การเรียนแบบโปรแกรม


การเรียนแบบโปรแกรม

บทเรียนโปรแกรม

หลักการสร้างบทเรียนโปรแกรม

หลักในการเลือกบทเรียนโปรแกรมมาใช้

บทบาทของครูในการใช้บทเรียนโปรแกรม

ประโยชน์ของบทเรียนโปรแกรม


บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction)

แต่เดิมนั้น บทเรียนโปรแกรมใช้ในความหมายของการเสนอสิ่งพิมพ์ในการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเเรียนแบบเอกัตบุคคล และในปี ค.ศ. 1954 สกินเนอร์ได้นำเอาอุปกรณ์การเรียนที่เป็นกล่องเล็ก ๆ ที่เจาะเป็นหน้าต่างอยู่ข้างบน ซึ่งจะปรากฏเนื้อหาบนกระดาษที่ม้วนรอบแกนหมุนผู้เรียนจะเลือกตอบคำถามหลังเนื้อหานั้น ถ้าเลือกคำตอบถูก กระดาษก็จะม้วนไปสู่เนื้อหาถัดไป

ต่อมาได้มีการนำเอาทฤษฏีเสริมแรงมาใช้ โดยให้การเสริมแรงเป็นคำตอบถูกต้องหลังคำถาม ต่อมามีการพัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องช่วยสอน (Teaching machine) และหลังจากเครื่องช่วยสอนได้ลดความนิยมลง บทเรียนโปรแกรมก็ถูกจัดทำมาในรูปของหนังสือ โดยการแบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบเรื่องย่อย ๆ และคำตอบที่ถูกต้องจะอยู่ในหน้าถัดไปจากเนื้อเรื่อง ต่อมาก็จัดทำโกดยให้กรอบเรื่องและคำตอบอยู่หน้าเดียวกัน แต่คำตอบที่ถูกต้องจะอยู่ด้ายซ้ายมืองกของกรอบเรื่องถัดไป ในการศึกษากด้วยตนเอง จึงต้องมีแผ่นกระดาษปิดเรื่องถัดไปและคำตอบที่ถูกต้องไว้ก่อน และค่อย ๆ เลื่อนกระดาษปิดไปเรื่อย ๆ โดยอ่านเรื่องและลองตอบคำถามดูแล้วจึงค่อยเลื่อนกระดาษดูคำตอบ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 กว่า ๆ ได้มีหลักเกณฑ์สำหรับบทเรียนโปรแกรม ซึ่ง Wilbur Schramm สรุปไว้ดังนี้

1. จัดเนื้อหาของสิ่งเร้าให้เป็นลำดับ

2. ให้กผู้เรียนตอบสนองในแนวทางที่เจาะจง

3. การตอบสนองของผู้เรียนนั้นให้มีกากรเสริมแรงโดยทันทีทันใด จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า knowledge of result

4.ให้ผู้เรียนได้เรียนเพิ่มขึ้นทีละน้อยเป็นขั้น ๆ ที่เรียก Small steps

5. การให้ผู้เรียนเรียนเป็นขั้นน้อย ๆ จะทำให้ความผิดพลาดมีน้อย

6. จากสิ่งที่ผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อว จะทำให้ผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้องมากขึ้น เป็นการนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนบางคนอาจเรียนได้ดีกว่า จากการเรียนขั้นใหญ่ ๆ (Large step ) มากกว่าขั้นเล็ก ๆ (Small step) และการได้ Knowledge of results อาจช้าลงโดยไม่ต้องเกิดขึ้นทันทีทันใด

จากผลที่ได้รับต่างกัน ทำให้ Norman Crowder ได้เสนอโปรแกรมที่เรียกว่า " Intrinsic Programming" เป็นการเสนอเนื้อหาจำนวนมาก และตามด้วยคำถามแบบปรนัยเป็นชุด ซึ่งประยุกต์เอาข้อเท็จจริงและหลักการไว้ และต่อมา Crowder ก็ได้เสนอ

บทเรียนโปรแกรมแบบที่เรียกว่า แบบสาขา (Branching Program) ซึ่งแบบเดิมของ Skinner เรียกว่าเป็นแบบเส้นตรง (Linear Program)

เมื่อไม่นานมานี้ แนวคิดแบบบทเรียนโปรแกรมก็ได้มีการแตกความคิดออกไปหลายรูปแบบ เช่น การเรียนแบบโปรแกรมการสอน (Programmed Tutoring ) การสอนระบบรายบุคคล (PersonalizedSystem of Instruction ) และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer Assisted Instruction) เราอาจนำบทเรียนโปรแกรมมาใช้ทั้งวิชาตลอดภาคเรียน หรือเพียงหน่วยเล็กแต่ละวิชา บทเรียนโปรแกรมอาจใช้เพื่อสอนเสริมสำหรับผู้เรียนที่เรียนอ่อน หรือเพิ่มความรู้มากขึ้นสำหรับผู้ที่เรียนเก่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนไม่สามารถที่จะสอนรายบุคคลได้ทั่วทุกคน ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนบทเรียนโปรแกรมได้ด้วยตนเอง และเรียนไปมากน้อยตามความสามารถของตน นอกจากนั้น บทเรียนโปรแกรมยังช่วยสอนให้ผู้เรียนที่ขาดเรียนไปได้เรียนด้วยตนเอง เพื่อกติดตามเนื้อหาวิชาที่ผู้อื่นในชั้นเรียนที่เรียนไปก่อนแล้วได้ทัน

บทเรียนโปรแกรมจะมีราคาแหพงกว่าตำราเรียนอื่น ๆ โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะการจัดทำต้องใช้เวลาและความพยายามมากกว่า แต่ก็คงได้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุน การใช้บทเรียนโปรแกรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนเพียงลำพังคนเดียว เราอาจจัดให้มีกิจกรรมกลุ่มเป็นการเสริมได้

การใช้บทเรียนโปรแกรม

บทเรียนโปรแกรมนั้นเป็นการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ดังนั้นจึงมุ่งไปที่กิจกรรมของผู้เรียนมากกว่าผู้สอน ผู้ออกกแบบบทเรียน่โปรแกรมและผู้สอนจึงต้องจัดสภาพการเรียนให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่วางไว้ ก่อนอื่น ผู้สอนก็ควรได้คุ้นเคยกับการใช้บทเรียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดีก่อนนำเอาบทเรียนโปรแกรมนั้นไปใช้จริง ซึ่งจะทำให้ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และยังบูรณาการบทเรียนโปรแกรมเข้ากิจกรรมการเรียนการสอนแบบอื่น เช่น การบรรยาย หรือการอภิปรายได้เป็นตน

ก่อนเริ่มเรียนบทเรียนโปรแกรมในครั้งแรกผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงวิธีการใช้บทเรียนโปรแกรม เช่น ควรเขียนตอบไว้ในเล่ม หรือแยกต่างหากในกระดาษเขียนตอบและควรอธิบายให้ผู้เรียนทราบว่า คำถามในบทเรียนโปรแกรมนั้นไม่ใช่ข้อทดสอบดังนั้นผู้เรียนไม่ควรจะกลัวว่าจะตอบผิด เพราะไม่เกี่ยวกับการให้คะแนนหรือเกรดแต่อย่างใด ถ้าผู้เรียนตอบผิด โปรแกรมก็จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง บทเรียนโปรแกรมนั้นมีไว้เพื่อการเรียน ไม่ใช่เพื่อการสอบ

ผู้เรียนควรได้เรียนไปได้ช้าหรือเร็วตามความสามารถของตนเอง ไม่ควรจะเร่งรัดหรือถ่วงให้ช้าโดยผู้สอน และควรกระตุ้นผู้เรียนให้ถามได้ถ้ามีข้อสงสัย เพราะข้อสงสัยอาจเกิดจากการกำกวมหรือผิดพลาดของบทเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้นต่อไป

อีก ประการหนึ่ง ควรมีการย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความซื่อสัตย์ต่อตนเอง่โดยไม่แอบดูคำตอบ ก่อนควรได้คิดและตอบคำถามด้วยตนเองให้เรียบร้อยก่อนที่จะดูคำตอบ การแอบดูคำตอบก่อนนั้นจะทำผู้เรียนไม่ได้อะไรจากการใช้บทเรียนโปรแกรมเลย เพราะผู้เรียนจะเสียโอกาสของการเรียนไป

จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของบทเรียนโปรแกรม

ในการสร้างบทเรียนโปรแกรมนั้น ยึดทฤษฏีจิตวิทยาการเรียนรู้ มาใช้เป็นหลัก หลายทฤษฏีด้วยกัน ได้แก่

1.ทฤษฏีของธอร์นไดค์

1.1 กฎแห่งผล (Law of Effect ) กฏนี้ได้กล่าวถึงการเชื่อโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองทั้งสองสิ่งนี้จะเชื่อมโยงกันได้ ถ้าสามารถสร้างสภาพอันพึงพอใจให้แก่ผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะได้จากการเสริมแรง เช่น การรู้ว่าตนเองตอบคำถามได้ถูกต้องหรือการให้รางวัลเป็นต้น

1.2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การที่ผู้เรียนได้กระทำซ้ำหรือทำบ่อยครั้ง จะเป็นการเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงขึ้น ฉะนั้น การเรียนรู้จะเกิดขึ้นมากน้อย จะขึ้นอยู่กับการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกหัดในเรื่องที่เรียนนั้นตามความเหมาะสมด้วย

1.3 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) เมื่อร่างกายพร้อมที่จะกระทำแล้ว ถ้ามีโอกาสที่จะกระทำ ย่อมเป็นที่พึงพอใจ แต่ถ้าไม่มีโอกาสที่จะกระทำ ย่อมไม่พอใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าร่างกายไม่พร้อมที่จะกระทำ แต่ถูกบังคับให้ต้องกระทำ ก็จะเกิดความไม่พอใจเช่นกัน

2. ทฤษฎีของสกินเนอร์

ทฤษฎีของสกินเนอร์ส่วนใหญ่าจะใช้หลักการของธอร์นไดค์นั่นเอง ส่วนสำคัญที่นำมาใช้เป็นหลักของบทเรียนโปรแกรม คือ หลักการเสริมแรง ผู้เรียนจะเกิดกำลังใจต้องการเรียนต่อ เมื่อได้รับการเสริมแรงในขั้นตอนที่เหมาะสม การเสริมแรงของบทเรียนโปรแกรมนั้นใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบทันที และพยายามหาวิธีการเพื่อไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาด โดยการจัดเสนอความรู้ให้ต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียด

ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม

บทเรียนโปรแกรมอาจจะถูกนำมาสร้างในลักษณะต่าง ๆ กันตามความเหมาะสมกับจุดประสงค์ เช่น ในลักษณะของเครื่องสอน หรือบทเรียนโปรแกรม ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม บทเรียนโปรแกรมจะมีลักษณะที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1. มีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างชัดเจน สามารถวัดได้จริงอย่างที่เรียกว่า จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

2. เนื้อหาวิชาจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ หรือย่อย ๆ แล้วนำมาจัดลำดับ แต่ละขั้นย่อย ๆ นั้นเรียกว่า กรอบ (Frame ) แต่ละกรอบอาจจะมีความสั้นยาวแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม

3. จัดเรียงลำดับกรอบของบทเรียนเอาไว้ต่อเนื่องกัน จากง่ายไปหายากและเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน มีการย้ำทวนและให้ผู้เรียนได้ทดสอบตนเองอยู่ตลอดเวลา

4. ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองหรือมีส่วนร่วมในการเรียน จากกิจกรรมต่าง ๆ กำหนดไว้ในกรอบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาและมีทักษะในเรื่องทีเรียน

5. มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันที ผู้เรียนสามารถตรววจสอบคำตอบด้วยตน เองได้ทันทีจากคำเฉลย และอาจจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมด้วย

6. มีการเสริมแรงทุกระยะขั้นตอนทีสำคัญ ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและต้องการเรียนต่อไป การเสริมแรงนี้อาจอยู่ในรูปของคำชม หรือการที่ผู้เรียนรู้ว่าตนเองทำได้ถูกต้องแล้ว

7. ไม่กำจัดเวลาในการเรียน ผู้เรียนสามารถใช้เวลาเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละคน คนอ่อนอาจใช้เวลามากกว่าคนเก่ง แต่ก็สามารถเรียนสำเร็จได้เช่นกัน

8. มีการวัดผลที่แน่นอน คือ มีทั้งการทดสอบย่อยในระหว่างที่เรียน ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวัดความก้าวหน้าในการเรียนให้เห็นอย่างชัดเจนด้วย

ชนิดของกรอบในบทเรียนโปรแกรม

กรอบต่าง ๆ ที่แบ่งไว้ในบทเรียนโปรแกรม สามารถจะจำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. กรอบตั้งต้น ( Set Fiame ) เป็นกรอบทีนำเสนอข้อมูลที่เป็นหลักการหรือทฤษฏี เพื่อปูพื้นความรู้ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนมีโอกาสจะตอบสนองได้โดยการตอบคำถามที่ไม่ยาก ซึ่งอาจจะหาคำตอบเอาจากในกรอบนั้นโดยตรงก็ได้

2. กรอบฝึกหัด (Practice Frame ) ในกรอบชนิดนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดกเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาจากกรอบตั้งต้น จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหา และต้องการฝึกทักษะมากน้อยเท่าใด ต่อข้อสำคัญก่อนที่ผู้เรียนจะเรียนในกรอบฝึกหัดนี้ จะต้องผ่านกรอบตั้งต้นมาก่อน กรอบฝึกหัดกับการตั้งต้นอาจจะไม่จำเป็นต้องติดต่อกันทันที อาจจะมีกรอบเพิ่มเติมมาคั่นหาอีกหลายๆ กรอบก็ได้แต่ต้องมีกรอบฝึกหัดตามกรอบตั้งต้นเสมอ

3. กรอบรองกรอบส่งท้าย ( Sub-Terminal Frame ) เป็นกรอบที่จะนำไปสู่กรอบส่งท้าย จะให้ความรู้ที่จำเป็นแก่ผู้เรียน เพื่อให้การตอบสนองในกรอบส่งท้าย ได้ถูกต้อง

4. กรอบส่งท้าย (Terminal Frame )เป็นกรอบสุดท้ายของกรอบที่เรียงลำดับต่อเนื่องมาจากง่ายไปหายาก ในกรอบนี้อาจจะชี้ช่องไว้บ้างหรือไม่ก็ไม่มีเลยก็ได้ ผู้เรียนจะต้องเรียนผ่านกรอบต้น ๆ มาก่อน การตอบสนองจากผู้เรียนจะมีมากกว่าสิ่งเร้า ตรงกันข้ามกับกรอบต้น ๆ

ตัวอย่างกรอบต่าง ๆ (ปรัชญา ใจสอาด, ๒๕๒๒:๔๑-๔๒)

กรอบที่ ๑ (กรอบตั้งต้น)

เชื้อเพลิงจะติดไฟได้ต้องอาศัยกาซออกซิเจนช่วยในการเผาไหม้ กับจะต้องได้รัยบความร้อนจนถึงจุดวาบไฟ หรืออุณหภูมิที่มันจะติดไฟได้ อุณหภูมิที่วัตถุติดไฟได้เรียกว่า............................ของวัตถุนั้น


(คำตอบ)                                                                                                                              จุดวาบไฟ


กรอบที่๒ (กรอบฝึกหัด)

น้ำมันเบนซินจะติดไฟได้ นอกจากต้องอาศัยออกซิเจนเข้าช่วยในการเผาไหม้แล้ว ยังต้องได้รับความร้อนจนถึง..............................................ของมันด้วย


(คำตอบ)                                                                                                                              จุดวาบไฟ


กรอบที่๓ (กรอบตั้งต้น)

วัตถุอย่างหนึ่งจะติดไฟได้ต้องอาศัยออกซิเจน และความร้อนจนถึงจุดวาบไฟ ได้ เพราะมี ..............................เข้าช่วย และมี.............................จนถึงจุดวาบไฟ


(คำ ตอบ)                                                                                                                                 ออกซิเจน

                                                                                                                                             ความร้อน


กรอบที่๔ (กรอบก่อนกรอบส่งสุดท้าย)

การที่กระดาษจะติดไฟได้ ต้องอาศัยส่วนประกอบ ๒ อย่าง คือ ๑. มี ................................เข้าช่วยในการเผาไหม้ และ ๒.มี................................ที่ร้อนจนถึงจุดวาบไฟ


(คำ ตอบ)                                                                                                                                  ออกซิเจน

                                                                                                                                              ความร้อน


กรอบที่๕ (กรอบส่งท้าย)

การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นได้อย่างไร?


(คำตอบ) การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นได้เมื่อ มีออกซิเจนเข้าช่วยในการเผาไหม้และต้องได้รับความีร้อนจนถึงอุณหภูมิหนึ่ง ที่เรียกว่า จุดวาบไฟของเชื้อเพลิงนั้น(หรือถ้อยคำอื่นที่ให้ความหมายอย่างเดียวกันนี้)


ชนิดของบทเรียนโปรแกรม

1.บทเรียนโปรแกรมแบบเชิงเส้นหรือเส้นตรง (Linear Programme)

บทเรียนชนิดนี้จะจัดลำดับเนื้อหาบรรจุลงในกรอบ ตามลำดับจากกรอบที่๑ กรอบที ๒ กรอบที่๓ไปจนจบ ผู้เรียนจะต้องเรียนเรียงตามลำดับทีละกรอบต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่กรอบแรกจนถึงกรอบสุดท้าย จะข้ามกรอบใดกรอบหนึ่งไม่ได้ แต่ คนเก่งสามารถจะเรียนจบได้เร็วกว่าคนที่เรียนอ่อน บทเรียนแบบเชิงเส้นนี้ทำได้ง่ายแต่ละกรอบจะบรรจุเนื้อหาน้อย ๆ ต่อเนื่องกันไปตามลำดับ

กรอบที่๑ กรอบที่๒ กรอบที่๓ กรอบที่๔

 

http://www.geocities.com/sittijoo/m1.html

หมายเลขบันทึก: 232683เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2008 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท