...โจราธิปไตย...


เพื่อนๆครับ...

ผมอดไม่ได้ที่จะนำบทความนี้มาแชร์ให้อ่านอีกครั้งหนึ่ง

ยังย้ำจุดยืนที่บอกมาตลอดว่า ผมไม่ใช่เสื้อแดง และไม่ใช่เสื้อเหลือง...

สิ่งที่นำเสนอมาโดยตลอดคือ การยืนหยัดไม่เห็นด้วยกับการให้ประเทศอยู่ในน้ำมือโจร

ไม่ว่าจะเป็นโจรที่เป็นลูกหมอประสาทสีเขียว หรือ โจรลูกประธานรัดถะสะพา หรือแม้แต่โจรหน้าเหลี่ยม...

ประเทศแต่ละประเทศควรหันมาทบทวนตนเองได้แล้วมั้งว่า ระบอบประชาธิปไตย ระบอบสังคมนิยม และระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย แต่ละอันมีลักษณะดีร้ายอย่างไรบ้าง...

ปัจจัยพื้นฐานของประชากรในประเทศเป็นเช่นไร...ทั้งในด้านระดับความรู้/การศึกษา อุปนิสัยใจคอ ฯลฯ

อะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน?

และการคงระบบต่างๆ ไว้ดั่งในปัจจุบันนั้น มีอะไรบ้างที่เป็นตัวทำให้เกิดการคงอยู่ของช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างชั้นวรรณะ และรายได้???

สองปัจจัยหลังนั้น ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาหรือไม่???........โปรดตรองดู............

 

 

 

 

 

 

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 20:00:44 น.  มติชนออนไลน์


โจราธิปไตย...โดยประสงค์ วิสุทธิ์

คำถามคือ ทำไมบรรดา ส.ส.ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องรับฟัง พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งมีฐานะป็นอาชญากรหนีคดีอาญาแผ่นดินเช่นเดียวกับนายวัฒนา? ทำไม ต้องให้ความสำคัญกับ"การโฟนอิน"ว่า จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง

เห็นสถานการณ์การเมืองที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์เพื่อช่วงชิงจัดตั้งรัฐบาลแล้ว นึกถึงคำว่า"โจราธิปไตยŽ ซึ่งเป็นศัพท์ที่ไมเคิล ไรท ฝรั่งหัวใจไทยนิยมใช้เป็นประจำขึ้นมาทันที

 


การช่วงชิงอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องปกติ ถ้าช่องทางในการได้อำนาจนั้นมาเป็นไปอย่างถูกต้องชอบธรรม (รวมทั้งถูกต้องตามกฎหมายด้วย) จากความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย

 


แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้น่าจะเกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่ชอบธรรม ไม่เป็นไปตามกฎหมายหรืออาจเรียกได้ว่า เป็นอำนาจเถื่อน

 

ดูจากฟากพรรคประชาธิปัตย์ก่อน ถ้าไม่มีอะไรพลิกผัน มีโอกาสสูงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคจะได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 15 ธันวาคม

 


ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จะเจรจากับตัวแทนพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เคยอยู่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนเดิมให้พลิกขั้วมาอีกด้านหนึ่ง

 


แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ไปเจรจาต่อรอง(ผลประโยชน์?)กับใครบ้าง ไล่ตั้งแต่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรค นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ผู้สนับสนุนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นายพินิจ จารุสมบัติ นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี หัวหน้าก๊กในพรรคเพื่อแผ่นดิน นายสมศักดิ์-นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่ม ส.ส.ชฌิมาธิปไตย(นายสมศักดิ์ พูดเต็มปากว่า เป็นพรรคของเรา) นายเนวิน ชิดชอบ หัวเรือใหญ่กลุ่มเพื่อนเนวินที่อ้างว่ามี ส.ส.สังกัดกว่า 30 คน

 


โดยเฉพาะรายหลังนี้ถึงกับกอดกันกลมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แบบไม่อายฟ้าอายดิน

 


ถามว่า บุคคลที่เอ่ยชื่อมาทั้งหมดถูกศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่สามารถดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองและไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 


เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและคำตัดสินก็บ่งบอกชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้บุคคลเหล่านี้ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการได้อำนาจการปกครองมาโดยมิใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญมายุ่งเกี่ยวกับการปกครองประเทศโดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาล

 


พรรคประชาธิปัตย์เองก็เคยประกาศว่า เคารพการตัดสินขององค์กรทั้งสอง และแสดงท่าจะเป็นจะตายเมื่อมีการจัดตั้งพรรคพลังประชาชนขึ้นมาแทนพรรคไทยรักไทยโดยกล่าวหาว่า เป็นพรรค"นอมินี" ของ พ.ต.ท.ทักษิณและ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

 


แต่คราวนี้พรรคประชาธิปัตย์กลับยอมลดตัวไปเกลือกลั้วกับบุคคลที่ถูกตัดสินว่า บุคคลเหล่านี้เพื่อช่วงชิง ส.ส.มาไว้ในมือให้มากที่สุด

 


นี่ยังไม่นับ"กลุ่มสีเขียว" ที่ทั้งถีบ ทั้งดัน ทั้งกระทืบ พร้อมกับข้ออ้างถึง"บุคคล" ที่ไม่อาจปฏิเสธได้อย่างออกหน้าออกตา

 


ขณะเดียวกันยังมีข่าวว่า นายสุเทพโทรศัพท์ไปเจรจากับนายวัฒนา อัศวเหม อดีตที่ปรึกษาพรรคเพื่อแผ่นดินเพื่อให้ยอมพลิกกลับมาร่วมกับประชาธิปัตย์

 


ถ้าเป็นเรื่องจริง คำถามคือ นายวัฒนา เป็นอาชญากรหนีคดีอาญาแผ่นดินมิใช่หรือ ทำไมในการจัดตั้งรัฐบาลต้องไปเจรจากับอาชญากรด้วย?

 


ด้านพรรคเพื่อไทยก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่การจัดตั้งพรรคก็มาจากกลุ่มคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล นายสมชาย-นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่มีสภานภาพเดียวกับกลุ่มบุคคลที่เจรจากับพรรคประชาธิปัตย์

 


หัวหน้าพรรคก็เป็นเพียง"นอมินี" ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณอีกต่อหนึ่ง

 


แม้แต่การพยายามดึงตัวกลุ่มพรรคเล็กและ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินกลับมาพรรคเพื่อไทยก็ต้องอาศัย พ.ต.ท.ทักษิณโทรศัพท์ไล่บี้เป็นรายบุคคล

 


คำถามคือ ทำไมบรรดา ส.ส.ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องรับฟัง พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งมีฐานะป็นอาชญากรหนีคดีอาญาแผ่นดินเช่นเดียวกับนายวัฒนา?

 


ทำไม ต้องให้ความสำคัญกับ"การโฟนอิน" ของ พ.ต.ท.ทักษิณในวันที่ 13 ธันวาคมว่า จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง

 

หรือประเทศไทยตกอยู่ในระบอบ"โจราธิปไตย"?

 


ในการ"โฟนอิน" ของ พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน มีการพูดโกหกมดเท็จเรื่องหลายประเทศเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณไปเป็นที่ปรึกษา ทั้งๆ ที่เป็นการ"กุข่าว" ลวงโลก

 


จึงไม่รู้ว่า ในการ"โฟนอิน" ครั้งใหม่นี้จะมีการปั้นเรื่องอะไรขึ้นมาหลอกลวงอีก?

 


การให้ไความสำคัญใดๆ กับการ"โฟนอิน" ในงาน"ทรูธทูเดย์ truth today" หรือบางคนอาจเรียกว่า"เท็จทูเดย์"

 


เท่ากับให้ความสำคัญกับระบอบ"โจราธิปไตย"

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โจราธิปไตย
หมายเลขบันทึก: 229709เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2008 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ของกวินเขียนคำพูดของ อริสโตเติลติดไว้ที่ข้างๆโต๊ะทำงานว่า

"ความดีของมนุษย์ สิ้นสุดเมื่อเล่นการเมือง"

คงจะหมายถึงว่าคนดีๆ ก็ถูกป้ายสีให้ดูเลวร้ายไปได้ หรือคนที่ดีๆ เมื่อตกอยู่ในวังวนของระบบการเมืองที่ชั่วร้ายก็อาจจะพลอยชั่วร้ายไปด้วย
อีกสำนวนหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ ในวิชารัฐศาสตร์ก็คือ
"ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร"

คงจะหมายถึง ในยามที่มีผลผระโยชน์เกื้อกูล แม้ศัตรูก็อาจจะโอนอ่อนมาเป็นมิตร (เพราะหวังผลประโยชน์)

และแม้เป็นมิตร แม้ไม่มีผลประโยชน์เกื้อกูลกัน หรือขัดผลประโยชน์กัน มิตรภาพนั้น ก็อาจจะกลายเป็นศัตรู ไปเสียก็ได้

เมื่อใดก็ตามที่นักการเมืองคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์แห่งตน หรือคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์เพื่อพวกพ้อง ก็นับได้ว่าไม่มีความเลวใดที่นักการเมืองจะทำไม่ได้

สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้อภัย ดูอย่าง จอมพลถนอม หรือ พลเอกสุจินดา ที่เคยมีคนเคยออกมาเดินขบวนขับไประท้วง พอถึงบั้นปลายชีวิต พวกเขาก็กลับมายังแผ่นดินไทยได้ จริงๆ การให้อภัย+ลืมง่าย (โกรธง่ายหาเร็ว) นี้ เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ของสังคมไทยในคราวเดียวกัน

นักการเมืองไม่เกรงกลัว กฎหมาย มีเพียง กฎแห่งกรรม เท่านั้นที่นักการเมือง พอที่จะยำเกรงอยู่บ้าง ภาวนา+ให้อภัย นักการเมืองที่เคยทำผิดมาก่อน คงไม่มีใครเคยทำผิด ขอให้เริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีๆ และเกรงกลัว อำนาจกรรม ให้เยอะๆ สังคมก็คงสงบสุขกว่านี้นะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท