หลักสูตรใหม่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ตอนที่ ๑)


มาเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ผมได้อ่านวารสาร "การศึกษาต้องมาก่อน" ฉบับที่ 3 (พิเศษ) มีการนำเสนอและเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 กับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ทำให้เห็นจุดเน้นและข้อแตกต่างของหลักสูตรทั้งสอง เห็นว่าน่าจะนำมาเสนอต่อเพื่อนครูที่กำลังแสวงหาและเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ของเรา อาจช่วยให้ท่านเหล่านั้นได้ Concept เพื่อเตรียมการก้าวสู่โลกใหม่ของการจัดการศึกษาในอนาคตอันใกล้

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยหลักสูตรฉบับนี้จะเริ่มใช้ในโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่มีความพร้อมในปีการศึกษา 2552 และใช้ในโรงเรียนทั่วไปในปีการศึกษา 2553 มีข้อสงสัยหลายประการจากครู ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา

จุดเด่นของหลักสูตรมีอะไรบ้าง

คำตอบก็คือ 1. เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน ตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ

                2. เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

               3. ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

               4. กำหนดตัวชี้วัดชั้นปี ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพและมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษา

               5. กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ได้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางเพื่อเป็นจุดร่วมที่ให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น

               6. ปรับโครงสร้างเวลาเรียน ได้มีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ โดยกำหนดเวลาเรียนขั้นตำในแต่ละปีไว้และเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆและในกลุ่มสาระต่างๆมีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น

              7. ปรับเกณฑ์การวัดผลประเมินผล ได้มีการปรับการวัดผลประเมินผล โดยระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต

             8. กำหนดให้ผู้เรียนให้การบริการสังคม (Community Service) ได้มีการกำหนดให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้ให้การบริการแก่สังคม โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

ตอนต่อไปผมจะเปรียบเทียบให้เห็นว่าหลักสูตรใหม่ ดีกว่า หลักสูตรเก่าอย่างไร

อาจารย์เก

หมายเลขบันทึก: 238081เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • ขอบคุณอาจารย์เก
  • มากครับ
  • รออ่านการเปรียบเทียบ
  • แต่ชอบอันนี้ครับ
  • กำหนดให้ผู้เรียนให้การบริการสังคม (Community Service) ได้มีการกำหนดให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้ให้การบริการแก่สังคม โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากครับ ที่เข้ามาชม ผมเข้าใจว่าครูเรากำลังศึกษาเรียนรู้เรื่องหลักสูตรใหม่ บางคนกำลังสับสน ที่นำมากล่าวยังเป็นหลักการ ส่วนวิธีปฏิบัตินั้น ต้องเรียนรู้ในรายละเอียดอีกมาก ผมว่าครูจะต้องเหนื่อยอีกครั้งละครับ อ้อ....ผมลืมบอกว่า 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษาไทย เป็น 9 แห่งความหลังที่ไม่ก้าวหน้า (เท่าที่ควร) เรากำลังมุ่งสู่อนาคตที่ท้าทาย "จากต้นกล้า สู่ไม้แกร่ง" ครับอาจารย์ อาจารย์เก

ต้องขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ ถ้าผ่าน คศ.3 จะปิดถนนเลี้ยงใหญ่ตั้งแต่แม่มาลัยจนถึงแม่สะเรียงค่ะ ไม่รู้ว่าเรื่องหลักสูตรใหม่ เขต 1 เราเตรียมความพร้อมไปถึงไหนแล้ว หนูพอรู้เรื่องบ้าง(ไปอบรมมา พอเอาตัวรอดได้)แต่จะถนัดหลักสูตรของมัธยมมากกว่า ถ้าพอจะช่วยเหลืออะไรได้ก็บอกได้นะคะ

เรียนอาจารย์กรุณา

เราเตรียมอบรมให้ทั้งโรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนพร้อมใช้อย่างเต็มที่ แต่ถูกสะกัดจากเบื้องบนให้ดำเนินการเฉพาะโรงเรียนแกนนำเท่านั้น (เนื่องจากมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย)เราใช้เวลา 4 วันดำเนินการเรียบร้อยแล้วครับ สำหรับโรงเรียนอื่นๆ ผมก็แนะนำว่า คงต้องเป็น SBM แล้วละ.....(ตัวใครตัวมัน) แต่...ก็เสนอทิ้งท้ายไว้ว่า ไม่ควรรอ ให้ดำเนินการฝีกอบรมภายในได้เลย โดยเชิญ ศน.ไปเป็นวิทยากร หลายโรงก็ตอบรับ ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งหนึ่งครับ ที่หายไปเนื่องจากคอมพิวเตอร์ผมเจ๊งครับ

ลุงเก

อยากรู้ รายชื่อโรงเรียนแกนนำและโรงเรียนที่มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรครับ

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

ขอบคุณมากครับ

ได้ประเด็นครบถ้วน เข้าใจง่ายดีครับ

คุณ Wut ครับ

โรงเรียนแกนนำของสพท.มส. เขต 1 ได้แก่โรงเรียนห้องสอนศึกษา โรงเรียนอนุบาลขุนยวม และโรงเรียนบ้านวนาหลวง จำนวน 3 โรงเรียนครับ

อาจารย์เก

คุณจักรกฤษณ์ ครับ

ผมยังมีประเดนดีๆที่จะนำเสนออีกมาก แต่ผมรู้สึกท้อใจเมื่อครูเราทั่วประเทศมีความเห็นเป็นสองฝักสองฝ่าย ครั้นตัวเราเองจะยืนยันไปว่าหลักสูตรใหม่ดีกว่าหลักสูตรเก่า เราก็ยังบอกไม่ได้ มันเลยทำให้พะวักพะวงก็เลยตัดสินใจยุติเรื่องนี้ ไม่อยากให้ใครมองว่าเราเป็นกระบอกเสียงของใคร นั่นไม่ใช่วิสัยนักวิชาการอย่างเรา เราไม่ต้องการฝ่าย แต่เราต้องการความดีงามและความถูกต้อง จริงไหมครับคุณจักกฤษณ์

อาจารย์เก

ขอความกรุณา

พอดีอาจารย์ทางวิทยาลัยให้ทำตารางเปรีบยเทียบหลักสูตร 2544 กับหลักสูตรแกนกลาง 2551 ค่ะ ว่าแต่ละข้อแตกต่างกันอย่างไร หนูยังไม่เข้าใจจึงขอความกรุณาช่วยทำตารางเปรีบยเทียบให้ดูจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

หนูนักศึกษา

อาจารย์เพิ่งได้เข้ามาอ่าน เนื่องจากไม่มีเวลาไม่ทราบว่าจะทันตามที่ต้องการหรือไม่ อาจารย์จะตอบเป็นความคิดรวบยอดสั้นๆนะ

ประเด็น มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

หลักสูตรเก่า กำหนดมาตรฐานช่วงชั้น 4 ช่วงชั้นโดยมีหลายรูปแบบ ซำซ้อน ไม่นำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และสถานศึกษาต้องนำมาตรฐานช่วงชั้นไปกำหนดผลการเรียนรู้รายปีเอง

หลักสูตรใหม่ กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีในชั้นป.1-ม.3 และตัวชั้วัดช่วงชั้นในชั้นม.4-6 ดดยเขียนในรูปแบบเดียวกัน ไม่ซำซ้อน และตัวชี้วัดสามารถนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพ และทักษะการคิดวิเคราะห์

ข้อดี 1.ช่วยให้เป้าหมายการเรียนการสอนและการวัดผลในแต่ละระดับชัดเจน สะดวกต่อการวางแผนการจัดการเรียนรู้2.ช่วยให้คุณภาพระหว่างสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน 3.ควบคุมมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาภาคบังคับทัดเทียมกัน

ประเด็น การจัดทำสาระการเรียนรู้

หลักสูตรเก่า กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้กว้างๆสำหรับเป็นแนวทางไว้ให้โรงเรียนเทียบเคียง มิใช่เป็นสาระแกนกลางที่โรงเรียนต้องจัด

หลักสูตรใหม่ 1.กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางในแต่ละระดับไว้ชัดเจน สอดคล้องกับตัวชี้วัดชั้นปี และถือเป็นข้อกำหนดขั้นตำ ที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องใช้ 2.ให้เขตพื้นที่การศึกษากำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่นำไปใช้จัดการศึกษา 3. สถานศึกษาสามารถกำหนดสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม

ข้อดี 1. การที่โรงเรียนแต่ละแห่งยึดสาระแกนกลางทำให้เกิดเอกภาพในการจัดการศึกษาและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ 2. การให้เขตพื้นที่มีบทบาทในการกำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ทำให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพท้องถิ่น ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประเด็น โครงสร้างหลักสูตร/เวลาเรียน

หลักสูตรเก่า กำหนดเวลาเรียนไว้กว้างๆในแต่ละช่วงชั้น โดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งไปจัดแบ่งเองตามความเหมาะสม

หลักสูตรใหม่ 1. กำหนดเวลาเรียนขั้นตำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละปี

2. โรงเรียนสามารถกำหนดเวลาเรียนเพิ่มเติมได้ตามกรอบเวลาเรียนรวมที่ระบุไว้

ข้อดี ช่วยให้ผู้เรียนได้มีเวลาเรียนรู้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับธรรมชาติวิชา และจุดเน้นของโรงเรียน

ประเด็น การวัดผลประเมินผล และการจบหลักสูตร

หลักสูตรเก่า 1.วัดผลและรายงานผลโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2. ตัดสินผลรายปีในชั้นป.1-ม.3 รายภาคในชั้น ม.4-6 3. เกณฑ์ผ่านช่วงขั้นและเกณฑ์การจบสถานศึกษาเป็นผู้กำหนด 4. ให้มีการประเมินผลการอ่านคิดวิเคราะห์ เขียน ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมนักเรียน และนำผลมาพิจารณาการจบทุกช่วงชั้น 5. รายงานผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มิใช่ตามมาตรฐาน

หลักสูตรใหม่ 1. วัดผลและรายงานผลโดยยึดมาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี 2. ตัดสินผลรายปีในชั้นป.1-6 รายภาคในชั้นม.1-6 3. กำหนดเกณฑ์กลางการจบประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับให้โรงเรียนยึดถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน 4. ให้มีการประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมนักเรียน และนำผลมาพิจารณาการจบทุกระดับ 5. รายงานผลตามมาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี

ข้อดี 1. ช่วยให้การตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนทุกระดับมีความชัดเจน และสามารถแก้ไขพัฒนาผู้เรียนได้ตรงจุด 2. การกำหนดเกณฑ์กลางการจบการศึกษาในทุกระดับช่วยประกันคุณภาพผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับ 3. การรายงานผลการเรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดช่วยให้การส่งต่อผู้เรียน และการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษาถูกต้อง และสะดวก

ประเด็น กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรเก่า 1. กำหนดขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรไว้ตายตัว 2. เขตพื้นที่การศึกษาไม่มีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรใหม่ 1. กำหนดแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่น โดยสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม 2. เขตพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

ข้อดี 1. ช่วยให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรไปสู่ความเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานอย่างแท้จริง 2. ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่ และสามารถทำงานเชิงบูรณาการกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบให้เธอแล้วนะ ขอให้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมนะครับ หากสงสัยประเด็นไหนถามมาได้อีกนะ

อาจารย์เก

ช่วยบอกข้อด้อยและปัญหาในกานำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551มาใช้ว่ามีอะไรบ้าง ช่วยบอกหน่อยนะคะเพราะต้องเขียนส่งอาจารย์คะ

ขอรบกวนเวลาอาจาร์ย......นะคะ

คือหนูอยากทราบว่าลักษณะเด่นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 กับหลักสูตรท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างไร

ขอบคุณมากค่ะ

ลักษณะเด่นก็น่าจะคือ ข้อดีนั่นเอง ลองอ่านดูที่ตอบหนูนักศึกษานะ จริงๆแล้วคำตอบนี้ต้องรอให้ครูใช้สักพักหนึ่งก่อน จึงจะบอกข้อเด่นข้อด้อยได้

อาจารย์เก

ตอนนี้ รร. หนูเรียนตามหลัีก สูตรแกนกลางอยู่ ค้ะ

บอกตรงๆน้ะค้ะ ว่า เหนื่อย มาก ค้ะ จากที่ เรียนมา

ตอน ม. ต้น คือมีคาบว่าง เลิกเร็วแต่ ตอนนี้เวลาเหล่า นั้น

มันไม่มีแล้ว ค้ะ นร. ทุกคนต้องเลิก 5โมง เรียนวันละ 8 วิชา

อยาก ถาม ว่ามันจะได้ผลยังไง ค้ะเด็กไม่รู้ จะเอา สมองส่วนไหนไปจำแล้วค้ะ

พอเลิกเรียนเสร็จ ก็ต้องเรียนพิเศษต่อ กว่าจะกลับบ้าน ก็ 2ทุ่ม แร้ว

ต้องไป นั่งทำการบ้านแต่ละ วิชา อีก มันเหนื่อย มากค้ะเพื่อน นร.เกือบ ทุกคน

พูดกันเป็นเสียงเดียวค้ะว่าเหนื่อย ล้า มาก บาง คนถึงกับท้อในการเรียน

ศึกษา หลักสูตร ค่ะ

สวัสดีค่ะ อยากจะขอทราบหน่อยค่ะว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 สามารถพัฒนาเด็กไทยได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ตามหลักสูตรหรือป่าว หนูมองว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้ฐานของไทย เขียนไว้ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่า เราหรือ ครู อาจารย์ สามารถทำตามได้ที่หลักสูตรวางไว้ป่าว เช่น สมรรถนะของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยากจะขอคำแนะนำค่ะว่า ท่านมองหลักสูตรการศึกษาขัั้นพื้นฐาน 51 อย่างไร ข้อดี ข้อเสีย ขอบคุณค่ะ

ขอคำตอบด่วนได้มั้ยค่ะ อยากขอความคิดเห็นอีกมุมมองค่ะ เพราะจะเอามาทำเป็นรายงานค่ะ ก่อนวันพฤหัสบดีได้ป่าวค่ะ

หรือ ส่งมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณอย่างสูงค่ะ

สวัสดีคะ ตอนนี้กำลังเรียนหลักสูตรและการสอนอยู่คะ อยากทราบว่าหลักสูตรสถานศึกษาที่ทุกโรงเรียนสร้างขึ้นมามีความสำคัญมากมัยคะ เพราะไม่เห็นครูไม่ค่อยนำมาใช้ในการจัดสาระมากน้อยเพียงไดแต่จะนำเอาส่วนที่วัดและประเมินผลเท่านั้นน่าคิดคะ

หฃักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญมากกับสถานศึกษา เพราะมาจากสาระแกนกลาง ประมาณ 70 %บากกับสาระท้องถิ่นอีกประมาณ 30 % สำหรับสาระท้องถิ่นก็พิจารณาเอามาจากกรอบสาระท้องถิ่นที่สพป.ทุกเขตฯกำหนดขึ้น เรียกว่า กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ทีนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ โรงเรียนทำหลักสูตรสถานศึกษา แต่ไม่ได้นำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่จำเป็น หรือควรจะเรียนในโรงเรียนมาสอดใส่ไว้ในโครงร่างกลุ่มสาระนั่นๆ หรือใส่ไว้แล้ว แตครูไม่ใส่ใจนำไปจัดการเรียนรู้ มักง่าย ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีขายในท้องตลาดมาสอน ถ้าอย่างนี้ การจัดการเรียนรู้ก็ไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของหลักสูตร คือ ขาดความเป็นท้องถิ่น เรียนแต่เนื้อหาแกนกลางเท่านั้น มันจึงเกิดปัญหาด้านคุณภาพอย่างที่เห็น อาจารย์เก

รบกวนด้วยนะคะ อยากทราบข้อจำกัดของหลักสูตรแกนกลาง 51 ค่ะ หรือจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ก็ได้ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท