นามนี้มีที่มา


ชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ล้วนแสดงถึงอัตตลักษณ์ของตนเองผ่านคำวิสามานยนามนั้น ๆ ให้เราได้ทราบ(บางคนไม่ทราบ)

ภาษาภูมินามเป็นภาษาที่บ่งชี้ชื่อสถานที่ที่เป็นชื่อบ้านนามเมือง  โดยแสดงให้เห็นถึงสภาพภูมินิเวศ  ต้นเค้าทางตำนาน  ประวัติศาสตร์  ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร อาจจำแนกได้หลายลักษณะเช่น  ประเภทแหล่งน้ำ  ประเภทที่สูง  ประเภทป่าดง   ปะเภทพื้นที่ทำมาหากิน  เป็นต้น   (บุญยงค์   เกศเทศ,  ๒๕๔๗ : ๑๗ )   การตั้งชื่อถิ่นฐานนั้นมีข้อบ่งบอกถึงสถานะความเป็นอยู่  ตลอดจนบริบทของชุมชนนั้นอย่างชัดเจน  ในปัจจุบันผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจในความเป็นมาของชื่อถิ่นฐานก็มักตีความผิด  จนนำไปสู่การเปลี่ยนชื่อถิ่นฐานในที่สุด  ซึ่งนับว่าเป็นความเลวร้ายของการใช้ภาษาที่ไม่ตรงกับที่มาที่แท้จริง

                ดังนั้นผู้เขียนจึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาที่มา   ความเป็นไป  และการเปลี่ยนแปลงของการตั้งชื่อหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นอย่างชัดเจน และเป็นแนวทางในการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ชุมชน โดยเลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน  ๑๓  หมู่บ้าน  ที่ต่างอำเภอและต่างจังหวัด  เพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายในการตั้งชื่อบ้านนามเมือง  พบมูลเหตุการตั้งชื่อหมู่บ้าน  คือ

                ๑. การตั้งชื่อหมู่บ้านโดยใช้ชื่อต้นไม้เป็นปัจจัยหลัก  คือ การตั้งชื่อหมู่บ้านโดยอาศัยต้นไม้ที่มีมากในชุมชนหรือที่โดดเด่นในชุมชนเพื่อตั้งชื่อหรือเพื่อเป็นชื่อหลักในการตั้งชื่อหมู่บ้าน  ซึ่งปรากฏจำนวน   ชื่อ  คือ

                                ๑.๑ บ้านแต้ 

                                                เป็นการตั้งชื่อโดยอาศัยบริบทว่าในบริเวณแห่งนี้เดิมมีต้นแต้(มะค่า)จำนวนมาก  จึงตั้งชื่อตามบริบทนั้นเป็นชื่อหมู่บ้าน

                                ๑.๒  บ้านซำเขียน

                                                เป็นการตั้งตามชื่อต้นไม้คือต้นจำเกรียนที่มีมากในชุมชนนั้น

                                ๑.๓  บ้านบก 

                                                เป็นการตั้งชื่อโดยอาศัยบริบทว่าบริเวณแห่งนี้มีต้นบก(กระบก)จำนวนมาก  จึงได้อาศัยชื่อนั้นเป็นการตั้งชื่อหมู่บ้าน

                                ๑.๔  บ้านหนองแสง

                                                เป็นการชื่อตามต้นแสงที่มีจำนวนมากในบริเวณแหล่งน้ำท้ายหมู่บ้าน

                                ๑.๕ บ้านคำบาก

                                    เป็นการตั้งชื่อตามสภาพบ้านที่มีต้นบาก(กระบาก)จำนวนมาก 

จึงได้อาศัยลักษณะนั้นเป็นชื่อหมู่บ้าน

                                ๑.๖ บ้านป่าบาก

                                                เป็นการตั้งชื่อตามสภาพป่าไม้ที่มีต้นบาก(กระบาก)อยู่จำนวนมาก

 จึงอาศัยเป็นปัจจัยในการตั้งชื่อหมู่บ้าน

                ๒. การตั้งชื่อหมู่บ้านโดยอาศัยแหล่งน้ำเป็นชื่อหลักในการตั้งชื่อหมู่บ้าน  แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการตั้งถิ่นฐานที่มีมาแต่โบราณ   เพราะมนุษย์มักตั้งถิ่นฐานบริเวณริมน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค   ลักษณะชุมชนเหล่านี้จึงได้มีการนำเอาแหล่งน้ำมาเป็นปัจจัยหลักในการตั้งชื่อหมู่บ้าน  ซึ่งปรากฏจำนวน   ชื่อ  ดังนี้

                                ๒.๑  บ้านหนองแสง

                                                เป็นการตั้งชื่อตามแหล่งน้ำที่มีในชุมชนโดยอาศัยคำว่า หนอง

  เป็นคำหลักแล้วจึงยึดเอาชื่อต้นไม้ที่มีมากบริเวณนั้นเป็นชื่อประกอบ

                                ๒.๒  บ้านบ่อชะเนง

                                                เป็นการตั้งชื่อหมู่บ้านโดยอาศัยตั้งชื่อตามแหล่งน้ำที่ตนเองเคยอาศัยอยู่   พอย้ายถิ่นฐานจึงได้เอาชื่อเดิมของตนเองที่มีต้นเค้ามาจากแหล่งน้ำ  นำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านต่แล้วค่อยเพิ่มคำอื่นประกอบ

                                ๒.๓  บ้านห่องขอน

                                                ตั้งชื่อตามลักษณะภูมิประเทศแหล่งน้ำ  เพราะชุมชนนี้มีร่องน้ำด้านข้างของหมู่บ้าน  เมื่อชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนจึงเห็นร่องน้ำที่ท่อนไม้ลอยอยู่มากมาย

จึงได้นำเอาลักษณะเช่นนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านซึ่ง  ห่อง   มาจากคำว่า  ฮ่อง  หมายถึง 

ร่องน้ำ    ส่วนคำว่า  ขอน  หมายถึง  ท่อนไม้

                                ๒.๔  บ้านโสกชัน

                                                ตั้งชื่อบ้านตามลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏ   กล่าวคือที่บริเวณหมู่บ้านนี้มีทางน้ำที่เป็นลักษณะโตรกที่ลาดชัน  ดังนั้นจึงตั้งชื่อบ้านตามลักษณะนี้เป็นสำคัญ   ซึ่งคำว่า  โสก  หมายถึง  โตรก,  ทางน้ำไหนที่แคบ  ลึก 

                                ๒.๕  บ้านคำบาก

                                                ตั้งชื่อตามแหล่งน้ำในหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อชาวบ้าน   ซึ่งคำว่า คำ หมายถึง  หนองน้ำขนาดใหญ่   บาก(กระบาก)  เป็นชื่อต้นไม้ซึ่งมีมากที่ริมหนองจึงเรียกว่า คำบาก  

                ๓. การตั้งชื่อหมู่บ้านโดยอาศัยชื่อสัตว์  โดยยึดเอาสัตว์ที่มีจำนวนมากหรือที่โดดเด่น

มาเป็นชื่อหมู่บ้าน  จากข้อมูลพบว่ามีเพียงหมู่บ้านเดียว  คือ

                                บ้านนกเต้น 

                                                ตั้งชื่อบ้านจากนกเต้น(กระเต้น)ที่มีมายในบริเวณชุมชนนั้น 

เมื่อชาวบ้านเข้ามาสร้างบ้านจึงได้ยึดเอาชื่อนกเป็นชื่อหมู่บ้าน

                ๔. การตั้งชื่อหมู่บ้านโดยอาศัยการตั้งชื่อจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในชุมชน 

เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกเรื่องราวเหล่านั้น  จากการศึกษาพบเพียงหนึ่งชื่อเรื่อง  คือ

                                บ้านบ่อซะนง

                                                คำว่า  ซะเนง   เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า เสน่ง  ซึ่งแปลว่า  เขาสัตว์  ซึ่งชาวบ้านนี้มีอาชีพต้มเกลือสินเธาว์ขาย  พอดีมีโจรมาปล้นจึงรวมกันต่อสู่จนชนะ  โจรได้ทิ้งปืนและเสน่งเก็บดินปืนทิ้งอยู่เต็ม  ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามของที่โจนทิ้งไว้  เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ

            นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกชื่อหมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลง   กร่อนเสียง  เพี้ยนจากเสียงเดิม  ซึ่งบางครั้งก็อาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปด้วย     คำเหล่านั้นจึงควรศึกษาเพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์   วิวัฒนาการของชุมชน   ซึ่งคำที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลง   กร่อนเสียงและการเพี้ยนจากเสียงเดิม   ดังนี้

                                ๑.  สำโรง    มาจากคำว่า  สัมโฮง  ซึ่งเป็นชื่อไม้ยืนต้น 

                                ๒. ซำเขียน   มาจากคำว่า  จำเกรียน  ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้

                                ๓. บก           กร่อนเสียงเดิมคือ  กระบก    แล้วเหลือไว้แค่คำท้ายเท่านั้น

                        ๔. หว้า       มาจากคำว่า  หมากหว้า   แล้วกร่อนเสียงหน้าลง.      หว้า  หมายถึง  ต้นหว้า(ลูกหว้า)

                                ๕. แต้      มาจากคำว่า  บักแต้ หมายถึง  ต้นมะค่า

                                ๖. แสง    คือ ชื่อต้นไม้ที่ขึ้นริมน้ำ

                                ๗. หนอง  คือ  แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

                                ๘. ซะเนง   มาจากคำว่า   เสน่ง  หมายถึง  เขาสัตว์  ในที่นี้หมายถึง  เขาสัตว์ที่ใช้บรรจุดินปืน

                                ๙. ห่อง   มากจากคำว่า  ฮ่อง  หมายถึง  ร่องน้ำ

                                ๑๐. โสก  คือ  ทางน้ำไหลที่มีความลาดชันสูง

                                ๑๑. คำ    คือ  แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่

                                ๑๒. บาก  มาจากคำว่า  กระบาก  หมายถึง  ไม้ยืนต้นวงศ์ยาง  เป็นไม้เนื้อแข็ง

                        ๑๓. นกเต้น  มาจากคำว่า  นกกระเต้น  คือ  ชื่อนกชนิดหนึ่งที่อาศัยริมน้ำเพื่อหาปลาเป็นอาหาร

                                ๑๔. ศรีชุมพร เปลี่ยนมาจาก  บ้านส้มผ่อ(ต้นข่อย)

                จากการนำเสนอข้อวิเคราะห์ข้างต้น  พอที่จะทำให้เราเห็นได้ว่า  การตั้งชื่อหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา  ประวัติศาสตร์   ภูมิประเทศอีกด้วย  และยังเป็นข้อบ่งชี้ถึงขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและย่อมเปลี่ยนไปจากผู้รู้(ที่คิดว่าตนเองรู้มาก)   ชื่อหมู่บ้านจึงถูกแผลงหรือเปลี่ยนแปลงไป

                การศึกษาในครั้งนี้ยังพบว่า  มีการตั้งชื่อตามต้นไม้  แหล่งน้ำ  สัตว์และวีรกรรม  ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงลักษณะชุมชนนั้น   ดังนั้นจึงควรที่ใจใส่ใจศึกษา  สำรวจชื่อหมู่บ้านที่โดนผู้รู้(ที่คิดว่าตนเองรู้มาก) เปลี่ยนชื่อใหม่หากการตั้งชื่อนั้นผิดไปจากความหมายเดิมก็ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คงความหมายเดิม   มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งเดิมชื่อ บ้านลาดควาย  เพราะมีห้วยที่ลาดชัดเป็นท่าลงน้ำของควาย  แต่พอมีผู้รู้(ที่คิดว่าตนเองรู้มาก)เข้ามาพบก็เปลี่ยนเป็น บ้านราชกระบือ  คราวนี้แหละชาวบ้านต้องแต่งนิทานราชาควายขึ้นใหม่เพื่อให้สอดรับกับชื่อใหม่(หัวเราะ)  หรือบ้านเปือย(มีต้นเปือย-ต้นตะแบกเยอะ)ผู้รู้(ที่คิดว่าตนเองรู้มาก)ก็เขียนเป็น บ้านเปลือย ก็เอาเป็นว่าชาวบ้านต้องแก้ผ้ากันทุกคนให้เข้ากับชื่อหมู่บ้าน(หัวเราะ)  บทความนี้ก็สมควรแก่เวลา  เอวัง  ก็มีด้วยประการฉะนี้แล  

 

นามหมู่บ้านที่นำมาศึกษา

๑.   ชื่อ  บ้านสำโรง     ตำบลคูเมือง    อำเภอมหาชนะชัย    จังหวัดยโสธร

๒. ชื่อ  บ้านศรีชุมพร     ตำบล ส้มผ่อ       อำเภอ ไทยเจริญ       จังหวัด ยโสธร

๓.  ชื่อ  บ้านแต้       ตำบลกุง          กิ่งอำเภอ ศิลาลาด        จังหวัดศรีสะเกษ

๔. ชื่อ  บ้านซำเขียน   ตำบลไพร   อำเภอ ขุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ 

๕. ชื่อ  บ้านบก   ตำบลโนนข่า    อำเภอ เมือง   จังหวัดศรีสะเกษ

๖. ชื่อ  บ้านหว้า   ตำบลหนองเต็ง   อำเภอกระสัง   จังหวัดบุรีรัมย์

๗. ชื่อ   บ้าน หนองแสง   ตำบล ท่าไห   อำเภอเขื่องใน    จังหวัดอุบราชธานี

­๘. ชื่อ  บ้านนกเต็น   ตำบล  โนนกลาง  อำเภอพิบูลมังสาหาร   จังหวัดอุบลราชธานี

๙. ชื่อ  บ้านบ่อชะเนง   ตำบล หัวตะพาน   อำเภอ หัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ

๑๐.ชื่อ   บ้านห่องขอน  ตำบลบอน  อำเภอ สำโรง   จังหวัดอุบลราชธานี

๑๑. ชื่อ  บ้านโสกชัน   ตำบล สารภี   อำเภอ โพธิ์ไทร   จังหวัด อุบลราชธานี

๑๒. ชื่อ  บ้านคำบาก   ตำบลห้วยข่า   อำเภอบุณฑริก  จังหวักอุบลราชธานี

๑๓.ชื่อ  บ้านป่าบาก   ตำบลขอนแก่น   อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ (Tags): #เขี่ยภาษา
หมายเลขบันทึก: 230654เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับ คุณหนุ่ม กร~natadee ขอให้มีความสุขเช่นกัน

สวัสีค่ะ อ.พิมล

  • ขอบคุณมากค่ะ ที่อาจารย์ให้ความรู้เรื่องการตั้งชื่อหมู่บ้าน
  • อาจารย์ไม่ไปศึกษาที่อุดรบ้างหรือคะ เพราะมีชื่อหมู่บ้านที่มาจากการที่มีสัตว์จำนวนมาก เช่น บ้านหนองนกเขียน บ้านดงหมู แบบนี้คงจะตั้งชื่อหมู่บ้านเหมือนกับที่อาจารย์วิเคราะห์ไว้นะคะ
  • ได้ความรู้มากมาย ขออนุญาตเก็บไว้อ่านเผื่อมีคนถามจะได้ยืมไปบอกเขาได้ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับครูลี่ที่เข้ามาเยี่ยมยาม ถ้าอาจารย์ภาษาภูมินามของอุดรลองอ่าน "สาส์นสมเด็จ" ดูนะครับ เค้าเขียนไว้เป็นบางอำเภอ แต่ตำบลหมากแข้งนี่ขอบอกได้เลยว่ามาจากนามของต้นหมากแข้งป่า(ไม่ใช่หมากแข้งบ้านที่เรากินกัน) ลักษณะจะเหมือนหมากแข้งบ้านทุกประการ เพียงแต่มันมีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก ใบเท่ากับใบมะละกอ ผู้เฒ่าเล่าให้ผมฟังว่า เดิมทีที่ตำบลหมากแข้งมีต้นหมากแข้งใหญ่ล้มลงพระธุดงค์ได้ขึ้นไปฉันข้าวบนตอหมากแข้งได้ถึง 8 รูป (แสดงว่าใหญามาก) บางคนก็เล่าถึงความใหญ่ของหมากแข้งป่าต้นนั้นว่า เคยมีการบวชบนตอหมากแข้งมีพระนั่งหัตบาต(เป็นสักขีพยาน)มากถึง 20 รูป ที่ลาวมีกล้องเพลไม้หมากแข้งเค้าว่าเอาไว้ตีให้นาคมาช่วยกษัตริย์แต่ปัจจุบันผุพังแล้ว

ขอบคุณค่ะ อ.พิมล

  • นี่ไงละคะ ครูลี่เป็นคนอุดรฯ ยังเพิ่งรู้ เรื่องตำบลหมากแข้งตอนที่อาจารย์บอกเลยค่ะ
  • โอ้โห ต้นหมากแข้งใหญ่ขนาด (ภาษาบ้านครูลี่)
  • อาจารย์มีตำนานเกี่ยวกับพระพุทธบาทบัวบกไม๊คะ ครูอยากอ่าน เขียนยาวๆนะคะอาจารย์
  • ขอบคุณล่วงหน้ามาก่อนเลยค่ะ จะได้อ่านเร็วๆ

สวัสดีครับ

ภาษาเก่าๆ จะถูกเก็บไว้ในชื่อนามบ้านเมืองนี่แหละ

ถ้ามีคนไปเปลี่ยนชื่อ อีกหน่อย ศัพท์พวกนี้ก็คงหาย

ถ้าได้บันทึกไว้ คนรุ่นใหม่จะได้เข้าใจทั้งที่มา และความหมายศัพท์

ขอบคุณครับ

เห็นด้วยครับ (แต่น่าเสียดาย ผู้นำหลายหมู่บ้านได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านไปแล้ว)

ถึงครูลี่

ผมจะพยายามค้นดูนะครับ แต่ข้อมูลแบบนี้โดยมากเข้าเผยแพร่กันอยู่แล้ว แต่ผมจะลองสังเคราะห์ให้ฟังในโอกาสต่อไป หากมีคำใดให้ผมคุ้ยเขี่ยให้ก็บอกมาเลยนะครับ

ขอบพระคุณ ในคำ ที่แนะนำ

ถือมีค่า เลิศล้ำ ยามเสาะหา

บททีหนึ่ง เว้นวรรคผิด นิดเดียวนา

นอกนั้นหนา ถูกแล้ว แจ๋วจริงๆ

ขอบคุณครับที่ช่วงส่องภาษาให้ เยี่ยมจริง ๆ หวังว่าจะมีกลอนงาม ๆ ให้อ่านบ่อย ๆ นะครับคุณจิระ

สวัสดีค่ะ...ตามมาอ่านอีก...บ้านโนนเสียวชื่อบ้านเฮาตั้งตามสภาพภูมิศาสตร์ เพราะอยู่ที่สูง ระหว่างดงแม่เผดกับดงนามนค่ะ...ได้ยินว่าอยากจะเปลี่ยนชื่อกันแล้ว...และชื่อบ้านหัวขวาที่ฝั่งแม่น้ำปาวอ.กมลาไสยเปลี่ยนใหม่ผิดที่ผิดความหมาย ชื่อเดิมคือบ้านหัวขัว(หมายถึงบ้านที่ตั้งอยู่ติดสะพาน)...อีกเยอะที่เปลี่ยนโดยไม่มีความรู้

สวัสดีครับคุณจอมใจ

บ้านโนนเสียวตั้งตามสภาพภูมิศาสตร์อย่างที่คุณว่านั้นถูกต้องแล้วครับ และถ้าจะให้สมบูรณ์ต้องอธิบายต่อไปว่าบ้านนี้อยู่ใกล้แม่น้ำเสียวหรือมีต้นเสียวเยอะกันแน่จึงได้มีคำว่า "เสียว" ต่อท้าย ส่วนบ้านหัวขวานั้นนั้นผมก็เห็นด้วยนะครับที่มีคนทำตนเป็นฤาษีแปลงสาร แต่ฤาษีแปลงสารแล้วดีขึ้นนะ ส่วนแปลงสารแล้วแย่ลง 5 5 5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท