สลองผาม


ปริวรรตจากใบลาน สำนวนวัดบ้านหนองโน จ.มหาสารคาม (ผามคือ ปรัมพิธี) อาจอ่านยากสักนิดเพราะเป็นภาษาอีสาน

นโม  ตสฺสตฺถุ  ตทาปเสสนฺทิโก  สโรรามณฺฑป  วสํ  เชตวเน  โภ  สาทโว  ดูราสัปปุริสทั้งหลาย  ตทา  ในกาลเมื่อนั้น  ปเสสนฺทิโก  สโรราชา  อันว่า  พระเจ้าปเสนทิโกศล  มหากษัตริย์  ปวิสิตฺวา  เข้าไป  เชตวนฺนํ  สู่ป่าเชตพนอาราม  วนฺทิตฺวา  ไหว้พระพุทธเจ้าแล้ว  นิสีธิ  นั่งอยู่  เอกมนฺตํ  ในที่แห่งหนึ่ง  วันนั้นพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า  ปุจฺฉิ  ถาม  สตฺถารํ  ถึงผลบุญแห่งตน  ภควนฺตํ  ซึ่งสัพพัญญูเจ้าว่า  ภนฺเต  ข้าไหว้พระพุทธเจ้าอหํ  อันว่าข้าพระพุทธเจ้า  มหาเตโช  มีเดชมาก  มหิตฺธิโก  มีฤทธิ์มาก  มหานุภาโว 

มีอานุภาพมาก  ปุญฺญํ  อันว่าบุญใด  จมยากตํ  ที่ข้าพระพุทธเจ้าหากได้กระทำ ปุพฺเพชาติกา  ในชาติก่อนนั้น  ภควา อันว่าพระพุทธเจ้า  สุตฺวา  ได้ยินแล้ว  วจนํ  ยังถ้อยคำแห่งพระมหาโมคคัลลานั้น  อาห  ตรัสแล้ว  ดูราโมคคัลลา  ตวํ  อันว่าท่าน  เอโกปุริโส  ได้เป็นชายคนหนึ่งในชาติก่อน  คจฺฉติ  ได้ไปสู่ป่าเชตะวัน  จึงตัดเอายังไม้มากระทำยังปลายให้ประชุมกันไว้แล้ว  นำมาในกาลเป็นผามนั้นแล้ว  อทาสิ  ให้เป็นหลัง  มณฺฑปํ  ยังผาม ในกาลนั้น  เอโก  ปุริโส  อันว่าชาย  อทาสิ  สร้า  มณฺฑปํ ยังามให้เป็นทานในกาลเมื่อชาติก่อนแล  กสฺสมา  เหตุดังนั้น  ตวํ  อันว่าท่าน  มหาเตโช  จักมีเตชมาก  มหิตฺธิโก  จักมีอานุภาพมาก  ตวํ  อันว่าท่าน  จนฺโท  เมื่อไปในอเวจีนรกตกลงจักไม่ลง  อมค้าง  นั่งอยู่เหนือธรรมต่าง  อปทุมเต  อันว่าดอกบัวทองคำ  อ่างทองคำ  ปพฺพต อันว่าด้วยไฟนรกทั้งหลาย  ก็เรี่ยรายตกเสีย  สิมฺ  อันว่าไม้วีง ในนรกทั้งหลายนั้น  จักล้มเสีย  สตฺถา  อันว่าสัตว์นรกทั้งหลาย  จักหาใจเข้าออกดี  มณฑปํ  อานิสํ  สํ  ด้วยผลที่ได้สร้างผาม ให้เป็นทานแล้ว  นิจฺจ  แห่งกาลเมื่อก่อนแล  โมคฺคลฺลาโน  ดูรามหาโมคคัลลานเถรเจ้า  ตวํ  ท่านจักเกิดบนชั้นฟ้าทั้ง    ชั้น  จักได้อยู่ในปราสาททองคำ  มีนางฟ้าทั้งหลายพัน    หากมาล้อมเป็นบริวารแห่งท่าน  ด้วยผลอานิสงส์อันได้สร้างยังผามให้เป็นทานแต่ชาติก่อนแล  มหาโมคฺคลฺลาโน  อันว่ามหาโมคคัลลานเถรเจ้า  สุตฺวา  ได้ยินแล้ว  วจนํ  ยังธรรมเทศนาแห่งสัพพัญญู  ทราบแล้ว  ผลอานิสงดังนั  โสเทยฺยโก  อันว่า  เทย     ทายกคนใด  มีใจ  ชมชื่นยินดี  พุทฺธสาสนํ  ยังศาสนา  กตฺวา  กระทำยังผามให้เป็นทาน  มหพฺผลํ  จักมีผลอานิสงส์แห่งผู้นั้นได้     กัปแล 

ปเสสนฺทิโก  สโลราชา  อันว่า  พระเจ้าปเสน  สุตฺวา  ได้ยินแล้ว  ภควนฺตํ  ยังสัพพัญญูเจ้า  ปาวิสิตฺวา  ก็เข้าไป  นครํ  สู่เมือง  เมื่อวันถัดมา  ราชา   อันว่า   พระปเสนตนนำมาแล้ว  ทณฺฑตํ  ยังไม้แลหญ้ากับบริวารทั้งหลายเขาไป  เชตวนํ  สู่ป่าเชตวัน  อารามราชา  อันว่าพระเจ้า  วนฺทิสฺตวา  ไหว  ภควา  ยังพระพุทธเจ้า  อทาสิ  พระจึงสร้าง  มณฑปํ  ยังผามให้เป็นทาน  ปิณฑปาตํ  ได้ให้ข้าวน้ำเป็นทานก็ดี  ภควา  อันว่าพระพุทธเจ้า  คณฺตสาสเน  ในเมื่อแล้ว  นิจฺจ  ฉันแล้วนั่งแล้ว  อเทสิ  จึงแสดงพระธรรมเทศนา  ผลอานิสงส์ให้ชัดว่า  มณฑปํ  วสํ  กุสฺสลํ  ดูรา  ราช           โย  โกจิ  บุคฺคโล  อันว่าบุคคลใด  ได้สร้างามให้เป็นทาน  นิจฺจ  บุญในศาสนาพระเจ้านั้น  โสนโร  อันว่าบุคคลนั้นจัด้ผล อานิสงส์    กัป  แล  บุคคลนั้น  ชาโต  อันว่าชาตเขาได้เกิดมาใน  ภาว  ที่ใดก็ดี  สุสายตฺถา  อันกว้างขวางเสมอดั่งพระอาทิตย์ออกมาส่องแสงทุกทิศแล  โรคา  อันว่าโรคทั้งหลาย  กากก็ดี  เรื้อนก็ดี  ผอมแห้งแรงน้อยเป็นไข้ไอ 

เป็นเสลดเป็นหูหนวกตาบอดนั้น  นวรนฺติ  จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นเลย  ด้วยผล      อานิสงส์อันได้สร้างผามให้เป็นทานแล  มณฺฑปํ  ทานํ  อันว่าท่านทั้งหลาย  ได้สร้าง  มณฺฑปํ  ยังผาม   จุจิ  ภณฺานํ  ยังข้าวจี่แลผาม   ให้เป็นทานนั้น  มหพฺพลํ  จักได้ผลอานิสงสมีประมาณ  ๑๒  กัแล  โสนโร  อันว่าบุคคลใด  ได้ให้  จุจิ  ภณฺฑานํ  ยังข้าวจี่และข้าวพันก้อนแลผามให้เป็นทานดั่งนั้น  เหมฺมวนฺเน  อันมีวรรณะเนื้อตนงามดั่งทองคำ  รูโป  มีรูปพรรณวรรณงามด้วยรัศมีรุ่งเรืองงามมีใจอันประเสริฐ  ด้วยผลอานิสงสได้สร้างผามแลได้ให้ข้าวจี่และข้าวพันก้อนเป็นทานแล  เตทายโก  อันว่าทายกทั้งหลายนั้น  จักไม่ได้ไปเกิดใน  ภาว  ที่ชั่วร้ายเป็นเปรตนั้น  จักได้ไปเกิดในตระกูลเจ้าพระเจ้าแล  ตระกูลพราหมณ์ประเสริฐด้วยผลอานิสงส์ที่ได้ให้ทานในชาติ ก่อนแล  หตฺถิจ   อันว่าช้างม้าทั้งหลายนั้น  มีเครื่องประดับประดา  มีสายคาดแล้วด้วยทองคำที่เกิดมาพร้อมองค์    คลุมหัวช้างด้วยทำด้วยทองคำ  กปราสิ  นายช้างทั้งหลายในมือถือของ้าว  ขึ้นขี่พร้อมทุกตัวและบริวารก็เข้ามาแวดล้อมยังพระเจ้าตนนั้น  นิจฺจ       ทุกเมื่อ  มณฺฑปํ  ทานํ  ผลอานิสงส์ที่ได้สร้างผามให้เป็นทาน  ในชาติก่อนแล       สหยานิ  อันว่า  าทั้งหลาย ได้แสน    ประดับประดาไปด้วยเครื่องทั้งหลาย  ซึ่งเป็นมาอาชไนย  ที่เกิดมาจากประเทศชื่อว่าสินธุวา  จักนำรบชนเป็นออกก่อน  นายมาทั้งหลายถือธงกับหอก  หากขึ้นขี่พร้อมทุกตัว  แวดล้อมเป็นบริวารแห่งพระเจ้าทุกเมื่อ  ด้วยผลอานิสงส์ได้สร้างบุญให้ท   ต่ชาติก่อนแล  รตฺถํ  มหยานิ  อันว่ารถทั้งหลาย ประดา

ไปด้วยเครื่องทั้งหลาย  หุ้มด้วยธงแดงและธงเหลือง  ช่องประดับไว้เหนือหัวราชรถ เครื่องแต่งตัวของนายรถทั้งหลาย  ก็หุ้มไปด้วยเกราะลายทองคำ  ขึ้นขี่พร้อมแล้วทุกเล่ม  มาเรนฺติ  ก็มาเป็นบริวารแห่งพระเจ้าตนนั้นทุกเมื่อ  ด้วยอานิสงสผลที่ได้สร้างมณฺฑิปํ  ยังผามให้เป็นทานแต่ชาติก่อนแล  ตุริยานิ  อันว่าตุริย  นนฺติ  ทั้งหลายได้แสน    ประดับประดาตามหลังพระเจ้าทุกเมื่อ  บริวารทั้งหลายประกอบด้วยรูโฉมงามแล มีกำลังอันหาที่สุดไม่ได้  มี  ๑ แสน วาเรนฺติ  มาแวดล้อมอ้อมเป็นบริวารพระเจ้าตนนั้น

ทุกเมื่อ  ด้วยผลที่ได้สร้างผามให้เป็นทานแต่ชาติก่อนแล  เทสนาปริโยสาเน  เมื่อพระธรรมเทศนา  สัพพัญญูเจ้าปางนั้น  เมื่อ  ปนฺน  สัตว์ทั้งหลายได้ถึงยังธรรมอันวิเศษเป็นต้นว่า  โสดาปัตติผลแล  มณฺฑปํ  ทานํ  จุจี่  กณฺฑานํ  คาถา  กิยา  บุคคลใด  ได้สร้างผามและข้าวจี่ให้เป็นทานนั้น  จักได้ถึงมรรคผล 

เมืองฟ้านิพพานทุกคน  นิฐิตํ  จบเท่านี้แล

คำสำคัญ (Tags): #วรรณกรรมอีสาน
หมายเลขบันทึก: 231436เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีปีหม่นะครับ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านงานของผม

มาชม เป็นงานอนุรักษ์ของเก่าโบราณเฮาหนอนี่...

สวัสดีปีใหม่

คล้ายกับทางเหนือนะครับ อีสานกับเหนือ มีวัฒนธรรมหลายอย่าง คล้ายคลึงกันมากเลยครับ

ขอบคุณครับคุณส่างนันตา คุณumi คุณthassana wong คนอีสานและคนเหนือ ต่างเป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท(Tai) เช่นกันจึงมีวัฒนธรรมที่สอดคล้อง คล้ายคลึงและเหมือนกันหลายอย่าง เช่น ตุงของเหนือ ที่อีสานก็มี "ทุง" มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันแต่อาจประดิษฐ์และใช้งานต่างกันบ้าง เป็นต้น ยิ่งในสมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จมาครองราชอาณาจักรล้านนา(เพราะพระมารดาเป็นพระธิดาของพระเจ้าล้านนา ครั้นเจ้าหลวงสวรรคตก็หาผู้สืบราชบัลลังก์มิได้ จึงได้มอบให้พระนัดดาคือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชครองนครแทน)เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสาลราช พระมหากษัตริย์ล้านช้างสวรรคต(ซึ่งเป็นพระบรมราชบิดาของพระเจ้าไชยเชษฯ) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงต้องสละราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรล้านนาเพื่อเสด็จลงมาสืบราชบัลลังก์ราชอาณาจักรล้านช้าง คลาเมื่อเสด็จมาล้านช้างพระองค์ได้นำเอาบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิต ครูอาจารย์ศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ กลับล้านช้างด้วยเป็นอันมาก ทั้งยังอัญเชิญพระแก้วมรกต พระแทรกเงิน พระแทรกคำ มายังล้านช้างด้วย

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า  ทำไมภาคเหนือ(ล้านนา)จึงมีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกับภาคอีสาน(ส่วนหนึ่งของล้านช้าง)

ภาพทุงผะเหวด (ธงที่ปักแสดงถึงเทศกาลบุญมหาชาติ)

แวะมาเยี่ยม แม้ไม่สันทัดภาษาบาลี สันสกฤต แต่ก็ได้พยายามอ่านจนหมด นานๆ จะได้ใช้แว่นขยายช่วยก็ดีเหมือนกันค่ะ

บางทีเขียนเองก็ใช้แว่นช่วยเหมือนกัน อิอิ วัฒนธรรมดีงาม ขอแสดงความชื่นชม ที่ดดำรงไว้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท