอใครบางคนในอนาคตแน่นอน (ค่อนข้างจะมั่นใจ 5 5 5...)

เจริญพร

ผมยังไม่เคยอ่านข้อเขียนเรื่อง Philosopher King ครับ  เพียงเคยได้ยินเขาพูดกันบ้าง และเคยเข้าใจเอาเองว่า  หมายถึงการให้คนฉลาดมากๆเป็นผู้นำ  ซึ่งเมื่อได้อ่านแล้วก็สอดคล้องกันกับที่เข้าใจ  แต่ในขณะเขียน  ผมไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้เลย  มันคิดไปเองตามโลกแห่งความคิดของผมครับ  แต่ถ้ามองในแง่เผด็จการจากคนๆเดียวแล้ว ผมไม่เห็นด้วยเลย  ท่านพลาโตเองก็ไม่ใช่ว่าจะถูกเสมอไป  ได้สอนผิดๆอย่างมหันต์ไว้หลายอย่าง  มันเป็นความจริงที่ของทุกอย่างมีทั้งดีและเสีย

normal curve

จากความสนใจของพระคุณเจ้า  เกี่ยวกับโค้งปรกติ  ผมจึงได้ส่งภาพมาเพิ่มเติมครับ  เป็นภาพโค้งปรกติตามที่ผมได้บรรยายมา

  • อนุโมทนาอย่างยิ่ง...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท