อากาศหนาวเย็น ฟ้าปิด ควรลดปริมาณการให้อาหารแก่ กุ้งและปลา


ฟ้าปิด อากาศหนาว ควรลดอาหารแก่สัตว์น้ำ

รายการเล่าข่าว “เรื่องเล่าเช้านี้” วันที่ 4 ธันวาคม 2551 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ผู้ดำเนินรายการเล่าถึงสถานการณ์ของผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาสภพาพกุ้งลอยหัวขึ้นมาขอบบ่อ ไม่ยอมกินอาหาร การเจริญเติบโตช้า ทำให้ต้องรีบจับขายและประสบกับภาวะขาดทุนจากขนาดของตัวกุ้งที่ยังเล็กไม่ได้ไซซ์

ในช่วงสภาวะที่อากาศหนาวเย็น ธรรมชาติของกุ้งนั้นเป็นสัตว์ที่อพยพไปตามฤดูกาลโดยจะลงจากเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเคลื่อนย้ายลงสู่ใต้เพื่อหาสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า โดยสังเกตได้จากสภาพในบ่อเลี้ยงก็ได้เหมือนกันจะเห็นว่ากุ้งจะอยู่ด้านทิศใต้ของบ่อมากกว่าด้านทิศเหนือในช่วงฤดูหนาว ระบบนิเวศน์ต่าง ๆ ภายในบ่อโดยเฉพาะกลุ่มของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่ช่วยย่อยเศษอาหารจะทำงานได้ช้าลง ทำให้ปริมาณของเสียจากขี้และเศษอาหารกุ้งมีจำนวนมากขึ้น เกิดการบูดเน่าย่อยสลายเกิดก๊าซแอมโมเนีย, ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ และในที่มีออกซิเจนต่ำ ๆ ก็จะเกิดก๊าซในกลุ่มของมีเธนด้วย ทำให้อากาศที่พื้นบ่อน้อยลง กุ้งขาดอากาศหายใจไม่ออก จึงต้องลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อรับออกซิเจนที่มีมากกว่าในบริเวณผิวน้ำ

การแก้ปัญหาควรทำการเช็คยอและดูแลอย่าให้อาหารเหลือมากเกินไป ควรลดปริมาณการป้อนอาหารให้น้อยลงและให้ตรงจุดที่กุ้งอาศัยอยู่ ใช้ใบพัดเคล้าน้ำหรือตีน้ำช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำมากขึ้น ใส่จุลินทรีย์บาซิลลัสMT ซึ่งเป็นจุลินทรียที่ใช้ย่อยโปรตีนจากเศษอาหารและขี้กุ้งโดยเฉพาะตรงกับเป้าหมาย ไม่ใช่จุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งย่อยได้แต่เพียงคาร์บอน, แป้งและอินทรีย์วัตถุอ่อน ๆ เท่านั้น อีกทั้งกากน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆให้เพิ่มขึ้นจะยังเป็นตัวเรียกยีสต์ รา และโปรตัวซัวต่างๆ เข้ามาทำให้เกิดการแย่งชิงการใช้อ๊อกซิเจนกับกุ้งภายในบ่อ ส่งผลให้แพลงค์ตอนดรอป น้ำเน่าเสีย จึงไม่ควรนำจุลินทรีย์เหล่านี้มาใช้กับการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอย่างยิ่ง (ควรใช้จุลินทรีย์หมักเขยายเหล่านี้กับการปลูกพืชผัก พืชไร่ไม้ผลจะได้ประโยชน์มากกว่า) และใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟเช่น สเม็คไทต์หรือไคลน็อพติโลไลท์ ช่วยจับตรึงแก๊สพิษต่างๆ ภายในบ่อ เพื่อช่วยให้กุ้งมีอ๊อกซิเจนช่วยในการหายใจเพิ่มขึ้น ควรลดปริมาณการปล่อยกุ้งอย่าให้หนาแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้กุ้งเกิดปัญหาตายในระยะเดือดหรือสองเดือน เนื่องจากกุ้งเริ่มโตขึ้นต้องการพื้นที่มากขึ้นแต่ประชากรกุ้งมากเกินไปทำให้เบียดเสียดยัดเยียดอัดแน่น เกิดความเครียด อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดโรค แตกไซซ์ และสร้างปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

 

มนตรี  บุญจรัส

www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 235358เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สาระความรู้ด้านปศุสัตว์

ไปเยี่ยมกันบ้างนะครับ

www.ptg2552.com

[email protected]

เพชร 082-1252994

หรือที่นี่ก็ได้ครับ

http://gotoknow.org/portal/sangpet

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท