ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร


พัฒนาบุคลากร

ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาบุคลากร: KM, LO, HRM, HRD, CM, Outsourcing

 

KM (Knowledge Management)

                การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

                1. คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

                2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

                3. กระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

กระบวนการจัดการความรู้

                1. การบ่งชี้ความรู้ เป้าหมายคืออะไร

                2. การสร้างและแสวงหาความรู้

                3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

                4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้

                5. การเข้าถึงความรู้

                6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

                7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

 

LO (Learning Organization)

            องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่กับการรับความรู้จากภายนอก สำคัญคือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practies) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

 

 

 

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้

                1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้

                2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ

                3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล

                4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้

                5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้

ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้

                1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

                2. มีการทดลองปฏิบัติในสิ่งใหม่ๆ

                3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต

                4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น

                5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report

 

HRM (Human Resource Management)

            การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

                การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นหน้าที่ขององค์การ ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการใช้พนักงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

                1. เพื่อจัดหาคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน

                2. เพื่อใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                3. เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของกำลังแรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

                4. เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามรถให้คงอยู่ได้นานที่สุด

                5. เพื่อสื่อสารนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับพนักงานทุกคนได้ทราบ

 

HRD (Human Resource Development)

            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การทำให้มนุษย์เจริญ มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคมและในประเทศ

                การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เป็นการพัฒนาองค์รวมของการพัฒนาบุคคล พัฒนาวิชาชีพ และพัฒนาองค์การ เพื่อมุ่งสู่การผลิตและคุณภาพสูงสุด เพื่อให้สมาชิกองค์การทำงานได้ตามเป้าหมายขององค์การบรรลุผล

ขอบเขตงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

                1. Physical Resource ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นถึงความมั่นคง แข็งแกร่งขององค์การ เช่น สำนักงานใหญ่

                2. Financial Resource ได้แก่ เงินสด สินค้าคงเหลือ การลงทุน เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนขององค์การ

                3. Human Resource ได้แก่ คนที่องค์การจ้าง ทรัพยากรมนุษย์สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าสุทธิองค์การเหมือนทรัพยากรทางการเงิน

 

CM (Category Management)

            Category Management คือ กระบวนการในการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ในการจัดการบริหาร Category ให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจร่วมกัน โดยจะมุ่งเน้นที่การนำคุณค่าไปสู่ผู้บริโภค

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการ Category Management

                1. การกำหนดคำจำกัดความ

                2. การกำหนดบทบาท

                3. การประเมิน

                4. การกำหนดวิธีการประเมินผล

                5. การกำหนดกลยุทธ์

                6. การกำหนดกลวิธี

                7. การวางแผนการดำเนินงาน

                8. การดำเนินการและประเมินผล

                9. การพิจารณาและตรวจสอบ

 

Outsourcing

            การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ดำเนินการภายในองค์กรมาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทนจะทำให้องค์กรเล็กลง ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ได้ และสามารถเน้นการดำเนินการกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

 

ความสำคัญของ Outsourcing

                การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจักหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆจากแหล่งภายนอก เพื่อเป็นการปลดภาระหน้าที่ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักขององค์กรออกไปแทนที่จะดำเนินการเอง การมุ่งเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มการทุ่มกำลังพลและทรัพยากรไปที่ธุรกิจที่มีความชำนาญเพียงอย่างเดียว จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและรุ่งเรืองต่อไป โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก

คำสำคัญ (Tags): #km, lo, hrm, hrd, cm, outsourcing
หมายเลขบันทึก: 234599เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อัดแน่นไปด้วยบทความทางวิชาการครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท