สรุปบทเรียน 3 ธันวาคม 2551


การเยี่ยมบ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และชุมชน

เรื่องแจ้งจาก CUP Board

1.       การติดตามเยี่ยม CUP สิชล ของสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.)

1.1      เข้าตรวจเยี่ยมประเมินในวันที่ 24-25 ธันวาคม 2551 โดยมีผู้เยี่ยม 5 คน ได้แก่

-         ทพญ.กันยา (หัวหน้าทีม) 

-         เจ้าหน้าที่ สพช. 2 คน 

-         พญ.หทัยทิพย์  รพ.หาดใหญ่

-         ภก.สุปราณี  รพ.หนองหญ้าไซ

1.2      แผนการเตรียมงานวันที่ 24 ธันวาคม 2551

-         เลือกสถานีอนามัย 1 แห่ง คือ สถานีอนามัยบ้านท่าหิน

-         การติดตามเยี่ยมแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 แกนนำชุมชน โดยให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านท่าหินประสานงานกับแกนนำซึ่งได้แก่ ผู้แทนชุมชน อบต. อสม. ชมรมต่าง ๆ ฯ

กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านท่าหินทั้งหมดรวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านเปลี่ยน

-         ให้สถานีอนามัยบ้านท่าหินเตรียมเรื่องการนวดแผนไทย และเตรียมอาหารด้วย

-         ขอให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านเปลี่ยนไปช่วยสถานีอนามัยบ้านท่าหินในวันดังกล่าว

 

1.3      แผนการเตรียมงานวันที่ 25 ธันวาคม 2551

-         คณะติดตามเยี่ยมมาโรงพยาบาลสิชล มอบหมายคุณสายสมรเป็นผู้รับผิดชอบ ใช้ห้องประชุม 2

-         แบ่งกลุ่มในการติดตามออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มแกนนำ

กลุ่มที่ 2 และ 3 คือกลุ่มสนับสนุน

-         การเตรียมอาหารในวันดังกล่าวมอบหมาย คุณบุปผา รับผิดชอบ

1.4      การเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ในการรับการตรวจเยี่ยม

-         ทำ PMQA รู้สึกอย่างไร  เช่น  ประโยชน์  อุปสรรค

-         สิ่งที่ได้รับหรือการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากทำ PMQA

-         โครงการ CUP ที่เกิดจาก PMQA ได้แก่

โครงการ HHC 

โครงการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ CPG ได้แก่ DM HT ผิวหนัง ข้อเข่าเสื่อม ระบบทางเดินหายใจ

-         เรื่องเล่า 1-2 เรื่อง ยกตัวอย่าง case

-         สิ่งที่ได้รับหรือประสบการณ์จากการเยี่ยมบ้าน

-         ประโยชน์ที่ผู้ป่วย ญาติได้รับ จากการเยี่ยมบ้าน

-         ปัญหาและอุปสรรคของการลงชุมชน

-         เตรียม Family folder

-         ไม่ต้องกังวลใจ

-         อยากเล่าอะไรให้ฟัง

-         เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

-         ให้แต่ละสถานีอนามัยเอาแฟ้มผลงานที่มีชื่อของแต่ละสถานีอนามัยและของทุกคนมาด้วย

 

ถอดบทเรียนการเยี่ยมบ้านจากสถานีอนามัยบ้านน้ำฉา

                                การเตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ก่อนการเยี่ยมบ้านแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ก่อนเยี่ยมบ้าน เตรียมข้อมูลจากแฟ้มประวัติครอบครัว จัดทำโครงาการ เลือกพื้นที่ เรียงตามความสำคัญ  2) ดำเนินการ เยี่ยมบ้าน  มีการวางแผน ประสานงาน จัดทำเอกสาร เตรียมยานพาหนะ  3) หลังการเยี่ยม เก็บอุปกรณ์                สรุปผล ประชุมทีมสุขภาพ

                                กรณีศึกษาเพศชาย มีประวัติเจ็บป่วยด้วยแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง DM, HT อาศัยกับภรรยาที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง และบุตรชาย down's syndrome ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางและ                เลี้ยงสัตว์ ประวัติการเจ็บป่วยของกรณีศึกษา 4 ปีก่อนขณะเลี้ยงสัตว์มีอาการเป็นลม เดินเซ รับการรักษา             ที่โรงพยาบาลสิชลตั้งแต่กลางปี 2551 แต่รู้สึกอาการไม่ดีขึ้น ให้หมอบีบมารักษาประมาณ 1 เดือน                         รู้สึกอาการไม่ทุเลา จึงไปรับการรักษาที่คลินิกแพทย์ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยอาการทางระบบประสาท ปัจจุบันรับประทานยาของโรงพยาบาลสิชลและคลินิกแพทย์

ผลการตรวจร่างกายของกรณีศึกษา น้ำหนัก 52 กิโลกรัม BP 170/70 mmHg ระดับน้ำตาลในเลือดตรวจที่โรงพยาบาลสิชลครั้งสุดท้ายเมื่อ 31 ตุลาคม 2551 133 mg% ได้ระดับห้าดาว การเคลื่อนไหวของร่างกายด้านซ้ายอ่อนแรงเดินได้ไม่สะดวก ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ไม่สะดวก เคี้ยวและกลืนอาหาร ได้ลำบาก กินอาหารได้น้อย เพลีย ท้องผูก สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีพื้นต่างระดับระหว่างตัวบ้าน                และห้องน้ำ ค่ายาที่คลินิกแพทย์ 1,400-1,700 บาท/เดือนรวมค่าเดินทางอีก 1,000 บาท/เดือน ซึ่งรายรับ              ได้จากเงินสะสม สวนยางพารา และพืชผักสวนครัว มีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์เนื่องจากเดิมกรณีศึกษาเป็นหมอพื้นบ้าน ดูดวงพระพรหมเจ้าที่ จึงคิดว่าโรคที่ตัวเองเป็นเกิดจากเวรกรรม รู้สึกตัวเองด้อยคุณค่า หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ไม่กล้าขึ้นทะเบียนผู้พิการ

การดูแลและคำแนะนำที่ให้ แนะนำการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อและข้อ การป้องกันกล้ามเนื้อลีบและข้อติดยึด แนะนำให้กินอาหารที่ปรุงสุก นิ่ม ผักและผลไม้ ดื่มน้ำตามมาก ๆ ให้ควบคุม             การกินอาหารตามโรคของตนเอง แนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้โล่ง โปร่งมีการระบายอากาศ             ที่ถ่ายเทได้ดี การรับยาจากคลินิกแพทย์จาก จ.สุราษฎร์ธานี ให้ อสม. ช่วยวัดความดันโลหิตให้ และติดต่อให้คลินิกแพทย์ส่งยาให้ทางไปรษณีย์ การแก้ไขพื้นที่มีความต่างระดับ โดยใช้ไม้เท้าค้ำยัน ติดราวจับให้                 กรณีศึกษาสามารถใช้ในการเดินภายในบริเวณบ้าน แนะนำการป้องกันการเกิดแผลที่เท้า ติดต่อ อบต.                   เพื่อช่วยขึ้นทะเบียนผู้พิการ และแนะนำให้บุตรชายที่เป็น down's syndrome ลดความอ้วนและคัดกรอง                   ภาวะเสี่ยง พร้อมทั้งควบคุมอาหาร

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเยี่ยมบ้าน คือรู้จักผู้ป่วยและครอบครัว ทราบปัญหาสุขภาพ ทราบผู้พิการรายใหม่เพิ่มเติม

กิจกรรมที่ทำให้คือ การแนะนำการปรับพฤติกรรมสุขภาพ สร้างกำลังใจ และการขึ้นทะเบียนผู้พิการ

ครอบครัวของกรณีศึกษาได้เรียนรู้ถึงเรื่องโรค การป้องกันภาวะแทรกซ้อน เกิดกำลังใจ

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

-         การวางแผนการดำเนินงานชัดเจน

-         มีการใช้เครื่องมือวิถีชุมชน ได้แก่ แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ

-         ไม่มีการนำเสนอการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-         การมองแบบองค์รวมด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ

-      การวิเคราะห์และดูแลบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว เช่น บุตรชายที่เป็น down's syndrome ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เป็นต้น

ถอดบทเรียนจากสถานีอนามัยบ้านเกร็ดแรด

                                กรณีศึกษาอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 76/1 ม. 4 ต.สี่ขีด เจ็บป่วยด้วยอาการทางจิตเวช ครอบครัวประกอบด้วยสมาชิก 4 คน ได้แก่ ผู้ป่วย ภรรยา และบุตรชาย 2 คน ล้วนเจ็บป่วยด้วยอาการทางจิตเวชทั้งสิ้น ผู้ป่วยมีบุตรทั้งหมด 4 คน อาศัยอยู่กับผู้ป่วย 2 คน อีก 2 คนสติสัมปชัญญะครบถ้วนทำงานต่างถิ่น                       ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้บ้าง การกินอาหารมีกินบ้างไม่มีกินบ้าง รับยาจิตเวชจากโรงพยาบาลสิชลซึ่งกินยาไม่ต่อเนื่อง ภรรยานอกจากจะมีอาการทางจิตเวชแล้วยังมีภาวะขาดสารอาหาร มีอาการปวดท้องเป็นประจำ บุตรชายที่อาศัยอยู่ด้วยมีอาการทางจิตเวชและหอบหืด 1 คน บุคคลใน            ครอบครัวทั้ง 4 คน ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ บ้านเรือนมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ป่วยมีความเชื่อว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่เกิดจากการฆ่างูจงอางสมัยหนุ่ม ๆ มีความเชื่อเรื่องดวง กินยาสมุนไพรต้มรายได้ของครอบครัวได้รับจากเงินช่วยเหลือของ อบต. 500 บาท/เดือน และจากบุตรที่ประกอบอาชีพส่งมาให้บ้าง

                                เจ้าหน้าที่ผู้เยี่ยมตรวจร่างกายของสมาชิกภายในครอบครัว แนะนำการจัดสิ่งแวดล้อม และมีการวิเคราะห์ส่วนได้ส่วนเสียของครอบครัวกรณีศึกษา

                                ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม

-         กรณีศึกษาน่าสนใจ ควรจัดทำผังเครือญาติ

-      ควรสอบถามรายละเอียดของครอบครัวเพิ่มเติม เช่น ประวัติครอบครัว รายได้ การรักษา ผู้ดูแล การรับยา กิจวัตรประจำวัน จิตสังคม จิตวิญญาณ ชุมชน อสม.

-         กรณีศึกษาควรมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง

-         ให้ อสม.จัดทำสมุดผู้พิการ

-         การวางแผนเพื่อให้ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ

หมายเลขบันทึก: 231504เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลังการติดตามเยี่ยม ของทีม สพช.แล้วรู้สึกดีขึ้นมาก เข้าใจ pmqa มากขึ้นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนช่วยเติมความรู้ให้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคุณหมอเอกรัฐ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท