โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการนักบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3


โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการนักบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3

สวัสดีครับลูกศิษย์กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3 และชาว Blog

            ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนรู้กับโครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการนักบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3 ซึ่งนอกจากบุคลากรระดับ 8 ของกรมวิทยาศาสตร์บริการแล้วยังมีแนวร่วมจากหน่วยงานอื่นอีก 9 ท่าน

            ผมทำงานครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ซึ่งได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น ผมก็ได้เปิด Blog นี้และคาดหวังว่าทุกท่านจะใช้ Blog เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเป็นคลังสมองของพวกเรา และก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog ที่สนใจด้วย

                                                                       

                                                                                      จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการจัดการเรียนรู้เมื่อวันที่ 10 มกราคม  2552

ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท จ.ชลบุรี

ภาพบรรยากาศ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552
 

 

หมายเลขบันทึก: 233576เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (147)

หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในครั้งนี้

1.      สิ่งแรกที่เราจะต้องมีคือ Science Networking

2.      การเรียนรู้ในห้องเรียนไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง Self Study เพิ่ม Habit ในการ Interact กัน สู่ Tacit Interaction ถ้าคุณใฝ่รู้ มันก็คือ คุณมีเบ็ดตกปลา

3.      การเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนเพื่อที่จะสร้าง Value Added

4.      การมีความรู้แบบ “T” คือทั้งกว้างและลึก

 

ความคาดหวังของผู้เข้ารับการเรียนรู้

พัฒนาตนเอง และเติมเต็มส่วนที่ขาด

อยากได้ประสบการณ์

นำความรู้กลับไปใช้

อยากได้รู้จักทุกท่านเพื่อประสานงานร่วมกัน

ดีใจที่ได้ร่วม และเรียนรู้กับ Hero ของ Leadership Model แบบ ดร.จีระ

อยากนำความรู้มาพัฒนาองค์กรของเราให้ก้าวหน้าและเป็นที่รู้จักมากกว่านี้

อยากเรียนรู้แนวคิดของว่าที่ผู้นำยุคใหม่เพื่อนำมาวิเคราะห์กับแนวทางของตนเองเพื่อการเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต

สามารถพัฒนาตนเอง และนำไปถ่ายทอดได้

ได้ความรู้ เพื่อพัฒนาความคิดและให้มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น

อยากรู้ว่าการเป็นผู้นำมืออาชีพนั้นเป็นอย่างไรและมุมองในฐานะที่เป็นลูกน้อง

อยากเห็นกรมวิทย์ฯ ทำงานเป็นทีม อยากเห็นคนเก่งทำงาน และทำงานร่วมกัน

หวังที่จะเรียนรู้และสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน นำความรู้ไปพัฒนาและปรับปรุงในฐานะผู้บังคับบัญชาและดูแลลูกน้อง ถ่ายทอดความรู้

มีเครือข่ายในการทำงาน ลดปัญหากฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัดของราชการ

ได้ความรู้ทางด้านบริหารโดยเฉพาะการบริหารทีมงานวิจัยให้ทำงานได้เองโดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง

เปิดโลกทัศน์และสร้าง Network & Friends

เรียนรู้แนวคิด แนวปฏิบัติทางด้านการบริหาร

พัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง และพัฒนางาน

นำความรู้ไปถ่ายทอดต่อให้แก่เพื่อนร่วมงาน

อยากพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง และถ่ายทอดให้ผู้อื่นดึงเอาความสามารถออกมาใช้ให้มากที่สุด

เรียนรู้การบริหารความหลากหลายของคน

อยากให้การเรียนรู้ในครั้งนี้นอกจากพัฒนาตนเอง สามารถพัฒนาท้องถิ่นด้วย

ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์

รอง ดีใจที่กรมวิทยาศาสตร์บริการเน้นการทำงานร่วมกัน เห็นด้วยที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกร่วมกันได้ เอาวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่

ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาให้เกิดความรู้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาพัฒนาองค์กรได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เวลาได้เรียนรู้ อยากให้เกิดพลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการเรียนรู้

ถ้ารุ่นนี้มีแนวคิดเรื่องการวิจัยให้จดไว้เลย เพราะจะได้ทำได้เลย เช่น รุ่น 1 บอกว่าจะทำเรื่อง Re branding แต่กว่าจะได้ทำก็มาถึงอบรมรุ่น 3 แล้ว

อยากให้เน้นเรื่องการสร้าง Connection ที่ดีทั้งในและนอกองค์กรด้วย นอกจากเรียนเพื่อให้ฉลาดอย่างเดียว

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน ผ่าน Blog ให้เขียนว่าอยู่กลุ่มไหนด้วยเวลาขึ้น Blog

วิทยากรทำหน้าที่เป็น Coaching and Mentoring ด้วย

จบแล้ว จะมีการติดตามประเมินผล

การเรียนรู้จะเน้นเรื่องการกระตุ้น

มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ เริ่มจาก KM, LC, LO

สมองไม่ได้เกิดจาก Lecture แต่เกิดจากการคิดเยอะ ๆ การเปลี่ยนพฤติกรรมเยอะ ๆ

การเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Social Skill

พรุ่งนี้ต้องคิด 2 เรื่อง คือ

1. What are the opportunities in Global?

- Opportunities ที่ยิ่งใหญ่ คือ Green Economy ควร Aware เรื่อง Green Economy

- Maximize Intangible

• Peter Drucker บอกว่า ถ้าจะทำอะไรก็แล้วแต่ จะ Ask Difficult Question เช่น กรมวิทย์ฯ ใน 20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร

ในอนาคตข้างหน้า การตั้งโจทย์สำคัญกว่าคำตอบ

เวลามองภาพกว้างอยากให้มี Habit ในการติดตามด้วย

ถาม

อยากเรียนรู้วิธีคิดของการเป็นผู้นำ อย่างรุ่นที่ 1,2 ทำ Project สู่ชุมชน เช่น ทอดผ้าป่าหนังสือ กรมวิทย์มีแนวโน้มสู่การเป็น PO การบริหารไปที่จ.อ่างทองเน้นการเรียนรู้สู่ชุมชน อยากทราบว่า คิดภายใต้อย่างไร เกิดการบริหารอย่างไร แล้วเกิดกับประโยชน์กับกรมวิทย์อย่างไร

ตอบ

วิทยาศาสตร์ ต้องมองอะไรที่กว้างมากขึ้น การบริการไม่ได้เน้นที่เฉพาะ Exporter เท่านั้น ควรเน้นไปที่ชุมชน และคนที่ยากจน เพื่อที่จะไปช่วยสังคม และกลุ่มคนนั้น ๆ ด้วย ต้องเน้น Explore Opportunities , ทฤษฎี Blue Ocean

ถาม

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มองแนวดิ่งทำอย่างไรให้มองที่กว้างขึ้น และไม่กล้าทำอะไรที่แปลกจากเดิม

ตอบ

การเป็นนักวิทยาศาสตร์ เมื่อจบอาชีพแล้วจะทำอะไร ต้องทำให้กว้างไว้

ต้องเปลี่ยนความคิดว่า เมื่อใดก็ตามที่เกิดประโยชน์ส่วนรวมแล้ว เราต้องเสี่ยง

จุดสำคัญทีสุด Boss ที่ดีต้องเป็นคนรับความเสี่ยงแทนเราต่อประโยชน์ของสังคม

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

• หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

• ทฤษฎี 4 L’s

• ทฤษฎี 2 R’s ทำอย่างไรถึงต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ และประเด็นที่พูดอยู่ประเด็นอะไรสำคัญ

• ทฤษฎีการสร้างมูลค่าเพิ่ม (ด้านขวาคือการเรียนรู้)

• ทฤษฎี ASV

เวลา ทำ Workshop คิดให้รอบคอบแล้วนำประเด็นเดียวมาต่อยอดก็พอแล้ว

• ทฤษฎีของ Peter Senge

ในห้องนี้ ผมขอให้เริ่มคิดในมุมที่แปลก ๆ ด้วย

ต้องมีความรู้ที่สด และข้ามศาสตร์

การเรียนยุคใหม่ต้องมี Vision ที่สามารถแบ่งปันได้

การทำงานเป็นทีม มีความรู้ก็มาแบ่งปันกัน

มีระบบความคิดเป็นเหตุผล

Workshop

จากทฤษฎีการเรียนรู้ ในเรื่อง

• หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

• ทฤษฎี 4 L’s

• ทฤษฎี 2 R’s

• ทฤษฎี ASV

• ทฤษฎี Peter Senge

ท่านเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องดังกล่าวอย่างไร และท่านจะสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร (กลุ่มละ 1 เรื่อง)

ทฤษฎีสำคัญด้านทุนมนุษย์

HR Architecture

• การศึกษาเมืองไทยเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่แรงงานของเรา ถึงเวลาแล้วที่ต้องใส่ Science & Technology

• ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประกอบการไม่มี Science Technology อยู่ไม่ได้

• ถ้าชุมชนไม่มีวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก็ไม่สามารถไปรอดได้

• ทุนมนุษย์ถ้าไม่มี Science & Technology ก็อยู่ได้ยาก

ทฤษฎี 8 K’s

1. Human Capital ทุนมนุษย์ มาจากคนเรียนหนังสือมาก ทุนมนุษย์ของคนก็จะมากกว่า

2. Intellectual Capital อ.จีระ บอกว่า บางคนเรียนมาเหมือนกัน คุณภาพของทุนมนุษย์อาจไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัญญาที่จะนำไปใช้ได้มากน้อยแค่ไหน

3. Ethical Capital บางคนเรียนเก่ง แต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ก็ไม่สามารถอยู่ได้

4. Happiness Capital ทุนแห่งความสุขจะมาแรงที่สุดในอนาคตข้างหน้า

5. Social Capital สำคัญมาก รู้จักใครบ้าง Networking

6. Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ต้องมองทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูเรื่อง Health กับ การใฝ่รู้ให้ไปด้วยกัน การมีชีวิตยั่งยืนอยู่ได้เนื่องจาก ความรู้ทันสมัย สุขภาพดี คำถามคือ 20 ปีข้างหน้าจะมีประโยชน์ต่อไปหรือไม่

7. Digital Capital ยุคโลกปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจ

8. Talented Capital คนในอนาคต ต้องมี 3 อย่าง 1. ทักษะ Skill 2. ความรู้ และ 3. The right mindset ทัศนคติที่เหมาะสม

ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ คำถาม คือมีหรือเปล่า ถ้ามีคือมีได้อย่างไร ถ้าไม่มี จะหามาได้อย่างไร

สิ่งที่อยากจะปลูกฝังคือ Capability ศักยภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข

ทฤษฎี 5 K’s

1. Creativity Capital

• ตัวอย่างฟุตบอลบราซิล และ อังกฤษ ใครมี Creativity มากกว่ากัน คำตอบคือ บราซิลจะชนะเลิศฟุตบอลโลกบ่อยมาก แม้อังกฤษเป็นผู้เริ่มฟุตบอลเพราะอะไร ก็เพราะบราซิลมี Creativity ในการเล่นฟุตบอลมากกว่าไม่เล่นแบบเดิม ๆ

• อยากให้เป็นเรื่องหนึ่งที่เสนอในกรมวิทยาศาสตร์ และในเวลา 10 วันอยากจะให้คิดเรื่องนี้

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Emotional Capital ต้องมีอารมณ์พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5. Cultural Capital

ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

คนเราต้องมี Life and Work Balance

ทฤษฎี 3 วงกลม

Workshop 1

แต่ละกลุ่มเลือกแนวคิดการเรียนรู้ หรือทุนมนุษย์ ที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กรของท่าน 1 เรื่อง

1. จากทฤษฎีการเรียนรู้ ในเรื่อง

• หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

• ทฤษฎี 4 L’s

• ทฤษฎี 2 R’s

• ทฤษฎี ASV

• ทฤษฎี Peter Senge

ท่านเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องดังกล่าวอย่างไร และท่านจะสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านอย่างไร

2. กรอบทุนมนุษย์ ในเรื่อง HR Architecture , ทฤษฎี 8K’s , ทฤษฎี 5 K’s , ทฤษฎี 8 H’s ทฤษฎี 3 วงกลม ท่านจะสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านอย่างไร

กลุ่ม 4

เลือก Talented Capital เก่งแต่มีปัญหาเรื่อง Mindset

• Talented Capital เกิดมาได้เมื่อทุกคนไปเผชิญปัญหามาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น แหล่งระบายอารมณ์ ป้อนเข้ามาสู่ Data ว่าไม่สบายใจเรื่องอะไร ทำ Data เป็น Information จัดหมวดหมู่ ต่อมาใช้สมองในการแก้ไขปัญหา

• เช่น เป็น Morning Milk and Tea เพื่อรู้ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งนอกจาก Solve ปัญหาแล้วต้องรู้จักแก้ไขปัญหาด้วย

• จับความรู้ของความเก่งในองค์กร วิทยาศาสตร์เก่ง ความรู้เก่ง แต่ขาด Mindset , Mindset เป็นกลุ่มที่ต้องการแก้แล้วไปปฏิบัติที่ดี

• สร้าง Value Added และนำปัญหามาเพื่อแก้ไขได้ แล้วทำการบันทึกไว้เพื่อที่จะเผยแพร่ได้ว่าเราได้แก้ไขมาหมดแล้ว

• การจัด Training เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา แล้วไปชี้แจง และอธิบายถึงแหล่งปัญหา

เพิ่มเติมจากดร.จีระ

• การปลูกฝังการแก้ปัญหาแรงกดดันในองค์กร หรืออารมณ์ ให้รับการฝึกฝนที่มากขึ้น หรือ อาจพาไปสมาธิ หรือ Record ไว้เป็นข้อมูลก็ได้รับประโยชน์

• นอกจากมีความรู้ ทักษะแล้วต้องมี Mindset (ถูกกำหนดมาจากค่านิยมบางอย่างสะสมไว้)

กลุ่ม 2

• การทำงานให้มีความสุขได้ สร้าง Positive Thinking ,Career Path, Put the right man in the right job มีการดื่ม Chocolate Morning พบกันเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาซึ่งกันและกัน

• การปรับอารมณ์ในการทำงานให้มีความสุขและมีการรับผิดชอบที่ดี

• การทำงานอย่างมีความสุข ควบคู่กับคุณธรรม จะนำไปสู่ความยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ดร.จีระ

• การสร้างบรรยากาศในการคุยกันเลือกสถานที่ที่เหมาะสมจะทำให้บรรยากาศดูสบาย ๆ มากขึ้น

• การสร้างความ Relax จะทำให้เปิดใจมากขึ้น

วราพร

• เรื่อง Happiness น่าจะมีการประเมินว่าก่อนทำกิจกรรม และหลังทำกิจกรรม มีมากน้อยแค่ไหน

กลุ่ม 3

• ต้องการเป็น International DSS สู่ How to do

• มีการทำ Road show สื่อต่าง ๆ วิทยุ , Website, โทรทัศน์

• การสร้างสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจ

• การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาสู่ International

• ทุกอย่างต้องมีกระบวนการตลอดเวลา ต้องมีการทบทวนอย่าทำอะไรเป็นจุด ๆ

• สร้าง Brand name ของ DSS ให้ยั่งยืนตลอดเวลา

ดร.จีระ

• การเอาสิ่งที่คิดเยอะ ๆ ไปสอดคล้องกับสิ่งที่ทำอยู่ ทำให้เกิด Execution

• เอา idea ไปปรากฏกับความจริง

• นำ Creativity ไปสู่ Innovation สู่ Execution

• เน้นการ Outsource มากขึ้น

• การพัฒนาคน องค์กรต้องน่าอยู่ คนต้องมีความสามารถและอยากทำงานให้เรา อยู่ที่ 1.เจ้านายเก่ง 2. มี Smart HR 3.เอาชนะ

• ต้องมีการทบทวนอย่าทำอะไรเป็นจุด ๆ Process ต้องครบ ถ้าไม่ครบ Customer จะไม่รอด

กลุ่ม 5

• ถ้าบุคลากรได้รับการพัฒนาส่งเสริมมีแรงจูงใจจากผู้บริหารเกิดกิจกรรมค่ายเยาวชน บ่มเพาะต้นกล้า และเทคโนโลยี คนมีคุณภาพต้องมีหลักคิด นำหลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่า เราจะทำอะไร เราจะทำเพื่อใคร เราจะทำอย่างไร แล้วเราจะได้อะไร มาประกอบการคิดโครงการค่ายเยาวชน

• กิจกรรมค่ายเยาวชน นอกจากตัวเด็กได้ความรู้และประโยชน์แล้ว พ่อแม่ยังได้ประโยชน์ด้วย

• สร้างหลักคิดจากหลักวิทยาศาสตร์เพื่อไม่ให้หลงงมงาย

• สร้างคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี

กลุ่ม 2

• ปลูกฝังให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

• ทำยังไงไม่ให้คนเห็นแก่ประโยชน์ตนเอง

• มีการ Cross Check กัน ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ดร.จีระ

• เน้นการทำให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ ขอยกตัวอย่างคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

• การขัดเลือกคุณธรรม ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุด

กิตติพัฒน์ ดารากร ณ อยุธยา

• การทำงานเป็นทีม เป็นสัญชาตญาณของสัตว์สังคมทุกชนิด

• การทำงานอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

• ยุค Knowledge ความรู้เยอะ แล้วต้องถ่ายทอดเป็น แล้วทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ถึงเรียกว่าเพชร

• ความเป็นผู้นำต้องรู้จัก กระจายอำนาจ และทำงานเป็นทีม

• คนเราเป็นจุดศูนย์กลางของอารมณ์ที่กระทบคนอื่น ถ้าอารมณ์ดีหรือไม่ดีจะมีอิทธิพลต่อกลุ่มมากเลยโดยเฉพาะคนที่เป็นจุดสนใจของกลุ่ม

• ธรรมชาติของอารมณ์เวลาสะท้อนไปที่คนอื่นเมื่อไปกระทบคนอื่นก็จะกระทบมาสู่ตัวเอง

• เราสามารถบริหารอารมณ์ตัวเองได้ทุกวัน โดยมี 3 วิธี

1.S = Stop หยุดคิดสิ่งที่ไม่ดีก่อน

เวลาเกิดอารมณ์โกรธ หรือหงุดหงิด หยุดคิดก่อน

2.C= Challenge ถ้าสิ่งที่บ่น และคิดที่ไม่มีประโยชน์ ก็อย่าทำต่อ ไปทำสิ่งที่มีค่ามากกว่า

3. F = Focus out เราทำงานเพื่ออะไรก่อน ดูเป้าหมายสุดท้าย เพื่อให้มีความสุขในชีวิต เงินเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดความสุขเท่านั้น

วิธีการฝึก

1. นั่งอยู่เฉย ๆ ที่มุมสงบเงียบ ๆ แล้วลองคิดถึงสิ่งที่แย่ ๆ แล้วแก้ไขไม่ได้ จะรู้สึกเครียด ลองเอาวิธีนี้มาใช้ คือ

- หยุดมันก่อน

- ถ่ายโยนความเครียดอย่าเก็บไว้กับตัวเอง

- ให้หยุดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์

- แล้วนึกถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แล้วจะดีขึ้นเอง

ความแตกต่างระหว่างหัวหน้า ผู้นำ และภาวะผู้นำ

- หัวหน้า

- ผู้นำ

- ภาวะผู้นำ

หัวหน้า

• มีไว้เพื่อให้คำปรึกษาและประสานงานส่วนใหญ่ และสอนงาน ไม่ใช่ทำงานลูกน้อง

• คนเป็นหัวหน้าอยู่ที่องค์กรแต่งตั้ง

• คนที่เป็นหัวหน้าไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำ

ผู้นำ สามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นยอมรับด้วยความเต็มใจได้ เช่น มหาตมะคานธีร์

ถ้าเป็นหัวหน้าด้วยและมีภาวะผู้นำด้วยยิ่งดีมาก

การเตรียมตัวสู่การเป็นหัวหน้า

• ร่างกาย

• สติปัญญา

• อารมณ์

• อุปนิสัย

ระดับขั้นของการบริหาร

เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน ไม่ว่าผู้บริหารระดับใดก็ตามเรื่องคนเป็นอันดับหนึ่ง ต้องรู้จักกระจายอำนาจและใช้คนให้เป็น ใช้คนให้ทำงานได้

เก่งงาน ทำงานบรรลุเป้าหมาย แก้ไขปัญหา และพัฒนาต่อเนื่อง

เก่งคน

เก่งคิด

ความแตกต่างในด้านใดบ้างและต้องทำตัวอย่างไร

• ความคิด

• ความรู้

• อุปนิสัย

• วัยวุฒิ

ทีมงาน

1. กลุ่มของบุคคลที่มาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

2. รวมตัวกันปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการประเมินผลชัดเจน และ KPI

3. เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

บทบาทของสมาชิกกลุ่มในการสร้างทีม

1. รวมตัวกัน จะก่อให้เกิดพลัง

2. สื่อสาร ทั้งฟัง ทั้งพูด องค์ประกอบมี 4 อย่าง

Sender Information Channel Receiver

• สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารมากที่สุด คือ Channel เป็นวิธีการสื่อสารด้วย

• การให้ความสำคัญ คำพูด 8 % น้ำเสียง 23 % ภาษาท่าทาง 70%

• ต้องการให้คนตอบรับหรือ ดีใจ ยินดีด้วย ต้องเป็นเสียงโทนสูง

• การแสดงความเห็นอกเห็นใจต้องเป็นเสียงโทนต่ำ

• ภาษาท่าทางมี Action ให้สอดคล้องกับน้ำเสียงหรือเปล่า

กลยุทธ์ในการสื่อสาร

• Accuracy

• Brief

• Clear

• Done

• Easy

• Follow up

3. สร้างความไว้วางใจ

การสร้างความไว้วางใจ

• พฤติกรรมเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี

• บุคลิกภาพเปิดเผย

• เข้าหาง่าย/เป็นกันเอง

• โปร่งใสยุติธรรม

4. ตัดสินใจ ต้องยอมรับและรับผิดชอบร่วมกันหมด

5. ประสานงาน

Assertive Behavior การแสดงออกอย่างเหมาะสม

• My Solution

• Your Solution

• Our Solution

การใช้คนให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

A = Ability M=Motivation

A-M+ ใช้ Coaching

A-M- ใช้ Directing

A+M- ใช้ Participating

A+M+ ใช้ Delegating

Day to Day Management

1. ทักทาย

2. มอบหมาย

3. ยกย่อง ชมเชย

4. แก้ไข ปรับปรุงงาน

5. แยกย้ายกลับบ้าน

11 ม.ค. 52

เลือกประธานรุ่น 3

ประธานรุ่น คุณดรุณี วัชราเรืองวิทย์

รองประธานและเลขานุการ

คุณบรรจงจิตร พานิชย์พัฒนานนท์

คุณรัชดา เหมปฐวี

คุณไพโรจน์ วงศ์ศิริพัฒนกุล

คุณยุทธนาพงศ์ แดงเพ็ง

การบ้านจาก ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ่านบทความแนวหน้าเรื่องอภิสิทธิ์ /ทักษิณ และ กรณ์/ธานินทร์ ที่แจกไป เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง คุณทักษิณ และคุณอภิสิทธิ์ โดยใช้ ทฤษฎี 8K’s และ 5 K’s

ภาวะผู้นำ

Role Model คือแบบอย่างที่จะมอง ความจริงแล้ว ผู้นำก็คือ การมองแบบ Overall

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

ความคาดหวังจากการเรียนวิชานี้

• ได้อะไรที่กว้างขวาง เรียนรู้เทคโนโลยี เตรียมพร้อมสู่โลกกว้าง

• สิ่งใหม่ ๆ แนวความคิดเพื่อให้สังคมและประเทศพัฒนาแบบยั่งยืน ทำยังไงถึงมองความแตกต่างเป็น Unity และ Unity เป็นความแตกต่าง โดยอยู่แล้วจะมีความสุขได้อย่างไร

เทคโนโลยี ทรัพยากร คน

- คนสำคัญที่สุด

- ยุคต้มยำกุ้งล่ม เพราะ

เราต้องการเป็น 5 เสือ จึงกู้เงินมาเอาเทคโนโลยีเข้ามาแต่เราเป็นเพียง User ไม่สามารถผลักดันได้เนื่องจากคุณภาพคนไม่พัฒนา

บทบาทของกรมวิทย์ฯ ช่วยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีสู่ประเทศ และสร้างคน เก่งเทคโนโลยี

- เทคโนโลยี และการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ดังจะเห็นจากตอนปฏิวัติ เวลายึดอำนาจ จะไปยึดทางวิทยุและสื่อสารก่อน

- การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน

- ญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของการ Copy สู่ Development สู่ นวัตกรรม

ยุคต่าง ๆ อาหาร สุขภาพ พลังงาน สิ่งแวดล้อม

- จะเห็นว่าในอนาคตได้มีการรวบรวมข้อมูลทางชีวภาพทุกคนใน Sim card ของ บัตรประชาชน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าบุคคลนั้น มีลักษณะทางชีวภาพอย่างไร

- ยุคอนาคตเป็นยุคสิ่งแวดล้อม นาโนเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของพลังงาน

ทฤษฎีความรู้ทางพันธุกรรมใหม่

- หญิงหรือชายไม่มีการตัดกันที่แท้จริง

- สิ่งมีชีวิตสามารถดัดแปรพันธุกรรมได้ การที่พันธุกรรมจะแสดงออกมากน้อยเพียงใดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

- มนุษย์สามารถเข้าใจพฤติกรรมเพียงแค่ 20% เท่านั้น

- Body ชายและหญิง ผู้หญิงแข็งแรงกว่า จึงมีการตั้งท้องได้ สัตว์ที่ Body แข็งแรง , จิตใจและสมองไม่แข็งแรง

สิ่งแวดล้อม

- น้ำจากขั้วโลกเหนือดันสู่เส้นศูนย์สูตร น้ำเย็นมีพลังงานมากกว่าทะลักสู่โลกใต้ ตำแหน่งพายุสู่ซีกโลกใต้มากขึ้น พายุหมุนหอบน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นโลก เช่น กรณีพายุนาร์กีส

- ในอนาคต ประเทศไทย ส่วนภาคกลาง และภาคใต้จะหายไป จะเหลือแต่ภาคเหนือ และภาคอีสาน

- ยุคสิ่งแวดล้อม ชนะด้วยความคิดเชิงนาโนเทคโนโลยี ช่วยในการปรับสมดุลพลังงาน พืชเป็นตัวดึงมวลสารกลับเข้ามา

พันธุกรรม

- คนและลิงกังมีพันธุกรรมต่างกันไม่ถึง 5% สิ่งแวดล้อมสามารถบ่มเพาะและช่วยได้

สมองซีกซ้ายเข้าใจเรื่องตรรกะ สมองซีกขวาเข้าใจเรื่องอารมณ์,ความรู้สึก

การสร้างคนให้อยู่รอดในสังคม

- ใช้ 4 Q’s

- IQ ความฉลาด

- EQ อารมณ์

- MQ จริยธรรม, ศิลธรรม

- SQ ความอยู่รอด

- MQ เป็นตัวที่ขาดไม่ได้ 100 % ในสังคม

- องค์กรที่มี MQ สูงจะใช้ Trust ความเชื่อ , ความไว้วางใจ ดู Trust และความคุ้มทุน ไม่ต้องใช้กฎ ระเบียบมาก ยิ่งใช้กฎ ระเบียบมากแสดงว่า MQ ต่ำ

- การเข้าใจคนในองค์กร แล้วให้งานให้เหมาะสม ต้องดูว่าเราเป็นแบบไหนแล้วพัฒนา

คนไทยส่วนมากจะขาดทักษะเรื่องประสาทสัมผัส

วิธีการพัฒนาลูกน้อง

1. ต้องให้รู้ว่าขับเคลื่อนอะไร ให้เข้าใจเป้าหมายร่วมกัน

2. เกิดแรงจูงใจในการทำงานตรงกับความต้องการของเขา

3. เคลียร์ให้ชัดเจนว่าผลที่ได้ออกมาคืออะไร

เวลาทำงานให้เป็นกลยุทธ์

1. เป้าหมายต้องชัด

2. คิดบวก

3. เลือกคนให้เหมาะสมกับงานและความสามารถ

4. พลิกแพลงตัวเนื้องานให้เหมาะสม

5. ทุกคนมีใจหาเป้า win-win

6. ทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง

7. ไม่มีอะไรดีที่สุดในโลก ต้องมีตัวชี้วัด และตัวพัฒนาการ

วิธีการดำเนินการ

ทำบทบาทตัวเองให้สมบูรณ์ที่สุด หัวหน้ากลุ่มคือผู้จัดการ ผู้จัดการมีหลายแบบ ไม่จำเป็นต้องมาดำเนินการเอง

ตัวประเมิน

ปัญหาคือไม่ออกมาเป็นรูปธรรม เกิดปัญหาปลายทาง

ทางแก้ ต้องทำให้ชัดเพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน และยอมรับ

คำนวณหาโอกาสในการปรับปรุง

- Baseline คือ ระดับศักยภาพของกระบวนการที่เป็นอยู่จริงในช่วงปัจจุบัน

- Entitlement คือ ศักยภาพที่ดีที่สุดของความสามารถของกระบวนการ โดยตั้งบนพื้นฐานออกแบบเดิม

- คือ การประมาณกรณีดีสุดที่เกิดขึ้นจริงในระยะสั้นโดยควบคุมให้ปัจจัยนำเข้าอยู่ที่ค่ากลาง มีความเสถียร

- ดู Baseline ว่ากว้างเท่าไหร่ เพื่อทำฐานว่าอยู่ในศักยภาพตำแหน่งไหนแล้วเราสามารถโดดขึ้นได้

- ควรเก่งกว่า Base line 50% ถือว่าเป็นการพัฒนาถ้าขึ้นทุกปีแสดงว่าพัฒนาการต่อเนื่อง

- ทุกคนไม่ได้แข่งกับองค์กร แต่แข่งกับตนเอง หาจุดคุ้มทุนของตนเอง

ความคิดสร้างสรรค์ต่างกับนวัตกรรม

- ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิด ส่วนนวัตกรรมเป็นการกระทำ เมื่อเกิด Impact ขึ้น คือนวัตกรรม

- พวกคิดนวัตกรรมไม่ออกคือพวกที่ทำงานแบบเดิม ๆ พวกที่งานเยอะ กิจกรรมมากคิดไม่ออก และพวกเฉื่อย

การคิดนวัตกรรม

- เอาเทคนิคอีกอย่างหนึ่งมาสร้างเทคนิคอีกอย่างหนึ่ง

- คิดเทียบเคียงธรรมชาติ

- กลไกการใช้เหตุและผลแตกออกมาเป็นความคิดเชิงนวัตกรรม

**การต่อสู้จากวิกฤติ ให้เอา หลักเหตุผลมาเป็นตัวตัดสินใจ

การจัดสรรงบประมาณในอดีต

วิธีการแบบใหม่คือ

- การ Share ไม่ให้เกิดงบทับซ้อน แต่ละคนสามารถไปอยู่กลุ่มอื่นได้เสมอ

เริ่มต้นนาทีแรกเราทั้งหมด 31 ท่านพบปะกันในรถเพื่อเดินทางสู่ชลบุรีเพื่อการสัมมนา ซึ่งภายในกลุ่ม มีบุคคลจากหน่วยงานภายนอก 9 ท่าน แต่เราสามารถสร้างสายสัมพันธ์ฉันมิตรเกิดขึ้นได้โดยทันที

บรรยากาศการเข้ารับการอบรมโดย อ.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมงาน สร้างความประทับใจ ชวนให้ติดตามการบรรยาย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ประเด็นตัวอย่างประกอบการบรรยายเป็นจริงและสัมผัสได้ พวกเราได้รับความรู้อย่างเต็มอิ่ม แม้ว่าระยการอบรมจะน้อยไปนิด ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ และปรับปรุงลักษณะนิสัยตัวเองเพื่อการเป็นผู้นำและผู้ร่วมงาน ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มบรรลุเป้าประสงค์ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยั่งยืน

เสียงสะท้อนจากลุ่ม 3

รู้สึกประทับใจ ในวิธีการ "จุดประกาย" ที่อาจารย์ช่วยให้พวกเราลูกศิษย์ทุกคนรู้สึกดี รู้สึกว่าเรายังมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา เพียงแต่เราต้องปรับเปลี่ยนสิ่งที่เราเป็นอยู่ ที่สำคัญคือต้องฝึกให้มีความกระตือรือร้นที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่สัมผัสได้อีกเรื่อง คือ ความกรุณาที่อาจารย์มีจิตวิญญาณที่จะ Show สั่งสอน ประสบการณ์ที่มีค่าที่สุดของอาจารย์ให้แก่รุ่นต่อไป เหมือนเราได้มีโอกาสเดินทางลัด ที่จะพัฒนาตัวเราเพื่ออค์กรของเรา เพื่อส่วนรวมที่จะขับเคลื่อนต่อไป

พวกเราทุกคนขอขอบพระคุณในความกรุณาจากอาจารย์และยินดีที่มีส่วนที่อยู่ในเครือข่ายลูกศิษย์ของอาจารย์

ภาวนา ศวประภา

รู้สึกประทับใจ ในวิธีการ "จุดประกาย" ที่อาจารย์ช่วยให้พวกเราลูกศิษย์ทุกคนรู้สึกดี รู้สึกว่าเรายังมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา เพียงแต่เราต้องปรับเปลี่ยนสิ่งที่เราเป็นอยู่ ที่สำคัญคือต้องฝึกให้มีความกระตือรือร้นที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่สัมผัสได้อีกเรื่อง คือ ความกรุณาที่อาจารย์มีจิตวิญญาณที่จะ Show สั่งสอน ประสบการณ์ที่มีค่าที่สุดของอาจารย์ให้แก่รุ่นต่อไป เหมือนเราได้มีโอกาสเดินทางลัด ที่จะพัฒนาตัวเราเพื่ออค์กรของเรา เพื่อส่วนรวมที่จะขับเคลื่อนต่อไป

พวกเราทุกคนขอขอบพระคุณในความกรุณาจากอาจารย์และยินดีที่มีส่วนที่อยู่ในเครือข่ายลูกศิษย์ของอาจารย์

ภาวนา อิศวประภา

อ.ประกาย ชลหาญ

“Change before you are forced to change” Jack Welch

- เราต้องเปลี่ยนก่อนที่ถูกบังคับ Too late

- สายยังดีกว่าไม่ทำ

การเปลี่ยนแปลงจะเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่เรียนรู้ในการบริหารจัดการก็จะไม่ทัน

ดร.จีระ บอกว่า ผู้นำสมัยใหม่ต้องมี Multi skill

การเปลี่ยนแปลงมี 2 แนวทาง

1. การเปลี่ยนแปลงโดยไม่มี Control เช่น 9/11 Terrorist แต่ผลที่เกิดขึ้นต้อง Manage

2. การเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องบริหารให้ดีมาก และ Manage ผล

วิธีการจัดการคล้ายกัน มีวิธีหลัก ๆ ดังนี้

เข้าใจ Current

โดยธรรมชาติการเปลี่ยนเพื่อให้ดีขึ้น แต่เปลี่ยนแล้วไม่ดีขึ้นก็มี บางครั้งการถูกบังคับ ก็เปลี่ยนดีขึ้นได้ หรือไม่ดีได้

ก่อนเปลี่ยนเป็นอย่างไร หลังเปลี่ยนเป็นอย่างไร

Transition เป็นช่วงตัดสินใจการเปลี่ยนแปลง

ระหว่าง Transition ขึ้นกับอะไร ต้องนึกถึง 3 เรื่อง Leader , Follower ,Situation สถานการณ์เป็นตัวกำหนดว่าควรทำอย่างไรแน่

1. Lead Change ต้องมีคนนำการเปลี่ยนแปลง ต้องมีบทบาทของการเปลี่ยนแปลง

2. สร้าง Share need ให้ได้ คือ ต้องเห็นเป้าหมายร่วมกัน เกิดการมีส่วนร่วม คนอยากเปลี่ยน ถ้าคนไม่อยากเปลี่ยนจะเกิดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องสร้าง Vision ให้ได้ ถึงอยากเปลี่ยน Leader ต้องหาทางให้

3. Mobilize Commitment ให้คนมีส่วนร่วม มีพันธะร่วมกัน การเจริญด้วยกัน

โดยสรุปแล้ว ต้อง

1. Monitor Progress ติดตามการเปลี่ยนแปลง

2. Make Change last ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน เปลี่ยนที่โครงสร้าง และระบบ (Change System & Structure)

3. ต้อง Manage Change และ Intervene Change

1+1 ต้องมากกว่า 2 เป็นการรวมกันแล้วมีประโยชน์มากขึ้นเรียก Synergy

การประเมิน

- อย่าประเมินความคิดของคน เนื่องจากคนฉลาดพอ แกล้งทำเป็นยุ่งมากโดยไม่ได้ทำอะไร

- ทำงานต้อง Review ตลอดเวลา ต้องดูว่าสร้างงานและมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรหรือไม่ ทำอะไรแล้วมีคนนำไปทำต่อหรือไม่

- สิ่งที่สร้างให้เกิดประโยชน์คือ การสร้างให้เกิด Human Performance

- Competency สร้างคนให้มี Competencies ให้ได้ ประกอบด้วย 3 ตัวประกอบ 1.Knowledge 2. Skill หรือประสบการณ์ 3. Mindset หรือ ทัศนคติ

ผู้นำที่ดี มีกี่บทบาท

ผู้นำที่ดีมี 4 บทบาทที่สำคัญ

1. Path Finder ชี้ทาง นำทางให้คนอื่นเดิน หรือการทำ Vision , Mission, Strategy ให้เขา

2. Alignment ทำให้คนคิดไปในทางเดียวกัน

3. Empowerment มอบอำนาจให้ลูกน้อง

4. Role Model เป็นตัวแบบต้นแบบที่ดี

- ทำยังไงให้ Aware ว่าสิ่งที่ทำกระทบต่อคนอื่น เขาจะเกรงใจ

- ถ้าเรามี Competencies อย่างเดียวไม่เกิดผลงาน เนื่องจากขาด Motivation

- ดังนั้น ต้องสร้างความพร้อมในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานเพื่อสร้างให้เกิดผลงาน

ในองค์กรต้องเรียนรู้การบริหาร 3 ทิศทาง

1. Manage up ยากสุด

2. Manage down ง่ายสุด เพราะมีอำนาจ ,Authority ความรับผิดชอบ

3. Manage sideway

“Business is all about people” Jack Welch

“Life is all about people” คนเท่านั้นที่สำคัญ

ผู้บริหารที่ดีต้องเก่ง 3 เรื่อง เก่งคน เก่งตัวเลข เก่งความคิด

Don’t talk problem , talk solution

Edward Debono

- บอกว่าให้รู้จักคิดในแนวขวางด้วย คือการเชื่อมโยงประเด็น

- “ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง” หมายความว่าคนส่วนใหญ่แทบไม่ใช้ความคิดเป็น automatic

สร้างคนให้มี Competency และ Motivation ที่ชัดเจน

Crisis ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 40 impact ต่างกับปี 50 ขนาดไหน

การบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 2 ด้านใหญ่ ๆ

1. Preventive Change Management การบริหารในเชิงป้องกัน

2. Reactive Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลง

สาเหตุ

1. การเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร เช่น

- สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น พายุ แผ่นดินไหว

- สาเหตุที่คนทำมาเอง เช่น Global Warming (Man made)

- Financial Crisis เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง และแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤตต้มยำกุ้งสาเหตุเกิดจากที่คน Greedy คือ Renovate ดอกเบี้ย

ตัวเลขทางการเงินเป็นตัวเลข Relative Value ไม่ใช่ Absolute Value ต้องรู้จักใช้สิ่งเหล่านี้ ซึ่งเกิดเหมือนกับ

การเงิน ความเสี่ยงคือ อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน

- ต้นทุนที่แพงที่สุด คือ เครื่องมือในการทำงาน

- Hair cut ทางการเงินคือ หนี้ 1 ล้านซื้อมาแค่ 30 % คนที่มี Cash จะได้ประโยชน์

หนี้ หนี้จริง ๆ มีอยู่ 3 ประเภท

- หนี้รายย่อย บัตรเครดิต ,Personal loan

1.หนี้บ้าน Housing loan , Morgate Finance

2.หนี้บริษัท ฯ

3.หนี้เช่าซื้อรถ

หนี้บริษัท หนี้บ้าน หนี้เช่าซื้อรถยนต์ อันไหนมีค่ามากที่สุด

- หนี้ที่ราคาแพงที่สุดที่ซื้อกัน คือ หนี้บ้าน แพงที่สุดจ่าย 50 %

- รองลงมาหนี้รถยนต์ ซื้อ 30 %

- สุดท้ายหนี้บริษัทซื้อมาถูกสุด 20 %

- หนี้บ้าน Lehman Brother ซื้อไป 300,000 กว่าล้าน

- หนี้รถยนต์ GE ซื้อไป 30,000 ล้าน ภายใน 3 ปี ได้เงิน 70,000 ล้าน

- หนี้บริษัท GE และ Goldman Sach ตั้งบริษัท ซื้อไป

หนี้ไหนที่เก็บแล้วได้เงินเยอะสุด

หนี้รถ เพราะยึดแล้วขายได้เลย

- เวลาตัดธุรกิจ ต้องเอาธุรกิจดีขาย เนื่องจากธุรกิจแย่จะขายไม่ได้

สรุปว่า เวลาการบริหารการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ความเข้าใจในสถานการณ์ เหตุการณ์ Value ของสิ่งนั้น

Crisis ล่าสุดเกิดเพราะอะไร

- Sub prime - ปล่อยกู้สินค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (ให้เงินมากกว่าค่าของของที่มาจำนอง) ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ได้เงินคืน

- การใช้จ่ายเงินเกินตัว

- สหรัฐฯ เอาหนี้มารวมกันแล้วขายต่อ ขายต่อเรื่อย ๆ จนไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าหนี้แล้ว เนื่องจาก Greed ความโลภ

- ธุรกิจอะไรที่มีเงินเยอะสุด คือ ธุรกิจประกัน Cash เยอะมาก เอาไปซื้อสินทรัพย์เหล่านี้ เช่น AIG เกือบเจ๊งเพราะเอาเงินไปซื้อสินค้าพวกนี้ เป็นสินค้ามีปัญหา ไม่มีคนไถ่ถอน ถ้าเจ๊ง ก็จะกระทบคนที่ทำประกัน จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลให้ AIG ล้มไม่ได้

2. การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

เช่น งบประมาณ

กลุ่ม 5

1. ได้รู้จักเพื่อนใหม่นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความร่วมมือระหว่างองค์กรเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. การเรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง ทำให้เกิดแนวคิดเพื่อนำไปเป็นบทปฏิบัติจริงได้ ในการทำงาน ซึ่งอยากให้มีกรณีตัวอย่างมาก ๆ

3. ได้แชร์ประสบการณ์

4. ได้แนวคิดและเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ต่อการพัฒนาองค์กร

5. แนวทางและวิธีคิดที่จะผลักดันการทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำทุกอย่างเพื่อองค์กร (มากกว่าตนเอง) / เข้าอกเข้าใจผู้อื่น

6. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

7. เห็นความสำคัญของการวิเคราะห์องค์กร / บุคลากร เพื่อมุ่งไปสู่ การพัฒนาการให้บริการของ วศ. ให้ไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

8. เปิดใจให้กว้างในการยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อนำไปสู่การได้ผลลัพธ์ที่ win-win

9. ต้องมีความเข้าใจว่า ณ ปัจจุบันองค์กรจะอยู่อย่างยั่งยืนได้ต้องมีการทำงานเชิงเครือข่าย / มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชาการ-ความรู้ /ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ดีขึ้น มีศักยภาพการทำงานให้องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพอย่างคุ้มทุน หรือคำนวณเป็นมูลค่าให้องค์กรได้ 2.5 เท่าของเงินเดือนต่อคน

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

โชคดีมากค่ะที่ได้มีโอกาสมาเรียนกับทีมคณาจารย์ของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์คำพูดที่ว่า “การได้คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล.” นั้นดิฉันขอยืนยันว่าเป็นจริงเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ค่ะ อาจารย์ได้แนะนำและนำประสบการณ์มาเล่าให้ฟังจนเข้าใจชัดเจน ทราบว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเมื่อได้ทราบทฤษฎีทุน 8 ประเภท ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนามนุษย์จากอาจารย์แล้วคิดว่าทุนทางจริยธรรม

(Ethical Capital) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้ามีทุนด้านนี้มากๆก็จะทำให้สังคมของเราอยู่กันอย่างมีความสุขซึ่งเป็นที่ต้องการของทุกคน ก็อยากให้ผู้นำในทุกระดับในประเทศไทยมีทุนทางจริยธรรมมากๆค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านได้ช่วยจุดประกายในการที่จะมุ่งมั่นที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงทั้งของตัวเองและจะพยายามนำไปถ่ายทอดให้ผู้ร่วมงานเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมอย่งมีประสิทธิภาพและนำไปสู่โลกาภิวัตน์ มีเทคโนโลยีและเตรียมพร้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันของ วศ.ค่ะ

สวัสดีค่ะ กลุ่ม 4 มารายงานตัว

มีผู้บริหารหลายท่านที่เห็นหน้าแล้วบอกว่าเธอโชคดีนะที่ได้มาอบรมครั้งนี้ แต่สำหรับตัวเองพบว่าสิ่งที่ได้รับในการเข้าอบรมตั้งแต่วันที่เข้าสัมนนาโครงการนี้ มีหลายอย่างที่มากกว่าคำโชคดี คือ

1.เราได้โอกาสที่จะได้เรียนรู้ ได้สัมผัสประสบการณ์ในสิ่งที่เราเคยรู้ แต่ไม่เคยรู้จริงอย่างนี้

2.เราได้เข้าใจว่าทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นสิ่งที่สามารถส่งผลกระทบได้กว้างขวางทั้งตนเอง องค์กร และสังคม

3.เราพบว่าตัวเองกระหายที่จะเรียนรู้และอยากพัฒนาตัวเองให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าใจมนุษย์ การบริหารจัดการมนุษย์ และการเป็นผู้นำที่ดีได้

4.ความรู้ที่ได้รับจะไม่ได้หยุดอยู่แค่การพัฒนาตัวเองอย่างเดียว แต่มันจะต้องเติบโตขึ้น แผ่กิ่งก้านสาขาไปยังผู้คนรอบข้าง ผู้คนที่เกี่ยวข้อง

5.การได้พบกับพี่ๆหลายหน่วยงานนอกและใน วศ.ทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วมนุษย์ทุกคนทำให้โลกสวยงามได้เสมอ เพียงแค่เราหมุนตัวไม่กี่องศา เราจะเห็นมุมมองใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ ตลอดเวลา และเรายอมรับกับความคิดที่แตกต่าง และสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ขอบคุณค่ะ แล้วจะไม่ทำให้อาจารย์ทุกคนผิดหวัง

สวัสดีครับ ผู้เข้าอบรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่น 3 และชาว Blog ทุกท่าน

            ผมขอบคุณที่ทำให้การสร้างผู้นำ เน้นวิทยาศาสตร์เป็นตัวนำเริ่มเห็นอนาคตที่ชัดเจน

            ขอแสดงความยินดีทุกท่าน และคุณดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานฯรุ่น ผมจะสร้างความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างปัญญา สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อไป

กรุณาใช้ Blog เยอะๆ ต้องดีกว่ารุ่น 2 ประมาณ 2,000 กว่า ส่วนรุ่น 3 น่าจะได้ 5,000

 

                                                            จีระ  หงส์ลดารมภ์

        ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมกิจกรรมใน "โครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการนักบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3" ในครั้งนี้เนื้อหาดีมาก และทุกๆ ท่านก็น่ารักมากเลยค่ะ  
                                                 ขอบคุณค่ะ  ^-^
                                                   ตุ๊กตา (กลุ่ม 2)
                                              

วิเคราะห์ K’ทักษิณ VS K’อภิสิทธิ์

ตามหลัก 8 K’s ของ ศ. ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์

K’ทักษิณ :

เป็นคนที่มีความคิดกว้างไกล สามารถ initiate อะไรใหม่ๆ โครงการใหม่ๆ ได้อยู่เรื่อยๆ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และกล้าทำ ในช่วงแรกๆ มีความคิดว่า อึม! น้องๆ ลี กวน ยู เลย นายกแบบนี้แหละที่จะสามารถนำประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียม เกาหลี สิงคโปร์ ได้

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป เห็นชัดเลยว่า K’ทักษิณ ทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่างๆ การโอนหุ้น การแก้กฎหมาย ฯลฯ เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ผลประโยชน์เพื่อประเทศชาติไม่รู้อยู่ตรงไหน take มากกว่า give

ณ วันนี้ หากถามว่า K’ทักษิณ มีทุนอะไรบ้าง? ที่เด่นๆ เห็นจะเป็นทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และทุนทาง IT ส่วนที่เหลือเห็นจะขาดไปเสียทุกทุน (น่าจะเรียกว่า ‘ขาดทุน’) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ส่วนทุนแห่งความสุข คงไม่มีใครตอบได้ นอกจากตัวท่านเอง ?

K’อภิสิทธิ์ :

ก็ดูว่าเป็นคนที่มีความคิดกว้างไกล สุขุม-ลุ่มลึก มีความคิดแบบเฉียบคม แม้อายุจะยังน้อย บุคลิก สุภาพ-อ่อนโยน จากการฟังคำแถลงในวัที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ชอบมากๆ อาจจะเร็วไป ถ้าจะบอกว่า นายกแบบนี้แหละที่ฉันอยากได้

หากถามว่า K’อภิสิทธิ์ มีทุนอะไรบ้าง? ดูแล้วก็ไม่น่าจะแพ้ K’ทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางด้านปัญญา ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม และทุนทาง IT หากว่า K’อภิสิทธิ์ ทำตามที่พูดเอาไว้ว่า ผลประโยชน์ของประเทศชาติต้องมาก่อนแล้วละก็ ทุนส่วนที่เหลือก็น่าจะมีมากกว่า K’ทักษิณ ...เวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

คุณกิตติพร เหล่าแสงธรรม

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

การบริหารจัดการทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือคน และวิธีการบริหารจัดการ แนวคิด การพัฒนาบุคคล ต้องมีความต่อเนื่อง

§       การบริหารตามหลักของพระเจ้าอยู่หัว

§       ทฤษฎี 4L’s

§       ทฤษฎี 2R’s

§       ทฤษฎี ASV

§       ทฤษฎี 8K’s

สาธิต ศักดิ์วิเศษ

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       รู้จักเปิดทางความคิด

§       การทำงานควรจะต้องมีเครือข่าย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

§       ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ เรื่องของกรอบความคิด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

§       การสร้างและการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำที่ดี

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       รู้จักเพื่อนในการอบรม

§       รู้จักความคิด ในบางแง่มุมของบางคน

 

 

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

รู้จักการสร้างเครือข่ายในการทำงานโดยการได้รู้จักกับผู้อบรมทุกท่าน ที่มาจากต่างหน่วยงานกัน การนำทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในงานและพัฒนาองค์กร เช่น 4L’s 8K’s

 

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีควรทำงานแบบเครือข่าย คนที่มีความรู้และประสบการร์ควรก่อให้เกิด Value Added ต่อองค์กรให้มากขึ้น ควรมีความรู้เพิ่มพูน ตลอดเวลาอย่างหยุดนิ่ง แล้วพยายามนำความรู้ที่ได้มาสรุป วิเคราะห์ด้วยความคิดของตัวเรา การเป็นหัวหน้า ผู้นำที่ดี การทำงานเป็นทีม

 

นายภาณีพงศ์ หลานขาว

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            ทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ เรียนรู้การทำงานร่วมกัน วิธีการแบ่งปันทางความคิด

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       หลักการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

§       ทฤษฎีทุน 8 ประเภท

§       ทราบความหมายของหัวหน้าผู้นำและภาวะผู้นำ

§       การทำงานเป็นทีม หน้าที่ความรับผิดชอบ

อัญญาดา ตั้งดวงดี

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       ได้ตระหนักรู้ถึง ผู้นำ ภาวะผู้นำ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์

§       กรอบ แนวคิดของแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

§       การบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ณตะวัน ทิพย์วิเศษ

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       เครือข่ายและการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น

§       การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

§       ประสบการณ์ แนวคิดต่าง ๆ

จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้กับการทำงาน และการดำเนินชีวิตได้อย่างมีหลักเกณฑ์และได้ประโยชน์สูงสุด

 

อังสนา ฉั่วสุวรรณ์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       ทุนมนุษย์

§       เรียนรู้ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทฤษฎี 8K’s 2R’s 4L’s ทฤษฎี ASV

เปรมใจ อรรถกิจการค้า

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       ได้รู้จักเพื่อนร่วมรุ่นที่เข้ารับการอบรม ทำให้ทราบถึงพื้นฐาน หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

§       แนวทางการเรียนการสอน ในการฝึกอบรม

§       ปัจจัยความสำเร็จ

§       กำหนดการฝึกอบรม

§       ระดมความคิด

นายชัยวัฒน์ ธานีรัตน์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       รู้จักบรรยากาศในการเรียนรู้

§       ทฤษฎีของการเรียนรู้ ทฤษฎี 4L’s 2R’s ASV

§       พื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎี 8K’s

 

นิภาวรรณ ปรยาธิกุล

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       ได้เรียนรู้ทฤษฎีในการสร้างทุนมนุษย์และการเรียนรู้พร้อมการฝึกปฏิบัติเป็นการสร้างความเข้าใจอย่างดีในกิจกรรม รวมทั้งการรวมทั้งการสร้างและบริหารทีม

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            ประเด็นแรกแรก คือได้เรียนรู้จักเพื่อนใหม่

            ได้รู้จัก ศ.ดร.จีระ ซึ่งจะเป็น Role Model และจุดประกาย ความคิด ให้เรามีพลังที่จะขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้า ได้เรียนรู้ ทฤษฎี ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นที่จะนำไปสู่การปฎิบัติ

 

ณัฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       วิธีการปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่อง

§       การเอาชนะอุปสรรค เพื่อการนำไปสู่พลังสร้างสรรค์

§       วิธีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

§       การทำ Blog

§       ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

§       การบริหารมนุษย์

§       การสร้างทีมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       รู้จักวิทยากร ดร.จีระ และความรู้ประสบการณ์ของอาจารย์ที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงในปัจจุบัน

§       ทุนมนุษย์กับความสำเร็จขององค์กรและทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับทุนมนุษย์

§       การปรึกษาความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

§       วิธีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

§       วิธีการสร้างและบริหารทีมงานเพื่อประสิทธิภาพ

 

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            การมีส่วนร่วมในห้องเรียน

นายยุทธนาพงศ์ แดงเพ็ง

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะในห้องเรียนเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่

§       เรียนเป็นทีม ทำ Workshop ทำการบ้านผ่าน Blog แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกันเป็นผู้ให้ความรู้ มีการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

§       ต้องออกสัมผัสภายนอก ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เช่นการตื่นตัว ในการหาความรู้

§       ทฤษฎี 4L’s หลักของพระเจ้าอยู่หัว 2R’s ASV

 

นายวันชัย ชินชูศักดิ์

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       เรียนรู้ด้วยตน (Your Self Study

§       มุ่งเน้นองค์กรความรู้เป็นหลัก

§       การมีเครือข่าย (Networking)

§       วัฒนธรรมการเรียนรู้

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            ความคิดของการเป็นผู้นำ ถ้ามอบหมายงานที่เสี่ยงให้ลูกน้อง หัวหน้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบ การเปิดมุมมองและกล้าคิดในสิ่งที่แตกต่าง นอกกรอบ หา connection ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

§       แนวคิดในการเรียนรู้ หรือแนวคิดของพระเจ้าอยู่หัว

§       การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

§       ทฤษฎี 3 วงกลม 8K’s 5K’s

§       การบริหารอารมณ์

§       บทบาทของคนสู่การทำงานเป็นทีม

§       การดำเนินการ

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

1.      รู้จักเพื่อนหลายคน รู้จักวิทยากร

2.      ความคาดหวังของเพื่อนแต่ละคน และปณิธานที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

3.      รู้แนวคิดและทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร

4.      รู้จักการทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จของงานตามเป้าหมาย

 

ภัคนัย ทองทิอัมพร

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            ไดเรียนรู้การตั้งการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง นำไปปฎิบัติอย่างไร ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร

            การสร้างและบริหารทีมทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

1.      ทุนมนุษย์ในเรื่องความหมายทฤษฎีต่าง ๆ และความสำคัญทางมนุษย์

2.      จุดประกายให้เห็นความจำเป็นของการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเห็นแนวทางในการนำไปปฎิบัติ

3.      รู้คำตอบประเด็นที่สงสัย :

4.      Team Building ความสำคัญ ข้อดี ข้อควรนำ ข้อห้าม

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

1.      Hero Model For Leadership

2.      Add Value in you mind

3.      Chairing KM Networking

4.      ใฝ่รู้ อย่างไม่หยุดนิ่ง โลกแห่งการเรียนรู้ไม่ควรหยุดนิ่ง

5.      ทรัพยากรมนุษย์จะต้องได้รับการพัฒนาตลอดเวลาเพื่อความยั่งยืนของประเทศ

 

ไพโรจน์ วงศ์ศิริพัฒนกุล

ได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนวันนี้

            วิธีการสร้างคุณค่าเพื่อก่อให้เกิดทุนมนุษย์ ทุนความรู้ ทุนทางจริยธรรม เพื่อใช้ไปประยุกต์กับการทำงาน ทั้งนี้ การคำนึงถึง Mindset ที่ถูกกำหนด (อุปสรรค) จากผู้บริหาร กฎระเบียบ การจะได้นำไปใช้ประโยชน์ให้ได้ ไม่ใช่เก็บไว้บนหิ้งเปล่า

 

 

อ.รัศมี ธันยธร 13 ม.ค. 52

Creative + Position = Cresitive

• เวลาไหนสำคัญที่สุด This Moment

• คนที่สำคัญที่สุด คนที่อยู่รอบตัวท่านขณะนี้

• สิ่งสำคัญทำให้มากสุด การ Care กัน

• ถึงเวลาควรทำอะไรให้ควรทำสิ่งนั้น ไม่ควรรออารมณ์

• Thinking เป็นตัวเรา

• เราต้องเรียนรู้เรื่อง Focus ให้ได้ จะทำให้ชีวิตดีขึ้น

ปริยรรถ ปฏิบัติ ปฎิเวศ

เห็นและได้ยิน คิดตาม ลองทำแล้วเปลี่ยนแปลง

Creative

• Creative คือคิดสร้างสรรค์ นอกกรอบ เพื่อหลุดจากการเรียนแบบ logic

• คำตอบที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเดียว

การคิดแบบฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง

• ระบบการคิดเหมือนมีความจำ แต่มีจุดอ่อนที่ว่า ถ้าอะไรก็ตามไม่เป็นตามที่มันเป็น

• อย่าให้อารมณ์ อยู่เหนือปัญญา

• อย่าอยู่ในกรอบแบบเดิม ๆ ทำแบบเดิม ๆ เราต้องรู้จักเปลี่ยน

• การเปลี่ยนคือความงอกงาม โดยเฉพาะการคิด การกระทำ การพูดของเรา

• ไม่ได้ทิ้งของเก่า แต่มีความสามารถมากขึ้น

• คนแต่ละคนมี Bubble ของตัวเอง คนมีกล่องไม่เหมือนกัน ทำให้คิดอะไรไม่เหมือนกัน ต้องถามถึง Bubble ของแต่ละคน เมื่อทุกคนรู้ Bubble ทุกคนก็ชื่นมื่น อย่าเอา Bubble ตัวเองเป็นมาตรฐาน

• เวลามีจิตใจที่แสนดีงาม พยายามเข้าใจ Bubble ของคนอื่น อย่าดูถูก Bubble ชาวบ้าน พยายาม Care กัน

• เราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้

• สันดานคือการกระทำที่ซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่มีใครที่สามารถเปลี่ยนนอกจากตัวเอง

มนุษย์ทุกคนล้วนใฝ่ดี

• แต่มีบางคนเหมือนนิวรณ์ 5 คือ เครื่องกั้นความดีงาม มีหน้าที่ทำให้เสื่อม

1. อารมณ์เป็นใหญ่ เช่น รู้อยู่ว่าไม่ควรทำ แต่จะทำ - รักเกิน

2. ไม่พอใจ โมโห หงุดหงิด โกรธ - ชังเกิน

3. ขี้เกียจ ง่วงเหงา หาวนอน ซึม หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง - อ่อนแอเกิน

4. คิดมาก วิตกกังวลทุกเรื่อง - โง่เกิน

5. สงสัยไปทั้งหมดทุกอย่าง สงสัยลังเล ไม่เชื่อไม่ศรัทธาใครทั้งสิ้น – ฉลาดเกิน พวกตกหลุมพรางความฉลาด ทำให้เปิดกล่องใหม่ ๆ ได้น้อยมาก

การลบภาพ เอ๋ 1

• เราต้องเป็นคนพยายามเข้าใจง่ายที่สุด

• เราต้องเลิกเป็นคนช่างติเตียน

• ให้อภัยตัวเอง และให้อภัยเขา รู้จักขอโทษ

นิภาวรรณ ปรมาธิกุล

-ได้เรียนรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งต้นที่ตัวเราเอง เราควรทำชีวิตให้ประสบความสำเร็จทั้งในที่การงานและที่บ้านควบคู่กัน อย่าละทิ้งด้านใดไป การตั้งเป้าหมายของชีวิตด้วยหลักการที่ถูกต้องจะช่วยเห็นแนวทางชัดเจนในการดำเนินชีวิต

- ได้เรียนรู้ถึงอุปนิสัยหลัก 7 ประการที่ควรพัฒนา และเรียนรู้ว่าการพัฒนาอุปนิสัยนั้นต้องเกิดจากความปรารถนาของตนเองที่จะทำ บนพื้นฐานของความรู้และทักษะที่มี

- ได้เรียนรู้ว่าควรให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ตรงหน้า ณ เวลานั้น และใส่ใจต่อกันมากที่สุด พร้อมทั้งวิธีที่จะทำให้ตัวเองและผู้ที่อยู่รอบข้างมีความสุข และมีชีวิตที่ดี ด้วยความคิดสร้างสรรในเชิงบวก

หลังจากที่ได้ส่งการบ้าน (วิเคราะห์ 8K’s) ไปเรียบร้อยแล้ว วันนี้มีเรียน ซึ่งตามหลักสูตรเป็นหลักการว่า ในทุกเช้าที่มีเรียน กลุ่มที่ได้รับมอบหมายจะขึ้นมาสรุปสาระสำคัญของวิชาที่ได้เรียนในวันที่ผ่านมา ให้เพื่อนๆ ได้รับฟังเพื่อเป็นการทบทวน จึงได้พบว่าการบ้านที่ได้ส่งไปแล้วยังมีวิเคราะห์พลาดอยู่ ในเรื่อง ‘ทุนทางสังคม’ จึงต้องขอใช้โอกาสนี้ทำการบ้านแก้ตัวสักหน่อย

ทุนทางสังคม ในความหมายสั้นๆ คือ รู้จักใครบ้าง ซึ่งก็คือ Networking และ Connection ที่แต่ละคนมีนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า K’ทักษิณ มีทุนทางสังคมมากกว่า K’อภิรักษ์ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และการที่ K’ทักษิณ เอาตัวรอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะมีทุนทางสังคมสูงนี่แหละ แต่ก็มีคำถามว่า ทุนทางสังคม ที่ K’ทักษิณได้มานั้น ได้มาด้วย “ใจ” หรือเปล่า?

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ กลุ่ม 1

ขอส่งการบ้าน การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของคุณทักษิณและคุณอภิสิทธิ์โดยการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีทุน 8 K’sจากการที่ได้รับการอบรมจากอาจารย์จีระ ซึ่งดิฉันเองก็ยังไม่มีประสบการณ์มากนักแต่จะลองวิเคราะห์ดูเท่าที่สังเกตจากผลงานและพฤติกรรมนะคะ

ด้าน HUMAN CAPITAL คุณทักษิณมีการทำงานแบบยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางทุกเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่ๆจะรวบอำนาจการตัดสินใจไว้หมด ส่วนคุณอภิสิทธิ์ จะเป็นการทำงานแบบกระจายอำนาจมอบหมายงานไปตามหน้าที่

ด้าน INTELLECTUAL CAPITAL มีทุนที่คล้ายกันคือแบบ MULTI SKILLS

ด้าน ETHICAL CAPITAL คุณอภิสิทธิ์เมื่อดูจากพื้นฐานทางครอบครัวแล้วและดูจากบุคคลิกท่าทีต่างๆจะมีมากกว่าคุณทักษินมากๆ

ด้าน HAPPINESS CAPITAL ทั้งคู่มีทุนความสุขในการทำงานมากแต่คุณทักษิณดูจะมีความทะเยอทะยานมากกว่าซึ่งมากจนเกินไปก็เป็นอันตรายต่อประเทศ

ด้าน SOCIAL CAPITAL คุณทักษิณจะมีทุนสนับสนุนจากประชาชนระดับรากหญ้า ส่วนคุณอภิสิทธ์จะมีทุนสนับสนุนจากชนชั้นกลางขึ้นไป ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในการทำงานดังนั้นควรจะรีบทำผลงานให้ปรากฏ

ด้าน SUSTAINABILITY CAPITAL คุณทักษินจะเป็นคนที่มีการตัดสินใจเร็วแต่ผลกระทบในระยะยาวมักจะเกิดปัญหาตามมา ส่วนคุณอภิสิทธิ์ดูจะเป็นการทำงานที่มีความยั่งยืนได้ยาวนาน

ด้าน DIGITAL CAPITAL คิดว่าทั้งสองคนมีทุนทางด้านนี้เหมือนๆกัน

ด้าน TALENTED CAPITAL คุณอภิสิทธิ์ดูจะมีทุนด้านนี้สูงกว่าเพราะมีลักษณะเป็นผู้นำที่มีความระมัดระวังมากรวมทั้งมีความรับผิดชอบสูงค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ กลุ่ม 1

หากวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ทฤษฏีทุนใหม่ 5 K’s

CREATIVITY CAPITAL มีทุนด้านนี้ทั้งสองคนแต่ของคุณอภิสิทธิ์ดูน่าจะเป็นแบบ could be applied in practical ส่วนของคุณทักษิณเป็น business man ดังนั้นจะคิดอยู่เสมอที่จะ take profits from business view ซึ่งเข้ากระเป๋าใครก็รู้กันอยู่

KNOWLEDGE CAPITAL ในด้านนี้คุณอภิสิทธิ์ดูว่าน่าจะให้ information for new approach ก่อน ส่วนคุณทักษิณเนื่องจากเป็นคนที่คิดเร็วทำเร็วดังนั้นจึง information has not been provided for new methodology

INNOVATION CAPITAL คุณทักษิณชักจูงประชาชนให้แสวงหาโอกาสให้ตัวเองก่อนโดยขาดการพิจารณาผลกระทบที่จะตามมาในภายหลังเช่นโครงการเงินกู้รถแท็กซี่

EMOTIONAL CAPITAL ยุคคุณทักษิณทำให้ข้าราชการมีความเครียดจากการที่ต้องมีการแข่งขุนสูง ส่วนคุณอภิสิทธิ์คงต้องรอดูก่อน

CULTURAL CAPITAL คุณทักษิณทำให้เกิดการแทนที่ด้วยเทคโนโลยี่จนประชาชนหลงลืมวัฒนธรรมไทย

ขอขอบคุณอาจารย์ที่สอนให้คิดวิเคราะห์นะคะ ต่อๆไปคงจะวิเคราะห์ได้ดีขึ้นค่ะเมื่อฝึกฝนบ่อยๆ

สวัสดี  ผู้เข้าอบรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3 และชาว Blog ทุกท่าน

            ต้องขอชมเชยหลายท่านที่ส่งการบ้านมา หลัง 3 ทุ่ม ส่งมาตอบคำถามเรื่องวิเคราะห์ คุณทักษิณ กับ คุณอภิสิทธิ์

            คุณกันยา จากสำนักอวกาศ ที่ได้นั่งทานอาหารเที่ยงกับผมด้วยเมื่อวานนี้ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องดาวเทียม ที่ได้ส่งการบ้านมาก่อน

            คุณทักษิณอ่อนเรื่องวัฒนธรรม เน้นเรื่อง เทคโนโลยีต่างประเทศ แต่ไม่ได้มองถึงด้านท้องถิ่น ผมคิดว่าวัฒนธรรมมีคุณค่ามหาศาลครับ ถ้าผู้เข้าร่วมทั้ง 31 คน มีความเข้าใจทางด้านทุนวัฒนธรรมกับวิทยาศาสตร์  สามารถเพิ่มมูลค่าได้เป็น แสน ๆ ล้าน ประเด็นที่ท่านเสนอมาเป็นมูลค่าเพิ่ม 4 5 6 ของคุณครับ

 

                                                                            จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัสดีค่ะ กล่ม 5 ขอร่วมเป็นสมาชิกชุมชนด้วยค่ะ

นอกจากจะประทับใจการอบรมที่ชลบุรีแล้ว ที่โรงแรมรอยัลฯ ก็ได้ความประทับใจให้ตั้งแต่วันแรก (13 ม.ค.52) ไม่ทราบว่าพี่ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ จะรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ว่า "สมองซีกขวาถูกกระตุ้นให้ทำงานมากกว่าปกติ" เสมือนหนึ่งบ้านที่ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมด้วยแจกันดอกไม้สด ศิลปะภายในบ้าน ทำให้ผู้อยุ่อาศัยรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา ชีวิตมิใช่เรื่องของเหตุ - ผล อย่างเดียว แต่บางครั้งก็แฝงด้วยความปรารถนาดี ความรัก-ความอบอุ่นที่มีให้ซึ่งกันและกัน ขอบคุณสำหรับแนวคิด/ ประสบการณ์ดี ๆ ที่อาจารย์พจนารถ และอาจารย์รัศมี ตั้งใจถ่ายทอดให้ โดยเฉพาะการจัดลำดับความสำคัญของงาน แบบเมตริกซ์ (ด่วน ไม่ด่วน กับ สำคัญ ไม่สำคัญ) การเปลี่ยน paradiam หรือนิทานกษัตริย์กับฤษี (• เวลาไหนสำคัญที่สุด This Moment

• คนที่สำคัญที่สุด คนที่อยู่รอบตัวท่านขณะนี้

• สิ่งสำคัญทำให้มากสุด การ Care กัน) หรือการสอนอย่างสร้างสรรค์ (อะไรกระทำกันแล้วได้ 8 ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่มักจะพบการสอนในลักษณะ 4+4=เท่านไหร่

กลับถึงบ้านได้ถ่ายทอดความรู้ - ความรุ้สึกดี ๆที่ได้รับจากการอบรม ให้กับคนที่บ้าน ทั้งคุณพ่อและคุณลูก และจะเริ่มถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงาน และน้อง ๆ ในโอกาสที่เหมาะ เพื่อจะได้มีหลักการคิด และเกิดปิติสุขในการทำงานได้

"ศิลปะดูเหมือนง่าย แต่การปฏิบัติเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนไม่ง่ายอย่างที่คิด"

แล้วพบกันอีกค่ะ

อัญ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

วันนี้ได้นำหลัก 7 อุปนิสัย ที่อาจารย์พจนารถสอนไปถ่ายทอดให้น้องๆที่ทำงานฟังในเรื่องBegin with the End in Mind เนื่องจากได้มอบหมายงานให้ทำงาน ซึ่งน้องได้เขียนเหตุผลที่ขอเงินเพื่อทำงานแต่ผลที่ได้รับไม่สอดคล้องกับเหตุที่จะขอเงินไปใช้ทำ ก็ดีใจค่ะที่หลายคนก็เข้าใจดีขึ้น และได้นำข้อแตกต่างระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้ บางหัวข้อไปติดประกาศในห้องทำงานเพื่อให้อ่านผ่านตาบ่อยๆจะได้ช่วยกระตุ้นให้ทำงานแบบผู้ชนะค่ะ

นิภาวรรณ ปรมาธิกุล

กลุ่ม 5 ขอส่งการบ้าน การเปรียบเทียบภาวะผู้นำระหว่างอดีตนายกทักษิณและปัจจุบันนายกอภิสิทธิ์ในแง่ของทุน 8 K’s ดังนี้

1. HUMAN CAPITAL คุณทักษิณมีการทำงานแบบยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางทุกเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่ๆจะรวบอำนาจการตัดสินใจไว้หมด ส่วนคุณอภิสิทธิ์ จะเป็นการทำงานแบบกระจายอำนาจมอบหมายงานไปตามหน้าที่

2. INTELLECTUAL CAPITAL คุณทักษิณมีความคิดฉับไว สามารถโต้ตอบคำถามได้ทันทีโดยไม่คิดนาน ซึ่งผลที่ตามมาเป็นอย่างไรค่อยตามแก้กันอีกที ส่วนคุณอภิสิทธิ์ได้เกียรตินิยมมาน่าจะเป็นคนฉลาดหลักแหลม

3. ETHICAL CAPITAL คุณทักษิณซึ่งทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์น่าจะด้อยกว่าคุณอภิสิทธิ์

4. HAPPINESS CAPITAL ทั้งคู่ดูจะเป็นผู้นิยมทำชีวิตให้มีความสุขเช่นเดียวกัน

5. SOCIAL CAPITAL ขณะที่คุณทักษิณเป็นที่ขื่นขมของประชาชนระดับรากหญ้าคุณอภิสิทธ์ซึ่งเป็น"หล่อใหญ่"ก็ได้รับการสนับสนุนมากจากผู้หญิง และขาว กทม.

6. SUSTAINABILITY CAPITAL คุณทักษิณเน้นประขานิยม โดยไม่สนใจผลที่จะตามมาว่าจะยั่งยืนหรือไม่ คุณอภิสิทธิ์เนื่องจากยังใหม่จึงไม่มีข้อมูลพอที่จะวิเคราะห์

7. DIGITAL CAPITAL น่าจะมีพอๆ กัน

8. TALENTED CAPITAL คุณอภิสิทธิ์น่าจะดูดีกว่ามาก

และ ทฤษฏี 5 K’s ดังนี้

1. CREATIVITY CAPITAL ทั้งสองคนน่ามีจะใกล้เคียงกัน แตกต่างเพียงผลที่จะได้รับ

2. KNOWLEDGE CAPITAL คุณอภิสิทธิ์ดูจะดีกว่า เห็นได้จากการตอบข้อซักถามได้ชัดเจนกว่า

3. INNOVATION CAPITAL คุณทักษิณพยายามคิดสร้างสรรค์ที่จะทำให้เกิดประโยฃน์แก่ตัวเองได้ดี ส่วนคุณอภิสิทธิ์ในแง่นี้ยังมีข้อมูลไม่พอที่จะวิเคราะห์

4. EMOTIONAL CAPITAL คุณทักษิณเป็นผู้ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ค่อนข้างมาก คุณอภิสิทธิ์ดูจะสุขุมกว่ามาก

5. CULTURAL CAPITAL จากงานพิธีต่างๆ ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าคุณทักษิณทุ่มให้กับการส่งเสริมศิลปวัฒยธรรมไทยให้ขาวโลกได้รู้จัก แต่รู้สึกจะใช้เงินลงทุนมาก

การพัฒนาภาวะผู้นำ ช่วยให้เกิดแนวความคิดในการวางยุทธวิธีเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย

จากการเรียนหลักสูตร อ. รัศมี ฯ ทำให้ดิฉันมองเห็นภาพการวางเป้าหมาย ถ้าไกลเกินไป บางครั้งเราไปไม่ถึง เพราะเราช้ากว่าคนอื่น

HUMAN CAPITAL:คุณอภิสิทธิ์มาจากครอบครัวที่อบอุ่น เลี้ยงดูดี พ่อแม่มีฐานะและมีชื่อเสียงในสังคม "เวชชาชีวะ" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชการที่๖ พ่อแม่เป็นศาสตราจารย์แพทย์ทั้งสองท่านคู่สมรส ผศ. ดร.พิมเพ็ญ (ศกุลตาภัย)อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ส่วนคุณทักษิณมาจากตระกูล"ชินวัตร"เป็นตระกูลใหญ่ทางภาคเหนือทำธุระกิจขายผ้าไหม แต่ครอบครัวของคุณทักษิณแยกออกมาทำร้านขายกาแฟที่อำเภอสันกำแพงประวัติครอบครัวไม่ค่อยดี อาชีพของพ่อส่อแววทุจริต เป็นต้นแบบให้เดินตาม

INTELLECTUAL CAPITAL:

คุณอภิสิทธิ์มีมีความเฉลียวฉลาด และมีความสุขุมในการตัดสินใจ จบปริญญาตรี สายปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาตร์(เกียรตินิยมอันดับ1)และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาออกซ์ฟอร์ด ซึ่งตรงสายงานที่ทำ เป็นจุดที่อาจจะสร้างความโดดเด่นได้

คุณทักษิณเป็น ตท.รุ่น10 เป็น นรต.รุ่น26ปริญญาโท(ทุน ก.พ.),ปริญญาเอก(ทุนพ่อตา)สาขาอาชญวิทยา มหาวิทยาลัยแซมฮิวส์ตัน (อเมริกา) รู้ว่ามีคนช่วยทำวิทยานิพนธ์ จัดว่ามีความเฉลียวฉลาด คล่องตัว ใจร้อนขาดความรอบคอบในการตัดสินใจ+ ความโลภ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน

 

           การที่คนเรารู้ว่าผู้ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตตัวเราเอง ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างโอกาส และคุณค่าให้กับชีวิตตัวเอง  ขอให้เพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาอ่านใน blog ของอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์  รีบเปลี่ยนชีวิตของตังเองเถิด โดยเราต้องละนิวรณ์ 5 ประการได้  ได้แก่ รักเกิน  เกลียดเกิน อ่อนแอเกิน ฉลาดเกิน และโง่เกิน  ถ้าหมั่นใช้สมองซีกขวาทำงานคือการมีศิลปะ นอกจากทำให้ชีวิตมีความสุข แล้ว ยังทำให้คนข้างเคียง ทั้งที่อยู่ที่บ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมชาติ ซึ่งจะทำให้พวกเรามีพลังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และสามารถนำเศรษฐกิจของชาติ แบบ Green economy ได้อย่างยั่งยืนค่ะ

                                                       ณฐลมนต์   ปัญญวัฒนกิจ

ประเด็นโป๊ะเชะวันที่ 13 มกราคม 2552

• Sharpen the saw การให้ความรู้ความคิดเราใหม่อยู่เสมอ

• ไม่ควรใช้คำว่ารู้งี้จะไม่ทำ อย่าให้ช้าเกินทำไม่ได้ เช่นการเลี้ยงดูพ่อแม่อย่าให้ช้าเกินที่เราจะดูแลท่านไม่ได้

ในกฎภาวะผู้นำ 8 ข้อ ของ Mandela มีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จะนำอะไรไปใช้ 1 เรื่อง

• กลุ่ม 5 ชอบข้อ 7 อย่าเน้นเรื่องความถูกหรือผิดแบบ 100 % ซึ่งบางทีนักวิทย์ชอบคิดเช่น 4+4 = 8 ถ้าคิดแบบ Cresitive อย่าง อ.รัศมี คือ คิดว่าอะไรบวกกันเท่ากับ 8 ซึ่งในอนาคต สิ่งที่ต้องทำกับหัวหน้า และลูกน้อง กับคนหมู่มากจะเอาเครื่องมืออะไรมาหาทางจัดการ อาจคิดแบบบิดเบี้ยวไปบ้างก็น่าจะได้ ไม่มีอะไรที่ถูกทั้งหมด

• กลุ่ม 1 ชอบข้อ 1 มีความกล้า แต่ไม่มีความกลัว สามารถจุดประกายให้คนอื่นสู่ความเป็นเลิศได้ ยกตัวอย่าง ปัญหาที่ผ่านมา คือการย้ายงานจากหน่วยงานหนึ่งไปสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง ความรู้ ความสามารถยังไม่มี แต่กล้าที่จะทำผลงานสู่ความเป็นเลิศระดับประเทศ ต้องสู้ ถึง วันสุดท้าย แม้ว่ามีอุปสรรคต่าง ๆ ปรากฏว่าผลงานของไทยออกสู่ระดับโลก แต่เรากลัว เราไม่กล้าทำ แต่สังคมไทยถูกหล่อหลอมว่าถ้าพลาดจะถูกจมดิ่งตลอดเวลา แต่กล้าที่จะสู้เพื่อเปลี่ยนสู่จุดดีขึ้น

• กลุ่ม 4 ชอบข้อ 7 เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ชอบทดลองว่าผลอย่างไรต้องได้เท่านั้น สมมุติว่าเราเป็นหนึ่ง เราแน่ แต่จากนี้ไปความหลากหลายมากขึ้น เช่น 1*2 ต้องปรับตัวให้เป็น 2

• กลุ่ม 2 ชอบข้อ 2 การเป็นผู้นำไปข้างหน้าอย่าให้ข้างหลังอ่อนแอ ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน แล้วพัฒนาศักยภาพคนข้างหลังให้ไปด้วยกันให้ได้

ดร.จีระ เสนอว่า

• เวลามีความสำเร็จ ต้องรู้จักถ่อมตัว ไม่ให้เก่งแบบน่าหมั่นไส้ ต้องรู้สึกว่าปิดจุดอ่อนตลอดเวลา

• ความไม่ประมาท ไม่โอหัง ไม่เหลิง

• วิทยาศาสตร์กับ สื่อต้องเป็น area หนึ่งที่เราช่วยกัน

• วางแผนระยะยาว 5-10 ปี

เราเรียนรู้จาก Nelson Mandela อย่างไรบ้าง

• แนวการเป็นผู้นำ ทุกคนมีส่วนเด่นในตัวอยู่แล้ว

• ตัวบุคคลที่จะเป็นผู้นำ กล้า มีวิสัยทัศน์ กล้าเผชิญสิ่งใหม่

• กล้าเป็นแนวหน้า แล้วพร้อมที่จะเป็นแนวหลังให้เพื่อนร่วมทีมทำงานได้

• อย่ามองลูกน้องเราด้อย ให้ลูกน้องรักเราด้วยใจ อย่ารักด้วยเกียรติยศ

• บริหารศัตรูยังไงให้เป็นพันธมิตร

• ผู้บริหารอย่าโลภ ซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

• เศรษฐกิจโลก เกิดจากอะไร

• ต้องวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ เลือกวางสิ่งสำคัญในอนาคต

• โลกมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง มีวิกฤติเป็นสิ่งที่คนมองไม่ออก ด้านหนึ่งคือ โอกาส

• ความเป็นคนคือเลวกับดี

• โลกทั้งโลกกลายมาเป็นโอกาส

• โลกแบนทำให้ IT ขยายไปสู่ทุกจุดของโลก เกิดโอกาสทางธุรกิจเยอะมาก

• โลกหลังสงครามเย็นสามารถหาโอกาสทางธุรกิจเยอะมาก

1. โลกแบน 2. IT 3. การเปิดเสรี

• ความสามารถของมนุษย์เข้าสู่ความเสี่ยง

• ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย คิดเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง เช่น Option Hedging Future Market Swapฯลฯ แต่ต่อมากลับกลายเป็นความเสี่ยงมหาศาล

• ตลาดล่วงหน้าจริง ๆ ไม่มีการส่งมอบ

• ตลาดล่วงหน้าเกิดจากนักลงทุน และมีการผันผวน

• ตลาดล่วงหน้าที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน คือยางพารา

• ตัวเปลี่ยนแปลงคือ การสั่ง คนที่จะรู้และป้องกันความเสี่ยงได้ต้องเป็นคนที่รู้จริง ที่คิดว่าป้องกันความเสี่ยงได้ แต่ว่าป้องกันไม่ได้จริง ๆ

• AIG กับ Lehman Brother เคยรวยจากตัวป้องกันความเสี่ยงให้เรา แต่ต่อมาก็เจ๊งจากตัวป้องกันความเสี่ยง

• การป้องกันความเสี่ยงตลาดรู้ แต่ชาวนาไม่รู้

• Margin Call

โลภ + อัจริยะ รวมเป็นการก่อหนี้จากการไขว่คว้าโอกาส

วิกฤติการเงิน ราคาหุ้นตก เศรษฐกิจทุกอย่างตก เกิดวิกฤตปี 52

• สภาพคล่องคนหายไป ครึ่งนึง

• กำไรบริษัทหดหาย การซื้อลดลง

• คนตกงานมากขึ้น

• ขายน้อยลง

• กำไรน้อยลง

• ท่องเที่ยวน้อยลง

• เกิดการหดตัวการค้าต่างประเทศ การหดตัวของเศรษฐกิจ

• วิเคราะห์จากประมาณการทั่วโลก ถ้าไทย GDP ประมาณ 1-2% ถือว่าดีมากแล้ว

• GDP ทั่วโลกลดหมด

• ราคาที่ดิน กับราคาหุ้นลงมายังไม่จบ ราคาหุ้นที่พุ่งชั่วคราวต่อไปก็จะตก

ผลคือ

1. จะสามารถทำนายการส่งออก อัตราการขยายตัวแย่ลง

2. เมื่อมีการลงทุนน้อย ความเชื่อมั่นคนน้อยลง เงินเข้าประเทศน้อยลง

การแก้ไข

• กระตุ้นด้วยการแจกเงิน อสังหาริมทรัพย์

• กระตุ้นด้วยการลงทุน Infrastructure

• แจกเงินให้คนจนเพื่อกิน แต่ถ้าคนรวยก็จะเก็บไว้

• การกีดกันทางการค้านำสู่การเจรจา 1944 การตั้ง GATT , มีการร่วมมือทาง G20

• เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำลงมาแต่ยังไม่ร้ายแรงมาก แต่อาจฟื้นอีกประมาณ 2 ปี ความร้ายแรงเบากว่า 1997 อัตราแลกเปลี่ยนไม่ขยายตัวเท่าครั้งที่แล้ว

• บทบาทของวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน และนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สร้างศักยภาพการแข่งขัน 1. เพิ่มสินค้ามูลค่าเพิ่ม

• ดังนั้นความร่วมมือกับรัฐบาล และวิทยาศาสตร์สำคัญมาก

บทบาทของไทยทำขนาดไหน หน้าที่คือ กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย และใช้วิทยาศาสตร์ไป Apply อย่างไร

วิทยาศาสตร์ เป็นต้นน้ำมากกว่าปลายน้ำ เปรียบเสมือนองค์ความรู้

1. สร้างศักยภาพของคนในองค์กร

2. มีคนมาเรียนหรือไม่

3. นำความรู้ไปพัฒนาประเทศขนาดไหน

• ทำวิทยาศาสตร์เป็นแผนกลยุทธ์สู่การพัฒนาประเทศ

• วิทยาศาสตร์คือความอยู่รอดของประเทศ

• กฎ Paracal คุณขายสินค้า 20 % เท่ากับผลลัพธ์อีก 80%

• อ่านหนังสือให้จับประเด็น อ่าน 5 นาที ให้เนื้อหา 95% หน้าที่สำคัญมากสุดคือ หน้าแรก และหน้าหลังคือความชม

• หนังสือภาษาอังกฤษอ่านตรงที่ย่อ ข้างหน้า และข้างหลังประวัติที่น่าสนใจ

• ทุกหน้าน้ำหนักไม่เท่ากัน บางหน้าสำคัญกว่าบางหน้า ไม่ต้องอ่านทุกหน้า

• นักวิทยาศาสตร์เป็นบุคคลที่ฉลาด เราต้องใช้ความฉลาดของเราให้เป็นประโยชน์

• ทำในสิ่งที่รัก และมีอนาคต

• การลงทุนระยะยาว ต้องทำให้สู่การลงทุนในระยะสั้น

• อย่าให้รอ เรียนรู้การใช้วิทยาศาสตร์ให้มีความสุข

• ต้องรู้จักใช้ศักยภาพของคุณให้ตรงกับหน่วยงาน ทำสายวิทยาศาสตร์ให้มีลักษณะ Apply ได้

• ทุกอย่างอยู่ได้ แต่ต้องเก่งม๊ากกกก เนื่องจากมีคู่แข่งเยอะ เลือกอาชีพที่ตรงกับเราชอบทำอย่างมีความสุข

• ทำในสิ่งที่รักและสร้างมูลค่าเพิ่มจะเป็นใหญ่ได้

รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์

• ไทยเป็น Open Economy

• พม่า เป็น Semi Closed – Semi Open Economy

• รายได้หลักพม่าคือแรงงานที่มาทำงานที่ไทย และอีกเรื่องคือก๊าซธรรมชาติ

• Capacity Building การสร้างขีดความสามารถทางการประกอบการ

คุณสมบัติของผู้บริหารชั้นสูง

• ความสามารถในการวิเคราะห์

• Vision วิสัยทัศน์ เหมือนหางเสือ เหมือนเข็มทิศผู้บริหาร

คนมีลักษณะอย่างไรถึงมี Vision ที่ดี

• ก่อน

Time Management

- เห็นปัญหาก่อน เห็นโอกาสก่อน เก็บเกี่ยวได้ก่อน

- ประสิทธิภาพในการบริหารเวลา เวลาเป็นสิ่งมีค่าเรียกกลับมาไม่ได้

- ก่อนเวลาผ่านพ้นไปทำเวลาให้เป็น Productive time อย่าให้เป็น Unproductive time

• ไกล

- เห็นถึงความเป็นมาของปัญหาและโอกาส

- ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิมอยู่เสมอ เราสามารถนำบทเรียนในอดีต เพื่อวิเคราะห์ปัจจุบันและอนาคต

- Great Depression 1972 , พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำไมทหารและตำรวจ เข้าร่วมกับคณะราษฎร์ เนื่องจากข้าราชการโดนออก เกิดวิกฤตการณ์ไม่มีเงินในคลัง ผลสืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลก กระทบกับเศรษฐกิจไทย

-

• กว้าง

- Cross Section เห็นภาพรวมทางเศรษฐกิจ สร้างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจขึ้นมา

- สร้างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ Macro Economic Indicators

- GDP คือรายได้ของประเทศในแต่ละปี

- รายได้ก่อเกิดบนแผ่นดินไทยเป็นเท่าไหร่ รวมทุกชาติที่ทำอยู่ที่ประเทศไทย

- เศรษฐกิจอินเดีย เหมือนสายเดี่ยว เซ็นเตอร์พอยท์

- เศรษฐกิจจีน เหมือนสายเดี่ยว RCA

- เศรษฐกิจไทย เหมือน

- ไทย open Economy

- เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศ พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ พึ่งพาภาคบริการเช่น Tourism การขนส่ง ประกันภัย ประกันชีวิต

- ถ้าเศรษฐกิจโลกดี เศรษฐกิจไทยขึ้นด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจโลกแย่ เราแย่ด้วย

• ลึก

- เราต้องการเห็นก่อน เห็นกว้าง เห็นไกลเพื่อเอาไปใช้ในเชิงลึก เช่น รู้ GDP ไปเพื่อเพิ่ม Planning Efficiency เช่น GDP โต เราจะขยายการผลิต ยอดขายเพิ่มขึ้น ถ้าไม่เพิ่มยอดขาย มีปัญหาเรื่อง Stock planning ของไม่พอขาย ไม่มีของให้ลูกค้า ลูกค้าไปหาคู่แข่ง ขาประจำไปอยู่กับคู่แข่งเกิดความไม่แน่นอน uncertainty และเกิด risk

- บริหาร Marketing Planning ให้มีประสิทธิภาพ สร้าง Market Leader เป็นผู้นำตลาดได้ ทำให้กลายเป็น Price Setter ผู้ตั้งราคา ถ้า Market follower เป็นผู้ตามราคา เมื่อ GDP ขยายตัวจึงควรเตรียมทาง Supply size

1.Production Planning การวางแผนการผลิต จะเพิ่มยอดขายมากน้อยแค่ไหน

2.Stock Planning เมื่อวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพจะไม่มีปัญหาด้าน Stock แต่ถ้าวางแผนไม่ดี Stock อาจมีปัญหา บริหาร Stock ให้น้อยลง แต่ไม่ควรมีเลยเนื่องจากเป็น Time Lag

3.Marketing Planning ให้มีประสิทธิภาพ ได้ Economy of Scale สามารถขยายตลาด ราคาถูกได้ สามารถสร้าง Brand Building

4.Financial Planning การวางแผนทางการเงิน คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินทุน (Source of fund) Cost of Fund เป็นตัวกำหนด Source of Fund ดังนั้นควร Minimize Cost ให้มากสุด

5. Information Planning ต้องรู้เขารู้เรา วางแผนข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ไม่เข้าข่ายขี่ช้างจับตั๊กแตน หรือการลงทุนเกินตัว

6. Innovation Planning การวางแผนนวัตกรรมเป็นตัวสร้างความแตกต่างได้อย่างยั่งยืน Differentiate Product R&D ต้องเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ ให้คู่แข่งตามไม่ทัน ดังนั้น Science & Technology จึงสำคัญมาก ตัวอย่างทำไม Sumsung จึงต่อรองกับ SONY

เกาหลีเปลี่ยนจาก OEM เป็น OBM กับ ODM

• Original Equipment Manufacturing

• Original Brand Manufacturing

• Original Design Manufacturing

สิ่งที่ Sumsung ทำ คือ ใส่เรื่อง R&D ไปสุด ๆ ลงทุน 8 billions US$ ต่อปี มีห้องแล๊บดีมาก ทำให้สามารถล้ม Sony ได้

หัวใจคือให้ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่ภาครัฐอย่างเดียว

ทำไมกรุงศรีอยุธยาถึงอยู่ได้นานถึง 417 ปี

• สินค้ารวมศูนย์ที่ศรีอยุธยา เรือเข้ามาเป็น Demand Supply Center ศรีอยุธยาเป็นเสมือนเมืองท่า มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สามารถสะสมความมั่งคั่งสู่ประเทศ มีอายุมาก

• เมืองหลวงย้ายจากเหนือลงใต้เพื่อเข้าสู่ปากอ่าวมากขึ้นเป็น Open Economy ขยายการค้ากว้างขวาง

• กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะโดยธรรมชาติ มีแม่น้ำล้อมรอบ 3 สาย เจ้าพระยา ป่าสัก ลพบุรี

• โปรตุเกส เป็นต.ต.ชาติแรกที่เข้ามาไทยหลังพระบรมไตรโลกนาถ เนื่องจากค้นพบเส้นทางเดินเรือ

• โปรตุเกสมาขอเมืองมะละกาจากศรีอยุธยาเนื่องจากเป็นแหล่งค้าขายเครื่องเทศที่ใหญ่สุด เลยมาขอที่อยุธยา แล้วเห็นว่ารุ่งเรืองมาก ส่งคนมาเรื่อย ๆ เป็นตัวอย่างของ Open Economy

• เป็น Logistic Center ที่สำคัญ คุมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ คุมได้ทั้งภาคเหนือ ข้าวเป็นสินค้าส่งออกของไทย

• เรือลำใหญ่มากค้าได้ปีละครั้ง มีค่า Opportunities Cost สูง จึงต้องค้าสินค้าราคาแพง

• จีนผลิตข้าวสารปีละ 130 ล้านตัน ส่งออกน้อยมาก แล้วต้องนำเข้าข้าวจาก ตปท. เนื่องจากมีคน 1,300 ล้านคน

• ต้องวิเคราะห์ว่าวิกฤตโลกขนาดนี้ จีนจะไปทางไหน

• จีนนำเข้ามาก ส่งออกมาก ทำให้ Supply Chain เคลื่อนไปได้

• พฤศจิกายน จีนนำเข้าติดลบ 17.9 % ทำให้ส่งออกไทยติดลบ 18% GDP ไม่โต

• จีน เป็นศูนย์กลางของอุปทานโลก

• น้ำมัน 1 บาร์เรลเท่ากับ 159 ลิตร ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 2 บาท

• รายได้จีนเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า ไทยส่งออกมาก

• ปี 49-50 ไทย เผชิญกับปัญหาบาทแข็ง

• ตัวแปร China Factor ไม่น่าไว้วางใจคือตอนนี้การส่งออกของจีนติดลบ ลดการนำเข้าอย่างมาก เกิดการถอยล่นของห่วงโซ่อุปทานโลก

• การส่งออกของละตินอเมริกา แอฟริกา ก็ตกและขายได้น้อยกว่าเดิม อำนาจซื้อน้อยลง นำเข้าจากไทยน้อยลง เป็นตัวรัฐบาลต้องดูแล

คำถาม ไทยจะลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านใดดี แล้วไปได้แค่ไหน

ตอบ 1. Infrastructure ดีขนาดไหน การลงทุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี R&D คน Hard Center ลงทุนขนาดไหน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ GDP แต่จีน มี Chinese Academy of Science วิจัย พัฒนา R&D แล้วเอกชนถือหุ้นด้วย เพื่อมีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วม ทั้งในเชิงพาณิชย์ และรัฐบาล ตัวอย่าง เกาหลีมีองค์ความรู้ Food Science มากพอจึงสามารถสู้กับโลกได้

ดร.จีระ เสนอว่า เราต้องสร้าง Culture ทาง Science ให้ได้

GDP

GDP= C+I+G+(X-M)

• Productive Import คือ Import ที่ก่อผลงอกเงย

• ประเทศไทย ขีดความสามารถระยะยาว อยู่ที่ภาคบริการ

• ความหลากหลายธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการเติบโต urbanization การขยายตัวสู่ชุมชน การพัฒนา rural and urban area และเน้นการสร้าง Infrastructure เพื่อสร้างการพัฒนาให้ได้

• Return มากกว่า Cost จะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้

• เราจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเราได้อย่างไร เป็นเรื่อง Management

• ถ้าเราต้องการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันระยะยาว ต้อง สร้าง Infrastructure รองรับให้ดี

ความคิดเห็น

- การสร้าง Stock ทางปัญญา

o เราจะ Differentiate Product อย่างไร เราต้องดูว่าหน่วยงานอื่นที่ใกล้เคียงเราถึงแย่งลูกค้าเราไป ทั้งทุกเรื่อง

- กรมวิทยาศาสตร์ต่อไปน่าจะเน้นในข้อที่ 6 เพื่อสร้างความแตกต่าง ถ้างาน Routine ควรให้ภาคเอกชนทำต่อ เน้น R&D มาใช้ให้มาก

ดร.จีระ

- เอา Macro ไปผสมกับ Micro ต้อง Integrate สิ่งที่อยู่ในห้องไปสู่ Workplan

- กิจกรรมไปสู่ Value Added และสอดคล้องกับงานด้วยคืออะไร

- ต้องมี idea ใหม่ ๆ เอาไปทำ และทำให้สำเร็จ

- อยากให้ทุกคนคิดถึงสิ่งที่เราเรียนคนละ ½ ชั่วโมง

- การเรียนต้อง Lean and Mean หมายถึงคมและรู้คุณค่า

- E-mail อ.สมภพ [email protected]

นิภาวรรณ ปรมาธิกุล

หัวข้อในวันนี้เป็นด้านเศรษฐศาสตร์ แม้จะไม่ใช่เรื่องที่เราถนัด แต่ได้เรียนรู้ว่าในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาตร์คนหนึ่งในประเทศไทย จะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง จะได้ไมอายเวียดนาม และจะพยายามพัฒนาตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ทั้ง ก่อน ไกล กว้างและลีก

ต้องขอบคุณท่านอาจารย์จีระ อาจารย์สมชาย อาจารย์สมภพและท่านอื่นๆ ที่ช่วยชี้ทาง การเน้นบ่อยๆ จะช่วยให้ ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทางได้อย่างที่อาจารย์รัศมีบอก คิดว่ากว่าจะจบหลักสูตรพวกเราคงได้ทางน้ำที่จะช่วยสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งในอนาคตให้กับประเทศไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา

หลักสูตร อ. พจนารถฯ  ดิฉันมีความเชื่อเรื่องกรรมเก่า ความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ที่ได้สะสมมาข้ามภพข้ามชาติ มีทั้งมิตรและศัตรู สำหรับดิฉันพยายามรู้ทันตั้งสติคือความรู้สึกตัวทุกครั้งก่อนที่จะปล่อยออกมาทางกาย วาจา ซึ่งคงต้องฝึกบ่อยๆ จนเป็นความเคยชิน (ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง)

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่หาทางออกให้ลูกศิษย์สามารถบอกอะไรๆกับเพื่อนได้โดยผ่านทาง Blog ของอาจารย์

เข้าเรื่องเลยละกัน ระหว่างคุณอภิสิทธิ์ กับ คุณทักษิณ ในมุมมองของตัวเอง

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าไม่ค่อยกล้าวิจารณ์อะไรเท่าไรเพราะไม่มีโอกาสสัมผัสท่านโดยตรง อีกอย่างคิดว่าการดูคนแต่เพียงภายนอกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องมองลึกเข้าไปข้างในจิตใจเค้าด้วย บางคนตัวดำหน้าตาแบบว่าไม่มีใครอยากคุยด้วยแต่ถ้าได้รู้จักแล้วอาจต้องพูดทันทีว่าเค้าเป็นคนดีทีเดียวก็ได้

: ในเรื่องการครองตนทั้งคุณอภิสิทธิ์ และคุณทักษิณ บอกว่าเป็นคนรักครอบครัวเหมือนกัน เท่าที่ได้ยินมามีแต่ฝั่งคุณทักษิณ นะที่มีความประพฤติเสื่อมเสียในทางชู้สาว อันนี้จริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่วงในบอกว่าชัวร์

: ในเรื่องการควบคุมอารมณ์ คุณอภิสิทธิ์ ดูว่าจะทำได้ดีกว่า คุณทักษิณเป็นคนที่คิดเร็วทำเร็ว ใจร้อนหวังผลเร็วลักษณะพ่อค้า เป็นคนพูดเร็วกว่าคิด บ่อยครั้งที่คุณทักษิณทะเลาะกับนักข่าวและว่าใครต่อใครให้เสียหาย

: ในเรื่องการทำงาน คงไม่แพ้กัน มีความรู้ดี ภาษาอังกฤษได้ ความคิดเด่น แต่ที่ผ่านมาคุณทักษิณ ทำผลงานไว้มากก็จริงแต่เอาผลประโยชน์ตนเป็นหลักมากกว่าเสียสละให้ประเทศชาติ

เมื่อโยงไปสู่ทฤษฎี 8 k's และ 5 k's ของอาจารย์ แล้ว พฤติกรรมที่ดีๆจะตกไปอยู่ที่นายกอภิสิทธิ์มากกว่า

บทบาทของค่า GDP ต่อการวางแผนทางธุรกิจ

เมื่อ GDP มีค่าสูงขึ้นบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การวางแผนการผลิต (Production Planning) สามารถขยายการผลิตได้มากขึ้น โดยสั่งเครื่องจักรที่ทันสมัยทำให้อัตราการผลิตสูงขึ้น ซึ่ง Scale การผลิตสูงจะทำให้ต้นทุนของสินค้าต่อหน่วยลดลง ขบวนการวาแผนจัดเก็บสินค้า ( Stock Planning ) จะต้องเพียงพอต่อความต้องการไม่ขาดช่วงหรือล้นเหลือ ซึ่งแผนการตลาด (Marketting Planning) ต้องเข้มแข็ง เข้าถึงผู้บริโภค ทั้งด้านราคา ความสะดวกซื้อ และ การบริการ (Customer Service) ซึ่งถ้า Scale of market share มีค่าสูงก็จะมีอิทธิพลต่อ Brand Building และการกำหนดราคามาตรฐานของสินค้าในตลาด แหล่งที่มาของเงินทุน ผู้ผลิตจะต้องให้ความสำคัญและจะต้องวางแผนการด้านแหล่งเงินทุน (Financial Planning) ซึ่งสำคัญต่อความมั่นคงของธุรกิจ การวางแผนด้านข่าวสาร (Information Planning) มีส่วนสนับสนุนการตลาดได้เป็นอย่างดี ในยุคไร้พรมแดนด้วย IT ขณะนี้ สามารถประชาสัมพันธ์การตลาดได้อย่างไร้ของเขต และสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ของการทำธุรกิจมือโปร คือ แผนการพัฒนานวัตกรรม (Innovation Planning) ด้วย R&D เพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น อย่างยั่งยืน ไร้เทียมทาน

รัชดา ( เจ )

กิตติพร เหล่าแสงธรรม (กลุ่ม 2)

ขอขอบคุณอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่อาจารย์ได้บรรจุเนื้อหาเรื่อง เศรษฐกิจของโลกและเศรษฐกิจของไทย ในหลักสูตรการอบรมนี้ ทำให้พวกเรามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ และการเกี่ยวโยงของเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ชอบคำของอาจารย์สมภพ มานะรังสรรค์ที่อาจารย์พูดว่า “ประวัติศาสตร์มักเกิดซ้ำรอย เอาความเป็นมาบริหารความเป็นไป” ให้เรามองย้อนไปอดีต ศึกษาอดีต แล้วเอามาเป็นบทเรียน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ชื่นชมกับการวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของอาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ที่อาจารย์จำเป็นต้องใช้ความรู้มากมายผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความใหม่และสด มาถ่ายทอดให้พวกเรา ชอบคำพูดของอาจารย์ที่พูดว่า “สำรวจว่าตนเองชอบอะไร ทำในสิ่งที่ชอบ และสร้างมูลค่าเพิ่ม จะทำให้ยิ่งใหญ่”

กิตติพร เหล่าแสงธรรม

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ชื่นชมอาจารย์สมชายมานานแล้วค่ะและวันนี้ได้มีโอกาสเรียนกับอาจารย์แล้วยิ่งประทับใจ อาจารย์สอนให้เราพวกนักวิทยาศาสตร์เข้าใจให้ดีว่า วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ว่าจะแก้วิกฤตเศรษฐกิจเพียงแต่จะส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจไทย โดยการเพิ่มบทบาทในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจะต้องช่วยกันสร้างศักยภาพกระตุ้นให้คนมาเรียนวิทยาศาสตร์กันให้มากขึ้น ทุกคนจะต้องดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้ดีที่สุด ทำตัวเองให้สมคุณค่าที่มี และสอนให้ใช้ชีวิตอย่างมรความสุข ด้วยการให้ลดระยะเวลาในการยอมรับผิดให้สั้นลงแล้วในครอบครัวและสังคมรอบข้างจะมีความสุข Why don’t make every moment happiness? มีการวางแผนที่ดี มีต้นทุน มองอนาคตและหมั่นหาความรู้ sharpen the saw

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

เมื่อวานนี้ได้เรียนเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจรู้สึกหนักมากเพราะพวกที่เรียนวิทยาศาสตร์จะไม่ค่อยได้คิดแปลงผลงานออกมาเป็นจำนวนเงินว่าได้เท่าไร แต่อย่างน้อยก็ได้รู้เรื่อง GDP ว่าคิดจากอะไรบ้างและก็รู้ว่าคนที่มี vision ดีนั้นจะต้องเห็นก่อน เห็นไกล เห็นกว้าง และเห็นลึก ซึ่งจริงๆค่ะเพราะคนที่ครบทั้งหมดนี้ก็อัจฉริยะนั่นเอง และการที่จะสร้างbrand ของตัวเองจะต้องรู้จัก How to differentiateyourself,your products and your services ? ฉะนั้นชาวกรมวิทย์ฯ ท่านต้องทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ค่ะจึงจะสร้าง brand ของตัวเองสำเร็จ ขอบคุณค่ะท่านอาจรย์สมภพ

ขอส่งการบ้านค่ะ บทความ Tax cuts for teachers เขียนโดย Thomas L.Friedman

การลงทุนส่งเสริมด้านวิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสนับสนุนครูทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพ มีความอยู่ดีมีสุข น่าจะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เพราะสามารถต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลระยะยาวมากกว่าการลงทุนพัฒนาทางโครงสร้างพื้นฐาน(Infra structure)เพราะสร้างถนน สะพาน ก็ได้แค่ถนนและสะพานที่ดีขึ้น

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

มาช้าไปหน่อยขอส่งการบ้านเก่าก่อนนะค่ะ

ทฤษฎี 8K กับคุณทักษิณ ชินวัตร และคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอเน้นทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เป็นหลัก เพราะเป็นทุนอย่างหนึ่งที่ทุกคนในสังคมควรพัฒนาให้มีมากขึ้นเพื่อความสงบสุขของสังคม สำหรับคุณทักษิณมักจะนำการเมืองและธุรกิจมาเกี่ยวข้องกัน ถึงแม้การทำงานหรือการตัดสินใจของคุณทักษิณจะรวดเร็วแต่มักจะไม่โปร่งใสในการตรวจสอบดังที่เราได้เห็นในการฟ้องร้องคดีต่างๆ เกี่ยวกับคุณทักษิณ ส่วนคุณอภิสิทธิ์ ภาพที่เราได้รับรู้หรือพบเห็นทั่ว ๆไป คือ เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ มุ่งมั่น มีอุดมการณ์ทางการเมืองตั้งแต่เด็ก การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และการสื่อสารก็เป็นไปในทิศทางบวก คือประสานงาน ประนีประนอม ไม่ใช่ประสานงา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สังคมไทยในปัจจุบันสงบสุขได้

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

รู้สึกชอบการบรรยายในหัวข้อ 7 Habits of highly effective people ที่ว่า “Leadership is a choice not a position” เพราะคนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าผู้ที่มีตำแหน่งสูงคือผู้นำ จึงแข่งขัน แย่งชิงตำแหน่งหน้าที่การงานกันโดยไม่สนใจคนรอบข้าง ซึ่งคนที่มีตำแหน่งสูงใช่ว่าจะมีภาวะผู้นำเสมอไป และในการทำงานปัจจุบัน Think Win-Win ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรสร้างให้เกิดขึ้น คนส่วนใหญ่มักจะ Think Win-Lose ทำให้เกิดความขัดแย้งกันภายในองค์กรได้

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

Cresitive Thinking ของอาจารย์รัศมี ธันยธร สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและการทำงานได้ดี คือมนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้ที่จะให้อภัย ขอโทษทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น รู้จักพูดในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย ต้องพยายามไม่ให้นิวรณ์(ความเสื่อม) ทั้ง 5 เกิดขึ้น คือ โลภเกิน ช่างเกิน อ่อนแอเกิน ฉลาดเกิน และโง่เกิน นอกจากนี้ยังต้องรู้จักที่จะพูดให้เกิดความคิดหรือการวิเคราะห์มากกว่าการบอกหรือสั่ง เช่นในการทำงานหนึ่ง ๆ ให้สำเร็จ ไม่ใช่ว่าจะมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานเดียวที่จะบรรลุเป้าหมาย อาจมีได้มากกว่าหนึ่ง การเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้พูดหรือคิดแล้วแสดงความคิดเห็นเราอาจได้คำตอบที่ดีกว่าที่เราคิดก็ได้

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

เรื่องของเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลกและการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เข้าใจภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น จะเห็นได้จากที่รัฐบาลแต่ละชุดจะพยายามผลักดัน GDP ของประเทศให้สูงขึ้นโดยออกมาตรการต่าง ๆ มามากมาย หากเราไม่เข้าใจว่าองค์ประกอบของ GDP คืออะไรก็จะไม่เข้าใจว่าสิ่งที่รัฐบาลทำจะทำให้ GDP สูงขึ้นได้อย่างไร GDP = C + I + G + (X – M) มาตรการหนึ่งที่เห็นชัดคือการให้เงิน 2,000 บาท กับผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท เป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ (Domestic consumption : C) ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อค่า GDP มากที่สุด

ชัยวัฒน์ ธานีรัตน์

ดีใจมากเลยที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารจัดการนักบริหารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นนี้ ได้รับความรู้ มุมมอง แนวคิด และหลักการใหม่ๆ มากมาย สามารถนำมาใช้พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มาก และมีหลายเรื่องมากที่ประทับใจจนต้องรีบนำไปสนธนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น แต่ไม่ค่อยได้อยู่หน้า computer จึงยังไม่ได้ทำการบ้านผ่าน blog แต่จากการอ่านข้อความผ่าน blog แล้วทำให้ได้รับทราบความคิดเห็นและมุมมองต่างๆจากผู้อื่นมากขึ้น

ปัญหาของประเทศต่างๆที่กำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คือ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ

แนวทางที่ใช้แก้ปัญหาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศโดยการลดภาษีเงินได้หรือรัฐบาลกำหนดโครงการ megaproject ต่างๆที่ใช้เงินจำนวนมากมาย เช่น การสร้างขนส่งมวลชน ทางด่วน สาธารณูประโภค หรือการผลิตพลังงานรูปแบบใหม่ เป็นต้น

ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานและมีการใช้จ่ายเงิน อีกทั้งสร้างความเจริญทางวัตถุ การคมนาคมขนส่งสะดวกรวดเร็วขึ้น

การกระตุ้นทางเศรษฐกิจอีกวิธีหนึ่งคือการแจกเงินให้แก่ประชาชนเพื่อใช้จ่ายซึ่งเป็นหลักประชานิยม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและไม่ยั่งยืน รัฐบาลควรที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการอบรมวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้สามารถหารรายได้เลี้ยงชีพได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมั่นคงนั้น รัฐจะต้องให้ความสำคัญด้านระบบการศึกษาและคุณภาพชีวิตของครูผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสายวิทยาศาสตร์ ต้องปลูกกระแสให้เด็กสนใจใฝ่รู้ ซึ่งถือว่า ว&ท เป็นรากฐานความเจริญของประเทศในทุกๆด้าน

" You can print money, but you can't print knowledge"

รัชดา ..วศ.รุ่นที่ 3

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

เศรษฐกิจโลก Science & Technology อยู่ที่ไหน

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจเป็นแบบ Open Economy ประเทศไหนที่มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็จะมีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจหรือเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ เพราะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างสินค้าและบริการให้เกิดความแตกต่างจากคนอื่นเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added) ให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งประเทศไทยมีงานวิจัยอยู่มากมายแต่ยังขาดการพัฒนาที่จะนำงานวิจัยนั้นมาใช้ได้จริง และขาดการสนับสนุนทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเห็นได้จากที่ประเทศไทยมีเยาวชนที่ชนะการแข่งขันเคมี ฟิสิกส์ ต่าง ๆมากมาย แต่เยาวชนเหล่านั้นหายไปไหน เป็นการขาดการต่อยอดทางความรู้เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และไม่ได้สร้างโอกาสในการทำงานให้คนเหล่านั้น ทำให้หลายๆ คนอาจเปลี่ยนแนวไปศึกษาทางด้านอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เขาดำเนินชีวิตได้ดีกว่า

สาธิตา ศักดิ์วิเศษ

อุปนิสัย 7 ประการ

Characterเป็นสิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งมองไม่เห็น เช่น ความเป็นคนมี Service mind,ความเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เป็นคนดี

Personality เป็นสิ่งที่มองเห็นจากภายนอก เป็นภาพพจน์ ความรู้ความสามารถ ความเป็นคนเก่ง) แม้ว่าภาพพจน์ เทคนิค และ ทักษะ สามารถส่งผลให้เกิดความสำเร็จภายนอกก็ตาม แต่น้ำหนักของความมีประสิทธิผลที่แท้จริงจะอยู่ใน คุณลักษณะที่ดี (ไม่ฝืนธรรมชาติ)

องค์ประกอบพื้นฐาน

Principle(หลักการ) กฎธรรมชาติ หรือความจริงขั้นพื้นฐานอยู่ภายนอกตัวเรา ซึ่งมาคู่กับคำว่า ค่านิยม (Value) ซึ่งเป็นความเชื่อ หรือ อุคมคติที่เราเลือกขึ้นเอง

Paradigms(กระบวนทัศน์หรือกรอบความคิด เป็นตัวที่ทำให้คนเรามองสิ่งเดียวกันแตกต่างกัน ถ้าเราเปลี่ยนกรอบความคิดจะนำไปสู่การมองที่แตกต่างไป ในวงจร See / Do / Get

See การมองที่แตกต่างกัน ของแต่ละคน ทำให้เกิดการกระทำ ที่แตกต่างกัน

DO เป็นการกระทำที่เกิดจากการมอง

GET ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการมองและทัศนะคติใหม่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยน พฤติกรรม

Production /Production Capability(P/PC) เราจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง เช่น ดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพดี จึงจะสามารถให้ ผลผลิตที่ดีได้ PC รวมไปถึงบุคลากรในองค์กรด้วยซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กร

The Emotional Bank Account (บัญชีออมใจ) เป็นการเปรียบเทียบสำหรับปริมาณของความไว้วางใจที่คนอื่นมีต่อเรา ซึง การกระทำของเรา มีผลกับ การฝาก หรือ ถอน ความมั่นใจในตัวเรา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องทำเสอม คือ การเติมบัญชีออมใจของเรากับ เพื่อนๆ หรือบุคคลรอบข้างของเรา

วงจรวุฒิภาวะ

เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง 7 อุปนิสัย โดยแบ่งเป็นชัยชนะส่วนตนและชัยชนะทางสังคม ประกอบด้วย

1.Be Proactive เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรมีความริเริ่มที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

2.Begin with the end in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ

3.Put First Things First ทำสิ่งทีสำคัญก่อ

4.Think Win-Win คิดแบบ ชนะ-ชนะ ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์

5.Seek First to Understand Then to Be Understood เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา

6.Synergieประสานความต่าง

7.Sharpen the Saw ลับเลื่อยให้คม อย่างสม่ำเสมอ ความรู้ต้องต่อยอด

การพัฒนาอุปนิสัย ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ Knowledge / Skill / Desire

สวัสดีครับ ผู้เข้าอบรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3 ทุกท่าน

 

            มีบรรยากาศ Blog น่าสนใจมาก เพราะหลาย ๆ ท่านเริ่มส่ง Blog มา ผมอ่านจากทุกท่าน ล่าสุดช่วง 8 โมงเช้า วันจันทร์ คุณรัชดา ส่งมาช่วงสองยาม แสดงว่าเรามีวัฒนธรรมในการ Share ความรู้มากขึ้น

 

                                                                                     ขอบคุณ

                                                                            จีระ  หงส์ลดารมภ์

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ได้อ่านบทเรียนจากความจริง ของอาจารย์ จีระ ที่ลงในแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2552 เกี่ยวกับรางวัลทรัพย์สินทางปัญญา ที่องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาของสหประชาชาตินำมาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา อยากจะบอกว่าพระองค์ทรงเป็นพระอัจฉริยะจริงๆ ค่ะ ทรงมีความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ กิจกรรมต่างๆที่พระองค์ทรงทำล้วนเพื่อความสุขอย่างยั่งยืนของคนไทยทั้งสิ้น ซึ่งทรงเป็นผู้นำที่เห็นก่อน เห็นไกล เห็นกว้าง และเห็นลึกในทุกเรื่องจริงๆค่ะ หวังว่าผู้นำในรัฐบาลชุดนี้คงจะเดินตามรอยพระยุคลบาทนะคะเพื่อความสุขของคนไทยค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยกรุณาเชื่อมต่อระหว่างสื่อกับวิทยาศาสตร์ของพวกเราค่ะ

สมคิด ว่องวิกย์การ

ทักษิณ VS. อภิสิทธิ์

ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ถูก คมช. ยึดอำนาจเมื่อเดือนกันยายน 2548 ส่วนอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย แถลงนโยบายเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ไม่ใช่สภาเนื่องจากถูกคนเสื้อแดงยึด

ในด้านการศึกษา เรียนเก่งทั้ง 2 คน คนหนึ่งจบปริญญาเอกจากอเมริกา คนหนึ่งจบปริญญาโทจากอังกฤษ เส้นทางการเมืองแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ

ทักษิณ เดิมเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เข้าในวงการเมืองเริ่มแรกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โดยการชักชวนของ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ในฐานะคนนอกของพรรคพลังธรรม ต่อมาเป็นผู้จัดตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในสภาเพื่อให้ตัวเองได้เป็นนายกฯ โดยใช้อำนาจเงินและอ้างผลประโยชน์ของประเทศชาติชักชวนพรรคการเมืองและผู้ที่จะได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. เข้ามาร่วมพรรคไทยรักไทย จนในที่สุดได้เป็นนายยกฯ สมใจ

การบริหารประเทศยุคทักษิณ อนุมัติโครงการระดับ mega project ฉับไว รวดเร็ว แต่ขาด good govermance เพราะ หนึ่งลงทุนไปมากต้องเอาคืน และสองละโมบไม่รู้จักพอ

ส่วนอภิสิทธิ์ เป็นนักการเมืองทั้งตัวและหัวใจ มีอุดมการณ์ มุ่งมั่น ไต่เต้าจากการเป็น ส.ส.หลายสมัย กว่าจะมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภา และเป็นนายกในที่สุด ใช้เวลาถึง 14 ปี ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในทางการเมือง เราคาดหวังว่านายกฯ คนนี้จะนำพาประเทศชาติและสังคมสู่ปัญญา จริยธรรม ความมั่งคั่ง และความผาสุกย่างยั่งยืนอย่างที่เราต้องการ

กลุ่ม4ขอส่งการบ้าน

เปรียบเทียบคุณอภิสิทธิ์และคุณทักษิณ โดยใช้ 5 K

1.ทุนแห่งการสร้างสรรค์

ทักษิณมีมากกว่าเห็นได้จาก มีโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ 30 บาท กองทุนหมู่บ้าน OTOP บ้านเอื้ออาทร แต่อภิสิทธิ์ไม่ค่อยมีโครงการเด่นชัดนักมักจะสานงานโครงการของทักษิณต่อ

2.ทุนทางความรู้

ใกล้เคียงกันได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทั้งคู่ แต่อภิสิทธิ์ จะมีความสามารถทางด้านภาษาดีกว่า

3.ทุนทางนวัตกรรม

ทักษิณมีมากกว่า เช่น AIS ดาวเทียม การสื่อสาร

4.ทุนทางอารมณ์

อภิสิทธิมีมากกว่าเป็นคน positive thinking และมีความสุภาพมากกว่า

5.ทุนทางวัฒนธรรม

อภิสิทธิ์มีความสุขุม เคารพผู้ใหญ่ ส่วนทักษิณมีความยึดมั่นในตนเองสูงไม่ค่อยให้ความเคารพผู้ใหญ่

ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

ตลาดการเงิน (Financial Market)

1. ตลาดการเงินในระบบ

2. ตลาดการเงินนอกระบบ เช่น ที่ติดตามเสาไฟฟ้า แชร์

หมายเหตุ :

• ถ้าถามเบอร์บัญชีอย่าบอก

• อย่าทิ้งสลิป ให้ทำลายก่อน

ตลาดเงิน ตลาดทุน ดูที่ระยะเวลา

ตราสารที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เรียก ตลาดเงิน

ตราสารที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปี เรียก ตลาดทุน

• ทำไมซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อแล้วขายเลยเรียกว่า ตลาดทุน

• ดูที่ตราสารไม่ได้ดูที่การลงทุน

• ถ้าขึ้นแล้วขาย ถ้าลงแล้วซื้อ เป็นการซื้อหุ้นที่ถูกต้อง

• เราต้องรู้ว่าเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร

Subprime

• เกิดจากการโลภ เงินเธอเหมือนเงินฉัน เงินฉันเหมือนเงินฉัน

• เริ่มต้นจากการให้สินเชื่อกัน เริ่มจากการซื้อบ้าน

• ลูกค้ารองจากลูกค้าชั้นดี

• ให้กู้เพิ่มเติมจากกำลังที่สามารถจ่ายได้ เงินเดือนเท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มขึ้น

• เอาหนี้ทั้งหมดกองรวมกัน แล้วออกตราสารการเงินให้คนมาซื้อ แล้วจ่ายดอกเบี้ยสูง ๆ เนื่องจากเป็นลูกค้าชั้นรอง ถึง ชั้นดี สถาบันการเงินทั่วโลกเลยไปซื้อตราสารที่ออกมา

• ลูกหนี้จ่ายเงินไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อตราสารหนี้

• AIA เป็น บริษัทลูกของ AIG ที่ซื้อตราสารหนี้

• อเมริกาอุ้มไม่ยอมปล่อยให้สถาบันการเงินล้ม

• ต้องคิดว่าหลังจากเกษียณมีเงินเท่าไหร่ถึงไม่ลำบาก

• เอาเงินไปทำอะไรที่มีความปลอดภัยสูงสุดเช่น ฝากธนาคาร หรือ ซื้อพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น

• การซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนระยะยาว เช่น ซื้อไว้เลย หรือเป็นมรดกให้ลูก

• การซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ เปลี่ยนเป็นเงินสดไม่ใช่เรื่องง่าย

เงินออม

• ควรเก็บเงินเกิน 50 % เป็นเงินออมไว้ตอนแก่ แล้วอย่านำมาลงทุนเด็ดขาด

• อย่าเอาทั้งหมดของชีวิตไปฝากไว้กับใครคนใดคนหนึ่ง

• อย่าเอาเงินก้อนทั้งหมดไปใส่ที่ใดที่หนึ่งที่เดียว เป็นการกระจายความเสี่ยง

• ธนาคารของรัฐจริง ๆ คือกรุงไทย

• นอกนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ปกติ

สถาบันการเงิน

ตัวอย่างเช่น

• บริษัทประกันชีวิต แต่บริษัทประกันภัยไม่ใช่สถาบันการเงิน

• โรงรับจำนำ

หุ้นกู้ออกโดยรัฐบาลเป็นพันธบัตร

การซื้อขายหุ้น การซื้อขายที่ออกเป็นครั้งแรก

ตลาดทุน

1. ตลาดแรก ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่

2. ตลาดรอง เป็นตลาดที่ซื้อตราสารมาแล้ว ตัวอย่าง

• ตลาดหลักทรัพย์ เป็นการซื้อขายจัดตั้งที่ถูกกฎหมาย มีอายุเกิน 3 ปีเป็นอย่างน้อยในการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

• ตลาด NAI ตลาดที่ซื้อขายหุ้น เหมือนตลาดหลักทรัพย์ แต่บริษัทที่จดทะเบียนมีขนาดเล็กกว่า และเป็นบริษัทใหม่

• ตลาด Future

• ตลาดซื้อขายอนุพันธ์

• ตลาดซื้อขายเกษตรล่วงหน้า

การลงทุน

• การลงทุนทางตรง เช่นเปิดร้านทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง

• การลงทุนทางอ้อม เสมือนเงินไปอยู่ในมือคนอื่น เช่นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เราซื้อหุ้น เขาเอาเงินไปลงทุน แล้วเราได้เงินปันผล หรือการฝากเงินในธนาคาร การซื้อกองทุนรวม LTF , IMF

• ผลตอบแทนการลงทุน ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง

การบริหารการเงิน

1. การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)

2. การบริหารการเงินของธุรกิจ (Corporate Finance)

• การบริหารเงินทุนหมุนเวียน

• เงินสด ,ลูกหนี้การค้า, หนี้สินระยะสั้น

• เจ้าหนี้การค้าเป็นแหล่งเงินแหล่งหนึ่งของเราเหมือนไม่มีต้นทุน ถ้าเราใช้เป็น

• งบการเงินอันไหนมีลูกหนี้เยอะ ๆ ต้องไปดูคุณภาพลูกหนี้

• ถ้ามีเงินสดเยอะเกินไปถือว่าเสียโอกาส

• สินค้าคงเหลือดูว่าล้าสมัยหรือเปล่า หรือว่าชำรุด

• เงินทุนหมุนเวียนที่ดีสุดคือ เงินสด และเจ้าหนี้การค้า ส่วนหนี้สินอื่น ๆ จะมีปัญหาเยอะ

• ดอกเบี้ยเครดิตเยอะมาก 18 % อย่าเอาบัตรเครดิตไปกดเงินสด ถือว่ามหาโหดมากครั้งนึงค่าธรรมเนียมอย่างต่ำ 300 บาท ดอกเบี้ยแล้วแต่ คิดแต่วันแรกที่เรากด

แหล่งเงิน กับการจัดสรรเงิน

1. แหล่งภายใน มาจากกำไรสะสม และเงินทุนสะสม

2. แหล่งภายนอก มาจากการระดมทุน หาเงินจากการร่วมหุ้น ออกหุ้น แปลงสินทรัพย์เป็นทุน กู้

• แหล่งเงินต่างกัน อัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงที่สุด ถ้าผิดนัดชำระกู้ถูกฟ้องได้

• เดือนเมษายน มีการประชุมผู้ถือหุ้น นักลงทุนมีสิทธิ์ถามได้ทุกเรื่อง

• แหล่งเงินแต่ละประเภทมีข้อจำกัดแต่ละอย่าง

การลงทุน (Capital Budgeting)

• ดูความเป็นไปได้ว่ามีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ดู Feasibility

• ความคุ้มทุนบางครั้งตีค่าเป็นค่าเงินไม่ได้

• โครงการของรัฐบางครั้งวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ แต่ถ้าตีค่าออกมาจริง ๆ ตีได้ทุกเรื่อง แต่คุ้มหรือไม่ที่ตีออกมาเป็นตัวเงิน ตีได้ เช่นการอบรม อบรมคนไปสร้างผลได้มากน้อยแค่ไหน

• วัตถุประสงค์โครงการทำเพื่ออะไร แล้วเราได้ตามวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่ เรียกว่ามีประสิทธิผล

• วัดประสิทธิภาพ เอา Input เปรียบเทียบกับ Output ถ้า Output มาก input น้อย แสดงว่ามีประสิทธิภาพมาก

• ถ้าวัดประสิทธิผล ดู Output เปรียบเทียบกับเป้าหมาย บรรลุเรียกว่าประสิทธิผล

• เวลาคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมด คิด Indirect Cost ด้วย

ผลตอบแทนการลงทุน

• Return on Investment

• ได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ไหม

• ดูว่าแหล่งเงินมาจากไหน ต้นทุนมาจากไหน เช่นเงินงบประมาณ มีต้นทุน คือภาษีประชาชน เป็นต้นทุนความคาดหวังของประชาชน ผลตอบแทนการลงทุนต้องให้สูง เนื่องจากแต่ละคนคาดหวังไม่เท่า เป็นความพึงพอใจลูกค้า เป็นนามธรรม เช่นถ้าเป็นความยั่งยืนประเทศชาติ คอรัปชั่นน้อยหน่อย สิ่งที่ได้คุ้มกับสิ่งที่เสีย ก็จะคุ้มหน่อย แต่บางอย่างไม่คุ้ม แต่ต้องทำ เพราะมีผลพวงบางอย่างตามมา

• ถ้าต้นทุนของเงินเป็นเงินกู้ ตัววัดชัดเจน

งบการเงิน

• องค์กรขาดทุนอยู่ได้ แต่ขาดสภาพคล่องอยู่ไม่ได้

• หลักบัญชีไม่ใช่หลักเงินสด เป็นหลักค้างรับ กับค้างจ่าย เช่นเงินเดือนได้รับสิ้นเดือน เป็นหลักค้างจ่าย หลักเงินสด ถ้าวันนี้ทำงานต้องรับเงิน แต่ในแง่บัญชีถือว่าจ่ายแล้ว รายได้ถือว่าไปอยู่เดือนที่แล้ว

• ข้าราชการโชคดี ทำงานภายในเดือนนี้ รับภายในเดือนนี้

• ยอดขายกับรายได้ มีต้นทุนการผลิตเฉพาะสินค้านั้นเท่าไหร่ เป็นต้นทุนทางตรง

• กรมวิทยาศาสตร์ มีรายได้ และมีค่าใช้จ่าย

• ค่าใช้จ่ายทางตรง คือเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายทางอ้อม มีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัสดุ

• ถ้าองค์กรกำลังจะย่ำแย่ เวลาจะตัดให้ตัดค่าใช้จ่ายทางอ้อม เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางตรงตัดไม่ได้

• คนที่ผลิตสินค้าโดยตรง จะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรง แต่ทำทั่วไปอาจเป็นค่าใช้จ่ายทางอ้อม

• ตามทฤษฎีการเอาคนออกเป็นมาตรการสุดท้าย

• กำไรสุทธิ รายได้มากกว่ารายจ่าย หรือ รายจ่ายมากกว่ารายได้

• ภาครัฐเรียก Surplus หรือ Deficit ภาคเอกชนเรียก Profit หรือ Lost

Financial Statements and Reports

• งบดุล (Balance sheets) เป็นงบที่สะสมตั้งแต่แรกเริ่ม ดูในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

- เป็นตัวบอกสถานะทางการเงิน สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ ถ้าหนี้มากกว่าสินทรัพย์ เห็นแววล้มละลาย ถ้าหนี้น้อยกว่าทรัพย์สิน เป็นส่วนของเจ้าของ หมายถึงส่วนที่เป็นของเราจริง ๆ เป็นส่วนที่เหลือจากเจ้าหนี้แล้ว ให้ดูส่วนของเจ้าของ

- งบดุลเป็นตัวบอก physical

- ส่วนของเจ้าของยิ่งน้อย ยิ่งแย่ ยิ่งเยอะ ยิ่งดี

- เมื่อไรที่ Liabilities & Shareholders’s equity ติดลบเป็นไปได้ว่าอาจจะล้มละลาย

• งบกำไรขาดทุน (Income statement) เป็นงบที่แสดงรายรับ รายจ่าง แสดงผลการดำเนินงาน ดูแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง ค่ากิน ฯลฯ หักแล้ว หากน้อยกว่าเงินเดือน แสดงว่ามีกำไรที่สามารถนำไปผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ฯลฯ ถ้าไม่มีแสดงว่าเป็นการเอาเงินอนาคตมาใช้ เป็นการก่อหนี้

เปรียบเหมือน Functional ทำงานดีมากน้อยแค่ไหน

ขาดทุนเพราะอะไร ต้องอธิบายได้ว่าทำไมขาดทุน ถ้าอธิบายไม่ได้แสดงว่ามีอะไรผิดปกติ มีอะไรที่ซุก

• งบแสดงกระแสเงินสด (Cash flow statement) เป็นตัวบอกสภาพคล่องจริง ๆ ดูฐานะเงินสด ต้องมีจ่าย มีเก็บ มีฉุกเฉิน

เปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยง

หมายเหตุ :

- รายงานผู้สอบบัญชี ยิ่งสั้นยิ่งดี ยิ่งยาวยิ่งไม่ดี แล้วมีปัญหา ให้วางฝ่ามือแนวขวาง อ่านแค่ย่อหน้าสุดท้ายว่ามีความเห็นว่าอย่างไร ถ้าไม่มีความเห็นแสดงว่าน่ากลัว มีสิ่งไม่ชอบมาพากล เป็นอะไรที่หาไม่เจอ และน่ากลัว

- มาจาก 3 ส่วน คือ การดำเนินงาน มาจากการลงทุน มาจากการกู้ยืม

- ถ้าตัวการดำเนินงานติดลบจะมีปัญหา

Risk Management

- หน่วยงานของรัฐก็มีความเสี่ยง

- แต่หน่วยงานของรัฐมี Financial Risk ในงบอื่น ๆ ได้ แต่ไม่มีในงบประจำ

- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ อื่น ๆ โลกแตก

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

- ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ แต่อาจไม่ 100 %

- ปัจจัยภายนอก ควบคุมไม่ได้ และหลีกเลี่ยงไม่ได้

การบริหารความเสี่ยง

- การทำ SWOT ช่วยในการบริหารความเสี่ยง คือ เมื่อรู้จุดอ่อน ก็ปรับจุดอ่อนหายไป หรือหลบอย่าเผชิญกับจุดอ่อนนั้น ถ้าอะไรเป็นอุปสรรคแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลยแล้วเราวิ่งชนให้หลบ

- วิธีการบริหารความเสี่ยงที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน ต่อมาคือการยอมรับ หมายความว่าเตรียมตัวที่จะรับ เป็นหลักการบริหารความเสี่ยงโดยทั่วไป เราสามารถสู้ตรงนั้นได้ไหม โอกาสเปิดเราก็จะรุกได้เลย มีจุดแข็งอยู่แต่ถ้ามีอุปสรรคภายนอก เราต้องเรียนรู้วิธีการหลบเลี่ยง

- ใช้การควบคุมภายในมาช่วย เช่นการทำงบประมาณ บนฐานของความเป็นจริง งบประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป มี ตัว Budget เป็น Indicator

- การวิเคราะห์งบการเงิน จะทำให้เราสามารถทราบสาเหตุ

- การซื้อประกัน เพื่อต้องการประกันความเสี่ยงไม่ใช่เพื่อต้องการออมเงิน แต่ออมเงินคือผลพลอยได้

- การกระจายความเสี่ยง ในการลงทุนและทำกิจกรรมในหลาย ๆอย่าง

- การทำ SWAP , การทำ Forward , การทำ Option หรือเรียกรวมกันว่าการทำตราสารค้ำประกัน เป็นการประกันโดยเอาตราสารเป็นตัวประกันความเสี่ยง

- ยิ่งการป้องกันความเสี่ยงเยอะ ก็เกิดปัญหาตัวอย่างเช่น Subprime เป็นการบริหารความเสี่ยงมากเกินไป เป็นความฉลาดของคนมากเกินไป ออกตราสารให้คนที่เอาเงินคนอื่นมาลงทุน แล้วคนที่ลงทุนก็กลัวเสี่ยงก็ออกตราสารให้คนอื่นอีกคนอื่นก็มาลงทุน ทำเรื่อย ๆ เป็น Deliberative

- อะไรที่ไม่รู้จักไม่ควรลงทุน ต้องรู้จักสิ่งเหล่านั้นดีมาก

- อัตราเงินเฟ้อ คือการที่ราคาสินค้าสูงขึ้น ค่าของเงินน้อยลง เกิดขึ้นได้จากเหตุผล 2 อย่าง คือ ต้นทุนสูงขึ้น คือ Cost Push หรือ Demand Pull ความต้องการมากขึ้น ปัจจุบันเงินเฟ้อลดลง เนื่องจากราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภทลดลง ต้นทุนลดลง แต่ราคาไม่ลดลง Demand ลดลง คนไม่ใช้จ่าย ความต้องการสินค้าลดลง

- คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทย 2-3 % หมายความว่าเงินมีมูลค่าลดลง 2-3 % เราไปฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 0.5 % แสดงว่าขาดทุนไป 1.5 % ถ้าออมต้องหาอะไรที่ไม่ต้องเสียภาษี แล้วใกล้เคียงเงินเฟ้อ เช่นพันธบัตรรัฐบาล

- การทำอะไรที่ไม่ต้องคาดการณ์ ขึ้นกับแผนระยะสั้น และระยะยาว

- การจัดทำงบประมาณ มีแหล่งรายได้ และแหล่งใช้เงิน ภาครัฐบาลแหล่งรายได้ใหญ่ มาจากงบประมาณ และแหล่งบริการที่ให้ และรายได้อื่น ๆ เช่นเงินฝาก

- เงินที่ใช้ไป เป็นเงินลงทุนกับงบประมาณรายจ่าย เป็นงบประจำ งบผูกพัน งบลงทุน อาจดูเรื่องที่ดิน ซื้อทรัพย์สิน งบรายจ่าย Direct Cost คือเงินเดือน Indirect Cost เช่น อบรม ดูงาน

การทำงบประมาณ

- ดูจากปีที่แล้ว แล้วบวกเปอร์เซ็นต์

- งบที่มีประโยชน์คือจากดูความต้องการใช้จริง ๆ เท่าไหร่ เป็น Zero Based เป็นการทำงบประมาณที่ใกล้เคียงความจริงมาก

- เปรียบเทียบงบประมาณที่ตั้งไว้ กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แล้วดูความแตกต่าง แบบที่ดี และแบบที่ไม่ดี แล้วแต่ละรายการไป

- ดูได้ทั้งที่เป็นตัวเงิน และเป็นเปอร์เซ็นต์

- ดูสาเหตุที่ดี ดีเพราะอะไร แย่เพราะอะไร ถึงจะเกิดประโยชน์

Personal Finance การบริหารงบประมาณส่วนบุคคล

- ดูเรื่องการจัดสรรเงิน การวางแผนการเงิน การทำงบประมาณส่วนบุคคล ถ้าใครทำได้รับรองไม่จนแน่นอน

- หลักสำคัญที่สุดดูว่าเงินที่เราได้มา เอาไปทำอะไรบ้าง

- เงินจริง ๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ครองชีพใช้จ่าย และเงินออม แบ่งเป็นเงินใช้ในอนาคต และลงทุน อย่าเอาทั้งก้อนไปลงทุน สัดส่วนแต่ละอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ ตอนอายุน้อย เงินที่ได้มาใช้กับการครองชีพเยอะ อยากได้ทั้งหมดเลย บางครั้งเงินทั้งก้อนอาจไม่มีเผื่อเงินออมเลย ยิ่งออมเร็ว เท่าไหร่ สบายเท่านั้น

- ยิ่งอายุน้อย เงินออมเพื่อการลงทุนเยอะ ถ้าคิดจะลงทุนหมายความว่าเงินที่จะเอาไปลงทุน ถ้าหายเป็นอากาศธาตุไปเลยเดือดร้อนไหม ถ้าไม่เดือดร้อนค่อยเอาไปลงทุน บอกได้ว่าสัดส่วนลงทุนตรงนี้มากน้อยแค่ไหน ถ้าจัดสรรเงินดีแล้ว ก็จะทำให้มีเงินเก็บ มีเงินออมในบั้นปลายมาก

- การบริหารจัดการภายใต้งบที่เรามี ควรจัดเงินออมอย่างน้อย 10 % ดูว่านอกจากเงินเดือนมีรายได้มาจากไหนบ้าง มีค่าใช้จ่ายจากไหนบ้าง กันเงินออมออกมาก่อนจะได้ผลมากกว่า

- ดูว่ามีงบประมาณเกินดุลไหม เอาเงินไปเก็บหรือใช้อะไรก็ได้

คำถาม

คุณวิไลมีเงิน 30,000 บาท อยากซื้อบ้าน 3,000,000 บาท ผ่อนเดือนละ 7,500 บาท มีลูก 5 คน ถามว่าคุณวิไลสามารถมีเงินเหลือพอซื้อบ้านได้ไหม เป็นวิธีการที่ธนาคารดูว่าจะให้สินเชื่อหรือไม่

ถาม

ถ้าบริหารความเสี่ยงในการ Management เรื่องเงิน มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราพิจารณาเป็นอันดับแรก อยากทราบแนวคิดของการป้องกัน

ตอบ

- หลักเศรษฐกิจพอเพียง ดูความสามารถของเรามีแค่ไหน แล้วทำตามความสามารถนั้น เช่นมีศักยภาพการจ่ายมากแค่ไหน ให้จ่ายได้เท่านั้น

- ถ้าเป็นขององค์กร ให้เราทำ SWOT บางอย่างไม่สามารถป้องกันได้ ต้องเตรียมตัวรับ ต้องแยกแยะให้ออกว่าความเสี่ยงไหนได้ ความเสี่ยงไหนป้องกันไม่ได้ ต้องมีแผนในการรองรับ หรือเตรียมว่าจะเกิดขึ้นจะทำอะไร อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรด้วย

- องค์กรบริหารงานอย่างไร ขึ้นกับแผนกลยุทธ์ที่จะวางว่าเป็นจริงหรือนิ่ง

ส่งการบ้าน

วิเคราะห์เปรียบเทียบสภาวะผู้นำ

ทฤษฎีทุน 8 K

คุณอภิสิทธิ์

คุณทักษิณ

HUMAN CAPITAL

หน้าตาดี การศึกษาสูง เป็นนักการเมืองที่มีอุดมการณ์

 ร่ำรวย มีทรัพย์สินมาก เป็นนักการเมืองเชิงธุรกิจ

INTELLECTUAL  CAPITAL

เป็นคนที่รอบรู้ใช้ปัญญาในการบริหารบ้านเมือง

เป็นผู้ที่ใช้ปัญญาหาเงินจากการบริหารบ้านเมือง

ETHICAL CAPITAL

มีคุณธรรม จริยธรรมในการบริหารบ้านเมือง

บริหารประเทศอย่างขาดคุณธรรม เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง

HAPPINESS CAPITAL

มีความสุขแท้จริง ประสพความสำเร็จทางการเมือง

มีทรัพย์สินมากมาย แต่หาความสุขแท้จริงไม่ได้

SOCIAL CAPITAL

มีความเชื่อถือในสังคม มองเห็นส่วนรวมเป็นใหญ่

เอาตัวเองเป็นใหญ่ขาดความเชื่อถือทางสังคม

SUSTAINABILITY CAPITAL

มีความมุ่งมั่นช่วยเหลือชาติอย่างมีคุณธรรม

กอบโกยทรัพย์สินจากอำนาจโดยไม่คิดถึงประเทศชาติ

DIGITAL CAPITAL

มีความรู้และส่งเสริมความรู้ด้านไอที

ใช้ไอทีในการเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง

TALENTED CAPITAL

มีความรู้ความสามารถ มีทรรศนะคติที่ดีในการบริหารบ้านเมือง

มีความรู้แต่ขาดคุณธรรมและทรรศนะคติที่ดีในการบริหารบ้านเมือง

 

 

 

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 K

คุณอภิสิทธิ์

คุณทักษิณ

CREATIVITY CAPITAL

ส่งเสริมระบบการศึกษาเพื่ออนาคตของเยาวชน

คิดเร็วทำเร็วแต่ไม่ยั่งยืน

KNOWLEDGE CAPITAL

มีความรู้ใช้ปัญญาในการทำงาน

มีความรู้ใช้อำนาจเงินในการทำงาน

INNOVATION CAPITAL

มีนวัตกรรมมองอนาคตเป็นเป้าหมาย

ทำวันนี้ให้รวยด้วนวัตกรรม

EMOTIONAL CAPITAL

สุขุม มั่นคง มีความสุข ประสพความสำเร็จ

คิดเร็วทำเร็ว ผ่าซาก ผิดพลาดง่าย

CULTURAL CAPITAL

เคารพนับถือความถูกต้อง

มองตนเองและเงินเป็นใหญ่

     

 

เปรมใจ อรรถกิจการค้า

ขอบคุณอ.ณรงค์ศักดิ์ที่มาจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้ ถ้าจุดบ่อยๆน่าจะติดเข้าสักวัน

เศรษฐกิจไทยVSเศรษฐกิจโลก

ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเปิด ซึ่งต้องพึ่งพา

1การนำเข้า-ส่งออก

2การลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหุ้น

3การบริการ การท่องเที่ยว

ในระบบเศรษฐกิจเปิด หลังจากที่จีนเข้ามาเป็นสมาชิกWTOได้มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมากเนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมาก เทียบได้เท่ากับ1ทวีป ดังนั้นถ้าจีนนำเข้ามากจะทำให้เศรษฐกิจโลกดี ถ้าจีนลดการนำเข้าจะทำให้

เศรษฐกิจโลกทรุด

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

การเงินสมัยใหม่และหลักการบริหารความเสี่ยง เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็น Personal Finance หรือ Corporate Finance ล้วนใช้หลักการบริหารแบบเดียวกัน คือเป็นเรื่องของการจัดสรรเงิน และการวางแผนทางการเงินเพื่อให้มีสภาพคล่อง โดยแหล่งของเงินจะต้องเป็นแหล่งเงินต้นทุนต่ำ เงินกู้ควรเป็นแหล่งเงินสุดท้ายที่จะเลือกเนื่องจากมีต้นทุนสูง และควรมีการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงิน และความเสี่ยงอื่น ๆ ต้องพิจารณาปัจจัยที่มากระทบว่าเราสามารถควบคุมได้หรือไม่ โดยอาศัยการทำ SWOT การวิเคราะห์งบการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ในการบริหารการเงินไม่ว่าจะเป็นการเงินส่วนบุคคลหรือการเงินขององค์กรรายรับต้องมากกว่ารายจ่ายถึงจะอยู่รอดได้

อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

Creative Thinking

o ความคิดไม่ได้สลับซับซ้อน เป็นความคิดที่มีอยู่แล้ว แล้วสนุกกับความคิดสร้างสรรค์ไปด้วย เพียงแต่ว่าอะไรเป็นตัว Motivate แล้วผลักดันความคิดเรา

o ความคิดสร้างสรรค์ต้องมีการฝึกฝนประจำ ฝึกคิดอยู่เสมอ

o ทำอย่างเป็นกลยุทธ์

o ทำแบบ Less is More เกิด Limited Decision

o อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และไม่ใช่ Spoil ตัวเอง

กระบวนการ หรือรูปแบบที่ได้ผลผลิตออกมา

Creative หรือ ความคิดสร้างสรรค์มาจากไหน มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน

1. Expertise จากผู้มีประสบการณ์ จากที่ทำบ่อย ๆ มาเล่าอย่างสม่ำเสมอ ผู้มีวิชาการรอบรู้ทั้งหลาย เป็นทฤษฎีเป็น Text มาจาก Textpert และ Expert

2. Systematic ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ มีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ทำอยู่ซ้ำ ๆ เป็นประจำ ข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาเป็นประจำ เกิด Thinking Skill ผ่านกระบวนการคิด

3. Motivation อะไรเป็นตัวผลักดันและขับเคลื่อน และทำงานเพื่ออะไร ไม่ได้ทำแค่เพียงเงินเดือนเท่านั้น เป็นการทำที่มีความสุขได้ทำ สร้างคนใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำอย่างมีความสุขและรู้คุณค่า

Risk Management of Design Activities

• Target group ที่คุ้นเคยคืออะไร เป็นลักษณะ Perception

• งามเป็นเชิงปริมาณไม่ได้ แต่ปัจจุบันสามารถวัดได้เป็นวิทยาศาสตร์ได้ เรียกว่า Marketing Management เป็นศาสตร์การตลาดเกิดปี 1960

การทำกลยุทธ์ และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ

• ทำทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้จริง แล้วส่งผลต่อวิถีชีวิตก่อน

• เราต้องเอาเรื่องนี้ไปของบประมาณ ทำไมกรมวิทยาศาสตร์ต้องทำ Branding

• กรมวิทย์มี 2 หลักเป็นทุนเดิม คือ

o 1. ทุนด้านองค์ความรู้ หรือ Knowledge ที่ได้จากการวิจัยต่าง ๆ ที่สะสม

o 2. ทุนทางด้านคน

o 3. ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็น Software สำคัญมาก

• ประเทศไทยส่วนใหญ่ถามหาแต่เรื่องเงินที่ทำธุรกิจ แต่จริง ๆ ควรเป็นประเด็นสุดท้าย วิธีคิดควรเริ่มจาก คน เติมองค์ความรู้ ทุนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ค่อยเอาเงินมา ถ้าเอาเงินเป็นตัวตั้งก็จะเจ๊ง

Night Safari ที่สิงคโปร์ กับเชียงใหม่ต่างกันอย่างไร

1. คนละที่

2. ไทยใหญ่กว่า

3. ผลประกอบการของไทยยังไม่ตามวัตถุประสงค์

4. สิงคโปร์เริ่มจากจินตนาการโดย Expertise เกิดจากนักธุรกิจ และจินตนาการ ชื่อ ดร.โฮ

5. ไทยลืมลูกค้า Play & Learn คือเพลิน สอนเด็กให้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่เป็นประเด็นที่สิงคโปร์คิดก่อน คิดแผนธุรกิจก่อน

6. ไทย Hardware ง่ายมาก แต่ด้อยด้าน Software

7. สิงคโปร์มีคนดูแลเรื่องสัตว์ และการจัดการดีมาก

ตัวอย่าง Ocean Park ที่ฮ่องกง

• ฮ่องกง จ้างผู้เชี่ยวชาญ เอกชน รัฐ และวิชาการ มาปรับเปลี่ยน Ocean Park.ให้ใหม่หมด เริ่มจากอยู่ได้ก่อน โดยไม่หวังพึ่งพิงเงินของรัฐ

• เริ่มต้นจากการเปลี่ยนวิธีคิด หรือเปลี่ยน Mindset

• Ocean Park เปลี่ยน Software ใหม่หมด ชนะเลิศ Disney

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

• ทำงานเกี่ยวพันกับคนนอก ดังนั้นสิ่งที่ควรทำ คือ ความคิดสร้างสรรค์ + วิทยาศาสตร์ + Mindset ใหม่ ๆ

• MIT เป็นมหาวิทยาลัยใกล้เคียงกับกระทรวงศึกษาธิการของไทย มหาวิทยาลัยที่ยุโรปที่ดัง ๆ ไม่ใช่ของรัฐ เงินที่ได้มาจากการสร้างกลุ่มก้อนใหม่ขึ้นมา คือ MIT Set Member ขึ้นมา 2,000 ล้านเหรียญUS$ จ่ายแล้วได้ใช้สิ่งที่ออกมาจาก Lab ของ MIT ก่อนคนแรก

• บริการเกี่ยวพันกับ Member Service Mind จิตสาธารณะ จิตบริการ

เขียนภาพกรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง

• ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 400,000 ล้านบาท ซื้อ Souvenir 100,000 ล้าน

• การ Create Demand ที่เพิ่มขึ้น จากอุปสงค์ที่ชัดเจน

• เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ต้องตอบโจทย์ ต้องสะกดจิตตัวเอง

• เป็นโอกาสของกรมวิทยาศาสตร์บริการ สร้าง Competitiveness Advantage เอาวิทยาศาสตร์มาช่วยการพัฒนาของประเทศ

• Limited Edition อะไรที่พิเศษละ กรมวิทยาศาสตร์ต้องรีบทำ เป็นความพิเศษทางอารมณ์

ความคิดสร้างสรรค์ต้องมี Concept ชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนจะฟุ้ง

• นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ต้องศึกษาที่มนุษย์เริ่มจาก

o กลุ่มเป้าหมาย ศึกษาว่าคนนี้คิดอย่างไร

o Location of subject การปรากฏตัวในยุคใหม่ ๆ มนุษย์ยุค Modern

o ยุค Post Modern ต้องมีหลายองค์ความรู้ หาหลายศาสตร์เข้ามา และตัวเราต้องเพิ่มองค์ความรู้ขึ้น

o Technology of the self การศึกษาความเป็นตัวตนคนใดคนหนึ่ง แล้วใช้เทคโนโลยีมาปรับให้เข้ากับคน

o ทำไมคนซื้อ Louis Vuiton คือ เพื่อต้องการ Share พื้นที่ในสังคม ของบางอย่างไม่ได้ตอบแค่ Functional อีกต่อไปแล้ว แต่ปัจจุบันไม่ใข่

Supply Chain Management

o ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

o กระบวนการแบบวิทยาศาสตร์ ทำไมคนชอบผ้าไหม ใช้ผ้าไหม

o ของบางอย่างมาตรฐานต้องเท่านี้ก่อน แล้วบางอย่างจ่ายเพิ่มตามอารมณ์

o จัดการวิทยาศาสตร์เพื่อกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

รสนิยม และ Creative

o Blue Ocean คือ Value Innovation

- ถ้า Value without innovation = Value Added

- ต้องตอบโจทย์ใครด้วย

- Innovation without value = Technology

- เป็นการหาพื้นที่ที่ไม่ต้องการแข่งขัน ตรงข้ามกับ Red Ocean ที่แปลว่าแข่งเรื่องราคา

o ความคิดผู้ประกอบการ ต้องคิดแตกต่างแบบ Differentiate

o Marketing Move

- Holistic Framework ดูว่าลูกค้าเป็นใคร แล้วมาดู Core Competency ความเก่งกรมคืออะไร แล้วอันไม่เก่งให้คนอื่นทำ

o การบริการท่องเที่ยว

- ไทยเก่งมาก แต่วิทยาศาสตร์ไกลตัว ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน

- ปัญหาชาวบ้านพูดภาษาต่างประเทศไม่ได้ แต่เทคโนโลยีช่วยได้ มีตัว Sensor ช่วยพูดภาษาอังกฤษ ตัวอย่าง หมู่บ้านอัมพวา

- Key Success ของ OTOP ที่ญี่ปุ่น ของผู้ว่าฯ นางามิสีคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น

o CRM

- บริการลุกค้าให้พอใจสูงสุดหรือไม่ เคยทำ KPI ไว้หรือไม่ มีคุณค่าต่อสมาคมฯ และสังคมหรือไม่

เราต้อง Define ให้ชัดว่าเราอยู่ยุคไหน

o ยุคเกษตร

o ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

o ยุคสินค้าบริการ 4 P’s เกิดตั้งแต่ 1967

o ยุค Creative Driven Economy ใครมีความคิดสร้างสรรค์คนนั้นชนะเลิศ คุณค่ามากกว่า ปัจจุบันเราอยู่ยุคนี้

Creative Industry มีอะไรบ้าง

o นักวิทยาศาสตร์เป็นนักสร้างสรรค์ สถาปนิก นักศิลปะ นักร้อง

o Value Creation ความคิดสร้างสรรค์ + คุณค่า ต้องตอบได้ว่า Demand คือใครลูกค้าคือใคร เอาเทคโนโลยีต่อยอดเกษตรกรได้ สร้าง Wealth สร้าง Environment สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

o Information Technology รองรับ

o ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบเทคโนโลยี ไปขาย idea แล้วนำมาผลิต

o ควรทำ 3 ส่วนร่วมกัน เอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา แล้วตั้งเป็นแกนกลางมาศึกษาร่วมกัน

Smart Model หรือ Model ความคิดใหม่ เขาถึงจะนั่งคุยด้วย

1. ต้องเป็นคนที่มีความยืดหยุ่นสูง

2. Information Technology ทำอะไรก็ตามต้องมี Information Support เพื่อรองรับการวางแผนได้อย่างถูกต้อง

3. Management by Strategic เช่น จะ Branding เรื่องอะไร แล้วตอบกลุ่มเป้าหมายให้ได้

4. ทำงานเป็น Teamwork ห้ามฉายเดี่ยว

5. Knowledge ต้องทำตัวเป็นนักกระหายความรู้ใหม่ ๆ

6. Network ทำอะไรต้องมีคนอื่นร่วมด้วย เราไม่จำเป็นต้องเก่งทั้งหมด

7. Innovation เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิด Cluster มาจากศูนย์รวมความเก่ง

o Cluster แรกเกิดขึ้นจากที่คนเก่งรวมตัวกันก่อน ไม่จำเป็นต้องทุกคนแล้วมานั่งแก้ปัญหา ค่อยเข้ามาร่วมทีหลังได้

o Cluster แปลว่าหลายศาสตร์ เชิญคนเก่งหลายศาสตร์มาร่วมกัน

การป้องกันความเสี่ยงและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

o ศึกษาทุกวัน แล้วมีเครือข่ายทั่วโลก

o ดู Trend Setter

o ถ้า Forecast Trend ได้ก็จะ Design Technology ได้

o อยู่ที่วิธีคิด อย่ายึดติดกับอะไรเดิม ๆ ตลอดเวลา

มนุษย์อยู่ด้วยความคิดสร้างสรรค์และวิทยาศาสตร์

ขายผ่าน Creative

ตัวอย่าง ดูไบคำนึงถึงวิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นในอนาคต

เอาคนรู้จริงมาศึกษาร่วมกัน แล้วประกาศกลยุทธ์ใหม่ เป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์

กรมวิทยาศาสตร์ น่าจะคิดในเรื่อง Member และสร้างความแตกต่างไม่ต้องรอรัฐบาลอย่างเดียว

5 Cluster หลัก ๆ ที่ควร Focus

1. การท่องเที่ยว

2. อาหาร

3. แฟชั่น

4. ศูนย์กลางเทคโนโลยี

5. รถยนต์

กรมวิทยาศาสตร์บริการ น่าจะตั้ง Lab รถยนต์แห่งชาติ

การศึกษาเรื่อง

มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น แต่รู้สึกเหมือนมีเวลาน้อยลง

บ้านใหญ่ขึ้นแต่ครอบครัวเล็กลง

Paradigm Shift

1. Make and Sale เปลี่ยนเป็น Send and Response

2. เลิก Mass Production เปลี่ยนเป็น Mass Customization

3. เปลี่ยน Economy of Scale เป็น Economy of Speed

4. เปลี่ยน Just in time เป็น Real Time อยากได้ต้องได้ อยากมีต้องมี

Curve

ประเทศไทยเริ่มต้นเน้น Production Based

แต่สากล Research ก่อน ให้ความสนใจเรื่อง R&D เยอะมาก แล้วทำ Marketing สร้าง Branding ว่าสินค้าได้อะไร

นักบริหารคือ

ผู้บริหารคือ ผู้ที่สามารถจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสูดได้ตามเป้าหมาย

Holistic Framework

1. Value Exploration ลูกค้าที่มาใช้บริการกับเราอยากได้อะไร

2. Value Creation สร้างสรรค์สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ออกมาเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั้น ๆ

3. Value Delivery สามารถส่งมอบสินค้าและบริการด้วย ให้สังคม ให้คนทั่วไป ใช้กลยุทธ์ CRM มาในการส่งมอบ จะ Integrate ณ IMC อย่างไร

สรุป

• วันนี้ Make it Different ทำอะไรให้แตกต่าง

• Value Innovation + Green Technology = ความยั่งยืน

• สร้างทุนมนุษย์ แล้วใส่ความคิดสร้างสรรค์ สร้าง Peopleware และ Software

• ใช้ Information Technology เข้ามาบริหารจัดการ

• ทำน้อย ๆ กำไรเยอะ ๆ

• นึกถึงกรมวิทยาศาสตร์บริการ จะนึกถึงอะไร

• วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ Design สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง

• เทคโนโลยี + สินค้า Souvenir สร้างสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

• อย่าพูดเรื่องปัญหาให้พูดเรื่องโอกาสเท่านั้น

• มีศูนย์วิจัยเฉพาะเรื่อง ควรศึกษาดูงานที่เมือง โออิตะ ที่ฟูกูโอกะ ว่าจะนำวิทยาศาสตร์ไปปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นอย่างไร เป็นการสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นกับชุมชนด้วย

• วิทยาศาสตร์บริการ ดีตรงช่วยสังคม ช่วยชาติ

• โฮมสเตย์ เกษตรกร ใช้เทคโนโลยีหมดเลย มีคู่มือเป็นภาษาคาราโอเกะ

ไพโรจน์ วงศ์ศิริพัฒนกุล

Creative Thinking เป็นศาสตร์หนึ่งซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการศึกษาในระบบ เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญมาบูรณาการพร้อม ๆ กัน เพื่อประยุกต์ใช้หรือผลิตสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรม ขึ้นมาได้ รวมทั้งต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีปัจจัยสำคัญเป็นองค์ประกอบ เช่น ความมุมานะ มุ่งมั่น อิสระ ทัศนคติที่ดี บรรยากาศที่ไม่มีความกดดัน มีโอกาสที่จะสร้างความคิดนอกกรอบข้ามขอบเขตและกรอบระเบียบต่าง ๆ ได้ ตลอดจนมีทีมงานที่มีเจตนารมณ์เดียวกันร่วมกัน ย่อมจะทำให้เกิดพลังในเรื่องขององค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพได้ไม่ยากนัก

สำหรับระบบราชการ จะมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เข้มงวด มีผู้คุมกฎมากมายหลายฝ่ายหลายระดับ รวมทั้งวัฒนธรรมการทำงานที่ขาดสภาพคล่องและขาดความอิสระเท่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะความคิดที่ออกนอกระบบ ซึ่งแทบไม่มีโอกาสและความเป็นไปได้ในการคิดผลิตผลงานคุณภาพใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากการขอตั้งงบประมาณเมื่อปีงบประมาณก่อนหน้ากว่า 1 ปี อย่างไรก็ตามระบบราชการกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ซึ่งศาสตร์และศิลป์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ดังนั้น ณ เวลานี้อาจต้องนำวิธีและแนวทางมาใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปก่อนได้

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

Creative Thinking ของอาจารย์ณรงศักดิ์ ผ้าเจริญ ขอชื่นชมอาจารย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลาและนำมาช่วยพัฒนาประเทศโดยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าไทย สร้างโอกาสให้กับผู้ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคของ “Creative driven economy” ต้องพัฒนาให้ทุกๆคน คิดเชิงสร้างสรรค์ให้มากขึ้น โดยภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษาต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เกิด Value Innovation สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทย (Make it different) ซึ่งต้องเริ่มจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลักต่างจากสมัยก่อนที่เริ่มจากการทำและขายโดยยังไม่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ทำให้สูญเสียทั้งเวลา เงิน และโอกาสในการแข่งขัน

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิระฯ

ผมขอแสดงความคิดเห็น Creative Thinking ของอาจารย์ณรงค์ ผ้าเจริญ

ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมและขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองเป็นอย่างยิ่งที่ให้เกียรติกรมวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์อย่างเราได้ความรู้และ เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่านี้เป็นอย่างยิ่ง Creative Thinking เป็นหัวข้อที่ผมได้เฝ้ารอคอย ผมได้แนวทางการเรียนรู้ จุดประกายความคิดจากหัวข้อนี้อย่างมาก โดยเฉพาะแนวคิดที่ผมชอบมากคือ Less is more, Limited edition และ Value added

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

เมื่อวันอังคารก่อนได้เรียนรู้เรื่องการเงินสมัยใหม่และหลักการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรงกับภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการจัดสรรปันส่วนกับเงินส่วนตัวของเรา จะต้องแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมที่สำคัญคือจะต้องมีเงินออมไว้โดยจะต้องมีวินัยในการออมและที่สำคัญคืออย่า “งก” เพื่อสามารถครองชีพได้ถึงระยะที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ ถ้าคนไทยสามารถทำได้ประเทศไทยก็น่าจะรอดจากปํญหาเศรษฐกิจได้

87.ยุทธนาพงศ์ แดงเพ็ง

สวัสดีครับอาจารย์ เมื่อวันอังคารได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Creative Thinking จากอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ซึ่งได้ฟังประสบการณ์ของท่าน การประยุกต์ใช้งานแล้ว รู้สึกทึ่ง การคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างจากผู้อื่น จะทำให้ประสบความสำเร็จ แล้วต้องรู้จักคิดเพื่อสื่อสารให้คนอื่นเห็นแล้วเข้าใจ ยอมรับอาจารย์เป็นคนเก่งมาก ๆ สามารถนำเอาวัฒนธรรม ศิลปะ ความคิด ประยุกต์ เข้าด้วยกัน

นักวิทยาศาสตร์...ที่รัก

ท่านสามารถช่วยรัฐบาลฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต่ำอย่างมากในขณะนี้ ด้วยศาสตร์ในตัวท่านในฐานะที่ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของชาติ ถ้าท่านศรัทธาและตั้งมั่งที่จะทำ..คิดค้นวิจัยด้วย R&D เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ตามกระแสยุคโลกาภิวัตน์ โดยต้องติดตาม trend กระแสนิยม เพื่อให้สิ่งที่คิดค้นนั้นโดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ สามารถสร้าง Brand ของตัวเองได้ ใครๆก็กล่าวถึง โดยท่านจะต้องสร้างอุปนิสัยที่จะมองกว้างไกล คิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆหรือความเคยชิน ชอบที่จะทำงานเป็นทีมและสร้างพันธมิตรทางวิทยาศาสตร์&เทคโนโลยี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะซึ่งกันและกัน ด้วยจิตสำนึกที่ว่า “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” ท่านก็จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศบ้านเกิดของท่านได้อย่างน่าภาคภูมิ

รัชดา ( เจ )

กรมวิทยาศาสตร์บริการ...รุ่นที่ 3

เพื่อนๆ..เจขอให้ท่านเข้ดู blog ของหัวข้ออื่นๆ นอกเหนือจาก blog ของกลุ่มเรา เพื่องจได้รับความรู้ใน topic อื่นๆที่มีประโยชน์ บางหัวข้อจะมีเนื้อหหาที่เป็ยภาษาอังกฤษล้วนๆ ท่านก็สามารถพัฒนาภาษาอังกฤษของท่านได้เป็นอย่างดี ถ้าไม่เบื่อแปลเสียก่อน

หลังจากเปิดอ่าน blog ในหัวข้อต่างๆแล้ว สิ่งที่ทำให้เจประทับใจมากคือ ท่าน

อาจาร์ย จิรา หงส์รดารมภ์ ..ทึ่งมาก..ท่านเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยมากๆ และสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก ทำให้ทรัพยาการมนุษย์ของประเทศได้รับโอกาสที่จะพัฒนาเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น และยังเผื่อแผ่ไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศลาว ท่านรอบรู้และใฝ่รู้ สมควรที่จะให้ฉายาว่า "นักปราชญื "

รัชดา ( เจ )

กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่นที่ 3

เรียน ลูกศิษย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ รุ่น 3 ทุกท่าน

มีลูกศิษย์คนหนึ่ง ถ้าผมจำไม่ผิด รู้สึกจะเป็นคุณรัชดา รู้ถึง โครงการของผม ที่จะจัด Learning Forum ใน ลาว เร็วๆนี้ ผมไม่ทราบว่ารู้ได้อย่างไร แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นคนที่ใฝ่รู้และติดตามผม ทำให้รู้ว่า นี่เป็นอีกสายงานหนึ่ง ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะสามารถทำงาน เชื่อมโยงกันได้

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ผมได้จัดการประชุมเตรียมการโครงการ Learning Forum   ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ประธาน และ เลขาธิการ  หอการค้าและอุตสาหกรรมของลาว   ดร.สนั่น จุนละมะนิ และคุณขันทวงศ์ ดาลาวงศ์ มาร่วมประชุมด้วย

แต่ข้อสังเกตก็คือ ที่ผมต้องบินกลับมาจากลาวในวันที่ 4 ก.พ. ก็เพื่อให้งานทั้ง 2 งาน ไม่ขัดแย้งกัน เพราะอย่างไรก็ตามผมก็จะกลับมาร่วมในพิธิปิดโครงการของกรมวิทยาศาสตร์ รุ่น 3 นี้

จีระ หงส์ลดารมภ์

กำหนดการ

Learning Forum เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวประเทศลาว

(Human Resource Development for Laos’ Tourism Sector)

วันพุธที่ 4- วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552

ณ โรงแรมลาวพลาซ่า

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552

8.00-9.00 น.         ลงทะเบียน

9.00-9.30 น.         กล่าวรายงาน  โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                                             เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

9.30-10.00 น.       กล่าวต้อนรับ   โดย     เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศลาว

10.00-10.30 น.    กล่าวเปิดงาน   โดย   ฯพณฯ นาย Vang Rattanavong

                                                         รองประธานองค์กรท่องเที่ยวแห่งชาติลาว

                                                         Lao National Tourism Administration (LNTA)

10.30-10.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.    ปฐมนิเทศ             โดย         ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                                                                เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

12.00-13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    การบรรยายเรื่อง  ภาพรวมการท่องเที่ยวใน GMS โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์       เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

14.30-14.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น.    การบรรยายเรื่อง  ภาพรวมการท่องเที่ยวใน GMS (ต่อ)

16.00-17.00 น.   การให้ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา

วันพฤหัสที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552

8.00-9.00 น.         ลงทะเบียน

9.00-10.30 น.       การบรรยายเรื่อง ประสบการณ์การท่องเที่ยวของไทยกับการประยุกต์ใช้ในภาคการท่องเที่ยวของลาว (Thailand’s Tourism Experience: Application to Laos’ Tourism Sector)     โดย         ดร.ละเอียด ศิลาน้อย

ที่ปรึกษา 9 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

10.30-10.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.    การบรรยายเรื่อง ประสบการณ์การท่องเที่ยวของไทยกับการประยุกต์ใช้ในภาคการท่องเที่ยวของลาว (Thailand’s Tourism Experience: Application to Laos’ Tourism Sector) (ต่อ)

12.00-13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    การบรรยายเรื่อง แรงจูงใจในการทำงานสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว (Motivation for Tourism Business) โดย ดร.ละเอียด ศิลาน้อย   ที่ปรึกษา 9 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

14.30-14.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น.    การบรรยายเรื่อง แรงจูงใจในการทำงานสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว (Motivation for Tourism Business) (ต่อ)

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552

8.00-9.00 น.         ลงทะเบียน

9.00-10.30 น.       การบรรยายเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)      โดย         ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                                 เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

10.30-10.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.    การบรรยายเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)ต่อ

12.00-13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    การบรรยายเรื่อง  ภาวะผู้นำสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว (Leadership for Tourism Business) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                                         เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

14.30-14.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น.    การบรรยายเรื่องภาวะผู้นำสำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยว (Leadership for Tourism Business) (ต่อ)

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552

8.00-9.00 น.         ลงทะเบียน

9.00-10.30 น.       การบรรยายเรื่อง บทบาทภาคธุรกิจกับการพัฒนาการท่องเที่ยว (Business Sector’s Role in Tourism Development)    โดย 

                                 คุณอภิสิทธิ์ ชลสาคร

                           รองประธานคณะกรรมการ GMS สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

10.30-10.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.    การบรรยายเรื่อง บทบาทภาคธุรกิจกับการพัฒนาการท่องเที่ยว (Business Sector’s Role in Tourism Development) (ต่อ)

12.00-13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    การบรรยายเรื่อง  การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship for Tourism Sector) โดย   คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร  เจ้าของบริษัทท่องเที่ยวหนุ่มสาวทัวร์

14.30-14.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น.    การบรรยายเรื่อง การเป็นผู้ประกอบการ(Entrepreneurship for Tourism Sector)ต่อ

ช่วงเย็น                 Dinner Talk

โดย         ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร

เจ้าของบริษัทท่องเที่ยวหนุ่มสาวทัวร์

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552

8.00-9.00 น.         ลงทะเบียน

9.00-10.30 น.       การบรรยายเรื่อง Team Building      โดย         วิทยากรจาก TMA

10.30-10.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.    การบรรยายเรื่อง Team Building (ต่อ)

12.00-13.00 น.    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.    Workshop โดย    ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทและวิทยากรจาก TMA

14.30-14.45 น.    รับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น.    Workshop โดย    ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุทและวิทยากรจาก TMA

16.00-17.00 น.    พิธีมอบประกาศนียบัตรและปิดงาน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

 

วีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร

IT กับการทำงานยุคใหม่และการสร้างมูลค่าเพิ่ม

เราได้เรียนรู้ถึง Service Oriented Architecture : SOA เป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีโดยการกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Process) ต่าง ๆให้ชัดเจนและทำให้อยู่ในรูปของ Service ให้ได้ก่อน เมื่อเราเอา service ต่าง ๆ มารวมกันจะได้เป็น Business process จึงค่อยทำการออกแบบระบบการเชื่อมต่อให้เข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่เพื่อกำหนดว่าใครควรทำงานอะไร นั้นคือ Software เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องลงทุนใหม่ เป็นการพัฒนาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้เทคโนโลยีได้กลมกลืนไปกับการทำงานปกติโดยไม่ได้มองในเชิงของการใช้งาน ICT ให้มองเทคโนโลยีเป็นเพียง resource อย่างหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนจาก World Wide Web (www) ไปสู่ Social Web คือทุก ๆคนสามารถเชื่อมต่อกันได้ blog ที่เราใช้งานอยู่ขณะนี้ถือเป็น social web อย่างหนึ่ง ยินดีที่พวกเราชาว blog ไม่ตกยุคค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ขอบคุณอาจารย์จีระมากค่ะที่พยายามจุดประกายลูกศิษย์ทุกคนให้ก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำ เพื่อช่วยกันสร้างสรรสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กร บทความที่อาจารย์กรุณาให้คุณเอราวรรณถ่ายเอกสารให้อ่านมีประโยชน์มากค่ะ ชอบหลายประโยคมากค่ะ “ อย่าบริหารเวลา แต่จงควบคุมระดับพลังในการทำงานของท่าน.ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” เพราะทุกวันนี้คนชอบพูดกันว่างานมากไม่มีเวลาบริหารเวลาไม่ได้ ดังนั้นจะต้องเริ่มถามตัวเองทุกวันว่างานที่เราทำนั้นทำให้เรามีพลังหรือลดพลัง งานใดท้าทายและเหมาะกับความชำนาญของเราและน่าสนใจ ถ้าเราเป็นระดับหัวหน้าก็คงจะต้องมอบหมายงานให้ถูกคนและเราต้องทำงานแบบ เล็กๆไม่ใหญ่ๆทำนั่นเอง ความมั่งคั่งที่แท้จริงคือปัญญาบวกกับพลังความสามารถ เริ่มกันตั้งแต่วันนี้แล้วจะได้ไม่ต้องคิดว่าบริหารเวลาไม่เป็นค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

ได้เรียนกับอาจารย์ลักขณาแล้วมีประโยชน์มากค่ะโดยเฉพาะกรมวิทยาศาสตร์บริการกำลังจะสร้างแบรนด์ตัวเอง เราต้องวิเคราะห์ให้ถูกถึงจุดอ่อนจุดแข็งและโอกาสของเราแล้วปรับปรุง ป้องกัน และทำให้มีประสิทธิภาพจริงๆซึ่งจะสำเร็จได้ก็ต้องมีความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทำงานเป็นทีม นอกจากนี้อาจารย์ได้บอกลักษณะของผู้นำประเภทต่างๆซึ่งก็คงไม่มีใครที่มีครบหรอกนะคะ แต่เราสามารถเปลี่ยนได้ถ้าเปลี่ยนแล้วดี ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมภาวะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลา 6 วันแล้ว ทำให้ได้แนวคิดด้านต่างๆ ที่จะนำมาใช้พัฒนาองค์กรของตนเองเป็นอย่างมาก อาทิ วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การนำความคิดอย่างสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาล และจะนำมาสู่การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศชาติได้ในที่สุด ซึ่งไม่ใช่ความสามารถหรือความเก่งของคนใดคนหนึ่งหากแต่ต้องเป็นความร่วมแรงร่วมใจของคนใน DSS ต่างหากจึงจะทำให้ DSS เป็นที่รู้จักของชาวโลกได้

ในมุมมองของดิฉันขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาว blog ดังนี้

1. เราชาวกรมวิทยาศาสตร์บริการควรที่จะต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการมา

ปฏิบัติงานในแต่ละวัน โดยต้องเปลี่ยนจากที่ว่าวันนี้องค์กรจะให้อะไรกับเรา มาเป็น วันนี้จะทำอะไรมาให้องค์กรเพื่อพัฒนาให้องค์กรเจริญขึ้น เป็น Positive thinking

2. ชาวกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง (ความรู้ภายใน

ตัวเอง) หากแต่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ และหากพวกเรามีการนำออกมาใช้ทุกวันก็จะทำให้เกิดการนำความคิดออกมาใช้อย่างมีคุณค่าได้

3. กรมวิทยาศาสตร์บริการน่าจะสร้างแบรนด์ของตนเองในรูปของ Service mind ให้ออกมาเป็นรูปธรรมให้ได้ โดยใช้ IT โดยเฉพาะอย่ายิ่งขั้นตอนของการรับ และมอบส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันมีขั้นตอนที่ยาวมาก

4. ควรมีนักวิทยาศาสตร์ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ทางด้านการตลาด

5. แยกกระบวนการทำงาน(Process )ออกจากระบบ (System)ให้ชัดเจน แล้วพิจารณาจุดอ่อน และจุดแข็งให้ได้ จึงจะนำมาสู่การบริการที่ดีได้

6. ให้คิดอยู่เสมอว่าการทำงานให้ประสบความสำเร็จไม่ขึ้นกับความพร้อมทางด้านเทคโนยี หรือต้องมีเงินมากๆเสมอไป แต่หากขึ้นอยู่กับความพร้อมของตัวเราเองต่างหากที่พร้อมจะก้าวเดินไปพร้อม กับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์

7. ให้เลิก ละ ตำหนิ กล่าวหาผู้อื่นทำไม่ดี ให้กลับมามองที่ตัวเองว่าตัวเองทำดีเพื่อสังคมเพียงใด จะทำให้มีกำลังใจอย่างแน่นอน และทำให้ชีวิตมีความสุข เพราะว่าการให้เป็นสิ่งประเสริฐค่ะ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน

การที่คนเรารู้ว่าผู้ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตตัวเราเอง ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างโอกาส และคุณค่าให้กับชีวิตตัวเอง ขอให้เพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาอ่านใน blog ของอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ รีบเปลี่ยนชีวิตของตังเองเถิด โดยเราต้องละนิวรณ์ 5 ประการได้ ได้แก่ รักเกิน เกลียดเกิน อ่อนแอเกิน ฉลาดเกิน และโง่เกิน ถ้าหมั่นใช้สมองซีกขวาทำงานคือการมีศิลปะ นอกจากทำให้ชีวิตมีความสุข แล้ว ยังทำให้คนข้างเคียง ทั้งที่อยู่ที่บ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมชาติ ซึ่งจะทำให้พวกเรามีพลังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และสามารถนำเศรษฐกิจของชาติ แบบ Green economy ได้อย่างยั่งยืนค่ะ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

สวัสดีชาว blog ทุกท่าน

ขอแชร์ความคิดเรื่อง " energy is the secret of success "

พลังจากภายในเป็นปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำต้องมีความหวัง มีเป้าหมายที่ชัดเจน และต้องมีความศรัทธา เชื่อว่าเราจะไปสู่สิ่งที่ดีกว่าแน่นอน เราต้องประสบความสำเร็จ มันจะเกิดพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่แห่งความสำเร็จ

สิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ ของโลก เกิดได้อย่างไร มาจากพลังขับเคลื่อนอันมหาศาลจากความหวังและศรัทธา นั่นเอง

 

กิตติพร เหล่าแสงธรรม (กลุ่ม 2)

ขอขอบคุณอาจารย์จีระ อีกครั้งค่ะ ทำให้ดิฉันได้อ่านบทความดีๆ ของ Dr. Detlef Reis

สะดุดตาตรงอักษรตัวหนากลางหน้า “Don’t manage time” และเมื่ออ่านต่อไป monitor your energy level at work” ปกติเรามักจะได้ยินว่าให้บริหารจัดการกับเวลา แต่บทความนี้ให้สนใจ energy level ให้พิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่ match กับความชำนาญ และความสนใจของเรา สิ่งนั้นจะทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ มากมาย (novel ideas) และทำให้เกิดพลังในการทำงาน ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน และประทับใจมากตรงบทสรุปว่า “Real wealth is ideas plus energy”

ดิฉันขออนุญาตแชร์ความคิด เรื่องการบริหารเวลาในอีกมุมมองหนึ่งนะคะ เพื่อให้เห็นประโยชน์ชัดเจน ขอยกตัวอย่างทีมนักกิฬาวิ่งผลัด 4 x 4 ทำอย่างไรจึงชนะ ก็คงต้องฝึกซ้อมวิ่งกันอย่างหนัก เพื่อให้ทุกคนใช้เวลาในการวิ่งน้อยที่สุด และ ณ จุดรับไม้ควรต้องฝึกเทคนิคใหม่ ๆ คุณว่าจริงใหม ?

เมื่อวานได้เรียนเรื่องการเขียนโครงการวิจัย จากอาจารย์อารี และอาจารย์ทรงศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก การเขียนโครงการฯเป็นเรื่องที่นักวิทย์ฯ ต้องให้ความสำคัญ จะเขียนอย่างไรที่จะสื่อได้ว่างานวิจัยนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรทำ ทำแล้วได้ประโยชน์ ไม่สูญเปล่า ซึ่งก็ต้องมีองค์ประกอบคือจะต้องรู้ที่มาของปัญหา หาคำถามที่ทำให้เกิดปัญหานั้นให้ได้ วัตถุประสงค์ที่ต้องวิจัยนั้นต้องการอะไร วิธีการที่จะตอบวัตถุประสงค์มีอะไรบ้าง ใช้ทฤษฎีอะไรมาสนับสนุนผลสรุปหรือคำตอบ โดยมากก็จะเป็นทฤษฏีทางสถิติ ทางเศรษฐศาสตร์มีตัวเลข และการคำนวณมาเกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของผลสรุปนั้นๆ

ซึ่งทุกกลุ่มได้ฝึกเขียนกลุ่มละเรื่อง ให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์แก้ไข จึงเป็นบทเรียนที่มีคุณค่ามากจริงๆ ขอขอบคุณ อาจารย์ทั้งสอง ตรงนี้อีกครั้งค่ะ ขอบคุณอาจารย์จีระด้วยที่เชิญอาจารย์ทั้งสองท่านมาค่ะ

อังสนา ฉั่วสุวรรณ์

สวัสดีค่ะ

เพิ่งจะมีโอกาสเขียน blog รู้สึกดีใจมากที่ได้มาอบรมคอร์สนี้ ชอบรูปแบบการอบรมที่อาจารย์พยายามกระตุ้นให้มีส่วนร่วมและคอยจุดประกายให้พวกเราทุกคน ความรู้ที่ได้รับมีมากมายโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐศาสตร์ ซึ่งตัวเองคิดว่าเป็นเรื่องยากไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ค่อยมีความรู้กว้างขวางในเรื่องนี้เลย ยิ่งฟังอาจารย์ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองแคบจังไม่รู้อะไร แต่จะพยายามใส่ใจและใฝ่เรียนรู้ในทุกเรื่องค่ะ

อังสนา กลุ่ม 3

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

วันนี้ได้ฟังท่านนายก อภิสิทธิ์ กล่าวในพิธีเปิดงาน 118 ปี ศาลาแยกธาตุ – กรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ต้องขอบอกว่าเดิมที่เคยชื่นชมท่านว่าเป็นผู้ที่มีทุนมนุษย์ครบทั้ง 8 Ks ต้องขอยอมรับว่าท่านมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลจริงค่ะ ก็เห็นตามท่าน ว่านักวิทยาศาสตร์บ้านเราจะต้องพยายามต่อยอดงานวิจัยให้เพิ่มคุณค่าออกมาสู่อุตสาหกรรมและสังคมที่ยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องได้รับการสนับสนุนและการเห็นความสำคัญของมนุษย์วิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้าง motivation ให้เกิดขึ้นกับมนุษย์วิทยาศาสตร์ด้วยค่ะ

นิภาวรรณ ปรมาธิกุล

สวัสดีค่ะ ขอร่วมแสดงข้อคิดเห็นสำหรับการอบรบของเราด้วยคนค่ะ

ต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระอย่างมากที่ได้เชิญวิทยากรระดับหนึ่งของประเทศมาให้ความรู้แก่พวกเรา ที่ผ่านมาทุกท่านล้วนแต่ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งกับงาน และการดำรงค์ชีวิตอย่างเป็นสุขกับคนรอบข้าง การบริหารความขัดแย้งที่เพิ่งผ่านมาหมาดๆ หรือแม้แต่การเสนองานวิจัยของท่านอาจารย์อารี และอาจารย์ทรงศักดิ์ ก็เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ทำงานวิจัยทำให้ทราบว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะมีความสมบูรณ์ของโครงการ ขอบคุณมากๆ ค่ะ ถ้าระยะเวลาของแต่ละวิชาที่เรียนมากกว่านี้สักนิดจะยิ่งดีมาก ค่ะ

นิภาวรรณ ปรมาธิกุล

ขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้เพื่อนๆ ร่วมหลักสูตร ได้รับทราบนิดหน่อย เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานบริการ ที่จริงได้เข้า blog ตั้งแต่สองสามวันก่อน และพิมพ์ลง blog ไปรอบหนึ่งแล้ว แต่เกิดข้อขัอง พิมพ์เสร็จแล้ว แต่ net ล่ม ทุกสิ่งที่พิมพ์ไว้หายหมด เลยต้องลองใหม่อีกรอบ

ได้เดินทางไปดูงานแถบเกาะชิโกกุ และ Kumatoriตามคำเชิญของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีกิจการด้านอุตสาหกรรมหลากหลายสาขา แต่ส่วนที่ไปเยี่ยมชมนี้เป็นระดับอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งทางหน่วยงานมีโครงการจะดำเนินการในเร็วๆ นี้ จึงไปหาข้อมูลประกอบการพิจารณา ข้อมูลที่ได้รับทราบและเห็นล้วนเป็นประโยชน์ต่องานมาก สิ่งที่อยากแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้รับทราบคือ

1.ชื่นชมเจ้าหน้าที่ของบริษัทนี้ด้าน service mind ทุกท่านล้วนให้ข้อมูลทั้งหมดที่คณะของเราต้องการทราบแม้จะเป็นข้อมูลปกปิดของบริษัทเองแต่เมื่อเป็นที่ต้องการของผู้ที่อาจเป็นลูกค้าในอนาคตก็ให้ดู/เปิดเผยให้ทราบ

2. ความลับของลูกค้าต้องไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นล่วงรู้ เค้ายอมให้คณะของเราดูเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นของเค้าเองเท่านั้น ส่วนของที่เป็นของลูกค้าที่มารับบริการจากเค้า จะถูกเก็ยไว้อย่างมิดชิดไม่ให้พวกเราเห็น

3.หลักการด้านธุรกิจ จะทำแต่เฉพาะสิ่งที่สามารถทำเงินได้เท่านั้น หากทำไปแล้วไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เลิกทำ

4. การถ่ายทอดความรู้ให้คนรุ่นใหม่ ขณะที่ชมโรงงานเห็นมีเด็กรุ่นหนุ่มๆ ทำงานได้โดยลำพัง แสดงว่าได้รับการฝึกฝนมาจนฉายเดี่ยวได้

5. การให้โอกาสแก่คนรุ่นใหม่ ได้เข้าเยี่ยมชมงานหน่วยงานหนึ่งที่ Kyoto University Kumatori Research Center ผู้รับผิดชอบที่นั่นเป็นระดับปริญญาเอกหนุ่มมากๆ น่าจะอายุประมาณสามสิบกว่า การให้โอกาสแก่คนที่มีความสามารถโดยไม่จำกัดวัย น่าจะทำให้มีคนเก่งๆ และพัฒนาประเทศได้อย่างดี

6. บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ของญี่ปุ่น ไม่ stockวัตถุดิบไว้ในโรงงาน ทุกเช้าจะมีรถขนส่งของที่ต้องใช้ในการผลิตของแต่ละวันมาส่งให้ที่โรงงาน ดังนั้นบริษัทนี้จึงไม่ทำธุรกิจกับผู้ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะมีความเสี่ยง

วีระวรรณ โรจนสโรช

8 วันที่ได้เข้าอบรม สิ่งที่ได้รับคือการพัฒนาตนเองจากผู้บริหารให้เป็นผู้นำและ เปลี่ยนจากผู้นำเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ resonal leadership และที่เหนือสิ่งอื่นใดคือการได้มีเครือข่ายนอกองค์กรของตัวเอง รวมทั้งมิตรภาพและการได้แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ได้รับฟังความรู้ ประสบการณ์และแนวความคิดที่หลากหลาย ทำให้รู้จักปรับจักเป็นคนที่จะมองกว้างและไกล แม้นงานในหน้าที่จะมีมาก แต่จะไม่ยอมขาดการเข้าอบรมเพราะรู้ว่าสิ่งที่จะได้นั้นมีประโยชน์และคุณค่ามากและสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าในการทำงานได้ยิ่งกว่ามาก ไม่ว่าจะกับตัวเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง องค์กร และประเทศชาติ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เช้าวันอาทิตย์ที่ 31 ม.ค. 52 ได้ชมรายการนายกอภิสิทธิ์ โทรศัพท์ให้สัมภาษณ์จากต่างประเทศถึงผลสำเร็จในการเข้าร่วมประชุม World Economic Forum Annual Meeting 2009 ที่ Davos จากภาพที่เห็นคุณอภิสิทธิ์นั่งบนเวทีโดยนั่งติดกับ Mr.Bill GATES ก็รู้สึกดีใจมากที่คนไทยได้รับเกียรติในโอกาสนี้ซึ่งแสดงถึงการได้รับการยอมรับในเวทีโลกด้วย นายกฯได้แสดงให้เห็นถึงความรู้และความสามารถโดยได้ชี้แจงเกี่ยวกับประเทศไทย 3 หัวข้อ

1.เรื่องการฟื้นธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งลดลง 20% ให้กลับมาเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติเหมือนเดิม แต่ทั้งนี้ธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศต่างๆก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งน่าจะมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ

2.เรื่องการเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการผลิตอาหารสู่ประชากรโลก ซึ่งไทยยังคงต้องการความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต

3.เรื่องปัญหาทางด้านการเมืองซึ่งขณะนี้ดีขึ้น และยินดีให้โอกาส พ.ต.ท. ทักษิณ กลับมาสู้คดีในประเทศไทยเพื่อแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ

นอกจากนี้ยังได้พบปะเจรจาถึงความร่วมมือกับนายกฯ ของประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ของประเทศสหราชอาณาจักร นายกฯของฟิลิปปินส์ และนายกฯของอินเดีย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าติดตามดูผลงานมากและขอเป็นกำลังใจ เอาใจช่วยรวมทั้งถ้าสามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศไทยได้ก็จะทำค่ะ

นิดารัตน์ ศรีเงินยวง รปม.ร่น 5

ขอแชร์ความคิดด้วยคนนะค่ะ ดิฉันเป็นนักศึกษา รปม. สวนสุนันทา เมื่อเข้ามาอ่าน Blog ของกรมวิทย์ฯ แล้ว มีความรู้สึกว่า ทุกคนมีไอเดียร์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้าเราต่างคนต่างคิด ก็ได้แค่คิด มันคงจะไม่เกิดเป็นรูปธรรมแน่ เลยเราน่าจะรวมกลุ่มกันให้ฝันดี ดี ที่ทุกคนมี ให้เป็นจริงจะได้ไหม และขอเป็นหนึ่งในนั้นด้วยคน

เรียนน้องๆ ชาว blog ที่น่ารักทุกท่าน

ดิฉันขอส่งบทความดี ๆ ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์

Cancer Update from Johns Hopkins

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์

1. Every person has cancer cells in the body. These cancer cells do not show up in the standard tests until they have multiplied to a few billion. When doctors tell cancer patients that there are no more cancer cells in their bodies after treatment, it just means the tests are unable to detect the cancer cells because they have not reached the detectable size. < BR>

ทุกๆคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น

2. Cancer cells occur between 6 to more than 10 times in a person's lifetime.

เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆหนึ่ง

3. When the person's immune system is strong the cancer cells will be destroyed and prevented from multiplying and forming tumours.

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเร้งจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก

4. When a person has cancer it indicates the person has multiple nutritional deficiencies. These could be due to genetic, environmental, food and lifestyle factors.

เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆนั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต

5. To overcome the multiple nutritional deficiencies, changing diet and including supplements will strengthen the immune system.

เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น

6. Chemotherapy involves poisoning the rapidly-growing cancer cells and also destroys rapidly-growing healthy cells in the bone marrow, gastro-intestinal tract etc, and can cause organ damage, like liver, kidneys, heart, lungs etc.

การทำคีโมคือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ

7. Radiation while destroying cancer cells also burns, scars and ! damages healthy cells, tissues and organs.

การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี เนื้อเยื่อ และอวัยวะ

8.. Initial treatment with chemotherapy and radiation will often reduce tumor size. However prolonged use of chemotherapy and radiation do not result in more tumor destruction.

การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆพบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอก

9. When the body has too much toxic burden from chemotherapy and radiation the immune system is either compromised or destroyed, hence the person can succumb to various kinds of infections and complications.

เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆนั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

10. Chemotherapy and radiation can cause cancer cells to mutate and become resistant and difficult to destroy. Surgery can also cause cancer cells to spread to other sites.

การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย

11. An effective way to battle cancer is to starve the cancer cells by not feeding it with the foods it needs to multiply.

วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว

WHAT CANCER CELLS FEED ON:

อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง

a. Sugar is a cancer-feeder. By cutting off sugar it cuts off one important food supply to the cancer cells . Sugar substitutes like NutraSweet, Equal,Spoonful, etc are made with Aspartame and it is harmful. A better natural substitute would be Manuka honey or molasses but only in very small amounts. Table salt has a chemical added to make it white in colour. Better alternative is Bragg's aminos or sea salt.

น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น ' นิวตร้าสวีต ' ' อีควล ' ' สปูนฟูล ' ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือน้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆเท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ ' แบรก อมิโน ' หรือเกลือทะเลแทน

b. Milk causes the body to produce mucus, especially in the gastro-intestinal tract. Cancer feeds on mucus. By cutting off milk and substituting with unsweetened soy milk, cancer cells are being starved

นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะ ได้ รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร

c. Cancer cells thrive in an acid environment. A meat-based diet is acidic and it is best to eat fish, and a little chicken rather than beef or pork. Meat also contains livestock antibiotics, growth hormones and parasites, which are all harmful, especially to people with cancer.

เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง

d. A diet made of 80% fresh vegetables and juice, whole grains, seeds, nuts and a little fruits help put the body into an alkaline environment. About 20% can be from cooked food including beans. Fresh vegetable juices provide live enzymes that are easily absorbed and reach down to cellular levels within 15 minutes to nourish and enhance growth of healthy cells. To obtain live enzymes for building healthy cells try and drink fresh vegetable juice (most vegetables including bean sprouts) and eat some raw vegetables 2 or 3 times a day. Enzymes are destroyed at

temperatures of 104 degrees F (40 degrees C).

อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมทราบสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด ( ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F ( ประมาณ 40 องศา C)

e.Avoid coffee, tea, and chocolate, which have high caffeine. Green tea is a better alternative and has cancer-fighting properties. Water-best to drink purified water, or filtered, to avoid known toxins and heavy metals in tap water. Distilled wate! r is acidic, avoid it.

ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และช๊อกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ์ หรือที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง

12. Meat protein is difficult to digest and requires a lot of digestive enzymes.

Undigested meat remaining in the intestines become putrified and leads to more toxic buildup.

โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารจะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น

13. Cancer cell walls have a tough protein covering. By refraining from or eating less meat it frees more enzymes to attack the protein walls of cancer cells and allows the body's killer cells to destroy the cancer cells.

ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น

14. Some supplements build up the immune system (IP6, Flor-essence, Essiac, anti-oxidants, vitamins, minerals, EFAs etc.) to enable the body's own killer cells to destroy cancer cells. Other supplements like vitamin E are known to cause apoptosis, or programmed cell death, the body's normal method of disposing of damaged, unwanted, or unneeded cells.

สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ( สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์ , วิตามิน , เกลือแร่ , EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆเช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป

15. Cancer is a disease of the mind, body, and spirit. A proactive and positive spirit will help the cancer warrior be a survivor.. Anger, unforgiveness and bitterness put the body into a stressful and acidic environment. Learn to have a loving and forgiving spirit. Learn to relax and enjoy life.

มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุกและการคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต

16. Cancer cells cannot thrive in an oxygenated environment. Exercising da , and deep breathing help to get more oxygen down to the cellular level. Oxygen therapy is another means employed to destroy cancer cells.

เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆจะช่วย ให้ ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง

ขอฝากมาให้อ่านอีกบทความ นะคะ จาก Journal of General Hospital Rochester

สมมุติว่าขณะนี้เป็นเวลาประมาณหกโมงเย็นและคุณกำลังขับรถกลับบ้านคนเดียวหลังจากเสร็จสิ้นวันทำงานอันแสนเหน็ดเหนื่อย คุณรู้สึกเหนื่อยล้าและคับข้องใจเป็นอย่างมาก คุณรู้สึกเครียด กดดัน และโกรธจัด

ทันใดนั้นจู่ ๆ คุณก็รู้สึกเจ็บที่น่าอกอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน และความเจ็บนั้นเริ่มแผ่กระจายไปตามแขนและลามขึ้นมาถึงขากรรไกรของคุณ ถึงแม้คุณอยู่ห่างจากโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านคุณที่สุดเพียงแค่ 8 กิโลเมตรกว่า ๆ เท่านั้น แต่คุณก็ไม่รู้ว่าคุณจะขับรถไปถึงโรงพยาบาลไหวหรือไม่? แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ? คุณอาจเคยได้รับการอบรมเรื่องการผายปอดและนวดหัวใจให้กับผู้ป่วย แต่ผู้อบรมไม่ได้บอกวิธีการปฐมพบาบาลตนเองเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินเช่นนี้ขึ้นกับตัวคุณ คุณจะเอาชีวิตรอดอย่างไร เมื่อเกิดหัวใจล้มเหลวกระทันหันขณะกำลังอยู่คนเดียว

คนหลาย ๆ คนอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันขณะอยู่คนเดียวโดยไม่มีใครช่วยเหลือได้ และคนที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเช่นนี้จะมีเวลาเพียงแค่ 10 วินาทีเท่านั้น ก่อนที่จะหน้ามืดและหมดสติ

หัวใจล้มเหลวเวลาอยู่คนเดียวจะทำอย่างไร?

คำตอบ:อย่าตื่นตระหนก คุณสามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยการไอแรง ๆ หลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน สูดลมหายใจให้ลึก ๆ ก่อนการไอแรง ๆ แต่ละครั้ง การไอแต่ละครั้งต้องไอให้ยาว ๆ ลึก ๆ เหมือนตอนคุณพยายามขากเสมหะที่ติดอยู่ในลำคอลึก ๆ ออกมานั่นแหละ การหายใจลึก ๆ และไอแรง ๆ จะต้องกระทำต่อเนื่องทุก 2 วินาทีโดยไม่หยุด(ย้ำทุก ๆ 2 วินาที) จนกว่าคุณจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ หรือจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าหัวใจกลับสู่การเต้นที่ปกติอีกครั้ง การหายใจลึก ๆ จะช่วยให้ปอดได้รับออกซิเจน ส่วนการไอแรง ๆ นั้นจะทำให้เกิดแรงกระเทือนที่ไปช่วยบีบหัวใจและช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ และแรงบีบหัวใจจากการไอนี้จะช่วยให้หัวใจกลับสู่การเต้นปกติได้ การทำเช่นนี้จึงทำให้ผู้ประสบอาการหัวใจล้มเหลวสามารถพาตัวเองไปถึงโรงพยาบาลได้

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

การเกิดภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจโลก ปี 2552 นี้เป็นบทเรียนอันล้ำค่าของทุกคน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งการแก้ปัญหาครั้งนี้คงต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วย ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์คงต้องปรับกรอบแนวคิดใหม่ให้คิดอยู่เสมอว่า ทุกปัญหามีทางออก ไมใช่มองว่าทุกทางออกเป็นปัญหา นักวิทยาศาสตร์ต้องมีการแข่งขัน และต้องคิดนอกกรอบเป็น โดยเริ่มต้นจากจากคิดแบบเด็กคือการคิดแบบไร้พรมแดน แต่เวลาทำงานให้ทำแบบผู้ใหญ่ จึงจะสามารถสร้างเทคโนโลยีของตนเองได้ และในที่สุดก็จะแก้ปัญหาของประเทศได้

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

วันอาทิตย์ ที่ 31 มกราคม 2552 ได้ฟังอาจารย์ จีระ จัดรายการที่ 96.5 FM ตามปกติ ทำให้ได้แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลึกซึ้งมากขึ้น และรู้สึกมีพลังที่นำแนวคิดที่ได้จากการเรียน และการฟังจากรายการมาประยุกต์ใช้กับน้องๆที่ทำงานเพื่อจะได้พัฒนาการทำงานแบบคิดเป็น เพื่อจะได้มีความคิดในเชิงกว้าง อันจะก่อให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อไป

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

ได้รับฟัง Modern radio FM. 96.5 เช้าวันอาทิตย์ของอาจารย์จีระ ก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างมากค่ะที่อาจารย์กรุณาส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ฟังได้เห็นคุณค่าของวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถและศักยภาพของกรมวิทยาศาสตร์บริการให้เป็นที่ทราบของคนทั่วไป ซึ่งพวกเราก็ควรจะร่วมกันสานต่อในการสร้างแบรนด์ ด้วยการสร้างผลงานวิจัยและพัฒนาให้ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและการผลิต รวมทั้งนำมาร่วมสร้างสังคมให้มีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

ภาวนา อัศวะประภา มกอช

 

      

 

 National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standard ( ACFS. )

                             สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

                             สำนักรับรองมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ (สรม.)

                        กลุ่มวิชาการและรับรองระบบการผลิตขั้นต้น

 

                    50  เกษตรกลางบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ  10900

                    50  Kaset-Klang Ladyao Bangkaen  BANGKOK  THAILAND  10900

                   Phone: 02 561 2277 ext. 1209 Fax: 02- 561 8427

                   E-mail: [email protected]

ภาวนา อัศวะประภนักวิชาการมาตรฐาน ระดับชำนาญการพิเศ

 

Phawana  Assawaprapa         Senior Standards Officer

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวาน คุยเรื่องวิเคราะห์สาร อินทรีย์   กับอ๊อด   แล้วมีเรื่อง  การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์  ตอนที่แบ่งกลุ่มย่อยฝึกเขียนโครงการ รวมทั้งเรื่องการสุ่มตรวจสารพิษตกค้าง 

 

     อยากจะขออนุญาต  SHARE สิ่งที่น่าจะเป็น functional competency ตามสายงานที่ทำอยู่  ก็เรื่อง เกษตรอินทรีย์ นี่ล่ะค่ะ  ให้พวกเราทราบ อย่างน้อยทุกคนก็เป็นผู้บริโภค ที่มีโอกาส ซื้อ หา มาบริโภค หรือบางที อาจทำให้มีการต่อยอดเป็นผู้ ผลิต หรือ อยู่ในธุรกิจเกษตรอินทรีย์  ก็ได้ นะคะ  การเป็น organic man ใน ภาพรวมๆ  ทั่วโลก ก็จะมองดูเท่  ชอบอะไรที่ธรรมชาติ green  ใส่ใจผู้อื่น  ดูแลสิ่งแวดล้อม NGO นิดๆ

ทำไมต้องเป็นเกษตรอินทรีย์                   why organic ?

     ทุกวันนี้ การจะรู้ว่าสินค้า เช่นถัวฝักยาว มีสารพิษไหม มีสารเคมีเกินค่ามาตรฐานMRL ไหมในบ้านเรา ที่ทำอยู่ก็จะไปที่ตลาด หรือที่จุดขาย  แล้วสุ่มมาตรวจ จะในห้อง lab หรือtest kit ก็แล้วแต่กฏเกณฑ์ที่วางไว้  ถ้าผ่าน ก็แสดงว่า ถั่วฝักยาวนั้น ปลอดภัย  กินได้

       แต่เนื่องจากการตรวจแบบนี้เรียกว่าตรวจที่ปลายทาง ที่จุดจำหน่าย ซึ่งก็คงไม่สามารถ ครอบคลุมสินค้าได้ทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้ สาธารณสุขมักจะเป็นผู้ดำเนินการ    ต่อมากระทรวงเกษตร ซึ่งดูแลการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ เรียกได้ว่าตั้งแต่การปลูก จนถึงการเก็บเกี่ย จะเห็นว่าถ้าระบบการผลิตสินค้าเกษตรดีมาตั้งแต่แปลงปลูก และเมื่อมีระบบการรับรองที่มีมาตรฐาน เป็นไปตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับ ก็จะมีส่วนช่วยอย่างมาก ที่จะนำสินค้าที่ปลอดภัยเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้การตรวจทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ก็เป็นที่ยอมรับทั้ง 2 อย่างค่ะ แล้วแต่ความจำเป็น

      จึงเป็นที่มาของ การผลิตสินค้าเกษตร ตามมาตรฐาน GAP  หรือ ตามมาตรฐาน organic ระบบมาตรฐาน GAP ; Good  Agricultural Practice เป็นระบบการผลิตเพื่อให้ได้อาหารปลอดภัย   เกษตรอินทรีย์ ก็ได้อาหารปลอดภัย เพียงแต่มีส่วนที่ in trend ในเรื่องดูแล ส่งแวดล้อม ดูแลดิน น้ำ  ดูแลสวัสดิภาพแรงงาน กระทั่งดูแลสวัสดิภาพสัตว์ ถ้าเลี้ยงไก่ก็ต้องมีที่ให้ไก่วิ่งเล่นจะกักขังตลอดไม่ได้  ต้องไม่ให้ไก่เครียด (ถึงแม้คนเลี้ยงจะเครียด) เป็นต้น

   ที่ทำตอนนี้ก็จะรับผิดชอบเรื่อง GAP กับ Organic  นี่ล่ะค่ะ  เพียงแต่ไม่ได้เป็นคนไปตรวจฟาร์ม  มกอช. ไปตรวจคนที่ตรวจฟาร์มอีกที  เหมือนกับเป็นคนทำหน้าที่ control the controller อีกที

                   หน่วยงานที่ไปตรวจฟาร์มเรียก Certification Body: CB ได้แก่กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และ CB เอกชน

                         หน่วยงานที่รับรองCB ว่ามีความสามารถ ( competency ) ก็คือ มกอช.เรียกว่าเป็น  Accreditation Body : AB

ตอนนี้ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ จะซื้อ ผัก ผลไม้ หมู ไก่ กุ้ง  ถ้าดูที่ package สักนิด มี สัญญลักษณ์ Q กระทรวงเกษตร  และ บอกระบบรับรอง เป็น GAPหรือ organic  ปลอดภัยค่ะ    นึกภาพ logo ออก   ไหม,ะ                                                                                                             แอ๊ม- มกอช

อยากให้ถึงวันที่ 9 เวลา 3 ทุ่ม เร็วๆ จัง

 

 

 

ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์

IT กับการทำงานยุคใหม่ และการสร้างมูลค่าเพิ่ม

• Differentiation เกิดขึ้นได้อย่างไร

• ถ้าประยุกต์ได้จะทำให้เรานำองค์กรสู่องค์กรยุคใหม่ในฐานะวิทยาศาสตร์เชิงบริการ

• เราใช้โทรศัพท์ในการสื่อสาร ปัจจุบันมี Skype ในการสื่อสารผ่าน Internet โดยไม่ต้องเสียเงิน

• วันนี้ต้องการทำให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่ง แต่ก่อนใช้ Digital Camera ให้คู่แข่งดู แต่เนื่องจากไม่สามารถทำปฏิสัมพันธ์โดยตรงในขณะนั้น เกิดเวลาทิ้งช่วง

• ปัจจุบันสามารถทำได้ดีขึ้นโดยระบบ Skype ก่อให้เกิด Interactive มากขึ้น สามารถแก้ภาพที่ Design โดยมองผ่านกล้องได้ ไม่ต้องเสียเงิน ฟรี

• คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณราคาได้โดยทันที Interactive ทั้งหมดปฏิสัมพันธ์อย่างเดียวกัน

การใช้ IT ช่วยในการทำงาน

1. พัฒนาคุณภาพบริการ

2. สามารถพัฒนาระบบภาพเชิง Conference

3. คำนวณราคา

4. สามารถติดต่อภายนอกในลักษณะเครื่องมือ

5. ทั้งหมดสื่อสารด้วยระบบโทรคมนาคม

6. การ Connectivity

สรุป เทคโนโลยีช่วยให้ต้นทุนลด การทำงานดีขึ้น บริการได้ชัดเจนมากขึ้น

• การสื่อสารระบบไร้สาย ที่มีความเร็วสูง การสื่อสารได้ทั้งเสียง ทั้งภาพ

• นักธุรกิจไทย และอเมริกาต้องใช้การสื่อสารที่มีช่องความเร็วสูง อาจใช้วิทยุที่ไร้สายก็ได้ หรือช่องสัญญาณทองแดง หรือใยแก้วนำแสง โดยสรุป ใช้เสียงและภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด

• ระบบมีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์

Convertion

• สายทองแดงสามารถอัดข้อมูลที่มีความเร็วสูงได้

• คลื่นวิทยุที่ส่งความเร็วสูงมากสามารถส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้

• สายไฟนำไฟฟ้ามาสู่บ้าน

• ไม่มีผลทางเศรษฐกิจแต่มีผลทางระยะเวลา

Convertion กับ IT

• ปัจจุบันถ้าต้องการติดตั้งอะไรก็แล้วแต่ที่สามารถทำงานร่วมกัน เทคโนโลยีการสื่อสารไม่มีปัญหา สามารถสื่อได้ทั้งเสียงและข้อมูล สื่อสารซึ่งกันได้ดี

• ปัจจุบัน ระบบ Software เป็นตัวขับเคลื่อน ทุกอย่าง

o ทุกอย่างเน้นที่ตัว Service

o สิ่งที่ทำทุกวันเพื่อ Serve คนให้ได้รับประโยชน์ เรียกว่าการบริการ

o การลอกเลียนแบบวัฒนธรรมการทำกิจกรรมของเรา

o ทุกครั้งที่ทำงานโดยใช้ ICT ให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องง่าย และเครื่องมือช่วยในการทำงาน ไม่ต้องกังวลเรื่องเทคโนโลยีในการเรียนรู้ เนื่องจากจะเป็นทรัพยากรช่วยในการทำงานของเรา

• Hardware ปัจจุบันมีเครื่องรับเครื่องส่งอย่างเดียวกัน โทรศัพท์เปรียบเสมือนของธรรมดาที่พกติดตัวไปแล้ว และในอนาคตเป็นไปได้ว่า โทรศัพท์ กับ PC ความแตกต่างทาง Function อาจไม่มี เว้นแต่การพกพาเท่านั้น

• อุปกรณ์ที่พกพาเพื่อทำงาน

• โดยสถิติการแพร่กระจายของ ICT ไทยช้ากว่าอเมริกา 5 ปี

• การยอมรับว่าความรู้ควรจะแบ่งปันกัน และควร Mulitply Effect ว่าเป็นสิ่งที่ควรพัฒนา

วิวัฒนาการเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์มีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการทำงานเรื่อย ๆ

Value Added

1. ไม่ใช่เครื่องผ่อนแรงอีกต่อไป แต่เป็น Multiply

2. เป็นการเปลี่ยน Paradigm

3. ทำอย่างไรถึงทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคได้รับบริการที่แตกต่างจากเดิม

4. การสร้างความแตกต่าง และการมีประสิทธิภาพ

การลงทุนทาง ICT

ถือเป็นการลงทุนมหาศาล ลงทุนไปทำไป

• การพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดนวัตกรรม

• คุณค่าจากการใช้เทคโนโลยี

• ยุคแรก เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดค่าใช้จ่าย ใช้ไม่ให้เกิดหนี้สูญ เช่นระบบการบริหารลูกหนี้

• ประหยัดเงินเพียงพอกับการลงทุนทาง ICT

• การทำให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้น

ผล และ Outcome ของ ICT มีอะไร

1. Differentiation

2. ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน

3. ประสิทธิภาพการทำงาน

• ช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรม

• สามารถสร้างแนวทางการทำธุรกิจใหม่ที่ได้กำไร และลงทุนไม่เยอะ Business Model ช่วยในการทำ และลงทุนทางธุรกิจ

• แนวคิดของ Business Model ไป Innovate Business Model คิดใหม่ทำใหม่

• การทำงานจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตามประกอบด้วยขั้นตอนที่รับผิดชอบ

• Business Process เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถเอาไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิภาพได้

• จะเกิดประสิทธิภาพได้ถ้าคนยังทำงานในองค์กรเหมือนเดิม

• Operation เป็นสิ่งที่ผู้บริหารรู้ว่าคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เหมาะสม และตอบสนองโจทย์ลูกค้าให้เร็วที่สุด

• แนววิธีในการออกสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Differentiation

เอแบคเป็นผู้นำทาง Differentiation ทางด้านไหน

• ผู้เรียนสามารถเรียนผ่าน Internet (E-Learning) และมีนักศึกษาต่างประเทศสมัครมาเรียนทางสื่ออินเตอร์เน็ตเยอะมาก เป็นการ Differentiate ที่คนอื่นยังทำไม่ได้

• คุณภาพของสินค้าและบริการดีจริง และแตกต่างจริง

• ขั้นตอนในการดำเนินการ ระบบการให้บริการ ต้องมีการลงทุน ไมใช่แค่เงินอย่างเดียว แต่ต้องมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

Agility ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน

• ระเบียบข้อบังคับ การปรับเปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ได้

• ปรับให้มี Specialization ได้ ทำให้วิ่งนำหน้าได้

• การบริหารเร็ว มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ทันใจ

• การต้องการบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น

Efficiency การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

• ต้องมีการเข้าใจขั้นตอนการทำงานของทุก ๆ คน

• เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ถูกต้องที่ทันสมัย เอกสารเข้าออกจากองค์กรนั้น ต้องรู้ว่าอยู่ที่ไหน

• สามารถ Share ความรู้ในองค์กรร่วมกัน

• เทคโนโลยีไม่ใช่เทคโนโลยีเป็นทรัพยากรขององค์กร

ICT-Business Alignment

เพื่อให้เข้าใจว่า Service คืออะไร

• การเข้าถึงคนที่ทำงานจริงเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดผลวุ่นวาย ดังนั้นในฐานะผู้ใช้บริการ การทำงานเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เตรียมกับ ผู้ให้บริการ

• โดยการเปลี่ยนวิธีการ เทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการได้

• มีผู้รับ Order มี Menu มี Information คือการสร้างการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการ กับ ผู้รับบริการ เทคโนโลยีเป็นตัว Software ที่เป็น Service

• Software การคุยกับบริกร คุยเรื่องศัพท์ที่ผู้ใช้งานและถนัด

• ผู้ใช้มองไม่เห็นเทคโนโลยี รู้เพียงว่าแผนการเรียน ถือว่าเป็นทรัพยากรเฉพาะเรื่อง

What is a service?

• Service เป็นตัว Software ทำหน้าที่แค่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรเขาจะปฏิบัติอย่างไร รู้ว่าใครควรจะทำงานให้ เป็นตัว Interface ติดต่อกับผู้ใช้บริการ และคอยประสานงาน

• Service คือ ตัวที่เอามาประกอบกัน ก่อให้เกิดงานขึ้นมา 1 ชิ้น

• Service Architect คือการผูก Softwareให้ทำงานได้

• Service Orientation คือตัวที่สามารถตอบโจทย์ Business Process ได้

• Service เป็นข้อตกลงทางเทคนิคไม่ใช่ข้อตกลงทางกฎหมาย

Loose Coupling

• คือไม่จำเป็นต้องเชื่อมตัวผู้ใช้กับคนจับเทคโนโลยีให้คุณ

Abstraction

• คนที่เป็นบริกรรู้แต่เพียงอย่างเดียวที่ต้องการว่าลูกค้าอยากได้อะไร แต่ไม่มีรายละเอียด

• ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร อยากรู้แต่ว่าอยากได้อะไรแล้วพอใจตามที่ต้องการ คือ ตัวเมนู

• ขจัดปัญหาระหว่างผู้ใช้บริการ กับคนจัดผ่าน Software ให้

• บางครั้งคนทำงานให้คุณอาจอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ Software เก่งพอว่าจะรู้ว่าอยู่ที่ไหน

• สร้าง Software เพื่อการทำงานเป็น Process

วิธีการสร้าง Software Service

• ศึกษาขั้นตอนการทำงาน

• ถ่ายทอดเป็น Service

• ศึกษาอันไหนเป็นตัวเก่าใช้ได้ อันไหนเป็นตัวเก่าใช้ไม่ได้

• วิธีการถ่ายทอดระบบ นำขั้นตอนที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ มาถ่ายทอดเป็น Service

2 ขั้นตอนหลัก

1. นำคนที่รู้เทคโนโลยีไปนั่งอยู่กับคณะทำงาน ถ่ายทอดเป็น Service

2. นำของเก่าไปบวกกับ พ่อครัว หรือหมอ ว่ามีอย่างไร ถ้าไม่มีก็เขียนใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลา

ข้อมูล

• ข้อมูลเป็นผลจากการทำงาน นำมาใช้อะไรก็ได้ เป็น Information ทั้งสิ้น

• สร้างบริกรที่รู้ข้อมูลเจาะจงเฉพาะเรื่อง

• สร้างความชำนาญเฉพาะด้านของบริกร เพื่อให้นำเสนออย่างง่ายดาย

สรุป

• Information Centric

• Process Centric

• ทำยังไงถึงให้เอา Tacit Knowledge มา Share

• User Driven คือตัวใช้ โดยคนเป็นคนใช้

• Networking สร้างระหว่างชุมชนขึ้นมา

• Power ของการทำงานร่วมกัน

• ตลาดสินค้าที่ใหญ่ที่สุดคือตลาดที่ตรงตามความต้องการของคน แบบลักษณะ Customization

• ธุรกิจในวันนี้ต้องทำตลาด personalize ให้ได้ ปัญหาคือ Fixed Cost เราต้อง Eliminate Fixed Cost หรือ Shared Fixed Cost เปลี่ยนเป็น Variable Cost ให้หมด

• ทำยังไงถึงลด Fixed Cost ได้

อ.ลักขณา จำปา

Brand นั้นสำคัญไฉน ?

• คือภาพที่เห็นโดยรวม ที่คนรู้สึกถึง Perception ที่รับรู้

• การแต่งตัวก็เป็นการสร้าง Brand อย่างนึง

• การเลือกสีก็เป็นการสร้าง Brand อย่างนึง เช่น ไทยพาณิชย์ สีม่วง เหลือง กสิกรใช้สีเขียวเป็นต้น มีการสร้างมนุษย์ตัวเขียว

• การสร้าง Brand คือการสร้างความแตกต่าง เพื่อ Outstanding

• Brand เป็นการสะสม Perception ของผู้บริโภค

• การสร้าง Brand เป็นสินทรัพย์ ต้องลงทุน เพราะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยตัวของเขาเอง

• สร้าง Brand ก็สร้างมูลค่าขึ้น

ผู้นำ

• Change Agent/Leader - Change we can ทำดีอยู่แล้วทำ ไม่ดีก็เปลี่ยน

• Visionary / Pathfinder Leader

• Inspiration Leader สร้างแรงจูงใจให้ทำงาน

• Enabling Leader สร้างเสริมศักยภาพและพัฒนาลูกน้องให้เก่ง

• Coach & Mentor Leader สอนงาน และให้คำปรึกษา

• Distributed Leader เป็นนักสร้างผู้นำ แจกจ่ายงาน

• Learning Organization Leader เป็นนักสร้างองค์กรการเรียนรู้ เรียงลำดับ ผู้นำที่ดีจะพูดดี คือ มีจังหวะ มีเนื้อหา แบบ Grouping เข้าใจเป็นขั้นตอน

• Life-long Learner Leader เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค

• Empowering Leader มอบอำนาจการตัดสินใจ

• Networking Leader นักสร้างเครือข่าย

• Aligning Leader เป็นพวกนักจัดวางทรัพยากร ศักยภาพของทรัพยากรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มอบหมายให้ถูกคนถูกงาน นำของเก่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

• Quality oriented Leader พัฒนาคุณภาพ

• Moral/Ethical Leader

• Organizational/Culture Leader เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้น่าอยู่

• Ensuring Leader นักพัฒนาคน

• EQ Leader นักสร้างความฉลาดทางอารมณ์

• Participative นักบริหารความมีส่วนร่วม Lobby คนเป็น Opinion Leader ในกลุ่มต่าง ๆ หาแนวร่วมที่มีพลัง

• Facilitative Leader ผู้นำที่เอื้ออำนวยสิ่งต่าง ๆ

• Instructional Leader เป็นการบริหารนักวิชาการ จ้ำจี้จ้ำไช กับลูกน้อง

• Steward Leader ให้การดูแล เอาใจใส่

• Servant Leader คือการบริการ

Change

มี Dimensions อย่างไรบ้าง

Change Management เปลี่ยนการบริหารที่เปลี่ยนไป

Task Management

People Management เปลี่ยนคนให้เหมาะกับงาน

เราต้องรู้จักองค์กรของเราตรงนั้นว่ามีปัญหาอย่างไร เหมือนทำ SWOT

1. Fact & Figure

2. Create นวัตกรรมใหม่ ๆ

3. ใช้กลยุทธ์ทางด้านการสื่อสาร

4. สรุปและประเมินผล

นำ การตลาด การบริหาร กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ มาจับ

1. ทำ SWOT

2. ทำวิสัยทัศน์ให้โดดเด่น และแตกต่างจากคู่แข่ง

3. สร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาเป็นนวัตกรรมทางการตลาด

4. การบริหารเปลี่ยนใหม่ บุคคลเปลี่ยนใหม่ ฝ่ายไหนไม่เข้มแข็งเอาทีมใหม่เข้ามา

5. อะไรก็ได้ที่ต้องมีความรู้ สนุก และRating ดี

Vision

Innovation

Mission

Communication

ช่วงการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกต้อง Criticize แต่เมื่อวิจารณ์แล้วต้องมั่นคง ไม่ไหวหวั่น

ชนิดการสื่อสาร

• Pro-Active เป็นการ PR แบบเชิงรุก

• Re-Active เป็นการ PR แบบเชิงรับ เช่น ถ้ากระทรวงจัดงานขอให้จัดนิทรรศการเราก็ไป ไปตามน้ำ แต่เราไม่ได้รุกว่าเราจะทำอะไรขึ้นมา

• Offensive เป็นการ PR แบบตอบโต้เชิงก้าวร้าว เป็นการ Discredit แบบตรงข้าม โยนสิ่งไม่ดีใส่คนอื่น

สมัยใหม่นิยมทำ Pro-Active

• เป็นการทำ PR สมัยใหม่

• เน้นทำ PR แบบ เชิงรุก

• ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุ

• ชี้แจงก่อนได้เปรียบ

โฆษณาเชิงประชาสัมพันธ์

• จะใช้บุคคลที่ 3 มาพูด หรือจะทำอะไรแล้วมีความรู้สึกว่าคนนี้ทำดีจังเลย แล้วรู้สึกถึงการเป็นตัวแทน

• การสื่อสารต้องทำเรื่องยากเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายให้ได้

สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ คือ สั้น ง่าย ได้ใจความ

Public / Audience

• Shareholders

• Government

• Consumers

• Employees

• Media

Prepare for the worst looking for the Best

เราจะสร้าง Branding อย่างไร

1. People Change

2. สร้างโอกาสสามารถแข่งขันได้

3. สร้างตลาดใหม่ หรือ Need ให้คนเห็นว่า มีความจำเป็นต้องใช้เรา

ปัญหาของกรมวิทยาศาสตร์ คือทำทุกด้าน เก่งทุกด้าน แต่สร้าง Brand เราจะสร้าง Brand ไปทางไหน

• ต้องรู้ให้ได้ว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหาอยู่ที่คน แก้ที่คน ปัญหาอยู่ที่ระบบ แก้ที่ระบบ ปัญหาอยู่ที่งบ แก้ที่งบ

• อันดับแรกต้องคิดว่าได้ก่อน ทำให้ได้แล้วมุ่ง Focus ไป คิดว่าได้แล้วเริ่มที่จะทำ

• เริ่มจากจุดไหนแล้วแต่ ก็เริ่ม แล้วเราต้องช่วยกัน

• เราต้องดูว่าอะไรเป็นส่วนใหญ่ที่สุดของเรา ได้สรุปว่า เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ทดสอบเป็นหลัก

การสื่อสารทางการตลาด คือ

เป็นเส้นตรงเส้นหนึ่ง

• Above the line คือ เห็นได้ว่าการฉีดเงินไปเท่าไหร่

• Below the line คือ การจัดประชาสัมพันธ์ การแถลงข่าว การให้ผู้ใหญ่ไปพูด การจัดกิจกรรมพิเศษ จัด Event งานสถาปนาครบรอบ 118 ปี

• ขายว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะองค์กรใหญ่ เราสามารถบอกได้ว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์และทดสอบ

บทบาทของการสื่อสาร

• คือ การ Monitor และ Evaluate ว่าเราเป็นยังไง ก่อนสื่อสารต้องรู้เราก่อนว่าเราเป็นยังไง เขาต้องรู้จักเราก่อน

ฟังรายการ คุณลักขณา จำปา

www.mcot.net

Modern Radio FM.100.5 MHz สีสันชีวิต

ถาม

การสร้างตัวเองออกไปข้างนอก

การสื่อสารกลับมาในองค์กร ณ วันนี้ทุกระดับทราบหรือยัง เนื่องจากเรามีแผนเรื่องการประชาสัมพันธ์ แต่คนที่จะรักษาภาพลักษณ์คือทุกระดับงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เราจะกระตุ้นให้เขาอย่างไร

ตอบ ทุกคนสร้างได้ แล้วมีใจพร้อมที่จะไป ปัญหาและอุปสรรคมีไว้แก้

ถาม

กรมวิทยาศาสตร์บริการควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ทางเทคนิคกับการสร้าง Brand ไปสู่เป้าหมายที่ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ และทดสอบ

ตอบ

• นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ต้องรู้เรื่องสื่อสารและการตลาด

• ในอนาคตน่าจะมีเพิ่มฝ่ายการตลาดขึ้นมา

• เอาคนทำมาเรียนรู้เรื่องการตลาดง่ายกว่า เอานักตลาดไปเรียนรู้เรื่องเทคนิค

• ทำสินค้าแล้วดูว่าสินค้าอะไรโดดเด่นแล้ววางกลยุทธ์ตรงนั้นมา ดู Tools การสื่อสารด้านบน

• วางแผนและปฏิบัติตามแผน และประเมินผลให้ได้

• ทำทั้งหมดเพื่อให้ได้ความไว้วางใจ

ดร.มนตรี จุฬาวัฒนฑล

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

• เศรษฐศาสตร์กับการแข่งขันของประเทศเกี่ยวพันกัน

• เรายืนเฉย ๆ เหมือนการถอยหลัง

• เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทำยังไง มีวิธีบริหารยังไง จากแนวคิดใหม่ ๆ

• Innovator

• วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน

• ตัวเลขในการลงทุน เอกชนลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ เกือบใกล้เคียงของรัฐ

• กำลังพลเพียงพอหรือไม่

• วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในโครงสร้างพื้นฐาน ถ้าแข็งแรงก็จะทำได้มาก

• กฎหมายไม่ข้ามประเทศกันแต่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ

• เริ่มต้นด้วยความมั่นคง จบด้วยเชิงพาณิชย์

• อินเตอร์เน็ตทำให้เราเห็นอะไรหลายอย่างที่เป็นผลพวงในเชิงพาณิชย์

• Search engine ใช้ในการหาข้อมูลทุกอย่าง

• พ.ร.บ.วิทยาศาสตร์ ทำให้รู้ว่าพละกำลังอยู่ที่ไหนบ้าง

• Biotech , GMO เข้ามาช่วยได้มาก

• GMO ประเทศที่มีเจ้าของเทคโนโลยีใช้แน่ ประเทศที่มีการแข่งขันใช้

• ผลประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยี Supplier คนที่ได้จริง ๆ คือชาวไร่ชาวนา

เมืองไทยควรหรือไม่ควรส่งเสริม GMO

• ไทยไม่ควรมี GMO ของข้าวเนื่องจากเป็นเบอร์ 1 ของไทย ถ้ามีคนอื่นมาCopy ทำให้ข้าวไทยราคาตก

• มีนักวิจัยพบเด็กแถวบังคลาเทศสายตาเสียเยอะเพราะขาดวิตามินเอ

• คนบังคลาเทศจะมีข้าวกินที่มีวิตามินเอด้วย

• ความนิยมทำให้เกิดความสำเร็จ

• GMO ทำให้เราเก่งขึ้นในบางเรื่อง

• ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นหลัก

• อุตสาหกรรมเคมี คนไม่ค่อยชอบ สิ้นเปลืองมาก เป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างสกปรก เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพมากขึ้น

แสดงความคิดเห็นเรื่อง Innovation แล้วสู่ Project ที่จะทำ

 หลักสูตรทั้งหมดเป็นพื้นฐานพัฒนาความรู้มากมาย

 การ Share การ Tasting ก่อให้เกิดการ Networking ซึ่งกันและกัน

 เวียดนาม ภูฎาน ลาว เราสามารถถ่ายทอด ทำ Networking และทำธุรกิจที่ต่างประเทศได้ แต่ปัญหาติดอยู่ที่งบประมาณ และเงิน

 โดยสรุปเห็นด้วยกับการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ

 ความชัดเจนระดับความสำเร็จควรตั้งที่ระดับไหน

 การเลือกกลุ่มเป้าหมาย แนวทางการประเมินผลและติดตามเป็นอย่างไร

 การให้บริการและผลิตสินค้า เพื่อขายได้ด้วย การรู้จักกับบุคคลหลากหลายอาชีพกับส่วนที่เราขาดเป็นการเสริมกันได้เป็นอย่างดี

 การจัด Forum ที่ห้องสมุดทุกวันศุกร์

 การอ่าน Newsletter พยายาม Promote ในหลาย ๆ สื่อ

 โครงการร่วมกับลาวเป็นโครงการที่ดี แต่ไม่มั่นใจว่าจะติดขัดกับงบประมาณหรือเปล่า

 การไปครั้งแรก เลือกตัวแทน หรือ อาสาสมัคร อาจออกค่าใช้จ่ายส่วนตัว

ดร.จีระ

 กลุ่มหนึ่งน่าจะมาจากเอเชีย อีกกลุ่มน่าจะมาจากตะวันออกกลาง และแอฟริกา

 ความสำเร็จอยู่ที่งบประมาณไทยที่จะให้ประเทศอื่น ต้องบอก Specification ว่าคนที่เข้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่มี อีกส่วนมาจาก Exporter เราได้เรียนรู้จากเขา แล้วเขาก็ได้เรียนรู้จากเราด้วย

 มูลนิธิฯ จะเข้ามาช่วยด้วย ต้องมีการทำ Project Proposal ไป และ Maximum 2 อาทิตย์ ควรพาไปต่างจังหวัดด้วย

 ถ้าเบื้องต้นทำสำเร็จ ทำแทน UNDP หรือ UNESCO ได้

 ปีหน้า มูลนิธิฯ ทำเรื่องทรัพยากรมนุษย์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถมาร่วมได้ เป็น Benchmark ให้เรา

 ความต่อเนื่อง กับความสัมพันธ์ที่ดีจะเป็นตัวตัดสิน Habit การเป็น Learning Culture ในห้องนี้ เหลืออีกนิดเดียว

 ความมุ่งมั่นในการเอาชนะอุปสรรค เป็นเรื่องดี

 การพัฒนาชนบทกับ Science and Technology

 ห้องสมุดต้องเอา Outsider จากข้างนอกมาด้วย ต้อง Fresh ทันเหตุการณ์ Up to date กำหนด Target มี Coffee Corner

 วิทยุได้เปรียบ แม้ว่าเช้ามาก แต่ก็มีคนฟัง

 จัดแล้วออก TV เพื่อเป็นที่บันทึกเทปของอาจารย์ด้วย

 ภาวะผู้นำ คือ บุคลิก การเรียนรู้ ประสบการณ์ การมีเหตุมีผล การแสดงออก จะเปลี่ยนแบบ Permanent หรือ ค่อย ๆ เปลี่ยน

 การไปลาว ให้อาจารย์จีระประสานเรื่องการดูงาน กำหนด Timing

 ทำลักษณะ Counterpart Fund ขอกรมวิทย์ฯ เขียน Program การเยี่ยมเยียน กระทรวงวิทยาศาสตร์ของเขา ใช้รถไฟ หลังจากวันที่ 5 ก.พ. ค่าใช้จ่ายจะถูก

 รู้ Need ของเขาว่าเขาต้องการอะไรทางด้านวิทยาศาสตร์ และทำการประเมินผล

สวัสดีค่ะ

ก่อนอื่นขอขอบพระคุณท่านอธิบดี ปฐม ที่ได้สร้างโอกาสดีๆ ให้แก่บุคลากรใน วศ.ได้พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ด้านบริหาร ท่าน อ.จิระ ที่ได้ทุ่มเทในการสอนพวกเราอย่างเต็มที่ และ ท่าน ผอ.จรรยา ที่ได้อนุญาตให้เข้าอบรม หก.จว.สุพรรณี และ ทุกๆ ท่านที่ได้สนับสนุนในการเข้าอบรมครั้งนี้ค่ะ

การอบรมครั้งนี้ ได้รับความรู้หลายด้าน บางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น เรื่องเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ แต่หลังจากอบรม ทำให้ได้รับความรู้และมีความเข้าใจมากขึ้น ทำให้อยากที่จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น ความรู้ แนวการคิด และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการอบรม จะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นต่อไปค่ะ

many thanks for wishing me birthday.i felt very happy

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ

สิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาคนคือสร้างให้คนมี Power of ideas หรือพลังของความคิด ทั้งนี้เนื่องจากปัจุบันเงินลงทุนไม่ใช่สิ่งที่ขาดแคลน แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือความคิดดีๆ แม้กระทั่ง UNCTAD เอง ยังได้ให้นิยามของเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็น “แนวคิดที่พูดถึงศักยภาพในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative assets) เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เอื้อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และเพิ่มยอดการส่งออก ขณะเดียวกันก็รวมถึงการการมีส่วนร่วมทางสังคม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย” นอกจากนี้ UNCTAD ยังได้ให้คำจำกัดความของอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็น วงจรของการสร้างสรรค์การผลิต การจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีปัจจัยหลักความคิดสร้างสรรค์และทุนทางปัญญา (intellectual capital)

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมย์

ก่อนอื่นพวกเราขอกราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่อวยพรให้เดินทางไปทัศนศึกษา ณ ประเทศเกาหลี ให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ทางสถานีวิทยุ 96.5 FM เมื่อเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 และ พวกเรา ก็ขออารธนาคุณพระศรีรัตนไตร จงปกปักษ์รักษาให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อจได้มีพละกำลังอันยิ่งใหญ่ที่จะได้สร้างทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

ระบบค่าตอบแทนในศตวรรษที่ 21

ระบบค่าตอบแทน เป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากองค์กรในยุคปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม องค์กรก็จำเป็นต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอดเฉกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ที่ทำงานให้องค์กรย่อมต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย

เมื่อองค์กรเกิดการแข่งขันกันอย่าดุเดือด ความเร็ว จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่หลายองค์กรเลือกใช้ ดังนั้น การที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ววิธีหนึ่งคือการปรับองค์กรให้เตี้ยลง คือให้มีระดับการบังคับบัญชาให้สั้นลง ดังนั้นคนจึงต้องมีอำนาจและหน้าที่มากขึ้น (empowerment) ดังนั้น Job description ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 จึงต้องการคนที่มีความคล่องตัวสูง ทำงานได้หลายหน้าที่ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังเป็นคนที่ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ระบบค่าตอบแทนจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายนักบริหารและนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากระบบค่าตอบแทนยังไม่ตอบสนองต่อการเลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดสมองไหลในวงราชการ หรือ บุคคลชั้นดีถูกดึงตัว หรือซื้อตัว

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

จากการไปดูงานที่เกาหลีทำให้ได้ทราบว่าหลายท่านในผู้อบรมรุ่นที่ 3 ไม่เข้าใจเกี่ยวกับรังสีและสารกัมมันตรังสี จึงอยากแบ่งปันข้อมูลด้านนี้ให้ทราบ

รังสีกับสารกัมมันตรังสีเป็นคนละคำคนละความหมาย แต่มีความเกี่ยวพันกัน รังสีเป็นสิ่งที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดไปทุกทิศทุกทาง อาจจะเปรียบว่าเป็นพลังงานคล้ายกับความร้อน หรือแสง แต่คนละความยาวคลื่น

รังสีเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสใดๆ แต่มันสามารถทำร้ายเนื้อเยื่อ/เซลล์ได้ สิ่งที่จะบอกได้ว่ามีรังสีในบริเวณนั้นๆ ก็คือเครื่องวัดรังสี มีหลายชนิด ที่รู้จักกันดี เช่น แอลฟา บีตา แกมมา เอกซ์ และ นิวตรอน ต้นกำเนิดรังสีของรังสีมี 2 แบบ คือ เครื่องมือ เช่น เครื่องเอกเรย์ และ จากสารกัมมันตรังสี (หรือ ไอโซโทปรังสี หรือ นิวไคลด์กัมมันตรังสี)

รังสีเอกซ์เกิดจากการเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงหรือกล่าวอีกแบบคือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แล้วทำให้มันหยุดอย่างกะทันหัน พลังงานที่มีก็จะกลับกลายเป็นรังสี รังสีที่เกิดจากเครื่องกำเนิดรังสี สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้มีพลังงานเท่าใด ปริมาณมากน้อยเพียงใด วิธีการควบคุมไม่ให้ออกมาเกะกะเพ่นพ่านในยามที่ไม่ต้องการก็แสนง่าย คือ ไม่กดสวิตช์ก็ไม่มีกระแสไฟ เมื่อไม่มีกระแสไฟไหลครบวงจรเครื่องมือก็ไม่ทำงาน และเมื่อเครื่องมือไม่ทำงานก็จะไม่มีรังสีแผ่ออกมาจากเครื่องมือเหล่านี้

ส่วนสารกัมมันตรังสี เป็นแร่ธาตุที่สามารถแผ่รังสีออกไปรอบๆ ตัวของแร่ธาตุนั้นๆ สารกัมมันตรังสีจะมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และมนุษย์ผลิตขึ้นใช้ มีอยู่ทุกสถานะ ทั้งของแข็ง ของเหลวและ ก๊าซ สามารถแผ่รังสีออกไปรอบๆ ตัวของแร่ธาตุนั้นๆ สารกัมมันตรังสีแต่ละชนิดมีจะการสลายตัวให้ชนิดของรังสีและพลังงานของรังสีแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าครึ่งชีวิต แตกต่างกันด้วย เช่น ซีเซียม-137 แผ่รังสีแกมมาพลังงาน 662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ และบีตาพลังงานสูงสุด 511กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ค่าครึ่งชีวิต30.22 ปี ส่วนโคบอลต์-60 แผ่รังสีแกมมาสองพลังงานคือ 1.17 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ กับ 1.33 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ค่าครึ่งชีวิต 5.30ปี และบีตาพลังงานสูงสุด 318 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว การวิเคราะห์ชนิดของสารกัมมันตรังสีจึงทำได้ด้วยการตรวจชนิดของรังสีที่แผ่ พลังงาน และ ครึ่งชีวิต เป็นเรื่องแปลกแต่จริงว่า มนุษย์สามารถผลิตสารกัมมันตรังสีได้ แต่ไม่สามารถทำลายมันได้ สารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ตายไปเองทีละน้อยๆ ตามครึ่งชีวิตของมัน สิ่งที่เราสามารถทำได้คือการควบคุมไม่ให้มันเกะกะเพ่นพ่าน ถ้าเปรียบสารกัมมันตรังสีเป็นผีแม่นาค ก็ต้องจับเก็บใส่หม้อไม่ให้ออกมาหลอกหลอนผู้คน แต่วัสดุที่ใช้ทำหม้อ(เครื่องกำลังรังสี) จะแตกต่างกันจึงจะสามารถสยบความดุร้ายชองผีแต่ละชนิด เช่น ตัวที่ให้แกมมาจะใช้ตะกั่วเป็นเครื่องกำบัง ตัวที่ให้บีตาใช้พลาสติกหรืออลูมีเนียม ส่วนนิวตรอนใช้คอนกรีตหรือพาราฟิน ความหนาของหม้อก็แล้วแต่ว่ามีฤทธิ์(พลังงาน)แก่กล้ามากแค่ไหน จำนวนมากน้อยเท่าไร

ปกติสารกัมมันตรังสีจะถูกเก็บไว้มิดชิต เมื่อจะใช้งานจึงจะปล่อยให้มันแผ่รังสีออกมาสู่บริเวณที่ต้องการใช้ พอใช้เสร็จแล้วก็นำกลับเข้าไปเก็บไว้ตามเดิม อันตรายของสารกัมมันตรังสีอยู่ที่การถูกปล่อยให้เพ่นพ่านโดยไม่ได้มีการควบคุม เช่นเหตุการณ์ที่เกิดที่สมุทรปราการ สารกัมมันตรังสีนั้นถูกเก็บไว้ในวัสดุกำบังอย่างมิดชิด แต่เพราะความโลภของคน ที่ต้องการนำหม้อกักแม่นาคไปขาย จึงทำให้แม่นาคหลุดออกไปหลอกหลอนทำให้มีผู้เสียชีวิต จนหมอผี(เจ้าหน้าที่ปรมาณูเพื่อสันติ)ไปจับใส่ในหม้อใบใหม่

ดังนั้นการนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการจึงไม่ได้ทำให้ห้องนั้นมีการเปรอะเปื้อนสารรังสี เว้นแต่สารกัมมันตรังสีที่ใช้อยู่ในสถานะของเหลวและก๊าซ และมีการควบคุมที่ไม่ดีทำให้ต้นกำเนิดรังสีเล็ดลอดออกจากภาชนะที่กักเก็บ จึงมีการเปรอะเปื้อนแล้วแผ่รังสีไปทั่วบริเวณที่มันอยู่

ขอแบ่งปันข้อมูลการดูงานที่ KRISS ที่เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการด้านสารกัมมันตรังสี ซึ่งผู้ร่วมดูงานในคณะของเราส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานด้านนี้ อาจไม่เข้าใจว่าทาง KRISS ทำอะไร เพื่ออะไรให้ได้รับทราบกัน

คณะของเราได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ต่างๆ ดังนี้

1.การวัดปริมาณรังสีที่มีในสารกัมมันตรังสี (Absolute activity) เจ้าหน้าที่จะนำสารกัมมันตรังสีที่ต้องการทราบปริมาณไปจัดเตรียมตัวอย่างในห้องเตรียมตัวอย่าง การแบ่งตวงตัวอย่างทำในตู้ดูดควัน ซึ่งภายในมีการติดตั้งอุปกรณ์กำบังรังสีกั้นระหว่างตัวผู้ปฏิบัติงานกับสารกัมมันตรังสี เพื่อลดปริมาณการได้รับรังสีของผู้ปฏิบัติงาน ขนาดของตัวอย่างจะได้รับการตรวจสอบให้ความถูกต้องด้วยเครื่องชั่งที่มีความละเอียดระดับไมโครกรัม เครื่องชั่งถูกจัดวางไว้ในห้องที่มีการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ

ตัวอย่างที่ได้รับการตรวจชั่งน้ำหนักแล้วจะถูกนำไปวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องวัดรังสีที่มีความเหมาะสมกับชนิดของรังสีที่ต้นกำเนิดรังสีนั้นสลายตัวให้ เช่นสารที่สลายตัวให้ทั้งบีตาและแกมมา จะถูกนำไปนับวัดปริมาณรังสีด้วยระบบวัดที่มีหัววัดรังสีชนิด proportional (สำหรับวัดบีตา) และหัววัด NaI (สำหรับวัดแกมมา) ติดตั้งไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถวัดรังสีทั้งสองชนิดได้พร้อมๆ กัน ระบบการวัดที่ KRISS ใช้ จะสามารถวัดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมารอบตัวอย่าง ทำให้ได้ค่าปริมาณรังสีในลักษณะที่เรียกว่าเป็น absolute activity โดยสารนี้จะใช้เป็น primary reference standard เมื่อมีหน่วยงานอื่นๆ ส่งตัวอย่างมาให้ตรวจสอบจะเทียบเคียงผลกับ primary reference standard ของ KRISS ค่าที่ได้จึงเป็น secondary reference standard หน่วยงานที่ส่งสารกัมมันตรังสีเหล่านั้นจะใช้ secondary reference standard เพื่อนำไปสอบเทียบสารกัมมันตรังสี และสอบเทียบเครื่องมือวัดรังสีต่อไป

นอกเหนือจากห้องที่ติดตั้งระบบวัดรังสี เตรียมตัวอย่างและเครื่องชั่งยังได้มีโอกาสชม

- ระบบการวัดรังสีชนิด low background counting system เนื่องจากในสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรามีรังสีและสารกัมมันตรังสีอยู่ หากไม่ทำการกำบังรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ จะทำให้ผลการตรวจวัดมีความผิดพลาด โดยเฉพาะตัวอย่างที่มีปริมาณรังสีระดับต่ำๆ ความผิดพลาดจะสูงมาก จึงต้องมีการออกแบบระบบการวัดไม่ให้รังสีจากภายนอกเข้าไปรบกวนระบบการวัด เจ้าหน้าที่ของ KRISSได้พัฒนาระบบการวัดเพื่อกำบังรังสีจากสิ่งแวดล้อมขึ้นใช้เองในหน่วยงาน

2. การตรวจวัดการทำร้ายด้วยรังสีของสารกัมมันตรังสี (Dosimetry)

เนื่องจากความเข้มข้นของรังสีลดลงตามระยะห่างจากต้นกำเนิดรังสีที่เพิ่มขึ้น การถูกทำร้ายด้วยรังสีที่ระยะห่างแตกต่างกันจึงแตกต่างกันไป นอกเหนือจากปริมาณของสารกัมมันตรังสีที่มีแล้ว ต้นกำเนิดรังสีที่ใช้เป็น สารมาตรฐานสำหรับการปรับเทียบจะต้องนำไปใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือสำรวจรังสีที่ใช้ในห้องปฏิบัติงานทางรังสี/การปฏิบัติงานทางรังสี ว่ายังสามารถตรวจวัดได้ถูกต้องดีหรือไม่เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ความถี่ของการสอบเทียบเครื่องมือสำรวจรังสีตามข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานคือต้องได้รับการสอบเทียบปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นสารกัมมันตรังสีที่เป็น reference standard จึงต้องนำมาตรวจสอบ dose ที่วัดได้ที่ระยะห่างต่างๆ จากต้นกำเนิดรังสีด้วย

ระบบเครื่องมือที่ใช้ของห้องปฏิบัติการด้าน dosimetry ของ KRISS จะมี 2 ระบบ สำหรับตรวจสอบ primary standard และ สำหรับ secondary standard สามารถเลื่อนปรับระยะห่างได้ละเอียดมาก ความถูกต้องสูง ระบบสำหรับการตรวจสอบ primary standard จะสามารถปรับเลื่อนระยะได้ละเอียดกว่าของ ระบบสำหรับตรวจสอบ secondary standard

3.ห้องทดลองด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดปริมาณรังสีของสารกัมมันตรังสีที่ใช้งานทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Radioisotope Dose Calibrator) เครื่องมือชนิดนี้จะมีปุ่มเลือกชนิดของสารกัมมันตรังสีที่ต้องการตรวจวัด เช่นเรามีไอโซโทป 131 ของไอโอดีน (I-131) และต้องการทราบว่ามีอยู่ปริมาณเท่าไร ก็นำภาชนะที่มีสารกัมมันตรังสีนั้นบรรจุอยู่หย่อนลงในหัววัดรังสี กดปุ่มเลือก I-131 ค่าปริมาณรังสีก็จะแสดงออกมาที่จอแสดงผลบนตัวอุปกรณ์อ่าน/วิเคราะห์ผล ซึ่งปุ่มชนิดของสารกัมมันตรังสีบนเครื่อง Radioisotope Dose Calibrator จะมีให้เลือกมากมาย จึงต้องมีการสอบเทียบทุกปุ่มว่าอ่าน/วิเคราะห์ผลได้ถูกต้อง เนื่องจากสารกัมมันตรังสีที่นำมาตรวจวัดด้วยเครื่องมือนี้จะนำไปให้ผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัย/รักษาความป่วยไข้ หากได้รับน้อยไปคนไข้ก็จะได้รับรังสีโดยไม่มีประโยชน์ตามที่ต้องการ แต่ถ้าได้รับมากเกินที่ต้องการก็จะได้ของแถมเกินความจำเป็นซึ่งของแถมแบบนี้เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ห้องปฏิบัติการนี้ของ KRISS มีจุดประสงค์เพื่อจัดทำวิธีการสอบเทียบเครื่องมือชนิดนี้

คิดว่าข้อมูลเหล่านี้คงเป็นประโยชน์ต่อชาวรุ่น 3 และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม web ทุกท่าน

กราบเรียน อาจารย์ จีระ และเพื่อนๆ ทุกท่าน

หลังจากที่กลับจากเกาหลี รู้สึกว่าทุกคนคงติดภารกิจกับงาน มีเพียงป้อมเท่านั้นที่ได้เข้ามา

ให้ความรู้กับพวกเรา ขอบคุณป้อมมากค่ะ และขอบคุณ อัญฯ ด้วยค่ะที่ส่งข่าวสารให้

ณ ขณะนี้ รู้สึกเลยว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 มีเจ้าของธุรกิจหนุ่มคนหนึ่งได้เข้ามาเยี่ยมกรมวิทยาศาสตร์บริการ และเขาได้เล่าถึงความสำเร็จในการที่สร้างธุรกิจของตัวเองได้ด้วย อายุเพียง 29 ปี ซึ่งแนวคิดที่นำมาใช้สร้างการสร้างนวัตกรรมในสินค้าของตนเอง จึงทำให้ธุรกิจโดขึ้นอย่างรวดเร็ว และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถเกิดการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาคนให้มีส่วนร่วมในองค์กร และทำให้บุคลากรในองค์กรรู้สึกว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของตน จนทำให้ทีงานซึ่งเป็นน้องใหม่ในหน่วยงานมีพลังเพิ่มขึ้น

ณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ

จากการได้มีโอกาสไปดูงาน ณ สถาบันวิจัยด้านอาหาร(KFRI) ห้องปฏิบัติการทดสอบ (KTL)และสถาบันมาตรวิทยา(KRISS)ของประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เห็นความก้าวหน้าทั้งระบบ อาคารสถานที่ปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เครื่องมือวิทยาศาสตร์ บุคลากรซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก และงบประมาณส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน งบประมาณส่วนหนึ่งจึงได้มาจากภาคธุรกิจ

ได้ถามกับตัวเองว่า ทำไม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศเกาหลีใต้จึงพัฒนามากกว่าประเทศไทย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มากกว่า ภัยธรรมชาติก็น้อยกว่า เมื่อได้พิจารณาอย่างใคร่ครวญถึงปัจจัยต่างๆ ทำให้ได้คำตอบว่า คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด นอกจากนั้นการให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สามารถนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง และประการสุดท้ายคือความรักชาติ และชาตินิยมของประชากรชาวเกาหลีใต้ เช่นการใช้สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศของตัวเอง เป็นต้น

ดังนั้น วศ. คงต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีพร้อมในทุกๆ ด้าน และต้องช่วยกันให้ความสำคัญและสนับสนุนการศึกษาของลูกๆ ให้ถึงระดับปริญญาเอก และปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน สังคม และประเทศชาติ ไทยทำไทยใช้

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

กลับจากเกาหลีก็ยังไม่ทันได้เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้แต่อ่านข้อคิดเห็นของเพื่อนและน้องๆ ก็พอดีต้องเดินทางไปไต้หวันและกลับมาถึงเมื่อคืนตอนดึกค่ะ ดีใจที่พวกเรายังมีการติดต่อกันอยู่อย่าลืมนะคะเรายังมีงานที่ต้องทำต่ออีกหลายเรื่อง เรื่องแรกคือเขียนรายงานการดูงานที่เกาหลี เรื่องที่สองการร่วมงานกับโครงการของอาจารย์จีระ และเรื่องที่สามคืองานที่กลุ่มเราจะต้องทำคือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนที่จังหวัด สระบุรี และยังมีการไปดูงานที่ ปตท.อีกค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์

วันนี้ได้เข้าไปอ่าน blog ของกลุ่มผู้เข้าอบรมจาก Leadership Challenges from Asean + Bhutan ทำให้ทราบว่าทุกคนที่ได้เรียนกับอาจารย์ จีระ มีความรู้สึก appreciates อาจารย์มากๆ ความจริงตั้งใจจะเขียนลงใน blog นั้นด้วยแต่ติดว่าพยายามหาคำพูดดีๆได้ช้าก็เลยกลับมาเข้า blog ของกลุ่มตัวเองก่อน ขอขอบคุณและภูมิใจในตัวอาจารย์ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและเป็นที่ยอมรับของทุกคนที่ได้รู้จักค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนสมาชิกผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำ ฯรุ่นที่ 3 ทุกท่าน เนื่องจากจะมีการจัดดูงานภายในประเทศที่ ปตท. ในช่วงปลายเดือน มีนาคม จึงขอให้ทุกท่านพยายามจัดเวลาไว้นะคะ ถ้าทราบกำหนดวันที่แน่นอนแล้วจะส่งข่าวมาอีกครั้ง อย่าลืมเข้ามาใน blog ส่งข่าวกันบ้างค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

ขอบพระคุณอาจารย์ จีระ ที่จะร่วมเดินทางกับสมาชิกรุ่นที่ 3 ค่ะและขอแจ้งสมาชิกทุกท่านวันที่คาดว่าจะเดินทางไปดูงานที่ ปตท. ขณะนี้น่าจะเป็นวันที่ 26 มีนาคม 52 ค่ะ ขณะนี้กำลังรอการประสานงานกับ ปตท.ดังนั้นโปรดจัดวันว่างของท่านไว้นะคะและเพื่อนๆชาว blog กรุณาเข้ามาอ่านและส่งข่าวถึงกันด้วยค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

จากการที่ได้ไปราชการและดูงานที่ประเทศไต้หวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา จะขอเล่าสู่กันฟังเล็กน้อย ได้ไปดูงานที่ Taiwan Accreditation Foundation (TAF), Bureau of Food and Drug Analysis (BFDA) , Bureau of Standard Metrology and Inspection (BSMI) , National Science Park,Centre for Measurement Standards, Industrial Technology Research Institute (CMS), Industrial Technology Research Institute (ITRI), and Wei-Chuan Foods Corporation ลักษณะการทำงานของหน่วยงานทั้งหมดจะคล้ายๆกับที่เกาหลีคือมีการแบ่งการทำงานกันชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน มีบุคลากรที่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท เยอะมากและจะทำงานวิจัยกันทุกหน่วยงาน ห้องปฏิบัติการมีทั้งแบบเก่าคล้ายของ วศ. และแบบทันสมัยที่มีการจัดเครื่องมือไว้เป็นประเภท แต่ทุกห้องจะไม่มีกลิ่นของสารเคมีหรือกลิ่นวัตถุตัวอย่างที่วิเคราะห์เลยเพราะมีระบบการจัดการที่ดีมากของตู้เก็บสารเคมี และการระบายอากาศ อ่าน Vision of Hsinchu Science Park:Innovation for a better tomorrow ซึ่งก็ชัดเจนดีค่ะ ไม่ต้องเขียนอะไรที่เลิศหรูอลังการแต่ทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนอาจารย์ ดร.จีระและสมาชิกผู้เข้าอบรมภาวะผู้นำ ฯรุ่นที่ 3 ทุกท่านสรุปว่าวศ.จะจัดให้มีการไปดูงานที่ ปตท.และ ปส. ในวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 52 ค่ะ เนื่องจาก ปตท. มีแขกไปเยี่ยมชมตลอดและมีวันว่างคือ 27 เม.ย. และ 6-7 พ.ค. เท่านั้น ดังนั้นจึงได้ขอให้ประชาสัมพันธ์ วศ.แจ้ง ปตท. ว่าคณะเราจะไปเยี่ยมชมและดูงานวันที่ 27 เม.ย.ค่ะ กรุณาจัดเวลาว่างไว้นะคะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนสมาชิกทุกท่านหากมีเวลากรุณาเข้ามาส่งข่าวบ้างนะคะ จริงแล้วอยากหาโอกาสนัดคุยค่ะโดยเฉพาะสมาชิกจากหน่วยงานนอก วศ. ถึงโครงการที่จะไปลาวค่ะ คุณกันยา คุณภัทรา คุณแป๊ด คุณอ้อย คุณสมคิด คุณไพโรจน์ คุณสาธิตา(เมล์ถูกตีกลับตลอดค่ะ) ติดต่อไปบ้างนะคะเพราะพี่มีเบอร์โทรศัพท์ไม่ครบทุกคนค่ะ

วันชัย ชินชูศักดิ์(CWAN)

Dear Sir, Dr. Chira and staffs

Good morning... the head of Leadership management'The DSS course 3 and our training group

I am always keep in touch and I ve'read the message in our blog, I likes to join the PTT visiting program on 27 April 09. Thanks for your imformation.

see you next

Cwanchai

DSS

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 52 ได้อัดเทปเพื่อออกโทรทัศน์ ร่วมกันกับประธานรุ่น 1 และรุ่น 2 ก็พยายามตอบคำถามให้ตรงประเด็น ประเด็นคำถามที่ได้รับมอบหมายให้ตอบ 3 เรื่อง จากการอบรมภาวะผู้นำการบริหารจัดการด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือ

1.การเสริมสร้าง พัฒนาทักษะและความรู้แก่นักวิทยาศาสตร์ 2.ได้นำความรู้มาใช้ใน การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร และประเด็นสุดท้ายเรื่อง การสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร ก็ได้ใช้ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์หลายๆท่านและที่ได้นำมาปฏิบัติมาตอบ ก็คิดว่าคงไม่เชยนัก เอาไว้ออกอากาศเมื่อไรจะส่งข่าวมาค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนสมาชิกทุกท่าน ตามที่ได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี คณะของเราจะต้องทำรายงานเพื่อเสนอในวันมอบประกาศนียบัตร ตามที่เราเคยปรึกษากันไว้ก่อนออกเดินทาง พี่ขอทบทวนการจัดทำรายงานดังนี้ค่ะ

ที่ KFRI เกี่ยวกับด้านอาหาร ขอรบกวนให้คุณกันยา เป็นหัวหน้าทีมซึ่งประกอบด้วย คุณ นพมาศ คุณสาธิตา คุณศรีสุดา คุณแอ๊ม คุณยุทธนาพงษ์ คุณแป๊ด คุณภาณุพงษ์ คุณแต๋ว คุณธวัชชัย ที่ KRISS ขอมอบให้คุณภัทรา เป็นหัวหน้าทีม มีสมาชิกคือ คุณป้อม คุณวันชัย คุณรัชดา คุณสมคิด คุณไพโรจน์ คุณสุรัตน์ คุณบรรจงจิตร คุณอ้อย คุณจิ๋ว คุณภัคนัย และที่ KTL ขอรบกวนคุณณฐลมนต์ เป็นหัวหน้าทีม มีสมาชิกคือ คุณอังสนา คุณเกษร คุณ ณ ตะวัน คุณเบญจพร คุณชัยวัฒน์ คุณอัญญาดา คุณอนนท์ และดรุณี มีชื่อใครหายไปคะพี่ขอโทษและกรุณาช่วยกันจัดทำแล้วส่งเมล์ให้สมาชิกในกลุ่มดูกันนะคะ พี่หวังว่าในประมาณกลางเดือนหน้าคงจะส่งข่าวรายงานกันบ้างนะคะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

วันก่อนได้เข้าร่วมฟังข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริการของกรมวิทยาศาสตร์ ดร.นิลสุวรรณได้ให้ข้อคิดทีดีมากๆค่ะ อาจารย์บอกว่าการที่ซื้อเครื่องมือที่มีราคาสูงและเทคโนโลยีสูงด้วยเราจะต้องเตรียมที่จะตอบโจทย์อะไรไว้บ้าง พอสรุปได้ดังนี้คือ 1. สถานที่ที่จะติดตั้ง 2. ผู้ที่จะ Operate ซึ่งจะต้องมีความเชี่ยวชาญมาก 3. จะให้บริการได้วันละกี่ตัวอย่าง เพื่อให้มีความคุ้มค่า ซึ่งเรื่องนี้ต้องประกาศให้ผู้รับบริการทราบ 4. ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์เท่าไร 5. การซื้อเครื่องมือควรมีการวางแผนคิดแบบ Proactive มิใช่พอเกิดเรื่องแล้วถึงคิดซื้อเครื่องมือ นักวิทย์ฯจะต้องศึกษาค้นคว้า ติดตามข้อมูลทางวิชาการซึ่งจะนำมากีดกันทางการค้าโลกด้วย อาจารย์ ดร.มนตรี ให้คำแนะนำว่า การบริการของกรมวิทย์ศาสตร์บริการที่น่าจะยังไปได้ดีน่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่อง Green Technology ต่างๆเพราะโลกกำลังให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มาก และควรจะดำเนินการเฉพาะด้านที่มีศักยภาพสูงและมีความต้องการของลูกค้ามากๆ

คิดถึงทุกคนน่ะค่ะ

^-^

ติดตามผลงานอาจารย์จีระ ตลอดเลยด้วยค้า

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนสมาชิกรุ่นที่ 3 ทุกท่าน ในวันจันทร์ที่ 27 เม.ย. 52 นี้เรามีนัดดูงานที่ ปตท. วังน้อย และขากลับแวะดูงานที่ พป.พบกันที่กรมวิทยาศาสตร์บริการเวลา 07.30 น. แต่งกายสมาร์ทสวมเสื้อรุ่นด้วยค่ะ หวังว่าคงได้พบทุกคน มีเรื่องจะปรึกษากันด้วยค่ะ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

ดีใจมากที่สถานะการณ์บ้านเมืองสงบขึ้นแม้จะยังไม่น่าวางใจก็ตาม น่าแปลกใจว่าทำไมคนๆเดียวถึงมีอิทธิพลมากขนาดทำให้คนที่มีความรู้มีการศึกษา เป็นอดีต ส.ส. เป็นแพทย์ก็มี ยังยอมให้มีอำนาจสั่งการได้เหมือนกับไม่มีความคิดของตัวเอง ก็ขอให้พวกเราช่วยกันควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ เหมือนดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะคะ และคงต้องช่วยกันให้ความรู้ความจริงแก่ประชาชนพื่อความอยู่รอดของประเทศ

ดรุณี วัชราเรืองวิทย์ ประธานรุ่น 3

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพและเพื่อนร่วมรุ่นค่ะ

ขอเรียนเชิญอาจารย์และเพื่อนๆทุกคนร่วมงาน ประชุมเพื่อเสนอรายงานการฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากต่างประเทศ ในวันจันทร์ที่ 27 ก.ค.52 เวลา 14.00 น.-19.30 น. เพื่อเสนอสิ่งที่พวกเราได้รับจากการได้มีโอกาสอันดียิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Hero Model ที่มีความสามารถสูงมากในหลากหลายสาขาค่ะ และเป็นโอกาสที่ดีในการปะทะทางความคิดของเราอีกครั้งค่ะ

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญร่วมสัมมนา โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

 

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/352750

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท