ไม่สูบบุหรี่ ปอดเสื่อมสภาพได้หรือไม่


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีชื่อเรียกรวมๆ กันว่า 'COPD (chronic obstructive lung disease)' ทีนี้ถ้าคนไม่สูบบุหรี่จะเป็น COPD กับเขาได้ไหม วันนี้มีคำตอบจากวารสาร Medical Progress ซึ่งเป็นวารสารส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์มาฝากครับ

...

ภาพจาก Medical Progress (www.medicalprogress-cme.com)

  • ภาพผนังหลอดลมอักเสบ หรือมี "ธาตุไฟ" กำเริบได้แก่ แดง ร้อน ร่วมกับ "ธาตุน้ำ" กำเริบได้แก่ บวม สารคัดหลั่งหรือเสมหะออกมามากขึ้น เหนียวขึ้น
  • บุหรี่มีส่วนสำคัญในการทำให้หลอดลมและปอดถูกโจมตีจากธาตุไฟและธาตุน้ำในขั้นแรก ทำให้ธาตุลม (ลมหายใจเข้าออก) ติดขัดตามมา 

...

 

ภาพจาก Medical Progress (www.medicalprogress-cme.com)

  • สถิติจากสถาบันหัวใจ ปอด เลือดสหรัฐฯ (NHLBI) แสดงให้เห็นเทรนด์ (trends) หรือแนวโน้มสาเหตุการตายหลักของคนสหรัฐฯ ในช่วงปี 1965-1998 หรือ พ.ศ. 2508-2541 จะพบว่า โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (CHD) ลดลง 59% หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน (stroke) ลดลง 64% โรคระบบหัวใจ-หลอดเลือดอื่นๆ (other CVD) ลดลง 35% สาเหตุการตายอื่นๆ (all other causes) ลดลง 7% ขณะที่สาเหตุการตายจากโรคกลุ่มถุงลมโป่งพอง (COPD) เพิ่มขึ้น 163%

...

ภาพจาก Medical Progress (www.medicalprogress-cme.com)

  • สมรรถภาพปอดของคนเราเริ่มเสื่อมที่อายุ 25 ปี กราฟเส้นบนสุด (สีม่วง) คือ สมรรถภาพปอดของคนที่ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป สมรรถภาพปอดลดลงช้ามาก

...

  • เส้นตรงดิ่งลงสีน้ำตาล คือ สมรรถภาพปอดของคนที่สูบบุหรี่ ซึ่งจะพบว่า สมรรถภาพปอดลดลงเร็วมากขึ้น 2-3 เท่า และมีแนวโน้มจะอายุสั้นคือ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 70 ปี และจะอยู่แบบหอบๆ โหยๆ ก่อนตายอีกประมาณ 7-8 ปี

...

  • กราฟสีน้ำเงินแสดงสมรรถภาพปอดของคนที่หยุดสูบเมื่ออายุ 45 ปี จะพบว่า สมรรถภาพปอดที่เหลืออยู่จะเสื่อมลงช้ามาก
  • กราฟสีเขียวแสดงสมรรถภาพปอดของคนที่หยุดสูบเมื่ออายุ 60 ปี จะพบว่า สมรรถภาพปอดที่เหลืออยู่จะเสื่อมลงช้ามาก แสดงให้เห็นว่า การเลิกบุหรี่ให้ผลดีต่อคนทุกช่วงอายุ

...

Hiker

ท่านอาจารย์แพทย์หญิงซานดรา จี. อดัมส์กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคถุงลมโป่งพอง (COPD) ปรากฏดังตาราง

สาเหตุ ร้อยละ
บุหรี่ (สูบบุหรี่ หรือหายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป 90%
ควันจากเตาที่ใช้ฟืน ควันจากการเผาขยะ เผาป่า มลภาวะในอากาศ ฝุ่นจากการทำงาน (เช่น โรงโม่หิน ฯลฯ) สารเคมี การติดเชื้อ โรคพันธุกรรม (ขาดเอนไซม์อัลฟาวัน-แอนตีทริพซิน) 10%

...

Hiker

สรุปคือ บุหรี่เป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง (COPD) ไปแล้ว 90% โดยมีผลทำให้สมรรถภาพปอดลดลงเร็วขึ้นเป็น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่สำคัญใน 10% ที่เหลือคือ การใช้ฟืนหุงข้าว การเผาขยะ (พบมากทางภาคเหนือ ซึ่งมีสถิติการเป็นมะเร็งปอดสูงสุดในประเทศไทยที่เชียงใหม่กับลำปาง) การเผาใบไม้ การเผาป่า และมลภาวะ

ทีนี้ถ้าหมอแนะนำให้คนไข้เลิก... คนไข้จะเลิกจริงหรือไม่ ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ถ้าหมอบอกว่า การเลิกบุหรี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพ คนไข้จะเลิกสูบประมาณ 5% ถ้ารักจะให้ปอดดี... ต้องหนีบุหรี่ไปให้ไกลแสนไกลทีเดียว

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

Hiker

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้มาจากหัวข้อเรื่องคือ 'Managing COPD' แปลว่า "การจัดการ (ดูแลรักษา) โรคถุงลมโป่งพอง (COPD)"

  • 'manage' เป็นคำกริยา (verb) > ออกเสียง [ แม้น' - เหนจ - ฉึ ] ย้ำเสียง (accent) ที่พยางค์แรก คือตรง "แม้น" เสียงที่เหลือออกเสียงเบาๆ เสียง "ฉึ" ออกเสียงให้เบาและสั้น
  • 'manage' = บริหาร จัดการ
  • ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิกเครื่องหมาย "ธงชาติ" หรือ "ลำโพง" > [ Click ]

...

ศัพท์เครือญาติ หรือพี่ๆ น้องๆ ของ

  • 'managing' = 'management' = การจัดการ การบริหาร > [ Click ]
  • 'manager' = ผู้จัดการ > [ Click ]

ตัวอย่างประโยค > 'A manager is one who is in charge of the business.' = ผู้จัดการคือ คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ( 'in charge of' ) ธุรกิจ ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเราเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการ 'manage' หรือ "บริหาร" ชีวิตครับ

...

ที่มา                                                     

  • Thank Medical Progress (www.medicalprogress-cme.com) > Sandra G Adams. ท่านอาจารย์ รศ.นพ.กรีฑา คำคัมภีร์ แปลและเรียบเรียง. การดูแลโรค COPD: การจัดการกับปัญหาที่พบบ่อย > Medical Progress. December 2008. vol.7 No.12 pp.17-23. 
  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก > ยินดีให้นำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 19 ธันวาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 230962เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะแวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ ค่ะ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท