ปิดทองหลังพระ - อาชาบำบัด


ประสบการณ์ทำงานอาสาสมัครให้กรมทหารแห่งหนึ่ง จากช่วยงานหนึ่งครั้ง ติดต่องานผ่านอีเมล์หลายครั้ง จนโปรแกรมฝึกผ่านไป 3 รุ่น แนวคิดของผมจึงถูกนำไปใช้อย่างสมบูรณ์

เนื่องด้วยความเร่งรีบแสดงผลงานต่อสังคมไทย กรมทหารแห่งหนึ่งกับมูลนิธิแห่งหนึ่งพยายามติดต่อให้ดร. ป๊อป ใช้ความรู้พัฒนาโครงการอาชาบำบัดที่ได้เริ่มทำกันไปแล้ว พอเสนอแนะหนทางแก้ไขในหลายๆขั้นตอน ทางผู้รับผิดชอบต่างๆ ก็ยังคงดำเนินโครงการโดยไม่มีเวลามาพูดคุยเพื่อปรับโปรแกรมให้เหมาะสมกับเด็กพิเศษที่มีปัญหาความทักษะสามารถและพฤติกรรมทางจิตสังคมแตกต่างกัน ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมเรียนรู้ว่า งานอาชาบำบัดทำให้มีระบบได้หากผู้รับผิดชอบกลุ่มนี้มีการวางแผนและปรึกษาทีมนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญอาชาบำบัดก่อนเริ่มโปรแกรมจริงๆ ระบบที่ควรวางแผน ได้แก่ การเตรียมทีมนักวิชาการที่ปรึกษา (ขณะนี้เขาติดต่อผมแบบอาสาสมัครคนเดียว) การอบรมผู้เขียนโปรแกรม การสร้างงานวิจัยทดลองโปรแกรม การสร้างแบบประเมินโปรแกรม การเตรียมทีมนักอาชาบำบัด การคัดกรองเด็กออทิสติก และการส่งต่อเด็กออทิสติกในกรณีมีปัญหาพฤติกรรมที่จำเป็นต้องฝึกกิจกรรมบำบัด/จิตวิทยาในคลินิก ซึ่งต้องใช้เวลาก่อนจะเริ่มโปรแกรมจริงๆ อย่างน้อย 1 ปี 

ผมเลยต้องใช้ความพยายามนอกเวลางานประจำ โดยไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆ จนเมื่อวานผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายขอเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนเกิดโปรแกรมที่เหมาะสมเพิ่มในระดับเบื้องต้น ระดับกลาง (โปรแกรมเดิม) และระดับสูง ตลอดจนกระบวนการคัดกรองและประเมินเข้าโปรแกรมและส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ เหตุผลของการติดต่อเพราะผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายได้ลงทุนไปเรียนรู้ขั้นตอน/เทคนิคในการใช้ม้าเป็นสื่อในการบำบัดอย่างเดียว (Horse Therapy หรือ Therapeutic Horse Riding, THR) จากนักบำบัดชาวเยอรมัน แต่จะเห็นว่า อาชาบำบัด (Hippotherapy) แตกต่างจาก THR ตรงที่เราต้องมีระบบการจัดการสื่อการรักษาอื่นๆ พร้อมกับการฝึกกับม้า

ผมประทับใจในความพยายามของตนเองที่ใช้เวลาตั้งแต่เดือน ก.ค. จนถึง ธ.ค. ในการปรับทัศนคติให้ผู้ทำงานอาชาบำบัด จากไม่มีความรู้ในระบบทางการแพทย์และการดูแลเด็กพิเศษเลย ทำให้พวกเขารู้ว่า "ไม่มีใครแก้ไขปัญหาเด็กพิเศษได้จากอาชาบำบัดอย่างเดียว"

ลองติดตามอ่านอีเมล์ตอบโต้การทำงานต่างๆ บางส่วนดูครับ

เรียน XXXXXXXXXXX ที่นับถือ
 
ผมได้ศึกษารูปแบบการคัดกรองพฤติกรรม กรณีตัวอย่าง และคู่มืออาชาบำบัด เรียบร้อยแล้ว จึงขอเสนอแนะดังนี้
 

  1. แบบคัดกรองพฤติกรรมยังไม่มีความเที่ยงตรงในการสังเกตระหว่างครูฝึกและผู้ปกครอง และไม่มีการกำหนดช่วงระยะเวลาและกรอบการคัดกรองที่ชัดเจน การแก้ไข ให้ใช้แบบคัดกรองฉบับบแก้ไขจากนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด รพ.XXXXXXXXXXX ฉบับล่าสุด แต่ต้องจัดอบรมวิธีสังเกตพฤติกรรมให้ชัดเจนแก่ครูฝึกและผู้ปกครอง เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน (ผมได้โทรติดต่อคุณXXXXXXXXXXX นักกายภาพบำบัด รพ.XXXXXXXXXXX แล้ว จึงอยากให้ทางกรมการสัตว์ทหารบก เชิญทั้งนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด รพ. XXXXXXXXXXX มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ 30 ก.ค. นี้ เวลา 10-12.00 น.) ระหว่างนี้ขอรบกวนคุณXXXXXXXXXXX พยาบาลประจำXXXXXXXXXXX ช่วยรวบรวมข้อมูลแบบคัดกรองแยกในแต่ละบุคคล (แบบแฟ้มทะเบียนผู้รับบริการ) เช่น ดช.เอ มีการคัดกรองหลังจากการฝึกอาชาบำบัดครั้งที่ 1, 2, 3,... นอกจากนี้ผมได้ลองกำหนดความถี่ของปัญหาพฤติกรรมที่เกินครึ่งของหัวข้อ ควรมีการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมบำบัด/จิตวิทยาคลินิกต่อไป เพราะอาชาบำบัดอย่างเดียวไม่สามารถจัดการปัญหาพฤติกรรมได้ (จากงานวิจัยที่ผ่านมา)
  2. ไม่มีแบบประเมินทักษะความสามารถทางกิจกรรมบำบัด การแก้ไข ผมได้สร้างแบบประเมิน ที่แนบมานี้ เพื่อให้คุณนก ช่วยนำไปให้ครูฝึกหรือผู้ปกครองได้อ่านและแนะนำการใช้คำ ในช่วงก่อนการจัดอบรมวิธีการประเมิน คือ 15-25 ก.ค. และขอรบกวนคุณนกช่วยสรุปข้อแนะนำสำหรับแก้ไขแบบประเมินมาให้ผมทาง email ภายใน 28 ก.ค. นี้ครับ ทั้งนี้ต้องมีการจัดอบรมวิธีการใช้ ซึ่งทางมูลนิธิ XXXXXXXXXXX จะรับผิดชอบดำเนินโครงการ
  3. สำหรับโปรแกรมในคู่มืออาชาบำบัดของXXXXXXXXXXX มีรูปแบบที่เน้นพัฒนาระบบการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม แต่อาจต้องมีการเพิ่มความถี่หรือเพิ่มโปรแกรมการฝึกเสริม (กิจกรรมบำบัด กายภาพบำบัด จิตวิทยาคลินิก) ตามแต่การประชุมของสหวิชาชีพต่อการประเมินปัญหาของเด็กแต่ละรายไป ส่วนที่ต้องเพิ่มเติม ได้แก่ การแนะนำเทคนิคกระตุ้นการสื่อสารขณะทำอาชาบำบัด การปรับพฤติกรรมขณะทำอาชาบำบัด การใช้ศิลปะบำบัด/ดนตรีบำบัด/ลีลาศบำบัด เสริมกับการทำอาชาบำบัด เป็นต้น
  4. ในด้านการวิจัยประสิทธิผลของการฝึกอาชาบำบัด จำเป็นต้องมีการเขียนโครงร่างและข้อทุนวิจัย สามารถออกแบบคัดกรองและแยกกลุ่มตามปัญหาพฤติกรรม จากนั้นประเมินก่อนเข้ารับการฝึก เก็บข้อมูลตลอดทุกการฝึก 12 ครั้ง ประเมินหลังเข้ารับการฝึก และประเมินติดตามผลหลังจากไปใช้ชีวิตตามปกตินานไม่เกิน 1 เดือน ขณะเดียวกันทางกรมฯ สามารถประกาศเพื่อให้มีชุดควบคุม คือ กลุ่มผู้สนใจจองคิวรับการฝึกในรุ่นถัดไป ซึ่งเราสามารถประเมินในระยะเวลาเดียวกับกลุ่มที่กำลังฝึกอาชาบำบัด

เรียน  อ.ป๊อบ
 
พี่ส่งข้อมูลการประเมินครั้งที่ 12 มาค่ะ  ขาดแต่ของผู้ปกครองและครู  จะได้วันที่ 29 ส.ค. นี้  ซึ่งเป็นวันปิดการบำบัด  มีการสรุปผลให้ผู้ปกครองและมูลนิธิฟัง  รวมถึงการบำบัดโปรแกรมที่สูงขึ้นในอนาคต  คงต้องมีการออกแบบโปรแกรมอีกครั้งนะคะ   ณ ตอนนี้  ชมรมขี่ม้าจะแจ้งผู้ปกครองให้ผู้ปกครองที่ต้องการขี่ม้าต่อ  หลังจบรุ่นนี้  ให้มาสมัครเป็นสมาชิกชมรมขี่ม้าและแจ้งวันที่จะมาขี่   ทางชมรมจะจัดเจ้าหน้าเพิ่มเพื่ออยู่ด้านข้างม้าเหมือนตอนที่บำบัด     ซึ่งปกติถ้ามาขี่ม้าในชมรมจะมีแค่คนจูงอย่างเดียว   กิจกรรมที่ให้ทำน่าจะเป็นเหมือนตอนที่บำบัดเดิมไปก่อน  ดีหรือเปล่าคะ   หรืออาจารย์มีข้อแนะนำอย่างไร   กรุณาแนะนำด้วยค่ะ
 
ขอบพระคุณมากค่ะ

เรียน XXXXXXXX
 
ผมได้แนบไฟล์สรุปข้อมูลการให้โปรแกรมอาชาบำบัดในเด็กออทิสติกจำนวน 15 คน โปรดพิจารณาและเตรียมปรับระดับของโปรแกรมเพื่อใช้ในรุ่นต่อไป
 
โดยสรุป ระดับโปรแกรมอาชาบำบัดที่ใช้อยู่เป็นระดับเบื้องต้นและเหมาะสำหรับเด็กที่มีคะแนนความสามารถด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร และกระบวนการทำกิจกรรม ต่ำกว่า 50 คะแนน และโปรแกรมสามารถจัดอย่างน้อย 5 ครั้ง หากต้องการให้เห็นประสิทธิภาพของการลดปัญหาพฤติกรรม ต้องจัดอย่างน้อย 11 ครั้ง ทั้งนี้โปรแกรมอาชาบำบัดจำเป็นต้องมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการใช้ศิลปะหรือดนตรีบำบัด ดังนั้นทางหน่วยงานจำเป็นต้องมีนักกิจกรรมบำบัดและผู้เชี่ยวชาญอาชาบำบัดมาให้คำปรึกษาในเรื่องการปรับระดับโปรแกรมเพื่อให้เหมาะสมแก่เด็กที่มีคะแนนความสามารถและพฤติกรรมในระดับผ่านเกณฑ์แต่ยังมีปัญหาในเรื่องทักษะชีวิตต่อไป
 
ผมต้องขออภัยที่ไม่สามารถร่วมงานพรุ่งนี้ได้ เพราะติดภารกิจจัดระบบบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่เชียงใหม่
เรียน คุณXXXXXXXXX 
ผมได้พิจารณาคะแนนของเด็กทั้งหมด มีข้อเสนอแนะดังนี้
 
1. คะแนนพฤติกรรม หากไม่มีข้อมูลจากครูประจำชั้น ห้ามนำคะแนนมาหารครึ่ง เพราะไม่ถูกต้อง อาจต้องใช้คะแนนจากผู้ปกครองอย่างเดียว แต่ค่อนข้างสูงเกินจริง
 
2. คะแนนความสามารถค่อนข้างชัดเจนจากครูฝึกและพยาบาล สามารถนำมาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 มีคะแนนต่ำกว่า 35% ต้องได้รับการกระตุ้นช่วยขณะเคลื่อนไหวและทำตามคำสั่งมากกว่า 2 ครั้ง ได้แก่ .....
กลุ่มที่ 2 มีคะแนนต่ำกว่า 60% ต้องได้รับการกระตุ้นช่วยขณะเคลื่อนไหวและทำตามคำสั่งไม่เกิน 2 ครั้ง ได้แก่ ......
กลุ่มที่ 3 มีคะแนนสูงกว่า 60% ต้องเพิ่มกิจกรรมเสริม เช่น การแก้ไขปัญหา การทำตามคำสั่ง การนึกคิดเคลื่อนไหวด้วยตนเอง การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อยอดจากการขี่ม้า วาดรูปม้า เล่มเกมกับการขี่ม้า เป็นต้น ได้แก่ ......
มีจดหมายทางการมาขอใช้แบบประเมินที่ผมคิดค้นและทดลองใช้ข้างต้น จึงยินดีส่งไปให้เจ้าหน้าที่อีกจังหวัดหนึ่ง
....ได้รับแบบประเมินทักษะความสามารถของเด็กออทิสติก - โครงการนำร่องศึกษาประสิทธิผลของอาชาบำบัด จังหวัด.........เรียบร้อยแล้วค่ะ
ตอนนี้กำลังดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอยู่  และในโอกาสต่อไปจะติดต่อไปทางอาจารย์ใหม่อีกครั้งค่ะ 
เรียน อ.ป๊อบ  ที่นับถือ
 
โครงการอาชาบำบัดประเมินผลครั้งสุดท้ายแล้วค่ะ   เลยรีบส่งมาให้อาจารย์ช่วยแปลผลและจะสรุปแจ้งผู้ปกครองวันศุกร์นี้ค่ะ  ผลแบบคัดกรองได้ผลการประเมินจากผู้ปกครองอย่างเดียวเนื่องจากไม่ทันวันศุกร์นี้   สำหรับรุ่นหน้าจะปฐมนิเทศน์วันที่ 12 ธ.ค. นี้   แต่จะมาเฉพาะผู้ปกครอง  จะมีการซักประวัติน้องในวันนี้ด้วย และจะให้ผู้ปกครองประเมินแบบคัดกรองของ รพ.XXXX เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานแต่ถ้าจะปรับแบบให้เป็นคะแนนเลยจะดีไหมคะ   อาจต้องโทรปรึกษาอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ

 
เมื่อ พฤศจิกายน 6, 2008 9:55 ก่อนเที่ยง, Supalak khemthong
<supalakpop (at) hotmail.com> เขียนว่า:
> ขออนุญาต CC ให้ ท่าน XXXXX ทราบด้วยครับ
>
> เรียน คุณ XXXX ที่นับถือ
>
> ผมได้พิจารณาคะแนนทั้งหมดแล้วครับ คิดว่าคุณนกสามารถแปลผลเองได้เลย ดังนี้
>
> วิธีการแปลผลทักษะความสามารถของเด็ก
> เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินทั้งสามครั้ง หากคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
> จนมากกว่า 50 คะแนน แสดงว่า ทักษะความสามารถพัฒนาขึ้น หากน้อยกว่าหรือเท่ากับ
> 50 คะแนน
> แสดงว่า ควรได้รับการพัฒนาทักษะความสามารถต่อไปโดยคำแนะนำของทีมผู้เชี่ยวชาญ
> (กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาลเด็กและวัยรุ่น นักกิจกรรมบำบัด
> นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก นักแก้ไขการพูด)
>
> วิธีการแปลผลแบบคัดกรองปัญหาพฤติกรรม สังคม และภาษา ของเด็ก
> เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากครูและผู้ปกครอง (หากข้อมูลไม่ครบ
> จะแปลผลได้ไม่ชัดเจน)
> ผมแนะนำให้แปลผลเฉพาะเด็กที่มีข้อมูลครบทั้งครูและผู้ปกครองครับ
> หากคะแนนจากการประเมินทั้งสามครั้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่า 22 คะแนน แสดงว่า
> ปัญหาพฤติกรรม สังคม และภาษา ควรได้รับการแก้ไขจากโปรแกรมอื่นๆ
> โดยคำแนะนำของทีมผู้เชี่ยวชาญ (กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
> พยาบาลเด็กและวัยรุ่น นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก
> นักแก้ไขการพูด) หากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 22 คะแนน แสดงว่า มีปัญหาพฤติกรรม
> สังคม และภาษาลดลง
>
> ข้อสังเกตของผมในการศึกษาความก้าวหน้าจากโปรแกรมทั้ง 2 รุ่นนี้
> คิดว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสำหรับเด็กที่เข้าร่วมอาชาบำบัดมา 2
> ครั้งแล้วไม่มีการพัฒนาทักษะความสามารถ และจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า
> อาชาบำบัดไม่สามรถลดปัญหาพฤติกรรม สังคม และภาษา
> เนื่องจากตัวโปรแกรมยังไม่ได้บูรณาการร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญข้างต้นครับ
>
> สำหรับการปรับเปลี่ยนแบบคัดกรองจากทีม รพ. XXXX ให้เป็นข้อมูลตัวเลข
> ในความคิดเห็นอ้างอิงจากงานวิจัยที่ผ่านมา คิดว่า
> ไม่ควรปรับเปลี่ยนเนื่องจากเหตุผลของเครื่องมือเป็นเพียงแบบคัดกรอง
> ซึ่งให้ความแม่นยำได้น้อยกว่า 50%
> และต้องอาศัยข้อมูลจากครูและผู้ปกครองเฉลี่ยพร้อมกัน
> นอกจากนี้ข้อมูลเป็นความรู้สึกและยากแก่การสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
> ทำให้การให้คะแนนเป็นตัวเลขไม่ตรงกันในแต่ละบุคคลครับ
>
> ขอแสดงความนับถือ

  • จากนั้นพอใกล้จะจัดโปรแกรมอีกรุ่นต่อมาก่อนสิ้นปีนี้ เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อกับผมได้ไปอบรมระยะสั้นเรื่อง Horse Therapy จากวิทยากรชาวเยอรมันและเพิ่งตระหนักว่าน่าจะปรับโปรแกรมให้ชัดเจน จึงติดต่อมาที่ผมอีกครั้งเพื่อนัดประชุมเพื่อนำไปเสนอครูฝึกทหารม้าในอังคารหน้านี้ ผมนึกในใจ "เอาอีกแล้วครับ ดร.ป๊อป ถูกเรียกใช้งานแบบไม่นัดหมายให้คิดตระเตรียมเลย ไม่เคยมีใครคิดว่า ดร.ป๊อปจะติดงานประจำอยู่และอาจไม่มีเวลาช่วยเหลือสังคมแบบปิดทองหลังพระได้บ่อยนัก คิดไปคิดว่าก็ยอมโดนใช้งานฟรีแต่ถ้ามีคนนำความรู้ที่ถูกหลักการไปใช้ในสังคมไทยได้ ก็ยอมครับผม.....
  • ผมนึกทบทวนว่า การคาดหวังให้คนเรียนรู้จากการทำงานแล้วปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นอย่างมีเหตุผล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ไม่ได้ในผู้ปฏิบัติการคนไทยครับ ต้องให้พวกเขาได้มีโอกาสพักงานแล้วเข้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ หยุดคิดตามวิทยากรต่างชาติ แล้วถึงจะนึกถึงสิ่งที่ผมพยายามถ่ายทอดผ่านอีเมล์ที่ผ่านมา
  • เอกหละครับกาลเวลานาน 6 เดือน ทำให้ผมต้องปรับตัวและหยุดตัวเองไม่ใช้ความคิดอยู่คนเดียวแบบให้คนอื่นได้ประโยชน์เปล่าๆ แต่ต้อง "หยุดคิด" หาวิธีการเรียนรู้แบบหลายทิศทางเพื่อให้คนที่ทำงานคิดและนำไปใช้พัฒนางานของเขาด้วยตนเอง แบบ Self-management on life skills ครับ
  • ตัวอย่างที่ผมต้องทำความเข้าใจ เช่น รุ่นน้องท่านหนึ่งก็หาเวลาไปเรียนรู้ Horse Therapy ซึ่งจริงๆ ก็มาเล่าให้ผมฟังว่าต่างจากอาชาบำบัด แต่เขาก็ไม่ได้นำความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาต่อจากงานที่ผมอาสาสมัครช่วยงานทหารอาชาบำบัดนี้ ผมจนปัญญาไม่รู้จะดึงความสามารถของน้องคนนี้อย่างไร สุดท้ายผมไม่สนใจ และขอเรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดจากการสังเกตและประสานงานกับโครงการจริงๆ ของหน่วยทหารนี้
  • ตอนนี้ผมคิดว่าได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบอาสาสมัครคุ้มค่าแล้ว ได้แบบประเมินและระบบคัดกรอง-ประเมินการแบ่งกลุ่มเด็กพิเศษเพื่อจัดโปรแกรมใน 3 ระดับที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะชีวิต โดยเน้นให้ผู้ปกครองทราบว่าอาชาบำบัดไม่ใช่หนทางเดียวในการแก้ไขปัญหาเด็กพิเศษ Horse Therapy หรือการใช้ม้าเป็นสื่อหนึ่งในการบำบัด ส่วนอาชาบำบัดสามารถนำกิจกรรมบำบัด เช่น งานศิลปะ เกมส์กีฬาเพื่อบำบัดระบบประสาทความรู้สึกจนถึงกระบวนการเรียนรู้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประสมประสานกันอย่างลงตัวครับ
หมายเลขบันทึก: 229260เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2008 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2019 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ศักดาเดช สิงคิบุตร

เรียน่ ท่าน ดร.ป็อป

ด้วยกระผมได้รับหน้าที่จากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ดุแลติดตามการทำกิจกรรมอาชาบำบัดเด็กออทิสติกของจังหวัดขอนแก่น ในการนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้ตรงจุด ตรงประเด็นไม่หลงทาง จึงขอคำชี้แนะในการปฏิบัติต่างๆกับทางท่านดร.ป็อบ ซึ่งทางกระผมทำได้ทำร่วมกับ กรมการทหารการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 จังหวัดขอนแก่น หวังว่าท่าน ดร.จะเอ็นดูในเรื่องของความรู้ เพื่อประโยชน์ของศาสตร์การบำบัดด้านนี้ต่อไป

ขอบคุณครับ

อ.ศักดาเดช สิืงคิบุตร ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย่ขอนแก่น

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ศักดาเดชครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท