กิจกรรมบำบัดยามว่างในโรค Multiple Sclerosis


เอกสารอ้างอิง Kesselring, J. & Beer, S. (2005). Symptomatic therapy and neurorehabilitation in multiple sclerosis. Lancet Neurology; 4: 643-52.

‘Multiple Sclerosis’ เป็นกลุ่มอาการของโรคทางระบบประสาทส่วนกลางมี่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โรคนี้เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย โดยมีอาการหลักคือ ความเหนื่อยล้าระหว่างการทำงาน ความบกพร่องทางการขับถ่ายหนักเบา ปัญหาการควบคุมอารมณ์และการรับรู้ การเกร็งสั่นกล้ามเนื้อและเดินผิดปกติ ปัญหาการมองเห็น วิงเวียนและมึนงงง่าย การพูดและการกลืนลำบาก อาการชาและปวดกล้ามเนื้อ อาการชักเป็นครั้งคราว และปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ อาการต่างๆ เหล่านี้มีผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่สมบูรณ์เทียบเท่ากับบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะการเข้าร่วมทำกิจกรรมยามว่าง เช่น กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมการพักผ่อน และกิจกรรมการเรียนรู้ ก็จะลดลงไปทันที

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขของอเมริกาต้องลงทุนช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้เป็นมูลค่าเกินกว่าห้าหมื่นเหรียญต่อปี ขณะที่ประเทศไทยไม่มีการสำรวจและวิจัยการรักษาทางการแพทย์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากนัก ขณะนี้ผมกำลังศึกษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศออสเตรเลีย จึงอยากให้ผู้อ่านทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลเหล่านี้สู่เพื่อนๆเพื่อเป็นแนวทางการแนะนำผู้ป่วยให้ไปปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ทางการฟื้นฟูสภาพระบบประสาทต่อไปครับ

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้พยายามค้นคว้าและวิจัยโปรแกรมการรักษาที่มีประสิทธิผลมากที่สุดต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ผลการรักษาที่ดีขึ้นไม่ได้เกิดจากการได้ทำโปรแกรมโดยตรง ที่สำคัญขึ้นอยู่กับการเรียนรู้สภาพอาการของผู้ป่วยด้วยตนเองเป็นสำคัญ (Self-management program of symptomatic therapy) และปรับปรุงการกิจกรรมการดำรงชีวิตของตนเอง (modification of activity and participation) พร้อมๆกับการได้ทำโปรแกรมการรักษาและฟื้นฟูสภาพต่างๆ เช่น กิจกรรมบำบัดด้วยโปรแกรมการจัดการกิจกรรมยามว่าง (Occupational therapy in leisure management) หรือกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อบำบัดโรค (Physical therapy in therapeutic exercise)

จากงานวิจัยที่ผ่านมา การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (aerobic training) เป็นระยะเวลาสิบห้าสัปดาห์สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความทนทานของร่างกายในผู้ป่วย แต่ไม่สามารถลดระดับความเหนื่อยล้าและระดับสภาพจิตใจของความวิตกกังวลซึมเศร้าได้โดยตรง สำหรับการฝึกการยศาสตร์ของกิจกรรมบำบัด (ergotherapy of occupational therapy) ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อของผู้ป่วยให้ทำกิจกรรมการดำรงชีวิตประจำวันได้ระดับหนึ่ง แต่ยังคงต้องศึกษาค้นคว้าเทคนิคการรักษาอื่นๆ ในการพัฒนาความสามารถการทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น กิจกรรมยามว่าง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากท่านผู้อ่านพบบุคคลที่ท่านรักมีอาการดังกล่าว สิ่งที่คุณสามารถทำได้ดีที่สุดคือการพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญและพยายามสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยกำลังใจจากสมาชิกภายในครอบครัวและนำผู้ป่วยร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนครั้งที่ผู้ป่วยยังเคยดำเนินชีวิตก่อนเกิดโรค ที่สำคัญการช่วยเหลือและให้กำลังใจในการเพิ่มพูนความสามารถในการทำกิจกรรมหนึ่งๆของผู้ป่วยถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาและฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์เช่นกัน

ก่อนจบบทความนี้ ผมอยากมอบบทกลอนหนึ่ง เพื่อเป็นแรงใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่เค้ารักครับ

วันนี้ที่ช่องว่างความแตกต่างเริ่มหดสั้นทุกครั้งที่ได้คุยกัน

         วันนี้ที่ความฝันเริ่มก่อตัวบนพื้นฐานของความเข้าใจ

                 แม้การได้รักใครสักคนอาจไม่ได้หมายถึงการได้อยู่เคียงข้างกันไปตลอดก็ตาม

             ขอแค่เพียงมีช่วงเวลาหนึ่งที่ได้คิดถึงได้ทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างระยะห่างของความรู้สึกเท่านั้นก็พอ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23071เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2006 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การเพิ่มพูน...พลัง..แห่งการดำรง
นั้นคือ...พลังแห่ง"รัก"...

หาก"รัก"..ที่จะเข้าใจ..

ไม่ว่าจะเจ็บ"ป่วย"..ด้วย..ใดใด

ก็ย่อม..มี"พลัง"...แห่งการหาย...และสู้ต่อไป

เพื่อ"ชีวิต"...ที่มีและเหลืออยู่

 

ปล.หากเพื่อประโยชน์ใดใดที่ก่อเกิด..ต่อการช่วยเหลือ"มนุษย์"ดังความตั้งใจขอผู้บันทึก...จะช่วยส่งข่าวและร่วม ลปรร. นะคะ


 

Thank you krab Dr. Ka-Poom for your nice poetry. Loving with social support is really important for people with chronic conditions.

Many thanks again for your distributing this issue.

 

POP:) ต้องเขียนภาษาอังกิตเพราะไม่มี key board ไทยใช่มั้ยครับ?

Thank you krab Khun No Identification,

Yeah...if I want to report in Thai, I'd use a key board at home without connecting online. That's why typing in English here at my office makes a quicker response.

 

คนที่เป็นโรคนี้ต้องดูแลตัวเองมาก ๆ ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ที่สำคัญความเครียด ,สภาวะอากาศ,เชื้อไวรัสต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการของโรค โรคนี้ในประเทศไทยพบไม่มากนะมีการจัดตังชมรมขึ้นมาแล้ว thaims.com ค่ะ คนที่เป็นโรคนี้น่าสงสารมาก จะมีอาการทรมานอยู่ภายในร่างกาย เช่น อาการชา ตามมือ เท้า ตามตัว คนที่เป็นมาก ๆ จะชาที่ตัวจนเหมือนกับมีอะไรมารัด อาการอ่อนแรง เหนื่อยง่าย เพลีย บางคนกล้ามเนื้อลีบ ดวงตาสูญเสียการมองเห็น หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตไปเลยก็ได้ วิธีการสำคัญในการดูแลตัวเองที่ดีที่สุดคือ ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้า แอโรบิค (ไม่ควรต่ำกว่าสิบห้านาที) พยายามทำทุกวัน การทำงานบ้่านก็ช่วยได้เหมือนให้กล้ามเนื้อได้ออกแรง การพักผ่อนไม่ควรนอนดึกมาก เพราะร่างกายผู้ป่วยอ่อนแอกว่าคนปกติมาก การทานอาหารควรเน้นผัก ผลไม้นะ แต่ก็ควรให้ครบห้าหมู่ แนะนำให้ทานน้ำผักผลไม้ปั่นค่ะพวกที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน เช่นน้ำแครอท แอปเปิ้ล ฝรั่ง ส้มคั้น แนะนำให้ทานตอนที่ปั่นเสร็จตอนนั้นเลยค่ะ กากอย่าทิ้งเพราะประโยชน์จะอยู่ที่กากมากกว่าน้ำ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผิดปกติกว่าธรรมดา เช่น โกรธ หรือหงุดหงิด โดยเฉพาะอารมณ์ซึมเศร้า ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมคนรอบข้างต้องเข้าใจนะคะ พยายามให้กำลังใจผู้ป่วยมาก ๆ ภายนอกของผู้ป่วยอาจจะดูปกติเหมือนเราแต่อาการภายในทรมานค่ะ อาการชา อ่อนแรง เหนื่อย พวกนี้จะเป็นตัวที่ทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิด การรักษามีตัวยาที่ป้องกันการเกิดซ้ำของโรค เช่น อินเทอร์เฟรอน ราคาแพงมากแต่คิดว่าเป็นตัวยาที่ดีที่สุดในขณะนี้ นอกนั้นเป็นตัวยารักษาตามอาการ หรือยาควบคุมอาการเช่น อิมมูแรน เอ็นด็อกแซน ผู้ป่วยที่ทานยาพวกนี้จะต้องตรวจเลือดทุกเดือนเพื่อตรวจดูเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง อย่าลืมนะคะกำลังใจจากคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยต่อสู้กับโรคได้และกำลังใจจากตัวผู้ป่วยเอง โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ได้แต่หวังว่าอีกไม่นานวิวัฒนาการใหม่ ๆ ทางการแพทย์คงจะมีวิธีการที่ช่วยได้ หากท่านที่เป็นโรคนี้หรือมีญาติที่เป็นโรคนี้อยากจะแนะนำแพทย์ที่เก่ง ๆ จากสถานบริการสุขภาพพิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศรีพัฒน์) อ.นพ.พิเศษ เมธาภัทร ท่านเชี่ยวชาญด้านระบบประสาท ท่านให้คำแนะนำที่ดีมากและใจดีมากค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ m มากครับ เป็นประโยชน์มากครับ

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ m มากครับ เป็นประโยชน์มากครับ

สิ่งหนึ่งที่ช่วยในเรื่องของโรคนี้ คือ การทำโยคะ เพราะช่วยให้หายปวดหายชา และยังทำให้ใจสงบ ไม่โกรธหรือหงุดหงิดง่าย ควรทำทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงก็ได้ ลองตั้งใจทำดูนะคะแล้วจะเห็นผล เพราะเราก็ทำจนสามารถเลิกทานยาอิมมูแลน ได้สำเร็จทั้งๆที่คุณหมอเคยบอกว่าต้องทานไปจนตลอดชีวิต

ขอบคุณครับหนูจิ

ขอบคุณคุณ Yu-MS ครับ

ปวดอกและท้องมากๆทำอย่างไร รักษาโดยแพทย์ทางเลือกดีไหม

ขอบคุณบทความดีๆค่ะ บทความนี้ทำให้หนูเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยMS มากขึ้น รู้ถึงแนวทางการให้กำลังใจและดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในอนาคตข้างหน้า หากต้องเป็นผู้ดูแลและบำบัดผู้ป่วยโรคนี้ หนูคงต้องขออนุญาติ นำคำแนะนำต่างๆ ทั้งการให้กำลังใจ การช่วยลดเกร็ง การพัฒนาทักษะในการทำกิจกรรม ในบทความนี้ไปเป็นแนวทางต่อไป ขอขอบคุณค่ะ

ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณกี่คนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท