ผ้าปูมอีสาน ที่เมืองล้านนา


เรื่องเล่าจากโรงทอผ้า

จำได้ว่า ไม่มีคราวไหนที่ชุมชนที่ผมอยู่จะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำเช่นเท่ากับการทอผ้าเมื่อราว 15 ปีย้อนหลังไป

คราวนั้นผมยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นมัธยมจึงไม่ได้ช่วยแม่ทำอะไรมาก แต่ปรากฎการ คราวนั้นเป็นช่วงเวลาที่คนในชุมชนหลายสิบครอบครัวทุ่มเทแรงกายทอผ้าอย่างไม่หลับไม่นอน

การมีรายได้คราวนั้นเป็นการปฏิวัติการทอผ้าของคนในชุมชนเข้าสู่การตลาดใหม่อย่างแท้จริง เพราะมีคนมาสั่งทอ ซื้อด้วยเงินสด ๆ หรือหากมาเอาผ้าไปก็รับรองว่าขายได้อย่างแน่นอนไม่มีเหลือ ไม่มีค้าง

ระบบการซื้อเส้นใยจากร้านค้าของคนจีนในตลาดเกิดอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เรียกได้ว่า รายได้กระจายไปทุกหนทุกแห่ง

ในภาคการผลิต จากที่สามีเป็นแค่คนทำ/ซ่อมแซม วัสดุ อุปกรณ์ในการทอผ้าเท่านั้น กลับเปลี่ยนมาสู่กระบวนการเตรียมเส้นใยและพัฒนาสูงสุดสู่การมัดลาย และการทอ  พ่อผมซึ่งตอนนั้นยังมีชีวิตก็ช่วยแม่ในการทอผ้าด้วย ช่วยมัดด้วย

เรียกได้ว่า สามีออกเมียเข้า เมียออกสามีเข้า  หลายครอบครัวต่อระบบไฟฟ้าเข้าไปที่กี่และทอผ้ากลางคืน ดึกดื่น  หรือบางครอบครัวลุกมาทอแต่เช้า  ที่ผมเล่ามาไม่ได้พูดเกินเลยไปจริง ๆ มันได้เปิกขึ้นแล้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน

ผ้าที่นิยมทอในช่วงนั้นเป็นผ้าปูมแบบเขมร ความยาวราว  4 เมตร ราคาขายที่กี่ทอผ้าหลายพันบาทและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า  นายหน้าขายผ้าต่างจับจองผ้ากันแบบต้องจ่ายเงินมัดจำเอาไว้ โดยเฉพาะนายหย้าที่ขายผ้าให้เมืองเชียงใหม่

 ซึ่งไม่แน่ผ้าปูมแบบเขมร ที่วางขายกันที่ล้านนา อาจจะผลิตที่ขอนแก่นก็ได้  

 

หมายเลขบันทึก: 232457เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2008 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่หน้าเชื่อว่า เมื่อวานผมอ่านและชมภาพผ้าปูมของคุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ที่ได้รับมรดกจากเจ้าเมืองอุบล แล้ววันนี้จะได้รับทราบเรื่องการค้าขายผ้าปูม ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท