หลักสูตรICTสำหรับบ้านเลขที่26


นำเสนอและวิพากษ์หลักสูตร

วันนี้กิจกรรมเริ่มเข้มข้น เพราะครูต้องทำหลักสูตรให้แล้วเสร็จทั้ง 2 ช่วงชั้น แยกเป็นรายวิชาตั้งแต่ ม.1 – .6 เป็นการกำหนดไว้ชัดเจนเหมือนที่เราเคยไปดูงานโรงเรียนในประเทศสิงคโปร์

·       คณะรองผอ.ฝ่ายวิชาการนั้น ท่านอภิชาต พุทธเจริญ ประธานกลุ่ม 26 ผู้นำICT และรองผอ.ตลอดจนทีมฝ่ายวิชาการได้ประชุมร่วมกันเพื่อปรับการแยกกลุ่มรับผิดชอบนำเสนอใน 8 กลุ่มสาระที่ครูผู้สอนทั้ง 26 โรงเรียนจะมาประชุมเพื่อนำเอาICTเข้าไปสู่การเรียนการสอน ในช่วงเวลา 16-18 มกราคม นี้

·       ส่วนคณะผู้บริหารได้ช่วยปรับตารางการประชุม พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ

·       ภาคบ่ายลุงจ่า ดร.อดิศักดิ์ จินดานุกูล และ ท่านอดุลย์ วงศ์ใหญ่ ช่วยกันเสนอแนวทางการทำงานวิจัยที่จะส่งเป็นผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ส่วนห้องรวม ครูและรองผอ.รับชมการนำเสนอการประชุมทาง Internet Conference  โดย CAT

·       ผมเอง ผอ.บรรจง  ปัทมาลัย ผอ.ศิริวรรณ อาจศรี และ ผอ.พละ พงษ์พินิจ ได้รับมอบหมายให้ไปรับฟังและวิพากษ์การนำเสนอหลักสูตรที่ครูแบ่งกลุ่มกันทำงานและนำเสนอ มีท่านอภิชาตมาร่วมฟังและวิพากษ์ด้วย

·       ก็เป็นที่น่ายินดีที่ทำได้ดี แต่ท่านผู้วิพากษ์ก็ช่วยเสริมโดยเน้นการทำให้เหนือกว่าโรงเรียนปกติ และเน้นให้ครบทั้ง K P A โดยเฉพาะด้านคุณธรรมควรมีให้ครบทุกวิชา ทุกเนื้อหา และอย่าลืมเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม การบูรณาการหลาย ๆ วิชาเน้นเรื่องปัญหาของโลก ตาม Problem Base Learning Approach โดยใช้สื่อไอซีทีเป็นเครื่องมือผลิต และอย่ายึดติดกับจำนวนคาบตามหลักสูตรเท่านั้น

·       ผมได้นำเสนอและให้ติดตามและเขียนบล็อกแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เพราะสร้างไว้เป็นภาพรวมและประชาสัมพันธ์ให้แล้ว

  • นำหลักสูตรที่ปรับแก้แล้วที่เชียงใหม่ 17-19 มกราคม มาให้โหลดไปดูเปรียบเทียบได้ครับ
หมายเลขบันทึก: 229086เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2008 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ก็เป็นที่น่ายินดีที่ทำได้ดี แต่ท่านผู้วิพากษ์ก็ช่วยเสริมโดยเน้นการทำให้เหนือกว่าโรงเรียนปกติ และเน้นให้ครบทั้ง K P A โดยเฉพาะด้านคุณธรรมควรมีให้ครบทุกวิชา ทุกเนื้อหา และอย่าลืมเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม การบูรณาการหลาย ๆ วิชาเน้นเรื่องปัญหาของโลก ตาม Problem Base Learning Approach โดยใช้สื่อไอซีทีเป็นเครื่องมือผลิต และอย่ายึดติดกับจำนวนคาบตามหลักสูตรเท่านั้น

  • เพราะข้างบนนี้ค่ะ
  • ทำให้การจัดการของครูได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า
  • ไม่เข้าใจว่าเป็นด้านบวกหรือลบครับครูคิม
  • หากครูเอาใจใส่ ทุ่มเท ผมว่าเราได้มากกว่าเสียนะครับ

ทำไมเวลาให้ครูได้ใช้ ICT ในการเรียนการสอนก็จะมีคนคอยออกมาบอกว่า อย่าลืมเรื่องคุณธรรม เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องอนุรักษ์ ฯลฯ ผมว่ามันคนละเรื่องกัน ครูไม่ใช้ ICT ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว การนำ ICT เข้ามาใช้เป็นสื่อการสอน ก็เพื่อช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้หรือเรื่องอื่น ๆ สอนง่ายขึ้นมากว่า ถ้าคิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ก็ไม่เกิดการเริ่มต้นที่จะใช้ รอให้ประเทศที่เขาไม่คิดแบบนี้แซงหน้าไปก่อน ขอสนับสนุนแนวคิดของคนที่คิดทำโครงการนี้ขึ้นมานี่แหละครับการพัฒนาการเรียนการสอนที่ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

สวัสดีค่ะ พี่เข้ามาขอบคุณ และพี่อ่านข้อความของ"ผู้สนับสนุน" พี่ว่าเขาพูดตรงดีนะใครเอ่ย

  • ล่าสุด26โรงเรียนนำ ผอ.รองผอ.วิชาการ และครู 8 กลุ่มสาระ ๆ ละ 2 คนไปประชุมที่โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ วันที่ 17-19 มกราคม 2552 นี้ครับ
ผู้ที่เฝ้าแต่มอง

อยากให้โรงเรียนอื่นๆได้มีโอกาสแบบนี้จังเลยครับ แม้เศษเสี้ยวหนึ่งก็ยังดี

ด.ญ.ธัญพิชชา กาหา โรงเรียนอนุบาลกระบี่

สวัสดีค่ะหนูอยากเล่าเรื่องราวบรรยายกาศของโรงเรียนอนุบาลกระบี่ซึ่งเมื่อวานนี้ได้มีคณะกรรมการมาตรวจประเมินโรงเรียนในฝันทุกคนต่างตื่นเต้นกันมากกับการได้ตรวจเยี่นมโรงเรียนอนุบาลกระบี่เมื่อถึงคราวที่จะประกาศผลทุกคนต่างกังวลว่าจะได้โรงเรียนในฝันรุ่น 2 แต่พอเมื่อประกาศว่าโรงเรียนอนุบาลกระบี่ได้โรงเรียนในฝันทุกคนดีใจมากต่างคนต่างยิ้มแย้ม หนู ด.ญ.ธัญพิชชา กาหา ก็ขอขอบพระคุณคณะกรรมการที่ได้มาประเมินโรงอนุบาลกระบี่ให้เป็นโรงเรียนในฝัน หนูสัญญาว่าโรงเรียนอนุบาลกระบี่จะเป็นโรงเรียนต้นแบบที่ดีค่ะ

ณรงค์พร เหล่าศรีสิน

ลองโหลดไฟล์หลักสูตรไปอ่านดู ทำให้ผมนึกถึงงานที่ผมเคยทำให้กับทาง Microsoft เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ตอนนั้น ผมทำคู่มือภาษาไทยในการใช้โปรแกรม Microsoft Office (เป็นคู่มือเล่มที่เขียนเป็นภาษามนุษย์มากที่สุด) อยากจะขอแชร์แนวคิดของเขาให้อ่านกันนะครับ

คู่มือของ Microsoft มีชื่อว่า Getting Result with Microsoft Office เป็นคู่มือเล่มแรกที่ Microsoft เปลี่ยนวิธีการเขียนคู่มือ คู่มือนี้ต่างจาก Help ตรงที่ เขาเน้นว่า จะทำงานให้สำเร็จ หรือได้ผลลัพธ์ ด้วย MS Office ได้อย่างไร

ผมได้ฟังเขา brief ว่า ก่อนที่จะได้เป็นคู่มือออกมา เขามีการทำวิจัย สอบถามผู้ใช้ว่า ใช้ MS Office ทำงานอะไรบ้าง ผลคือ

- ทำจดหมาย

- ทำ Memo

- ส่ง Fax

- ทำรายงาน

- พรีเซนต์

เป็นต้น

จากนั้น เขาก็ออกแบบเนื้อหาเพียงประมาณไม่เกิน 6 หน้า ในการทำงานแต่ละอย่างข้างต้นให้เสร็จ พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ที่อาจเป็นระดับ advance ใส่เข้าไปด้วย เช่น การส่ง fax ก็จะสอนถึงการใช้เทมเพลต การจัดทำเอกสารต้นฉบับ และท้ายสุด วิธีส่ง fax จากโมเด็มในเครื่องคอมพ์ (ไม่ต้องพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์เพื่อไปใส่ในเครื่อง fax)

วิธีนี้มีข้อดีสำคัญ คือ ผู้เรียนสามารถทำงานได้บรรลุตามต้องการ โดยใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่าวิธีเดิมๆ มาก (เพราะคัดเลือกสิ่งที่ต้องรู้ในการทำงานให้สำเร็จ)นี่เหมาะกับคนไทยเรามาก เพราะคนไทยเราไม่ค่อยอดทนในการเรียนรู้ ชอบอะไรที่ไวๆ มักเรียนรู้จากตัวอย่าง ดังนั้น หากเรายังสอนด้วยวิธีเดิม แนวคิดเดิม ก็จะได้ยินคำบ่นว่า "เรียนไปตั้งมาก แต่เอามาใช้ไม่เป็น" หรือ "ไม่รู้เรียนไปทำไม ไม่เห็นได้ใช้เลย" เป็นอย่างนี้ไม่เปลี่ยนเลย

ผมเคยนำแนวคิดนี้ไปต่อยอด โดยผมเห็นว่า นอกเหนือจากสอนการใช้โปรแกรมแล้ว สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องรู้ ยังมีเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่น

- กระบวนการ และขั้นตอนการทำงาน ที่ควรจะเป็น ทั้งก่อนที่จะลงมือใช้คอมพ์ และหลังจากที่ใช้คอมพ์ทำเสร็จแล้ว

- ความรู้รอบข้างเกี่ยวกับงานนั้น เช่น หากจะทำรายงาน ควรจะเลือกใช้ฟอนต์แบบไหน รูปแบบหน้าตาของเลย์เอาต์ควรเป็นอย่างไร การเลือกใช้คู่สี เป็นต้น

ซึ่งผมบอกกับผู้เรียนไปว่า ใช้โปรแกรมคอมพ์เป็นก็ถือว่าเก่งระดับหนึ่ง หากรู้ว่าจะใช้โปรแกรมอย่างไรเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ ถือว่าเก่งกว่า และหากรู้ว่าทำอย่างไรแล้วงานออกมาดีกว่าคนอื่น นั่นก็เก่งไปอีกขั้น เหมือนคนที่ใช้โปรแกรม Word ทำรายงานออกมาได้ แต่ทำไมบางคนทำออกมาสวยงามเหมือนมืออาชีพ ประมาณนั้น

การสอนแบบนี้ อาจดูไม่เป็นหลักสูตร แต่ความจริงแล้ว หากวางแผนโดยรวมดีๆ ก็จะครอบคลุมสาระความรู้แบบเดียวกับหลักสูตรแบบเก่า แต่ได้ความรู้เสริมมากมาย ซึ่งคนที่จะวางหลักสูตรแบบนี้ได้ ต้องอาศัยผู้มีความรู้ในหลายๆ แขนงมาร่วมกัน เช่น หากจะให้งานสวย ต้องเอาครูศิลปะมาร่วมแนะนำ เป็นต้น

หากสนใจแนวการสอนแบบนี้ อีเมล์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ครับ

ด้วยความยินดี

  • ขอบคุณคุณ ณรงค์พร เหล่าศรีสิน
  • ความคิดเห็นของท่านมึคุณค่ามากครับกับผู้ที่เข้ามาอ่าน
  • ผมลองนำชื่อท่านไปsearch ใน google ท่านมีผลงานอยู่มากพอควร ประมาณ10หน้าที่ google search ออกมา
  • ครับผมจะขยายผลและฝากคุณครูในกลุ่มโรงเรียนแกนนำเหล่านี้ได้สดับและประยุกต์เข้าสู่การสอนต่อไปครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ณรงค์พร เหล่าศรีสิน

บังเอิญจริงๆ ครับว่า วันนี้มีหลายคนนำชื่อนามสกุลของผมไป Search ใน Google แล้วแจ้งว่าเจออะไรบ้าง

รู้สึกเป็นเกียรติ์ที่ อจ. เห็นคุณค่าของสิ่งที่ผมได้ทดลองนำเสนอ (อจ. เป้นคนแรกที่ response กลับมา หลังจากที่ผมลอง feed แนวความคิดต่างๆ ลงในบล็อกของบุคลากรการศึกษาหลายๆ แห่ง เพื่อทดสอบ)

ผมค่อนข้างชื่นชมบุคลากรทางการศึกษาในบ้านเรา ที่สนใจในการนำ ICT ไปใช้มากขึ้นเป็นอย่างมาก จึงคิดว่า บางทีอาจถึงเวลาที่จะนำแนวคิดจากคนนอกวงการการศึกษามาแชร์ เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้

ปัจจุบันผมเป็นบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสาร Eworld (เกี่ยวกับการนำ ICT ไปใช้ในองค์กรทุกประเภท รวมทั้งด้านการศึกษาด้วยครับ) และมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับแนวทางใหม่ๆ ในการนำ ICT มาใช้พัฒนาการศึกษา สถานศึกษา รวมทั้งการสอนให้นักเรียน นักศึกษาได้รู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จาก ICT ในด้านต่างๆ ด้วย

เนื่องจาก ที่ผ่านมา เมื่อผมตั้งคำถามกับใครต่อใครว่า ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตทำอะไร? ก็ได้คำตอบแบบ plain ๆ เช่น ใช้เ่ล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง ทำงาน เป็นต้น

ผมคิดว่า นี่อาจเป็นเพราะการตั้งคำถามผิด ผมเลยลองตั้งคำถามแนวใหม่ เช่น

- คุณจะใช้ ICT เพื่อทำให้อาหารในโรงอาหารอร่อยได้อย่างไร

- คุณจะใช้ ICT เพื่อให้ครู (บางท่าน) สอนอย่างที่เหมือนตอนสอนพิเศษได้อย่างไร

- คุณจะใช้ ICT เพื่อให้โรงเรียนสะอาดได้อย่างไร

เป็นต้น

คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่มาจากตัวนักเรียนบ้าง ผู้ปกครองบ้าง ที่รับรู้ว่า ความจริงมันมีปัญหาต่างๆ มากมายอยู่ในโรงเรียน หากมีใครหยิบเอาปัญหาเหล่านั้นมีตั้งเป็นโจทย์ แล้วช่วยกันหาคำตอบ เราอาจได้วิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ ก็ได้นะครับ

ตอนนี้มีกลุ่มตัวอย่าง (ที่ขอไม่เอยนาม) กำลังทดลองทำอย่างหนึ่ง คือ

กลุ่มเด็กนักเรียน ป6 ในโรงเรียนหนึ่ง ใช้กล้องในโทรศัพท์มือถือ ถ่ายภาพ ขยะ หรือสิ่งสกปรกตามที่ต่างๆ ในโรงเรียน (ที่ผมชอบใจที่สุด คือ ภาพถ้วยโยเกิตที่กินไม่หมด แล้วทิ้งไว้มุมหนึ่งของห้องคอมพ์) แล้วเอามาให้อาจารย์ดู จากนั้นก็เริ่ม post ไว้บนบล็อกให้เด็กคนอื่นในห้องเข้าไปดูผลงานการเป็นนักถ่ายภาพของพวกเขา

ผมคิดว่า พวกเด็กพยายามหาทางแก้ปัญหา โดยเลียนแบบ รายการทำนอง "ฟ้องด้วยภาพ" แต่แทนที่จะออก TV เขากลับใช้โทรศัพท์มือถือ กับอินเตอร์เน็ตเ็ป็นเครื่องมือ เพราะอยู่ใกล้ตัว และเขาเคยชินกับสิ่งเหล่านี้ และสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญเป็นส่วนหนึ่งในชีิวิตของพวกเขาไปแล้ว

หากมี feedback อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ผมนำเสนอไป คงต้องขอรบกวน อจ. ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ด้วยความนับถือ

ณรงค์พร เหล่าศรีสิน

good jobs คุณณรงค์พร เหล่าศรีสิน

  • คุณณรงค์พร เหล่าศรีสิน
  • ขอบคุณที่จุดประกายแนวคิดดี ๆ ที่จะประยุกต์ใช้
  • ที่โรงเรียนผม(อยู่ตำบล ห่างไกล)เด็ก ๆ มีโอกาสใช้เทคโนโลยี แต่ยังขาดความรับผิดชอบโดยเฉพาะเรื่องความสะอาด
  • คงต้องลองใช้วิธีที่ท่านเล่ามาแล้วหละ
  • ผมเป็นวิทยากรด้านประยุกต์ใช้ICT อยู่หลายเวที คงต้องขออนุญาตยกกรณีของท่านเพื่อขยายผลต่อไป
  • ขอบคุณครับ ท่านเมลล์เล่าหรือแนบไฟล์ แจ้งลิงค์กับผมได้ที่ [email protected]
ณรงค์พร เหล่าศรีสิน

ก่อนอื่น ขอขอบคุณ ผอ.บรรจง และ อจ. ธรรมรัตน์ (ไม่ทราบสะกดถูกไหม?)

ผมไม่ได้แวะเข้ามาหลายวันเลย

วันนี้ ผมไม่ได้เข้ามาโพสต์อะไรใหม่ๆ หรอกครับ

แต่กำลังนั่งดู หนังญี่ปุ่นเรื่อง CHANGE นายกมือใหม่หัวใจประชาชน

วันนี้เป็นตอนจบ

เรื่องนี้ใครไม่ได้ดู แนะนำว่า ควรดูครับ

ดูแล้ว มันปี๊ดขึ้นสมองเลยว่า "เราต้อง CHANGE"

Change อะไรที่มันยังไม่ดี ไม่เข้าท่า ให้กลับมาดี

Change วิธีึิคิด

Change วิธีที่เรามองคนอื่น คิดกับคนอื่น

เป็นต้น

ทั้ง Obama และหนังเรื่องนี้ ทำให้คำว่า Change มีพลังเสียเหลือเิกิน

ปล. ผมเริ่มลงมือเขียนบล็อกขึ้นมาแล้วนะครับ เน้นเกี่ยวกับการใช้ไอทีกับการศึกษาโดยเฉพาะ หากมีเวลาแวะเ้ข้ามาเยี่ยมชมได้เลยครับ ที่ bodin.wordpress.com

ประมาณ ต้นเดือน มิย น่าจะเริ่มมีเนื้อมีหนังมากขึ้น

แล้วจะแวะมาเยี่ยมบ่อยๆ ครับ

  • ขอบคุณ คุณ ณรงค์พร เหล่าศรีสิน [IP: 124.120.168.48]
  • ผมเข้าไปเยี่ยมบล็อกของท่านและpostไว้แล้วนะครับ
  • ขอชื่นชม และเราคงได้share ความคิดเห็นดี ๆ อย่างนี้อีก
  • ผมเข้าโครงการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาหลักสูตรICeXELS ของ SEAMEO INNOTECH มีตัวแทนผู้บริหารไทย 45 คน ถือว่าโชคดีที่แมวมองส่งเข้าคัดเลือก เพราะโครงการนี้ค่าลงทะเบียน 900 ดอลล่าร์ และส่งงานผ่านเน็ตเป็นระยะ ๆ เนื้อหาที่ฝึกอบรมตรงกับที่ท่านกำลังพูดถึงวันนี้เลย คือ เราต้องมีการเปลี่ยนแปลง เขาใช้ภาษาทางวิชาการว่า Transformational Leadership ครับ ผมมีบล็อกนี้เฉพาะที่(ภาษาอังกษ) http://gotoknow.org/blog/icexcelsthailand และบันทึก(ภาษาไทย) ที่ http://gotoknow.org/blog/16ict-labschool/259436
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท