โครงการบึงพระราม 9


โครงการหลวง

เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการทางธรรมชาติผสม ผสานกับการใช้เครื่องกลเติมอากาศโดยให้หน่วยงาน กรมชลประทาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมที่ดิน รัฐบาลญี่ปุ่นและกรุงเทพมหานครร่วมมือ กันดำเนินโครงการฯ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 นอกจากนี้ ยังมีพระราชดำริให้ทดลองบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการเติมอากาศในบึงพระราม 9 โดยใน เบื้องต้นได้มีหลายหน่วยงานร่วมกันดำเนินงานประกอบ ด้วยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมชลประทานและกรุงเทพมหานคร
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้จัดหาที่ดินประมาณ 53 ไร่ อยู่ติดกับคลองลาดพร้าวฝั่ง ตะวันตกใกล้กับบริเวณที่คลองลาดพร้าวบรรจบกับ คลองแสนแสบ เป็นที่ก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียบึง พระราม 9 โดยกรมชลประทาน และกรุงเทพมหานคร ร่วมกันทำการสำรวจ และทำการออกแบบ และรัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือ ด้านการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 จนแล้วเสร็จและ ส่งมอบให้สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2532 เพื่อดูแลและเดินระบบ บำบัดน้ำเสียต่อไป
         โรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 เป็นโรงบำบัด น้ำเสียแบบสระเติมอากาศ (Aerated Lagoon)โดยใช้ เครื่องเติมอากาศ แบบทุ่นลอย ขนาด 11 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง น้ำเสียจากคลองลาดพร้าว ถูกสูบ เข้าบ่อเติมอากาศ (Aeration Pond ) และได้รับเพิ่ม ออกชิเจน โดยเครื่องเติมอากาศซึ่งทำงานคราวละเครื่อง (จากที่มีอยู่ 3 เครื่อง) ตลอด 24 ชั่วโมง สลับกันไปเป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการย่อย สลายสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำเสียด้วยแบคทีเรีย จากนั้นจึงไหลถ่ายเทไปยังบ่อตกตะกอนซึ่งเป็น บ่อกึ่งไร้สารอากาศ ( Facultative Pond)และเก็บกักในบ่อนี้นานประมาณ 2 วันแล้วไหลเข้าสู่บ่อ ปรับสภาพ (Maturation Pond) ก่อนปล่อยลงสู่คลองลาดพร้าวในอัตราเฉลี่ยของการบำบัดได้ 28,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
          ในปี พ.ศ. 2535 สำนักการระบายน้ำได้จัดทำโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด น้ำเสียของโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 เพื่อให้สามารถรับสภาพความเน่าเสียของน้ำในคลองลาดพร้าว ได้มากขึ้นเป็น 10 เท่า คือสามารถบำบัดได้ถึง 255,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาดสูบ 60 ลูกบาศก์เมตร/นาที เพิ่ม 3 เครื่อง และติดตั้งเครื่องเติมอากาศเพิ่มอีก 4 เครื่อง และเนื่อง จากโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ พาดผ่านบริเวณบ่อสูบน้ำและอาคาร สำนักงานโรงบำบัดน้ำเสียบึงพระราม 9 จึงต้องมีการสร้างบ่อสูบน้ำเสีย และอาคารสำนักงานใหม่ ซึ่งขณะนี้ก็ได้ทำการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว

http://image.google...

คำสำคัญ (Tags): #ภาพโครงการหลวง
หมายเลขบันทึก: 236821เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท