ข้อสังเกตเล็ก ๆ จากคนอาชีวศึกษาในงานนำเสนอผลงานวิจัยฯ ของ วช. ภาคเหนือ


จากการเข้าร่วมประชุม การนำเสนอผลงานวิจัยระดับภูมิภาค ครั้งที่ 1 : ภาคเหนือ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  งานนี้เป็นแหล่งความรู้และรวมนักวิจัยเข้าไว้ด้วยกัน ในงานมีอะไรให้ชมและให้ฟังมากมาย ผลงานการวิจัยส่วนใหญ่เป็นของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยทั้งหลายในเขตภาคเหนือ ทั้งกลุ่มภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ในฐานะเป็นคนหนึ่งของอาชีวศึกษา มีอะไรบ้างมาติดตามกัน

 

 vocresearch

นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
 

ผลงานของอาชีวศึกษา   ชิ้นงานนำเสนองานวิจัยของ สอศ. เพียง 1 รายการจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ คนเข้าชมงานนี้ประมาณ 500-600 คน ในวันแรกและส่วนใหญ่ก็เป็นผู้อยู่ในวงการศึกษาแทบทั้งสิ้น  แล้วคนและผลงานอาชีวศึกษาหายไปไหน  เป็นเรื่องน่าคิด (เล็ก ๆ)


อดีตนักศึกษาอาชีวะ   เป็นที่น่าภูมิใจที่อย่างน้อยมีนักศึกษาที่เคยศึกษาในระดับ ปวส. ของ สอศ. มีส่วนร่วมในการวิจัยของอาจารย์หลายท่าน  ซึ่งตอบคำถามชัดเจนและทำความเข้าใจให้กับผู้เข้าชมได้ โดยนักศึกษาเหล่านี้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้านเกษตร มาจากต่างจังหวัดของภาคต่าง ๆ  รวมถึงภาคเหนือ ทั้ง ๆ ที่มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดอยู่ใกล้ประตูบ้าน ทำไมนักศึกษาเหล่านี้ ถึงมาเรียนที่แม่โจ้
 

สหกิจศึกษา   การรวมตัวของสถาบันอุดมศึกษาตอนบน โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตอนนี้มีถึง 7 สถาบัน ได้ร่วมกันหาเครือข่าย โดยเฉพาะสิ่งที่ดำเนินการคือ ร่วมมือกับหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมของเชียงใหม่เพื่อจะทำความตกลงกันในเรื่อง   สหกิจศึกษา  เป็น  branding  ที่อุดมศึกษานำเสนอ  แต่ branding ของอาชีวศึกษา   ทวิภาคี  กำลังจะถูกลืมเลือน  แล้วสถาบันการอาชีวศึกษาของ สอศ. จะก้าวไปในทิศทางใดและ จะเลือก branding อะไรมาขับเคี่ยวกับเขา 

 

vocresearch

นักศึกษามหาวิทยาลัยแม้โจ้

 

เกษตรปราณีต  เป็น keyword ที่ผู้บรรยายหลายท่านได้พูดและพาดพิงเกี่ยวกับเรื่องนี้  พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือไม่เอื้อสำหรับการทำเกษตรขนาดใหญ่ ดังนั้น เกษตรปราณีต  เป็นเรื่องที่มาแรงพร้อม ๆ กับคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรทฤษฎีใหม่  เกษตรเชิงอนุรักษ์ รวมถึง กระแสโลกร้อน  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือของเราเดินไปถูกทิศทางแล้วใช่หรือไม่

 

งานวิจัย   ทุกองค์กรมีคำถามที่เหมือนกัน นั้นคือ  ขาดงานวิจัย  งานวิจัยไม่ได้ใช้ประโยชน์และขาดงบประมาณสนับสนุน ดังที่ผู้บรรยายกล่าวว่า  จะนำงานวิจัยออกจาก หิ้ง  ไปสู่  ห้าง  ได้อย่างไร  อาชีวศึกษาก็คงจะมีคำพูดที่เป็นเสียงเดียวกับองค์กรเหล่านั้นเช่นกัน
 

อย่างที่เกริ่นไว้ว่า  เป็นอะไรเล็ก ๆ ที่สังเกต และจากงานนี้เช่นกันมีอะไรให้ความรู้มากมาย และคงจะไม่ใช้ครั้งสุดท้ายที่จะจัดในส่วนภูมิภาค  เพราะ ใช้ชื่อที่มีคำต่อท้ายว่า  ครั้งที่ 1 และ ผู้จัดงานก็คงจะเห็นถึงความสนใจของผู้เข้าชมในจุดแสดงผลงานและห้องสัมมนาที่มีผู้เข้าชมเต็มทุกห้อง  ครั้งต่อไปเราจะเห็นผลงานและชาวอาชีวศึกษาในงานนี้มากขึ้น  ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้จาก http://www.rlc.nrct.go.th 


อ้างอิง :
1.  ดร.พงษ์ศักดิ์  อังกสิทธิ์,  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, การบรรยายพิเศษ
รูปแบบของการวิจัยภาคเหนือกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ, 25 พฤศจิกายน 2551.
2.  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,
2-V research program, 25 พฤศจิกายน 2551.

 นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์ ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 26 ธันวาคม  2551
 
จากการเข้าร่วมงาน การนำเสนอผลงานวิจัยระดับภูมิภาค ครั้งที่ 1 : ภาคเหนือ โดย วช.
 วันที่ 25 พฤศจิกายน ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

 บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ
 
ผู้ที่จะนำบทความ รูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
 
ผลงานและสิ่งพิมพ์ของผู้เขียน ปรับปรุงข้อมูล วันจันทร์, 29 ธันวาคม 2551
 ติดต่อ
ผู้เขียนที่  [email protected] 

หมายเลขบันทึก: 232462เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2008 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท