ยอดขัติยศรีนารี


พระผู้เดินตามรอยเท้าพ่อ

                   

ฝากรูป ฝากไฟล์ upload.212cafe.com

เฉลิมชนม์พระมิ่งหล้า ปวงไทย
ธ สิ่งประสงค์ใด พรั่งพร้อม
ศิ ริดิถีวัย สุขสร้าง นามมา
พระเปี่ยมปิติน้อม ยิ่งแล้ว ควรครอง
( คนึงนาง )

เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศไทย
พระองค์ทรงพบเห็นความทุกข์ยากของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่อยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร
ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายอ่อนแอ พระองค์ทรงตระหนักดีว่า
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศจะมีการพัฒนาก้าวหน้านั้น พลเมือง
จะต้องมีคุณภาพด้านร่างกายและสติปัญญา ทรงทราบว่าเด็กไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 อยู่ในภาวะ ขาดแคลนอาหาร
จึงทรงตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง
http://kanchanapisek.or.th/kp4/book0246/food.htm

ทศพิธราชธรรม ประกอบไปด้วยหัวข้อหลัก ดังนี้

๑. ทานํ การให้
๒. สีลํ ศีล การรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย
๓. ปริจฺจาคํ การบริจาค
๔. อาชฺชวํ ความเป็นผู้ซื่อตรง
๕. มทฺทวํ ความเป็นผู้อ่อนโยน
๖. ตปํ ตบะ ความบำเพ็ญเพียร เผาผลาญกิเลส
๗. อกฺโกธํ ความไม่โกรธ
๘. อวิหึสา ความไม่เบียดเบียน
๙. ขนฺติ ความอดทน
๑๐. อวิโรธนํ ความไม่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ไม่คิดร้าย
คุณธรรมของผู้เป็นใหญ่นั้น จะต้องทรงคุณธรรมในเรื่องพรหมวิหาร ๔ ให้อย่างยิ่งยวด และจะต้องละ อคติ ๔
ประการ
เมตตา ความรัก รักเสมอกัน
กรุณา มีความสงสาร สงสารเสมอกัน
มุทิตา ไม่อิจฉาริษยา เมื่อคนทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งได้ดี
เรายินดีกับความดีของบุคคลนั้น
อุเบกขา ถ้าสิ่งใดเกินวิสัยเกิดขึ้น เราก็ควรวางเฉยด้วยว่าเกินวิสัย

อคติ แปลว่าลำเอียง มี ๔ ประการ ได้แก่
ลำเอียงเพราะความรัก
ลำเอียงเพราะความโกรธ
ลำเอียงเพราะความกลัว
ลำเอียงเพราะความหลง
-----------------------------------------------------------
/-ธ งามพร้อม สมเป็น ขัติยะ
ทรงพระเจริญ ยั่งยืนนาน
ทรงเป็นมิ่งขัวญ ประชาไทย
ด้วยกล้ากระหม่อม ขอเดชะ
"คณะทำงาน"

โดย : ทรงพระเจริญ ยั่งยืนนาน [ 2006-04-01 09:11:30 ] 58.147.32.51 DELETE    แจ้งลบ

 

ความคิดเห็นที่ : 3

"เจ้าหญิงแห่งบทกวี"

ชุนเทียนนอนได้ไปถึงเช้า
ทุกแห่งเราได้ยินปักษา
ค่ำคืนเสียงลมฝนพัดมา
ดอกไม้ร่วงไม่รู้ว่าเท่าใด....

จะปล่อยร่วงไปไยเสียดายนัก
เพื่อนรักผู้มีจิตแจ่มใส
จงเด็ดดมรมรื่นชื่นหทัย
บุปผาคือน้ำใจไมตรี....

สุขล้ำสัมพันธ์ฉันมิตร
พาชีวิตเรืองรุ่งมุ่งเกียรติศรี
ดอกไม้หลายหลากมากมี
แต่ล้วนงามดีไม่แพ้กัน....

จะเป็นจีนเป็นไทยใช่ใครอื่น
จงชมชื่นผูกจิตสนิทมั่น
เด็ดผกาแทนใจผูกพัน
แบ่งปันประดับเรือนเตือนตาเอย....

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงแปลบทกวีชิ้นนี้ มาจากบทกวีจีน
ชื่อ"ชุนเสี่ยว"
หรือแปลเป็นไทยว่า "รุ่งอรุณแห่งฤดูใบไม้ผลิ"ของ
"เมิ่งเฮ่าหราน"
กวีเอก ในสมัยราชวงศ์คัง
นอกจากจะเป็นบทกวี ที่ทรงคุณค่าในวรรณศิลป์ไทยแล้ว
ยังแสดงถึงพระปรีชาญาณ ในด้านภาษาจีน ของพระองค์
ได้อย่างดีเลิศ
บทเพลงนี้ยังได้ถูกนำมาบรรจุ ใส่ทำนองเพลงไทยเดิมลงไป อย่างเพราะพริ้ง
ในนามของเพลง"จีนเด็ดดอกไม้เถา"อีกด้วย

โดย : กระเรียนรำ [ 2006-04-03 07:09:06 ] 203.113.76.11 DELETE    แจ้งลบ

 

ความคิดเห็นที่ : 4

รายงานพิเศษ : “สมเด็จพระเทพฯ” : ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน
--------------------------------------------------------------------
หน้าประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน อาจจะบันทึกชื่อบุคคลที่มีบทบาทไว้เพียงไม่กี่คน
แต่บุคคลหนึ่งที่มิอาจไม่กล่าวถึงก็คือ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
เพราะไม่เพียงทรงเป็นราชนิกุลพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จเยือนจีนมากครั้งที่สุด (20 ครั้ง) หากยังเสด็จฯ
เยือนครบหมดแล้วทุกมณฑลของจีน
และที่สำคัญ ทรงได้รับพระสมัญญาด้วยว่า “ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน”

หากกล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
เป็นผลจากสถานการณ์และความเพียรพยายามของรัฐบาลและประชาชนทั้ง 2 ประเทศ
คงพูดได้ว่าเป็นการกล่าวที่ไม่ทั้งหมด
เพราะความสัมพันธ์ระหว่างกันคงจะไม่กระชับแน่นแฟ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้หากไม่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั
ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยที่ให้ความสนพระทัยในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีนมากถึงเพียงนี้

สังเกตได้จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ
เยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2524 (ค.ศ.1981) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ
เยือนจีนครั้งแรกในปี 2543 (ค.ศ.2000) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
เสด็จฯ เยือนจีน พร้อมทรงร่วมแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์ 2 แผ่นดินด้วยเมื่อปี 2545 (ค.ศ.2002)
เป็นต้น
กล่าวเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ ใครเลยจะคาดคิดว่านับตั้งแต่ทรงเยือนจีนเป็นครั้งแรกในปี 2524 เพียง 23
ปีให้หลังพระองค์ก็สามารถเยือนจีนจนครบหมดแล้วทุกมณฑลเมื่อปี 2547
ทั้งที่บางมณฑลของจีนมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศด้วยซ้ำ

สมเด็จพระเทพฯ เจ้าหญิงของไทย หรือที่คนจีนทั่วไปคุ้นเคยกับการกล่าวขานพระนามพระองค์ว่า
“สิรินธร” มิได้เพียงสนพระทัยในประเทศจีนเท่านั้น
หากยังทรงให้ความสำคัญกับภาษาและวัฒนธรรมของจีนอย่างมาก ความสนพระทัยใฝ่ศึกษาของพระองค์นั้นเรียกได้ว่า
ไม่มีวันหมด เพราะไม่เพียงแต่ทรงศึกษาภาษาต่างประเทศจนเชี่ยวชาญหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ละติน
และบาลี-สันสกฤตเท่านั้น หากยังทรงเรียนภาษาจีนตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ไม่เท่านั้นยังทรงเคยเสด็จฯ
ไปศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มเติมถึงมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเวลา 1 เดือนด้วยเมื่อปี 2544
(ค.ศ.2001) นับเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจและปลาบปลื้มใจแก่คณาจารย์ชาวจีนที่ถวายการสอนเป็นอันมาก
ว่าเหตุใดเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ของไทยจึงให้ความสำคัญกับประเทศจีนและภาษาจีนขนาดนี้


ซึ่งพระองค์ทรงเคยเล่าให้อาจารย์และนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนภาษาจีนว่า
ตอนแรกไม่ได้คิดอยากเรียน เพราะคิดว่าภาษาจีนเป็นภาษาที่ยากมาก แต่มาคิดว่าตัวเองเป็นคนเอเชีย
ในเอเชียมีประเทศใหญ่อยู่ 2 ประเทศ คือ อินเดียและจีน การเรียนภาษาอินเดียและจีนจึงสำคัญมาก
ประกอบกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้รับสั่งว่า “เรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
ล้วนเป็นภาษาตะวันตก คิดว่าน่าจะเรียนภาษาจีน” พระองค์จึงทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งก็ทรงเห็นด้วย ในที่สุดจึงขอให้ทางสถานทูตจีนช่วยจัดอาจารย์มาถวายการสอน

แม้พระองค์จะทรงปราดเปรื่องในภาษาต่างประเทศหลายภาษา
แต่ก็ล้วนได้มาด้วยความพากเพียรวิริยะศึกษาในประเทศ มิได้เกิดจากการศึกษาในต่างประเทศแต่ประการใด
เหตุเพราะทรงตระหนักและให้ความสำคัญกับพระราชกรณียกิจนานัปการที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์มากกว่านั่นเอง
แต่ถึงกระนั้นก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้ทรงมีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
คือศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 14 ก.พ.-15
มี.ค.2544 แม้นั่นจะเป็นช่วงเวลาเพียงแค่ 1 เดือน
แต่ก็สร้างความประทับใจให้ทั้งผู้เรียนและผู้ถวายการสอนอย่างมิรู้ลืม

จะไม่ให้ประทับใจอย่างไรได้ ในเมื่อพระองค์เป็นถึงเจ้าหญิงของไทย
แต่ทรงมีพระจริยวัตรที่งดงามและปฏิบัติตนเฉกเช่นสามัญชนคนธรรมดา ทรงเป็นกันเองกับอาจารย์ทุกคน
ไม่ถือพระองค์ และยังทรงมีพระอารมณ์ขันอีกต่างหาก ไม่ว่าจะทรงเรียนวิชาใดก็ตั้งพระทัยเรียนอย่างจริงจัง
ทรงเคยตรัสว่า
“ภาษาจีนนั้นสามารถนำคนเข้าสู่อาณาจักรแห่งความรู้อันอุดมไพศาลแหล่งหนึ่งของโลกได้อย่างสมบูรณ์
ยิ่งศึกษาก็ยิ่งตระหนักในขอบเขตอันกว้างขวางลุ่มลึกนั้น”
ส่วนดนตรีของจีน อย่างซอเออร์หู ซึ่งเป็นซอสองสายที่ได้ทรงมีโอกาสเรียน
พระองค์ก็ตรัสด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนกับอาจารย์ผู้สอนว่า พระอาจารย์ที่เคยสอนดนตรีไทยเคยบอกว่า
พระองค์ทรงเล่นดนตรีไทยได้ทุกอย่าง แต่ทรงเล่นได้ไม่ดีสักอย่างเพราะเป็นคนใจร้อน
ดังนั้นเมื่อได้ทรงมีโอกาสเรียนสีซอเออร์หูของจีนจึงทรงมานะพยายามฝึกอย่างแข็งขัน
ซึ่งก็ทำให้พระองค์ทรงสีซอได้ไพเราะขึ้นมาก
ทรงยอมรับว่าซอเออร์หูนั้นต้องรวบรวมจิตใจให้สงบและต้องรู้จักผ่อนคลาย
จึงทรงบอกกับอาจารย์ที่ถวายการสอนว่า
“เมื่อกลับเมืองไทยจะให้ทูลกระหม่อมพ่อ(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จแม่ (สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ) ทรงเล่นดูบ้าง เพราะทรงเป็นนักดนตรีทั้งสองพระองค์
และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อพระพลานามัยของทูลกระหม่อมพ่อด้วย
เพราะทรงมีพระพลานามัยไม่สู้ดีนักในช่วงที่ผ่านมา”
ได้ฟังดังนั้นอาจารย์ผู้ถวายการสอนก็ให้รู้สึกซาบซึ้งในความรักความห่วงใยและความกตัญญูของเจ้าหญิงแห่งสย
ามประเทศที่ทรงมีต่อพระบรมชนกนาถยิ่งนัก





นอกจากภาษา-วัฒนธรรม และดนตรีจีนแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ยังได้ทรงเรียนการเขียนลายสือศิลป์จีน การวาดภาพแบบจีน และฝึกรำมวยไทเก๊ก
ซึ่งพระองค์ทรงรู้สึกสำราญพระทัยในการเรียนทุกวิชา และทรงรู้สึกว่า ลายสือศิลป์จีน รำมวยจีน และดนตรีจีน
สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ทำให้เกิดสมาธิ ยามใดที่ทรงรู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ร้อน
เมื่อได้คัดลายสือศิลป์จีนแล้วจะทำให้กลับมาอารมณ์ดีได้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เพียงแต่ทรงเชี่ยวชาญด้านภาษา-วัฒนธรรม และวรรณคดี
หากยังสนพระทัยในด้านประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รวมทั้งทรงมีจุดยืนที่ชัดเจนเที่ยงธรรมด้วย
ทรงเคยตรัสกับนักศึกษาชาวจีนที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เปรียบเทียบนโยบายชาวจีนโพ้นทะเลของประเทศไทยและอินโดน
ีเซียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า “คนจีนในประเทศไทยไม่ได้ถูกมองว่าเป็นคนต่างชาติ
พวกเขามีสิทธิเท่าเทียมกับคนไทยทุกประการ นายกรัฐมนตรีไทยหลายคนก็เป็นลูกหลานจีน พวกเขามีเชื้อสายจีน
แต่เป็นคนไทยยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งปิดโรงเรียนจีน ไม่ยอมให้เรียนภาษาจีน
คนจีนก็เลยต้องแอบเรียน นโยบายอย่างนี้ไม่ถูกต้อง”

นอกจากนี้ยังทรงประจักษ์ว่าคนจีนให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาของบุตรหลานอย่างมาก โดยเคยตรัสว่า
“ฉันมีเพื่อนหลายคนเป็นลูกหลานจีน พวกเขาเป็นรุ่นที่สองของชาวจีนอพยพ บางคนก็เป็นรุ่นที่สามแล้ว
มีบางคนไม่เข้าใจที่ฉันคบกับลูกหลานจีน ฉันก็บอกพวกเขาว่า คนจีนสนใจการศึกษาของลูกหลานมาก
ที่มหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีเชื้อจีน
ถ้าฉันไม่เป็นเพื่อนกับพวกเขาแล้วจะเป็นเพื่อนกับใครล่ะ”

ไม่เพียงชาวจีนโพ้นทะเลเท่านั้นที่พยายามให้ลูกหลานได้เล่าเรียนสูงๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่ก็เช่นกัน
รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้ทุกคนได้มีการศึกษาสูงที่สุดโดยเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ยังมีการเปิดให้ผู้ที่สนใจและไม่จำเป็นต้องมีฐานะร่ำรวย
บริจาคเงินเพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาด้วย ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประทับใจแนวคิดดังกล่าวมาก
ถึงกับทรงร่วมอุปถัมภ์ส่งเด็กจีนเรียนหลายคน
โดยได้ทรงปฏิบัติเช่นนี้กับเด็กไทยในประเทศมาก่อนหน้าเป็นเวลานานแล้ว
และทรงมีพระราชดำริด้วยว่าอยากส่งนักเรียนไทยที่ยากจนในพระราชูปถัมภ์ไปศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ปร
ะเทศจีน เพราะปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายแขนงของจีนรุดหน้าไปมาก
ซึ่งในอดีตมักคิดกันว่าถ้าจะเรียนภาษาและวัฒนธรรมของจีนจึงค่อยไปประเทศจีน
หากจะเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ต้องไปยุโรปหรืออเมริกา แต่ขณะนี้เปลี่ยนไปแล้ว





หลังจากช่วงเวลา 1
เดือนแห่งการร่ำเรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สิ้นสุดลง ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ เมื่อวันที่ 13
มี.ค.2544 ในฐานะที่ทรงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเจริญของประเทศไทย
ส่งเสริมความก้าวหน้าและสันติภาพของมนุษยชาติ ทั้งยังทรงมีบทบาทโดดเด่นในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-ไทย
ยังความภาคภูมิใจแด่พระองค์เป็นอันมาก โดยตรัสว่า
“แต่นี้ไปภายหน้าจะไม่เพียงพยายามทำงานส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนให้มากขึ้นเท่านั้น
จะพยายามมีส่วนในการสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่วัฒนธรรมของโลกและมนุษยชาติให้มากยิ่งขึ้นด้วย”

ความพยายามกระชับสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ไม่เพียงเป็นที่ประจักษ์แก่มหาวิทยาลัยปักกิ่งเท่านั้น
เพราะก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการของจีนก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน”
แด่พระองค์มาแล้ว เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2543 นอกจากนี้
สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีนก็ได้ถวายพระสมัญญานามพระองค์ให้ทรงเป็น “ทูตสันถวไมตรี”
เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2547

แม้เวลาแห่งความสำราญพระทัยที่ได้เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งจะผ่านมา 4
ปีแล้ว แต่พระองค์ก็ยังทรงประทับใจไม่หายและทรงปรารถนาที่จะได้กลับไปเรียนที่นั่นอีกครั้ง
ดังที่เคยตรัสในงานสัมมนา ”บนเส้นทางความสัมพันธ์ไทย-จีน” เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2548

“เมื่อเดินทางไปเมืองจีนครั้งที่ 19 คือ เมื่อ ส.ค.ปีที่แล้ว ได้ไปประชุมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
คือ จะมี 2 ประชุม มีประชุมการศึกษากับจีนฟอรัม อาจารย์ท่านก็ถามว่าวันเกิดอยากได้ของขวัญอะไร
ก็ถ้าจะเอาแจกงแจกันอะไรก็ไม่มีที่ไว้แล้ว ก็เลยจริงๆ ก็อยากจะบอกว่า อยากขอทุนการศึกษาไปอยู่สัก 3
เดือน ไปทีหนึ่งติดใจ ก็ติดใจจริงๆ นอกจากไปเรียนภาษาแล้ว เขาก็ได้จัดเนื้อหาที่เรียน
ความจริงเขาให้ตำแหน่งไว้เป็นนักวิจัยสังคม ได้ดูเกี่ยวกับสังคมจีน ก็ไปดูที่ที่มีกิจกรรมต่างๆ เช่น
โรงเรียน สถานทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ เป็นต้น ตอนนี้ระบบการศึกษาของจีนที่เขามีให้ใครๆ ก็ได้
ชาวบ้านคนธรรมดาสามารถที่จะบริจาคเงินไป และให้เด็กที่ยากจนมีโอกาสได้รับการศึกษา
โดยที่ว่าเราไม่ต้องเป็นเศรษฐี มีเงินนิดหน่อยก็ให้ได้ เขาก็ยกตัวอย่างเช่น
มีอาหยีคนหนึ่งที่ไปเดินชอปปิง เห็นเสื้อสวย อยากได้ก็จริง แต่เงินจำนวนนี้ไปช่วยชีวิตคนได้มากกว่า
ก็ให้ไป ก็เลยอยากให้บ้าง ตอนนี้ก็ได้ส่งนักเรียนจีนเรียนโรงเรียนทั้งประถม มัธยม
และมหาวิทยาลัยอยู่หลายคนเหมือนกัน เมื่อตอนที่เราเกิดเหตุสึนามิ เด็กเหล่านี้รวมๆ เงินกันมาส่งมาให้
เป็นเงินเบี้ยเลี้ยงที่เราให้เขาไป เขาเก็บได้ เขาก็ส่งมา บอกเอามาให้ช่วยคนไทยที่ประสบภัย
ก็เป็นน้ำใจของเด็กเขา”





สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงตั้งพระทัยว่าหากได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งอีกครั้ง
ทรงอยากเรียนวิทยาศาสตร์และชีววิทยา เพราะจีนมีความโดดเด่นในด้านดังกล่าวเช่นกัน
ไม่แน่ว่าสิ่งที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้อาจเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้
เพราะการได้ทรงร่ำเรียนที่ประเทศจีนมิใช่เพียงช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนหรือวิช
าการแขนงต่างๆ แด่พระองค์เท่านั้น แต่คณาจารย์ชาวจีนก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับประเทศไทย-คนไทย
และวัฒนธรรมไทยจากพระองค์ที่ทรงบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเรียนด้วยเช่นกัน

ความประทับใจและใฝ่ศึกษาเกี่ยวกับประเทศจีนของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ไม่เพียงสะท้อนจากที่ทรงหวังจะได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งอีกครั้งเท่านั้น แต่การเสด็จฯ
ไปเยือนจีนทุกปีในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดี ซึ่งหลายครั้งหลังเสด็จฯ
เยือนจีนจะทรงถ่ายทอดประสบการณ์การเยือนนั้นๆ เป็นสารคดีให้คนไทยได้อ่านด้วย ตัวอย่างเช่น หลังเสด็จฯ
เยือนจีนครั้งแรกเมื่อปี 2524 ได้ทรงพระราชนิพนธ์สารคดีท่องเที่ยวเรื่อง “ย่ำแดนมังกร” ส่วนเรื่องอื่นๆ
ที่ตามมาได้แก่ “มุ่งไกลในรอยทราย”, “เกล็ดหิมะในสายหมอก” , “ใต้เมฆที่เมฆใต้”, “เย็นสบายชายน้ำ”,
“คืนถิ่นจีนใหญ่” และ “เจียงหนานแสนงาม” เป็นต้น

ซึ่งทุกพระราชนิพนธ์ของพระองค์ดังกล่าวไม่เพียงจุดประกายให้คนไทยนิยมไปเที่ยวประเทศจีนมากขึ้น
แต่ยังช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจในประเทศจีน-คนจีน และวัฒนธรรมจีนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณอีกด้วย
เช่นนี้แล้วจะให้เรียกพระองค์ว่าอย่างไร ถ้าไม่ใช่ “ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน” !!
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000090209
------------------------------------------------------------
เพลงพระราชนิพนธ์
http://www.thaipoem.com/forever/songcat.php

โดย : รายงานพิเศษ : “สมเด็จพระเทพฯ” : ทูตสันถวไมตรีไทย-จ [ 2006-04-03 07:48:35 ] 58.147.88.115 DELETE    แจ้งลบ

 

ความคิดเห็นที่ : 5

ร้อยเรียงสัมพันธ์ไทย-จีน (12)
----------------------------------------
สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ "ร้อยเรียงสัมพันธ์ไทย-จีน"
ซึ่งออกอากาศทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ทางสถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทยแห่งนี้ กับดิฉันอรพิน หยาง
ที่จะมาอยู่ร่วมร้อยเรียงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวจีน กับท่านผู้ฟังเป็นประจำนะคะ

เนื่องจากวันพรุ่งนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของปวงชนชาวไทย คือ
วันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์
อันเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทย และเป็นที่เคารพรักของชาวต่างชาติ
ดิฉันในนามของสถานีวิทยุซีอาร์ไอภาคภาษาไทย ขอถือโอกาสนี้ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก
ได้โปรดดลบันดาลให้พระองค์ทรงมีพระชนม์มายุมั่นขวัญยืน มีพระพลานามัยที่สมบูรณ์
อยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตราบนานเท่านาน

ท่านผู้ฟังค่ะ ความสัมพันธ์ไทย-จีน อาจจะเปรียบได้ดั่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง
ซึ่งฝังลึกอยู่ในสายเลือด แม้จะอยู่คนละแผ่นดิน วันนี้บทเรียงความของคุณมนตรี มาศบาง ผู้ฟังจากกรุงเทพฯ
จะแนะนำให้เรารู้ถึงความรู้สึกผูกพันดังกล่าวค่ะ เชิญรับฟังได้เลยค่ะ
"ความประทับใจที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของคนเรานั้นมีเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ
แม้ว่าจะเป็นความรู้สึกประทับใจต่อบุคคลที่ได้พบเห็น ต่อสถานที่ที่ได้ไปเยี่ยมเยือน
แต่ทว่าความประทับใจที่ผมจะกล่าวถึงในวันนี้เป็นความประทับใจที่ยิ่งใหญ่มีคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล
เพราะว่าเป็นความประทับใจต่อสัมพันธภาพมิตรไมตรีของประเทศบ้านพี่เมืองน้องอย่างไทย และจีน
ที่ผมนึกถึงอยู่ในใจเสมอมา แล้วถ้านับเอาจริง ๆ
ระยะเวลาที่ธารสัมพันธ์ไทยจีนอย่างเป็นทางการพึ่งก่อตัวมาแค่ 30 ปี
หากเปรียบเป็นชีวิตของผู้ชายคนหนึ่งก็เทียบเท่ากับชายหนุ่มอายุ 30 ปี
กำลังเป็นชายวัยฉกรรจ์ที่มีอนาคตที่งดงาม
ผมเองขอถ่ายทอดความประทับใจที่มีต่อชายหนุ่มคนนี้ที่เป็นตัวแทนของสัมพันธภาพไทย และจีน.....

นับตั้งแต่แรกคลอดที่สัมพันธภาพไทย-จีน อย่างเป็นทางการได้ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518
ผมรู้สึกประทับใจในความเป็นเอกบุรุษกล้าหาญชาญชัยที่จะแสดงตัวเป็นมิตรกับประเทศจีน
โดยการนำของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น
ผมรู้สึกประทับใจในการต้อนรับของเติ้งเสี่ยวผิง
แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลที่เวลานั้นป่วยด้วยโรคมะเร็งอยู่
ก็ยังอุตส่าห์พบปะเจรจาอย่างเป็นกันเอง ความประทับใจอย่างสุดซึ้ง ที่เหมาเจ๋อตงยอมให้ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ปราโมช เข้าพบที่ทำเนียบจงหนันไห่ และสนทนาเป็นนานสองนาน นับว่าต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ทีเดียว
พวกเราคงไม่ลืมหรอกว่าก่อนที่เด็กชายคนนี้จะคลอด ก็มีบุคคลอีกหลายคนที่มีบทบาทสำคัญอยู่ไม่น้อย
ผมรู้สึกประทับใจในความเด็ดเดี่ยวของ คณะทูตใต้ดิน ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายสังข์ พัธโนทัย
และนายเลื่อน บัวสุวรรณ ประกอบด้วยสี่บุรุษนามกรว่า นายอารี ภิรมย์ นายกรุณา กุศลาสัย นายอัมพร สุวรรณบล
และนายสอิ้ง มารังกุล ซึ่งทั้งสี่ท่านต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ เข้าไปเบิกทางสัมพันธไมตรีในดินแดนหลังม่านไม้ไผ่
และหนำซ้ำเมื่อกลับมายังประเทศไทย ยังโดนกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
นับเป็นความเสียสละเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
อีกคณะทูตหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจไม่แพ้กันก็เห็นจะหนีไม่พ้น คณะทูตปิงปอง
และต้องขอยกนิ้วให้นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ที่สร้างวีรกรรมในการพบปะเจรจาเชื่อมความสัมพันธ์จนได้รับการยกย่องให้เป็น คิสซิงเจอร์ แห่งประเทศไทย

พอเด็กชายคนนี้เติบโตขึ้นมา ญาติผู้ใหญ่อย่างเติ้งเสี่ยวผิง
ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2521
ก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทย ยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น
แม้ระบบสังคมที่ต่างกันก็หาได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด แม้แต่ในยามที่พี่น้องไทย-จีน
ต้องร่วมมือกันทางการทหาร ในการแก้ปัญหาของกัมพูชาจนบรรลุผลสำเร็จ
ก็ยิ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการขยายความสัมพันธ์ และร่วมมือในด้านอื่น ๆ ตามกันมาอย่างฉันมิตร
นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้สำหรับเด็กชายแห่งสัมพันธภาพไทย-จีนที่สมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนจีนครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524
ทั้งยังทรงเป็นราชนิกุลพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จเยือนจีนมากที่สุดถึง 20 ครั้ง
และยังเสด็จเยือนครบแล้วทุกมณฑลของจีน และที่สำคัญยิ่ง ทรงได้รับพระสมัญญานามด้วยว่า
ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน ยามที่ผมได้อ่านพระราชนิพนธ์เรื่อง ย่ำแดนมังกร
ก็ยิ่งทำให้รู้สึกประทับใจเหมือนกับว่าตัวเองได้เข้าไปสัมผัสถึงเรื่องราวต่าง ๆ
นอกจากนี้บทกลอนพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ชื่อ จีนเด็ดดอกไม้ ผมก็รู้สึกซาบซึ้ง
โดยเฉพาะท่อนที่กล่าวว่า ......จะเป็นจีนเป็นไทยใช่ใครอื่น จงชมชื่นผูกจิตสนิทมั่น เด็ดผกาแทนใจผูกพัน
แบ่งปันประดับเรือนเตือนตาเอย

สัมพันธภาพไทย-จีน ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นเสมือนเด็กชายที่ค่อย ๆ พัฒนาเติบโตอย่างมีศักยภาพ
ความร่วมมือของทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งทูตสันถวไมตรี
ช่วงช่วง และหลินฮุ่ย ตัวแทนแห่งมิตรภาพไทย-จีน
ก็เรียกความประทับใจของพี่น้องชาวไทยได้อย่างน่าเหลือเชื่อทีเดียว
ตัวผมเองจะคอยดูความเป็นไปของสัมพันธภาพไทย-จีน พร้อม ๆ กับชายหนุ่มคนนี้ ที่อายุครบรอบ 30 ปี ในวันที่
1 กรกฎาคม พ.ศ.2548 ความประทับใจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ผมพร้อมที่จะบันทึกไว้ในไดอารี่แห่งความทรงจำ
ที่จะตราตรึงไว้ตราบนิจนิรันดร.........
จีนกับไทยใช่อื่นไกลใจน้องพี่

สามสิบปีทวีสัมพันธ์อันแสนหวาน

ร่วมกันปลูกผูกสายใยไว้นานนาน

นิจนิรันดร์ฉันน้องพี่มิลืมเลือน...."

ท่านผู้ฟังคะ ไม่ทราบว่าท่านผู้ฟังได้ไปเยี่ยมชมความน่ารัก น่าเอ็นดูของทูตตัวกลม
ที่ใส่เสื้อตัวโปรดลายขาวดำ ช่วงช่วง และหลินฮุ่ย กันบ้างหรือยังคะ ดิฉันเองมีโอกาสได้สัมผัสช่วงช่วง
และหลินฮุ่ยก็เพียงแต่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง ถ้าท่านผู้ฟังมีโอกาสแวะไปเที่ยวเชียงใหม่
อย่าลืมแวะไปที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ทักทายทูตตัวกลมแทนดิฉันด้วยนะคะ ฝากบอกด้วยนะคะว่า ช่วงช่วง หลินฮุ่ย
หนี่เมินเจินเค่ออ้าย

แล้วพบกับรายการของเราใหม่ในสัปดาห์หน้า เวลาเดียวกันนี้ อรพิน หยาง สวัสดีค่ะ
http://th.chinabroadcast.cn/1/2005/12/06/[email protected]>

โดย : ร้อยเรียงสัมพันธ์ไทย-จีน (12) [ 2006-04-03 07:51:58 ] 58.147.88.115 DELETE    แจ้งลบ

 

ความคิดเห็นที่ : 6

หลี่ไป๋
รุ่งอรุณลาจากเมืองไป๋ตี้ท่ามกลางเมฆหลากสี



พันลี้กลับถึงเมืองเจียงหลิงในชั่ววัน



สองฟากฝั่งลิงร้องเสียงไม่สิ้น



เรือน้อยคล้อยผ่านหมื่นช่องผา

http://rushchy.kapookclub.com/?datestamp=20050412

โดย : หลี่ไป๋ [ 2006-04-03 07:55:43 ] 58.147.88.115 DELETE    แจ้งลบ

 

ความคิดเห็นที่ : 7


ฝากรูป ฝากไฟล์ upload.212cafe.com

ขอบคุณ ทุกคนที่ช่วยโพสต์ และแนะนำ
ร่วมถวายพระพรอุดมสุข ยั่งยืนนาน ความจงรักภักดีด้วยค่ะ


(หลานปู่ลิง)

 

 

โดย : teams [ 2006-04-03 07:59:32 ]
หมายเลขบันทึก: 236801เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท