ค้นพบตัวเอง (Self Discovery) จากการสังเกตทุกข์ พบสุขที่แท้จริง


เมื่อเราเข้าใจ "ในสิ่งที่เรามักจะมองข้ามคือตัวเราเอง" แล้วนั้น เราก็ย่อมจะเข้าใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง

วิธีสังเกตสาเหตุแห่งทุกข์  ก็คือการค้นหากิเลสหลักของเราให้พบ   สังเกต  และกำหนดรู้     จะช่วยให้คลายปมที่ทำให้เกิดทุกข์ได้  ต่อไปนี้จะเป็นคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับกิเลสที่เคยเกริ่นให้ทราบไปแล้วตอนแรกว่ามี  9  กิเลสด้วยกัน  โดย  หากสนใจคำอธิบายยาว  ๆ กรุณาหาอ่านได้ตาม websites ทั่วไปเพียงพิมพ์คำว่า Enneagram ใน Google แ ละข้อตกลงเบื้องต้นก็คือว่าคำอธิบายเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่เราเคยเป็น หรือผ่านมาแล้ว แต่ตอนนี้ระงับหรือปรับเปลี่ยนได้แล้วก็ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ใช่ลักษณ์นั้น..

 วิธีสังเกตลักษณ์ตนเองคือย้อนมองตนเองสมัยวัยเด็กจำความได้จนถึงประมาณ 25 ปี ต่อจากนั้นคนเราย่อมมีการเจริญเติบโตทาง “สติปัญญา” และ “จิตใจ” ตลอดจน “กลไกการปรับตัวเข้าสู่สภาพแวดล้อม” ดังนั้น เมื่อ “พบ” ว่าเราเป็นลักษณ์ใด (หลังจากนั่งไทม์แมชชีนไปดูสมัยอายุไม่เกิน 25 ปีแล้ว)..ก็ให้เฝ้าสังเกต “ตัวตน” ของเรา แต่ละลักษณ์มีมิติ มีความเป็นพลวัตของลูกศร  และมีลำดับขั้นของการพัฒนา ซึ่งในขั้นสูงขึ้นไปนี้จะเรียกว่า “ขั้นรู้ตัว”

 เนื่องจากในช่วงแรก  ๆ ของการแนะนำเรื่องการ “รู้ตัว” บางท่าน  อาจจะเบื่ออ่านอะไรยาว ๆ ทั้งหมด  วิธีง่าย ๆ คือสังเกตว่าอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเกิดกับเราบ่อยมากที่สุด  หรืออารมณ์ใดครอบงำเรามากที่สุดให้กระโดดไปอ่านศูนย์นั้น และอ่านทุกลักษณ์ของศูนย์นั้น ๆ เพื่อการรู้จักตัวเองก่อน หากอยากทราบศูนย์อื่น ก็ค่อยไปอ่านต่อภายหลัง

 อารมณ์โกรธ    (แบบใดแบบหนึ่งก็ได้)   ได้แก่ อารมณ์สุดโต่ง   ขี้โมโห   ขุ่นเคือง หงุดหงิดง่าย  เก็บกด  ขี้เกียจ เฉื่อยชา  ให้เริ่มอ่านศูนย์ท้อง 

อารมณ์หลงใหล  (แบบใดแบบหนึ่งก็ได้)  ได้แก่ ความสำเร็จ เป้าหมาย  หรือความสัมพันธ์ มิตรภาพ แคร์ผู้คน สังคม หรือดื่มด่ำกับอารมณ์ลึก ๆ ตัวเอง   ให้เริ่มอ่านศูนย์ใจ 

อารมณ์กลัว  (แบบใดแบบหนึ่งก็ได้) ได้แก่ วิตกกังวล  คิดมาก ฟุ้งซ่าน  ตั้งคำถาม หรือเก็บตัว สะสมความรู้  เฉย ๆ นิ่ง ๆ ไร้อารมณ์ใด ๆ  หรือจับจด หัวไว ไม่อยู่นิ่ง   ให้เริ่มอ่านศูนย์สมอง

 

 

 

ที่มาของภาพ http://www.infiniteevolution.com/ie%20graphics/enneagram.gif

ศูนย์ท้อง (สัญชาตญาณ) 

Lust                                  ตัณหา                           ลักษณ์ 8   เจ้านาย

Laziness                          ขี้เกียจ                           ลักษณ์ 9    นักประสานไมตรี

Anger                               โกรธ                              ลักษณ์ 1   คนเนี๊ยบ/นักปฏิรูป

 ลักษณ์ 8    มีกิเลส “ตัณหา”   

ในที่นี้หมายถึงการมีพลังชีวิตที่จะทำอะไรสุดโต่ง มีความเป็นผู้นำตามสัญชาตญาณที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมมิให้มีผลกระทบต่อตัวเอง  ชอบพึ่งตัวเอง ไม่ชอบความอ่อนแอ กล้าได้กล้าเสีย ตอบโต้ต่อสิ่งที่เข้ามากระทบได้ว่องไว   อารมณ์ที่มักครอบงำตนเองคืออารมณ์โกรธ และเวลาโกรธจะเร็วและแรงที่อาจเรียกว่า “โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ”  และก็มีอารมณ์อาฆาตมาดร้ายแก้แค้นได้หาก “ไม่รู้ตัว”

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)   “ฉันชอบความท้าทาย ฉันกล้าได้กล้าเสีย ฉันตรงไปตรงมา ฉันรักความยุติธรรม ฉันเป็นนักต่อสู้ฉันไม่กลัวอำนาจฉันโกรธง่ายหายเร็ว”

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ลักษณ์ 9 มีกิเลส “ขี้เกียจ”  ในที่นี้คือความเฉื่อยชา  หลงลืมตนเอง หรือแปลกแยกจากอารมณ์ความรู้สึกตัวเอง สูญเสียการรับรู้เรื่องสำคัญของตนเอง โดยจะเข้าไปกลมกลืน รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนรอบข้างแทน  จัดลำดับความสำคัญไม่ค่อยได้ ..เป็นลักษณ์ที่เก็บกดอารมณ์โกรธ แต่มีอาการ “ดื้อเงียบ”  แทน  ที่ได้ชื่อขนานนามลักษณ์ว่านักประสานไมตรี เพราะไม่ชอบมีเรื่องกับใคร คำว่า “ไม่เป็นไร” “เข้าใจผู้อื่น” ไปหมดก็เพราะ ขี้เกียจมีเรื่อง

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)   “ฉันชอบความสามัคคี ฉันเข้าใจทั้งเขาและเธอ...ฉันไม่ชอบปฏิเสธใคร.ไม่เป็นไรฉันชอบอยู่เฉย ๆ สงบ ๆฉันเห็นทุกอย่างสำคัญเท่ากัน”

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 ลักษณ์ 1 มีกิเลส  “ความโกรธ”  ในที่นี้คือหงุดหงิด ขุ่นเคือง เข้มงวดกับตัวเอง มีวินัย และชอบบังคับตัวเองมาก  มีอุดมกาณ์และตั้งมาตรฐานให้ตัวเอง เคร่งเครียด เคร่งครัด เอาจริงเอาจังกับชีวิต  ชอบตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ จู้จี้จุกจิก สไตล์เหมือนครูดุๆ เจ้าระเบียบ หาก “ไม่รู้ตัว” ก็จะดูเหมือนคนที่เจ้าอารมณ์  ไม่มีความสุข เพราะรู้สึกว่าอะไรก็ “ไม่ถูกต้อง” “ไร้ระเบียบวินัย” “ไม่ได้มาตรฐาน” ไปหมด

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)   “ฉันชอบความถูกต้อง ฉันต้องการให้ทุกอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย..ฉันยึดมั่นอุดมการณ์..ฉันอยากเปลี่ยนแปลงให้มีมาตรฐาน”

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                           ศูนย์ใจ ( ความสัมพันธ์) 

Pride              หยิ่งยะโส                                        ลักษณ์ 2  ผู้เสียสละ

Deceit            ความหลอกลวง                              ลักษณ์ 3 นักสร้างแรงจูงใจ

Envy              อิจฉา                                               ลักษณ์ 4 ศิลปิน

 ลักษณ์ 2 มีกิเลส “ความยะโส” ในที่นี่คือความถือตัวว่าตัวเองสนองความต้องการของคนทั้งหลายได้ดีกว่าใคร ๆ  มีความไวเป็นพิเศษในการรับรู้และจับอารมณ์ของคนอื่นได้เน้นความสัมพันธ์ และแคร์คนอื่น อารมณ์ที่มักครอบงำคือความหลงใหล ขี้หึง หวง  ต้องการ “ให้”  “เสียสละ” “เอาใจ/ประจบ/ทำเพื่อคนอื่น โดยหวังผลตอบแทนเป็น “ความรักและเป็นที่ต้องการของคนอื่น” หาก “รู้ตัว” ก็จะให้โดยไม่หวังผลตอบแทนแม้แต่ความรักจากผู้อื่น

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)   “ฉันทำเพื่อพวกเขา..ฉันทำเพื่อสังคม..ฉันเข้าใจคนอื่นดี..ฉันเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์มิตรภาพฉันมีความสุขที่เห็นรอยยิ้มทุกคน....”

…………………………………………………………………………………………..

 ลักษณ์ 3 กิเลส “ความหลอกลวง”  ในที่นี้คือหลอกลวงตัวเอง โดยยึดถือในบทบาทหน้าที่ที่ตัวเองมีอยู่และเล่นบทนั้น ๆ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม เป้าหมายคือ “ความสำเร็จ” ตามที่มุ่งหวัง ไม่ว่าจะเป็นด้านอะไรก็ตามชอบการแข่งขัน มุ่งเอาชนะ ตัดขาดจากการรับรู้ความรู้สึก ความต้องการตนเอง เพราะมุ่งมั่นในบทบาทหน้าที่ที่สวมอยู่ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในครองครัว สังคมหรืออะไรก็ตาม และเป็นคนที่ชอบเลียนแบบให้ “เป็น “ ตาม model ที่ตนอยากจะเป็น

คำพูดที่มักได้ยิน(ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)    “ฉันมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ ฉันทำงานหนักฉันต้องทำนู้นทำนี้...ฉันชอบกระตุ้นให้ทุกคนทำงาน...ฉันรับผิดชอบต่อหน้าที่ ฉันไม่มีเวลา”

…………………………………………………………………………………………..

 ลักษณ์ 4 กิเลส  “ความอิจฉา”  ในที่นี้มาจากความรู้สึกลึก ๆ ว่าตนเองมีอะไรขาดหายไป และอยากหามาเติมเต็ม โดยพยายามขวนขวายหาอัตลักษณ์แบบฉบับของตนเองให้แปลกแยกแตกต่างจากคนทั่วไป  เพราะไม่ชอบความธรรมดา จึงทำให้ตัวเองมีความเป็นพิเศษ ไม่ว่าการแสดงออกให้ปรากฎ หรืออารมณ์ความรู้สึกที่ “เข้าถึง” สรรพสิ่งได้มากกว่าใครๆ  จึงไม่ใช่การอิจฉาคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะแต่เป็นความรู้สึกว่า “ตนไม่มี” อะไรบางอย่าง จึงพยายามดึง “ความพิเศษ”  “ความงดงาม” ของบางสิ่งบางอย่างมาสร้างเป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)    “ฉันเป็นตัวของตัวเอง..ไม่มีใครเข้าใจฉัน..ฉันเข้าใจถึงอารมณ์ลึกซึ้งได้ดี..ฉันดื่มด่ำในธรรมชาติ..ฉันเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปมองข้าม.ความงดงาม”

…………………………………………………………………………………………..

                                                         ศูนย์สมอง

Avarice     “greed”            โลภ                                        ลักษณ์ 5 นักสังเกตการณ์

Fear                                  ความกลัว                                ลักษณ์ 6 นักปุจฉา      

Gluttony   “overeating”        ตะกละ                              ลักษณ์ 7 นักผจญภัย

 ลักษณ์  5  กิเลส “ความโลภ”  ในที่นี้ไม่ใช่โลภ วัตถุสิ่งของ แต่เป็นเรื่องความรู้สึกขาดความมั่นคง ไม่ปลอดภัย โลกนี้ขาดแคลน จึงต้องการสะสมเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดความมั่นคง ได้แก่ “ความรู้”  “ข้อมูล” หลากหลายรูปแบบ บุคลิกมักเป็นคนตะหนี่ในเรื่องพลังงาน วัตถุ และเวลาที่จะทุ่มเทอะไรให้ใคร  มีพื้นที่อาณาเขตของตัวเอง (นามธรรมและรูปธรรม)  แสดงออกมาให้เห็นโดยมีความต้องการน้อย พอเพียง  ชอบสังเกต สำรวจสิ่งภายนอก ใช้ความคิดโดยไม่ชอบแสดงอารมณ์ส่วนตัวออกมา มีความเป็นกลาง

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)    “ฉันชอบสันโดษ  ฉันพอเพียง ไม่ต้องการอะไรมาก..ฉันอึดอัดเมื่อคนถามเรื่องส่วนตัว..ฉันชอบแสวงหาความรู้   ฉันต้องคิดจนมั่นใจก่อนลงมือทำ ฉันชอบวิเคราะห์..

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณ์  6  กิเลส “ความกลัว”   ในที่นี้คือความลังเลสงสัย ไม่ไว้ใจสิ่งต่าง ๆ มีความวิตกกังวลสูง มักประเมินสถานการณ์ภายนอกต่าง ๆล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจ มั่นคงปลอดภัย มีนิสัยระมัดระวังภัยและตั้งคำถามกับทุกสถานการณ์ อาการตอบสนองต่อความกลัวจะมีสองรูปแบบหลัก “บุคลิกสู้” กับ “บุคลิกหนี” มองภายนอกอาจจะต่างกันคือแบบสู้ดูจะไม่กลัวอะไร แต่ลึก ๆ คือกลัวแล้วปกป้องตัวเองด้วยการโต้ตอบภายนอกก่อน ส่วนแบบหนีคือกลัวแบบหลบเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งนั้น หรือหากต้องเผชิญก็เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)    “ฉันสงสัยว่า..ฉันไม่เชื่อว่า..มันจะเป็นไปได้หรือ..ทำไม..ฉันยากที่จะไว้ใจใคร..ฉันมักถูกเพ่งเล็ง..ก่อนที่จะเกิดอะไร เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน..ระวังเรื่องนี้ให้ดี ๆ นะ..

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณ์  7  กิเลส “ความตะกละ”   ในที่นี้คือการชอบมีทางเลือกไว้มากมาย ชอบหมกมุ่นครุ่นคิดกับการวางแผน  นักผจญภัยตามลักษณ์ 7 นี้คือการไม่ชอบข้อจำกัด นั่นเอง.. คอยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด ไม่ชอบพูดเรื่องทุกข์ เศร้า หรือทำให้อารมณ์ตนหดหู่  มีนิสัยเหมือนเด็กไม่รู้จักโต ทำตัวสดใส ร่าเริง อารมณ์ที่มักเกิดคือ “ขี้เบื่อ” สมาธิสั้น ..มีนิสัยชอบสนใจทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวใด หาก “ไม่รู้ตัว” อาจทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง  จับจด ชอบกัดคนอื่นด้วยความสนุก ไม่ค่อยมีระเบียบวินัย

คำพูดที่มักได้ยิน (ไม่จำเป็นต้องพูดออกมา อาจเป็นเสียงภายใน)    “ฉันรู้สึกเบื่อ ฉันมีแผนสำรองไว้หมดแล้ว..ฉันทำอะไรได้หลายอย่างพร้อมกัน..ฉันมองโลกในแง่ดี..ฉันไม่ชอบกฎเกณฑ์ ข้อจำกัด..ฉันหัวไวเหมือนลิง..ฉันชอบทำงานโครงการ”

                    หากมีคำถามใด

หมายเลขบันทึก: 235879เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2009 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

รู้สาเหตุ จะทำให้  แก้ปัญหาได้ตรงจุด  ความสุข ความสำเร็จจะตามมาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

แวะมาทักทาย

สุขมากมาย  นะคะ

น่าสนใจครับ จะลองสังเกตตัวเองดูครับ

แวะมาทักทายค่ะ อ่านบันทึกใหม่ของคุณแล้ว ทำให้ "หยุด" มองตัวเอง

ขอบคุณค่ะ จะค้นหาว่าเป็นลักษณ์อะไรค่ะ แล้วจะมาขอแลกเปลี่ยนด้วยคน

  • ขอบพระคุณค่ะคุณสายธารที่แวะมาทักทายตอนเช้า..
  • พอดีเข้ามาแก้ไขคำบางคำแล้วต้องรีบกลับไปทำงานใหม่ ...
  • ดึก ๆ จะเดินสายไปเยือนค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

สังเกตตัวเองแล้ว พบว่าชอบวิตกกังวลมากค่ะ และครอบครัวชอบบอกว่า

"ตีตนไปก่อนไข้" ส่วนความโกรธ ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย.. อย่างนี้ น่าจะศูนย์หัวใช่ไหมคะ

อ่านเอนเนียแกรมไปหลายเล่ม ชอบเล่มนี้(อ่านง่ายที่สุดสำหรับคนธรรมดา ^^) ค่ะ "มองคนด้วยมุมใหม่ เปลี่ยนใจให้เป็นสุข : เอ็นเนียแกรมคน 9 แบบ = The Enneagram Made Easy" คิดว่าตัวเองเป็นคนลักษณ์ห้าค่ะ แต่ไม่รู้ว่าใช่แน่แท้จริงไหม ชอบกันตัวเองออกมาอยู่วงนอก ไม่ค่อยมั่นใจตัวเอง แถม ขี้เบื่อ อิทธิพลมากมายจากปีกลักษณ์เจ็ดด้วย

ขอบคุณค่ะ เข้าใจเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย

ตามพี่ดาวลูกไก่ คนลักษณ์ห้ามาค่ะ

คนไม่มีรากเข้าอบรมกับอ.ธนา และคณะ ได้ความว่าเป็น คนตะกละ ลักษณ์เจ็ดค่ะ...

แต่ก็ยังไม่ค่อยเชื่อนัก...แต่ก็อย่างว่าค่ะ แต่ละคนคงมีหลาย ๆ ลักษณะอยู่ในตัวเพียงแต่จริตใดจะชัดเจนและมากที่สุด

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

  • ขอบพระคุณคุณดาวลูกไก่ P

ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ  ดีใจที่ได้พบ "คลังสมอง" ลักษณ์ 5 อีกท่านหนึ่งค่ะ  ศิลาไม่แปลกใจแล้วค่ะว่าทำไมจึงมีความรู้มากมายหลากหลายในบล๊อกของคุณดาวลูกไก่ 

  • จริง ๆ นพลักษณ์มีหลากหลายเหลี่ยมมุมให้ศึกษา  ศิลามุ่งเจาะจงศึกษา "ทุกข์" เป็นหลักค่ะ จึงไม่ได้อิงตำราเล่มใดโดยเฉพาะ  ประกอบกับมีอาจารย์ที่ดีที่เน้นการปฏิบัติธรรมด้วยค่ะ
  • แล้วกันใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณคนไม่มีรากค่ะ

P

ดีใจจังค่ะที่มีคนศึกษาเรื่องนี้มาแล้ว ศิลาศึกษาเรื่องนี้ในรุ่นแรก ๆ (เกือบ 10 ปีมาแล้ว) สมัยที่ท่านอาจารย์สันติกะโรเป็นพระ และท่านวิทยากรทุกท่านที่เอ่ยชื่อมาก็ศิษย์สำนักเดียวกันค่ะ เพียงแต่ศิลาขอแยกหลบมาศึกษาเฉพาะด้านในเรื่องการปฏิบัติธรรมค่ะ...สำหรับศิลาแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพูดในสิ่งที่อาศัยการ "ปฏิบัติ" ไม่ใช่จาก "ตำรา"  แต่ก็จะพยายายเขียนไปเรื่อย ๆ ค่ะ หวังว่าสักวัน "เราเอง"ก็คงเข้าถึง 

 

 

  • สวัสดีคุณ Blankman และคุณเลนส์สีเทาค่ะ ขอบพระคุณค่ะที่สนใจศึกษาและทำความรู้จัก "ตัวเอง" เรื่องใกล้ตัวที่สุดแต่เนื้อหามากที่สุดยิ่งกว่าจักรวาลค่ะ 

ว้าวหน้าสนใจมากเลยค่ะ....จะลองสังเกตุตัวเองดูนะค่ะ^_^ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณ คุณน้ำค้างยอดหญ้านะคะที่สนใจสังเกตตัวเอง "ความกลัว"

ถ้ามีปริมาณพอเหมาะก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีความเพียรและความพร้อม

ได้เหมือนกันนะคะ อย่ากลัวที่จะกลัวค่ะ แต่ตราบใดที่ศิลายังไม่ได้ "รู้จัก"

อย่างแท้จริง ขอไม่ confirm นะคะว่าศูนย์อะไร ลองสังเกตต่อไปและอธิบายตัวเองให้มากกว่านี้ ก็จะดีค่ะ

สวีสดีค่ะคุณ •.♥°.•.♥• kittyjumpเลขาnatadee.•.♥.•°♥
P

  • กำลังจะออกจาก G2K ไปทำงานต่อ พอเห็นใบหน้า "natadee" ก็เลยเลี้ยวกลับมาทักทายค่ะ ขอบคุณค่ะที่จะ "สังเกต" ตัวเอง หากว่าง ๆลองแวะไปอ่าน blog "One Soul in Two Bodies" ของศิลาก่อนก็ได้นะคะ มีแฉลบเกี่ยวเนื่องกับเรื่อง enneagram เหมือนกันค่ะ แล้วจะมาเม้าท์ต่อค่ะ 
  • ทานของว่างกัน ก่อนบ๊ายบายไหมคะ  มะตะบะกล้วยหอมและไอติมค่ะ (อร่๊อย อร่อย)

 

 

 

    ยกของว่างมาเพิ่มอีกจานนึงค่ะ อิอิ ^_^

ตบปาก เอ๊ย ตบท้ายกันด้วยของผลไม้ล้างปากกันดีไหมคะ

สงสัยไม่ได้ทำงานแล้วคืนนี้ มัวแต่เม๊าท์อยู่เนี่ย ศิลาเอ๊ย ดึงสติกลับมาเร็วซิจ๊ะ ห่วงรับประทานอยู่นั่นแหละ

สวัสดีค่ะ

* ส่งภาพมาร่วมค้นพบตนเองค่ะ

  

* สุขกายสุขใจนะคะ

ขอบพระคุณ "คุณครูปู" P

ที่แวะนำฮ่อยจ้อปูมาแจมเป็นอาหารว่างค่ะ  ศิลาช้อบชอบ ไปหนองมนทีไรแวะซื้อเจ้าอร่อยมาทานทุกที...ว่างเมื่อไรมาทานอาหารว่างกันอีกนะคะ...จะเตรียมของหวานอร่อย ๆ ไว้รอค่ะ

ขอบพระคุณคุณพรรรณา P

มากค่ะ ชอบภาพ "แสง" ในความมืดมากค่ะ  คือธรรมชาติที่งดงามจริง ๆ มีความสุขเหมือนดอกไม้สวย ๆ ยามเช้านี้นะคะ

 

สวัสดีค่ะ

* เห็นทีไรได้กลิ่นหอมทุกครั้ง

* ขอบคุณที่นำความชื่นใจมาให้ค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

 

เหมียนกานเลยค่ะ

เดี๋ยวนี้เลิกพาลแล้วหล่ะค่ะ ^_^

เรื่องลักษณ์นี่อ่านแล้วยัง งง ๆ ค่ะ งั๊นแม่หมอช่วยดูครูปูให้เลยได้ไม๊คะว่าเป็นลักษณ์ หรือนกแก้วหรืออาเซ็บโซ่ประเภทไหนอ่ะค่ะ อิอิ

ว่าแต่ว่า เมื่อไหร่จะได้นั่งดื่มด้วยกันค่ะ

ของครูปูต้องโอเลี้ยงเลยค่ะ เดี๋ยวจะไม่รู้ว่าเป็นคนบ้านนอกค่ะ คริ..คริ..

โอเลี้ยง

สวัสดีค่ะ มาเยี่ยมเยียน ไม่ได้ป่วยก็มาเยี่ยมได้ใช่ไหมคะ อิอิ

ชอบกาแฟ พี่ครูปูจังเลยค่ะ อิอิ

  • ขอสวัสดีคุณครูปู P ที่นี่ก่อนตามไปเสริฟอาหารเย็นจานเด็ดนะคะ  อ้อ..ลืมบอกไป ชอบโอเลี้ยงเหมือนกัน ทำไงเนี่ย...
  • ส่วนเรื่องลักษณ์ คงค่อย ๆ สังเกตกันไปนะคะ ตามกติกาที่เคยแจ้งไว้ตอนแรก ๆ ค่ะว่าศิลาทำได้แค่ช่วยสะท้อน คนที่จะตอบว่าเป็นลักษณ์อะไรคือ "เจ้าของลักษณ์" นั่นเอง  สังเกตตัวเองไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็จ๊ะเอ๋เองค่ะ
  • เอาล่ะ รอแป๊บหนึ่งนะคะ กำลังจะสตาร์ทรถนำอาหารไปส่ง

สวัสดีครับคุณ ศิลา

ดีมากครับอ่านหลายรอบ ตรงลักษณะ ที่ 2 พอสมควรครับ ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆ สู่ โกทู โนครับ

สวัสดีค่ะ คุณ Paula  P หน้าตาดีสม Slogan จริง ๆ ค่ะ..เพิ่งนำอาหารเย็นไปฝากคุณครูปู ไม่ทราบว่าชอบอาหารแนวไหนคะ...สวยน่ารักแบบนี้ น่าจะเป็นอาหารญี่ปุ่น...จะนำไปฝากนะคะ รอแป็บหนึ่ง (ช่วงนี้เดินสายค่ะ)

  • ขอบพระคุณคุณวอญ่า P ที่ตามมาเรียนรู้ตัวตนด้วยกันค่ะ

เรื่องนี้ลึกจริงๆ ค่ะ แค่สนใจ ศิลาก็ดีใจด้วยค่ะ...หากมีโอกาสคงได้สัมภาษณ์ว่า เป็นผู้เสียสละตามลักษณ์ 2 จริงหรือเปล่าค่ะ

  • ขอให้สุขภาพแข็งแรง สุขกาย สบายใจนะคะ

ดีใจที่ได้พบคลังสมอง ที่หลากหลาย ทำให้เรารู้ตัวว่า ใจเราเป็นอย่างไร เมื่อก่อนจะเหงาบ่อย รู้สึกตัวเองไม่มีค่าเลย น้อยใจบ่อยๆ แต่พอรู้ตัวตน ทำให้อารมณ์เก่าหายไปเกือบหมด ขอบคุณค่ะที่ให้แสงสว่างในชีวิต

ขอบพระคุณคุณวิญญาณเสรีที่เป็น กบว. เสมอมาค่ะ มีความสุขทุกวันเวลากับคู่รักแสนดีนะคะ

ขอบพระคุณคุณงูเขียวหางไหม้ P ที่ให้เกียรติแวะมาอีกรอบค่ะ ไม่มีสุขใดจะเทียบเท่ากับการ "รู้ตัว" และ "รุ้เหตุแห่งทุกข์" ถึงแม้ว่าจะเป็นสุขสมมติ แต่ก็ทำให้ใจเราสงบกว่าเดิม ถือว่าเราก้าวขึ้นมาอีกก้าวแล้วค่ะ  และดีใจด้วยจริง ๆ ที่คุณงูเขียวหางไหม้รู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น...ขอให้คงความสุขสงบภายในตลอดไปค่ะ

 

อ่านแล้วดีจังเลยค่ะ  คุณ Sila Phu-Chaya

เป็นการสร้างพลังบวกให้กับชีวิตจิตใจของเราเอง ให้มีน้ำหล่อเลี้ยง อยู่ตลอดเวลา และเหลือมากพอที่จะหยดรดรินให้คนรอบข้างได้บ้าง.....

 

 

  • ขอบพระคุณคุณใบไม้ P ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • รู้สึกดีใจมากที่หลายท่านมองเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตัวเราเองค่ะ และจริงค่ะที่จะเป็นพลังบวกขับเคลื่อนให้เกิดการรู้ตัวและพัฒนาตัวเอง รวมถึงเข้าใจผู้อื่นที่แตกต่างจากเราค่ะ
  • ขอให้คุณใบไม้พบความสุขในมิตรภาพอันงดงามจากมุมมองด้านบวกค่ะ

เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกว่า ตัวเองจะมีแทบทุกลักษณ์เลย อย่างละเท่าๆกัน

อย่างนี้จะตอบว่าเราเป็นคนแบบไหนดีคะเนี่ย

ประมาณว่า ขึ้นอยู่กับบุคคล บริบท สภาพแวดล้อมที่ได้เจอ ก็ทำให้เกิดลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในขณะนั้น

เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกว่า ตัวเองจะมีแทบทุกลักษณ์เลย อย่างละเท่าๆกัน

อย่างนี้จะตอบว่าเราเป็นคนแบบไหนดีคะเนี่ย

ประมาณว่า ขึ้นอยู่กับบุคคล บริบท สภาพแวดล้อมที่ได้เจอ ก็ทำให้เกิดลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในขณะนั้น

  • ขอบพระคุณคุณศุภมาส Pที่แวะมาเยือนค่ะ
  • แหม เห็นคุณศุภมาสรู้สึกว่ามีแทบทุกลักษณ์แล้ว ไม่อยากบอกเลยว่า  ยิ่งมีหลายลักษณ์เท่าไรก็ยิ่งมีกิเลสหลายตัว เพราะแต่ละลักษณ์ถูกผลักดันจากกิเลสที่เป็นแรงขับออกมา  
  • หากมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนใกล้ชิด คงได้ขยายความกว่านี้ค่ะ  เพราะเบื้องแรกของผู้ศึกษา (ศิลาก็เคยเข้าใจแบบที่คุณศุภมาสเข้าใจ) จะคิดว่าเราเป็นได้ทุกลักษณ์ ...
  • ส่วนที่เหมือนคือภายนอก  ส่วนที่ต่างคือภายใน 9 ลักษณ์ ภายนอกจะทำให้เราสับสนว่าเราเหมือนไปหมดค่ะ ..ยิ่งอธิบายก็เกรงว่าจะทำให้งง  เพราะส่วนใหญ่เขาจะจูงมือกันไปอบรมเลยจะได้หายงง
  • หากสนใจก็ลองค้นคำว่านพลักษณ์ดูนะคะ มีสมาคมจัดอบรมอยู่ค่ะ
  • แต่ถ้าไม่ว่างไป คุยกับศิลาไปเรื่อย ๆ สังเกตกันไปเรื่อย ๆ อ่านบันทึกศิลาให้เพลิน ๆ ก็น่าจะดีค่ะ  เพราะศิลาจะแฝงและสอดแทรกไว้จากการปฏิบัติและประสบการณ์ค่ะ  ..ค่อยๆ ไปด้วยกันค่ะ ศิลายังอยู่อีกนานในชุมชนน่ารักแห่งนี้

ต้องขอบพระคุณคุณศิลามากเลยค่ะ ที่ช่วยจุดประกาย บอกทางให้ดิฉัน

ได้ศึกษาเรื่องนพลักษณ์ ช่วงนี้ดิฉันศึกษาเรื่องนี้โดยเข้าไปดูในเว็บไซต์ต่างๆ

และอ่านจากที่คุณศิลาได้เขียนไว้

มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ รู้สึกเลยว่าเรานี่ยังไม่ค่อยรู้อะไรเลยค่ะ

หวังว่า คุณศิลาจะเมตตาชี้นำแนวทางดีๆอีกนะคะ

^___________________________^

  • สวัสดีค่ะคุณ  masey_supisara  ลักษณ์แต่ละลักษณ์คือบุคลิกภาพภายในค่ะ  หากเราพบลักษณ์ ก็จะเข้าใจถึงแรงขับที่เรามีพฤฺติกรรม มีวิธีคิด และอารมณ์แบบนั้นๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะที่แวะมาอ่าน
  • สวัสดีค่ะคุณศุภมาส P ยินดีลปรรเสมอค่ะ การศึกษาเรื่องนี้เริ่มที่ตนเองก่อนอื่น จากนั้นไปเราควรศึกษาร่วมกันเพื่อสะท้อนตัวตนของกันและกันค่ะ
  • ขอให้มีความสุุขมากๆ จากการได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเองค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท