"ข้าว" กับอีกหนึ่งวิถีของการพึ่งตนเองในชนชท


โดยหวังว่าชาวบ้านที่นี่ และอีกหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย จะสามารถรักษาวิถีของการพึ่งพาตนเองเหล่านี้ไว้ให้นานที่สุด

บันทึกที่แล้วได้เขียนถึงคุณค่าเหนือมูลค่า ของข้าวที่บันทึกนี้  http://gotoknow.org/blog/yutkpp/231781  บันทึกนี้เลยบันทึกต่อถึงข้าว  ตามเส้นทางที่พบเจอจากการลงพื้นที่ 

          หลายวันก่อนได้ไปสำรวจแปลงกล้วยไข่ที่อำเภอพรานกระต่าย  ได้ผ่านไปทางตำบลท่าไม้-วังควง เห็นชาวบ้านกำลังเก็บเกี่ยวข้าว   ขับรถไปก็จะเห็นรถไถเดินตามติดพ่วงลากฟ่อนข้าวเป็นระยะๆ แสดงว่าแถบนี้ยังไม่ใช้รถเกี่ยว-นวด เหมือนกับในเขตที่มีน้ำชลประทานสมบูรณ์

 

          ตลอดสองข้างทาง  ยังพบเห็นการตากข้าวเปลือกของชาวบ้านเพื่อเก็บใส่ยุ้งไว้บริโภคกันในครัวเรือน  ซึ่งบางพื้นที่เราไม่สามารถพบเห็นการตากข้าวเปลือกกันแล้ว   เพราะขั้นตอนการทำนาของชาวนานั้นเปลี่ยนแปลงไป  ทุกขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวจะใช้เครื่องจักร  เกี่ยวเสร็จก็จะมีรถสิบล้อมารอรับไปขายให้กับโรงสีทันที

 

        พอขับรถเข้าไปในหมู่บ้าน  จะเห็นยุ้งฉางมีอยู่เกือบจะทุกบ้าน  ซึ่งเมื่อเก็บภาพและสังเกตระหว่างการเก็บภาพ ก็จะเห็นความแตกต่างของยุ้ง เก่าบ้าง-ใหม่บ้าง  ใหญ่บ้าง-เล็กบ้าง ปะปนกันไป  ยุ้งเก่าๆ ส่วนใหญ่ก็จำสร้างจากไม้ หลายยุ้งน่าจะเป็นไม้สักทั้งหลัง  คงเป็นเพราะเมื่อก่อนป่าไม้ในแถบนี้คงมีมาก  แต่ยุ้งที่ใหม่กว่าส่วนมากจะเป็นโครงไม้ฝาเป็นสังกะสี  ก็คงจะเป็นเพราะไม้หายากอีกนั่นแหละ และสะดวก ป้องกันความชื้นได้ดี


ยุ้งสมัยใหม่โครงทำจากไม้ฝาใช้สังกะสี

 


ยุ้งเก่าบางส่วนสร้างจากไม้-ของใหม่ฝาเป็นสังกะสี

          ภาพของชาวบ้านที่ปลูกข้าวและเก็บข้าวของตนเองไว้กินเองนั้น  เรายังสามารถพบเห็นได้ตามชนบทของทุกพื้นที่ในแถบที่น้ำท่าไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์นัก  หากเป็นในเขตชลประทานภาพเหล่านี้แทบจะมองไม่เห็น  ยุ้งข้าวก็พอจะมีบ้าง แต่มีแต่ยุ้งแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร 

         ภาพจากบันทึกนี้  ทำให้เราพอจะทราบได้ว่าในพื้นที่เหล่านี้  ชาวบ้านยังมีวิถีชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก  ส่วนใหญ่ยังสามารถพึ่งพาตนเองได้   และมีความมั่นคงทางด้านอาหาร  ยังมีความเป็นอยู่กันแบบเรียบง่าย    มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 

         บางส่วนของสิ่งเหล่านี้น่าจะตรงกับเป้าหมายที่ภาครัฐต้องการให้เกิด ซึ่งเรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง  โดยมีการเขียนนโยบายและโครงการต่างๆ นาๆ ให้ชาวบ้าน  อิอิ...แต่แท้จริงแล้วส่วนมากชาวบ้านเขาก็ต้องพอเพียงกันตามบริบทอยู่แล้ว   หากไม่ปฏิบัติแบบพอเพียงก็จะอยู่อย่างลำบาก  รายได้ก็ไม่ได้มากมายอะไร   

         ผมขับรถออกจากหมู่บ้าน  และออกจากพื้นที่ของตำบลท่าไม้ - วังควง ของอำเภอพรานกระต่ายด้วยหัวใจที่พอมีความหวัง   โดยหวังว่าชาวบ้านที่นี่  และอีกหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย  จะสามารถรักษาวิถีของการพึ่งพาตนเองเหล่านี้ไว้ให้นานที่สุด  แม้จะต้องปรับเปลี่ยนไปบ้างก็ขออย่าให้เปลี่ยนไปเสียทั้งหมด   ห้ภูมิใจในอาชีพและความสามารถในการผลิตอาหาร และการทำงานที่เป็นนายของตัวเอง  ไม่ถลำทิ้งวิถีเดิมเข้ามาสู่สังคมของอุตสาหกรรม-การค้าการขาย ที่ต้องพึ่งพาภายนอกเสียทั้งหมดหรือเรียกว่ายืมจมูกคนอื่นเขาหายใจ   เพราะมาถึงวันนี้ ได้ข้อพิสูจน์แล้วว่าโลกของทุนนิยมแบบสุดโต่งที่ใช้เงินเป็นตัวตั้งนั้น    ไม่ได้สดใสและทำให้มีความสุขได้ตลอดไป  เหมือนวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นกับฝรั่งในขณะนี้

สิงห์ป่าสัก   30  ธันวาคม  2551

 

หมายเลขบันทึก: 233583เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีค่ะพี่สิงห์ป่าสัก
  • ...รอถึงวันข้าวสีทองต้องลมไหว
    อิ่มเอมใจในผลิตผลสุขล้นยิ่ง...
    ...แม้ตรากตรำความทุกข์ใดไม่ประวิง
    เพราะคือสิ่งที่ทายท้าชาวนาไทย...

 

  • มีความสุขตลอดปี 2552 นะคะพี่สิงห์ป่าสัก

P

 

  • สวัสดีปีใหม่ครับน้องปลาเค็ม
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

P

 

  • สวัสดีครับน้องตะวันอ้อมข้าว
  • ขอให้มีความสุขตลอดปีใหม่
  • และมีความสุขกับการอยู่กับวิถีของบรรพชนนะครับ แม้เพียงส่วนหนึ่งก็ยังดี
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยียมเยียน

P

 

  • สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับครูนก
  • ขอให้ครูนกและครอบครัวจงมีแต่ความสุขตลอดไปนะครับ
  • ขอบคุณครับ

อยากให้ชาวบ้านเขาพึ่งตนเองให้ได้จริงๆครับ พึ่งให้ครบวงจร แม้กระทั้งการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูก การคัดพันธุ์ข้าวเป็นระบบให้เหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ พันธุ์ข้าวดั้งเดิมไว้ด้วยครับ ดังพระราชปณิธานของในหลวงครับ

สวัสดีปีใหม่นะครับพี่--

พี่ได้เคยเห็นตัวอย่างที่พิจิตรเขาทำได้ดีมากเลยค่ะ สามารถฟื้นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างดี ซึ่งเขาเป็นชาวบ้านธรรมดาๆเริ่มต้นด้วยตัวเองแล้วแสวงหาความรู้ เมื่อสำเร็จยังแบ่งปันความรู้ไม่หยุดหย่อน

สวัสดีปีใหม่ มีความสุข ความสำเร็จในงาน มีกำลังใจ กำลังกายมุ่งมั่นภารกิจต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท