โรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ (๓/๓) : การเคลื่อนต่อ


บันทึกต่อจาก โรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ (๒/๓) : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

            การเคลื่อนต่อ
           ปัจจุบันนี้ยังตอบไม่ได้ว่าชาวนานครสวรรค์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่ (รุ่นลูกมาเป็นชาวนาหรือไม่)  เพราะมีปัจจัยเรื่องเงิน  เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งก็มีบ้างที่คนหนุ่มสาวมาเป็นเกษตรกร  แต่ในภาพรวมยังเป็นเรื่องของวิกฤตในอาชีพชาวนา เพราะข้อมูลที่มีอยู่นั้นคนที่จะต้องทำนาต่อเป็นรุ่นลูก แต่ตอนนี้คนทำนายังเป็นรุ่นพ่อแม่อยู่    จึงมีการเคลื่อนต่อไปอีกคือ กลุ่มโรงเรียนชาวนาแกนนำต่างๆ ตกลงกันไว้ว่าจะตั้งเป็นมูลนิธิในวันที่ ๒๐ ก.พ. ๕๒ ชื่อ มูลนิธิจัดการความรู้โรงเรียนชาวนานครสวรรค์  ซึ่งจะเป็นนิติบุคคลทำให้เวลาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ หรือ ต้องการขับเคลื่อนงานของกลุ่มจะได้ไม่ต้องอยู่ในร่มคนอื่น ไม่ต้องใช้มูลนิธิอื่น  ทำให้มีความเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น    สำหรับเรื่องอื่นๆ ก็ค่อยๆ ขยับไป  ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นั้นก็ตื่นตัวกันมากและเป็นกำลังให้กัน   


          หลังจากสร้างมูลนิธิฯ สักพักเราก็จะให้เขายืนด้วยตัวของเขาเอง เคลื่อนเอง เพราะตอนนี้เขาก็มั่นใจมากขึ้นแล้ว
 

          บันทึก โรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ทั้ง ๓ ตอนที่ดิฉันได้บันทึกไว้นี้ . . . เป็นเรื่องที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการพูดคุยกับ คุณไพศาล  ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดทำให้เห็นวิธีคิด กระบวนการ ที่มาที่ไป  และเทคนิควิธีการต่างๆ ในการทำงานภาคประชาสังคม  เราต้องทำให้เขาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ให้อิสระในการตัดสินใจ  ปล่อยให้เรียนรู้ สัมผัส และเห็นด้วยตัวเอง  ไม่ใช้วิธีบังคับหรือสั่งการ (ถึงแม้จะเป็นแนวทางที่ดีก็ตาม) และการทำงานกับชาวบ้านต้องใช้ระยะเวลาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในระยะเวลาอันสั้น  

หมายเลขบันทึก: 238379เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณอุำำไรวรรณ

  • ขออนุญาตเรียกคุณก็แล้วกันนะ อาตมาทำนาตั้งแต่ที่อำเภอหนองบัีว นครสวรรค์ยังไม่มีรถเกี่ยวข้าวโน่นแนะ ใช้เคียวเกี่ยวข้าว ลงแขกเกี่ยวข้าวมีคนเป็นร้อย
  • ไถก็ใช้ควาย มีรถไถบ้างแต่เป็นรถไถนาคันใหญ่ รถอีแต๋นยังไม่มีที่หนองบัว
  • การขนส่งข้าวก็คือเกวียนโดยเอาแรงกันเข็นข้าวฟ่อน เหนื่อยมาก ๆ
  • เลิกทำนามาปีนี้เป็นปีที่ ๒๙ แล้วเพราะบวชปี ๒๕๒๓ พันธุ์ข้าวเมื่อก่อนก็ใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
  • ตอนที่ทำนั้นเกือบไม่ใช้สารเคมีอะไรเลย คือน้ำในทุ่งนาหนองบัวยังกินได้ ไปนาไม่ต้องเอาน้ำไปจากบ้าน ขุดบ่อในนาก็ได้น้ำกินแล้ว หรือน้ำตามปลักควายก็กินได้นะ
  • นึกถึงตอนนี้แ้ล้วมีแต่อันตรายทุกอย่างเลย เมื่อก่อนน้ำในนาจะใสมาก ๆ กุ้งหอยปูปลาชุกชุมไปหมด ปัจจุบันเขาว่าปลาหอยกุ้งสัตว์ต่าง ๆ ไม่มีเลยน่าเศร้าเนาะ
  • โรงเรียนชาวนาชื่อเท่ดีจัง เคยไ้ด้ยินไหมถ้าลูกหลานไปเรียนต่อมหาวิทยาัลัยคณะเกษตรศาสตร์ละก็พวกผู้ใหญ่จะพูดกันว่าพวกมึงจะไปเรียนทำไมเกษตรนะ ก็กูจะให้มึงไม่ทำนานะซิที่ส่งมึงเรียนเนี่ย(ขออภัยนะที่ใช้คำพูดแบบนี้เพราะชาวบ้านเขาพูดกันแบบนี้แหละ) ก็น่าสนับสนุนส่งเสริมชาวนาเพราะชาวนั้นหมดเรียวหมดแรงหมดเนื้อหมดตัว หมดนา แต่หนี้ไม่หมดสักกะที

ขอเจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท