จรรยาบรรณนักบริหารทรัพยากรมนุษย์


จรรยาบรรณนักบิหารทรัพยากรมนุษย์

จรรยาบรรณนักบริหารทรัพยากรมนุษย์

 

                การทำหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคลมีส่วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตนบางคนได้  หรืออาจหมายถึงการมีโอกาสหรือหมดโอกาสได้  อาจหมายถึงการมีงานทำหรือการไม่มีงานทำจึงต้องมีการวางแผนกำหนดจรรยาบรรณของนักบริหารบุคคลขึ้นโดยความร่วมมือของสมาคมวิชาชีพ  ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจต่างระดมสมองเพื่อให้ได้ข้อยุติที่สามารถใช้เป็นหลักในการทำงาน  โดยสรุปได้ดังนี้

                จรรยาบรรณข้อที่ 1  พึงซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ  เคารพเอกสิทธิ์ขององค์กรและฝ่ายบริหาร

(Professional  loyalty, yield  to  the  right  of  the  organization and the management)

1.       ศรัทธาต่อวิชาชีพของตน

2.       รับผิดชอบต่อวิชาชีพของตน

3.       ใช้วิชาชีพอย่างสุจริต

4.       ใช้วิชาชีพให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

5.       ไม่ล่วงล้ำในอำนาจของฝ่ายบริหาร

6.       ไม่แสวงหาประโยชน์จากฝ่ายใด

7.       มีสติในการวินิจฉัยปัญหา

8.       มุ่งปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

9.       ใฝ่หาความรู้และพัฒนาตนเอง

10.   ปกป้องชื่อเสียงของนักบริหารงานบุคคล

                จรรยาบรรณข้อที่ 2 ยึดมั่นในความยุติธรรม  คุณธรรมและรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย (Maintain  justice  and benefit to  all parties)

1.       มีความเที่ยงธรรม

2.       วางตัวเป็นกลาง

3.       มีพรหมวิหารสี่

4.       มีขันติธรรม

5.       มีจริยธรรม

6.       มีความอดทน

7.       มีความละอายที่จะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

8.       สร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย

9.       ขจัดความไม่ยุติธรรม

10.   ส่งเสริมสนับสนุนผู้กระทำความดี

                จรรยาบรรณข้อที่ 3 วางตัวและมีจุดยืนในฐานะฝ่ายนายจ้างอย่างเป็นธรรม  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนายจ้างและสิทธิอันพึงมีพึงได้ของลูกจ้าง

1.       ประสานประโยชน์ของทุกฝ่าย

2.       สร้างความเชื่อถือแก่ทุกฝ่าย

3.       รักษาผลประโยชน์ของนายจ้าง

4.       สร้างความมั่นคงให้แก่องค์กร

5.       ปกป้องคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง

6.       รักษาความเป็นกลาง

7.       เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

8.       ไม่สร้างและ/หรือไม่ส่งเสริม  สนับสนุน  อิทธิพลของฝ่ายใด

9.       ส่งเสริมการใช้แลละพัฒนาบุคลากรเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

10.   ป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากทุกฝ่าย

                จรรยาบรรณข้อที่ 4 รักษาและปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับในการทำงาน  ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือข้อตกลงอื่นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอย่างเคร่งครัด

1.       พยายามให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับและข้อตกลง

2.       รักษาระเบียบข้อบังคับและหาวิธีการให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม

3.       หาแนวทางปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ  บนรากฐานของกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับ  ขนบธรรมเนียมประเพณี

4.       คำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่ายตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด

5.       ดำเนินการให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด

6.       พัฒนาให้การปฏิบัติงานมีระบบ  ประหยัด  คล่องตัว  มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิภาพ

7.       ติดตามผลการปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ

8.       หาแนวทางแก้ไข  ปรับปรุง  ความล้าสมัยของระเบียบข้อบังคับและข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย

9.       ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบข้อบังคับและข้อตกลง

10.   ส่งเสริมสนับสนุน  ผู้รักษาและปฏิบัติ  ตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับและข้อตกลง

 

 

หมายเลขบันทึก: 230586เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นักบริหารทุกคนควรมีจรรยาบรรณ เพื่อจะได้พัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

ถ้าทุกคนมีจรรยาบรรณของตัวเองก็ดี ทุกองค์การต้องมีจรรยาบรรณ

ขอบคุณคุณ mommam และลูกฮวกค่ะที่สนอแนวคิด

ทุกอาชีพถ้ามีจรรยาบรรณนำทาง สังคมก็คงสงบสุข การพัฒนาก็ย่อมเกิดได้ง่ายโดยเฉพาะในผู้บริหารองค์กรต่างๆ

ขอบคุณน้อง sukanya su hom จ้ะ ที่ร่วมเสนอแนวคิด จริง ๆ แล้วทุกอาชีพก็ต้องมีจรรยาบรรณในสายอาชีพนั้น ๆ อยู่แล้ว เพียงแต่จะสามารถปฏิบัติตามหรือมีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณนั้น ๆ หรือเปล่า พี่คิดว่าน่าจะอยู่ในจิตสำนึกของแต่ละบุคคลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท