ไฟไหม้ฟาง


ชาวนากับการเผาฟางข้าวแก้ไขอย่างไรดี

วันนี้ขับรถผ่านทุ่งนาเห็นชาวนากำลังเผาฟางเพื่อไถทำนารอบต่อไป เราจะแนะนำเขาอย่างไรดีนะ ทำไมเขาต้องเผาคำตอบน่าจะอยู่ที่มันง่ายสะดวกดีเผาแล้วก็ไถ ไถเสร็จก็เริ่มทำนา ผลเสียชาวนารู้ดีเพราะได้รับข่าวสารทั้งทีวี วิทยุ และแผ่นป้ายจากหน่วยงานราชการ แต่ว่ายังขาดจิตสำนึกเพราะเราทำนาเพื่อขายข้าวแข่งขันกัน ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไป ชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบไปทุกอย่าง เรามีวิธีไดที่ง่ายและรวดเร็วไม่ทำลายบรรยากาศแบบนี้บ้าง?ขอคำแนะนำไปบอกชาวนาบ้างนะครับนึกว่าช่วยกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #ไฟไหม้ฟาง
หมายเลขบันทึก: 228865เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2008 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ไฟไหม้ฟาง..ไหม้เสร็จก็ไม่เหลืออะไรเลย..

รู้ก็รู้ว่ามีแต่ผลเสียแต่ชาวนาก็ไม่ใส่ใจเพราะง่ายเหมือนว่านะคะ

มีความมุ้งมั่นและเสียสละเวลาส่วนตัวนำเอาปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อจะชี้นำให้เขาว่าฟางนั้นมีประโยชน์เมื่อใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผลิตจากพืชสีเขียวและผลไม้ ลาดฟางจะเน่าสลายเป็นปุ๋ยในนาได้เป็นอย่างดี ตั้งใจฟังและดูแปลงสาธิต บอกว่ายุ้งยาก แต่ก็มีวิถีคิดที่ไกล้เคียงกันนำไปปฎิบัติประสบความสำเร็จในแนวเศรษฐกิจพอเพียง

นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกไปเผยแพร่ ด้วยการทำเป็นแบบอย่างชุมชนในชนบทนั้นมักจะเอาแบบอย่างที่ทำให้เขาก่อน ราชการต้องสาธิตและส่งเสริมอย่างจริงจังถ้าไม่อยากเห็นไฟไหม้ฟาง

ขอบคุณมากครับคณเหรียญชัย และคุณadd ใช่แล้วต้องทำแปลงสาธิตให้เห็นว่าทำได้ไม่เผาเอาจริงครับพรุ่งนี้จะไปหาแปลงทำก่อนผลอย่างไรจะนำมาเล่าครับ

-สวัสดีครับ

-แวะมาดูไฟไหม้ฟาง

-ว่าแต่การ สร้างจิตสำนึกที่ดีและการทำความเข้าใจให้กับเกษตรกรก็น่าจะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาได้นะครับ..

สวัสดีค่ะ

* แวะมาดูไฟไหม้ฟางค่ะ

* อยู่ที่จิตสำนึกนะคะ

ผมว่ามันเป็นไปตามวิถีชาวบ้านอีกทางนะครับ เขาอาจจะมองว่าไร้ประโยชน์ เพราะเขาจะต้องทำนาในครั้งต่อไป แต่ถ้าเขาปลูกหอม กระเทียม ปลูกยาสูบ ฟางข้าวนั้นก็จะมีประโยชน์ขึ้นมาทันทีเลยล่ะครับ ถ้าจะส่งเสริมไม่ให้เผาฟาง ควรจะหาวิธีนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ดีกว่าล่ะครับ เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ผมว่าประโยชน์มันเยอะอยู่เหมือนกันครับ

และอีกเรื่องคือ ปุ๋ยชีวภาพ ตามที่คุณ เหรียญชัย แนะนำ ผมก็หมักจากหญ้าเหมือนกัน แรกๆก็ดีครับ หลังเศษหญ้าเยอะมากขึ้นทำไม่ทัน จึงต้องเผาทิ้งบางส่วนล่ะครับ เพื่อตัดวงจรเพลี้ย ที่มีกัดกินผัก เศษหญ้าแห้งนี่เป็นแหล่งที่อยู่เลยล่ะครับ

พูดถึงเรื่องแปลงสาธิต ผมว่ามีให้เกษตรกรเห็นก็ดีนะครับ แต่ถ้าขาดการส่งเสริมต่อเนื่อง มันก็เข้ารูปแบบเดิมล่ะครับ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยี อุปกรณ์มันอำนวยความสะดวกเยอะจนเลือกได้มากเลยล่ะครับ

ฟางข้าวมีประโยชน์มากมายน่าเสียดายคนไทยขยันน้อยลงชอบสะดวกสบาย มักง่ายมากขึ้น ละเลยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของดั้งเดิมดีดี ทิ้งขว้างไม่สนใจ พอเขาเห่ออะไร ยุเรื่องใดมา ก็เต้นไปตาม เกิดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า ทำเหมือนๆกัน ตามๆกันขายไม่ออกอีก

สมัยปู่ ย่าตายายท่านขยันพึ่งตนเองมากที่สุด ทำอะไรเพื่อกินเพื่ออยู่เอาใกล้ๆตัวก่อน

แต่ทำหลายอย่างคิดทำโน่นทำนี่ทำจริงๆไม่ฉาบฉวย จับจด หรือเห่อตามกระแส

ท่านอยู่ได้สบาย ไม่รวยแต่ไม่ต้องวิ่งหากู้หนี้ยืมสินและล้มเหลวอย่างคนปัจจุบ้น

ชีวิตก็มีความสุขดี สุขภาพจิตมาก่อน เพราะจิตนำกาย ปัจจุบันเจริญแต่วัตถุ วิทยาการแผนใหม่ คนอยู่ร้อนนอนทุกข์ ไม่ว่ารวยหรือจนต่างก็ทุกข์คนละอย่าง นี่ละไฟไหม้ฟางละ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ คุณเพชรน้ำหนึ่ง คุณพรรณา คุณtemus และพี่kettawa

เท่าที่พูดคุยสอบถามชาวบ้าน ถ้าทิ้งใว้จะไถทำครั้งต่อไปมันไถยาก พันใบไถเวลาไถกลบ ทิ้งใว้ก็เน่าเปื่อยยาก ถ้าทำนา ๒ครั้งต้องรีบไถ....เผาซะเลยง่ายกวา

ที่จริงฟางข้าวมีประโยชน์มากมาย ฯลฯ ...สมัยก่อนวัว-ควายเยอะ ขนไปเก็บใว้ให้กินที่บ้านบ้างที่เหลื่อปล่อยให้วัว-ควายกิน

ต้องทำให้เห็นว่าฟางข้าวมีประโยชน์ มีราคาที่เห็นเป็นเงินเป็นทอง ...รับรองว่าไม่มีเผา? บางทีอาจจะแย่งกันด้วยสิครับพี่-น้องงงงงง

สร้างจิตสำนึก ...สร้างผู้นำชุมชน....ให้ชุมชนมีส่วนร่วม...ค่อยๆเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม...ความเชื่อ...ให้นำสิ่งวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาให้เกิดประโยชน์...ฯลฯ

เหมือนกับปู่ย่า..ตายายของเราสอนว่า...บ่ดีเยี๊ยะหยั่งอี๊เด้อ!!!...มันบ่ดี...มันขึ่ดดดด!!!...แล้วให้วิเคราะห์...

คูณคนแบกรักบอกว่า ทำฟางให้มีค่าแหมน่าคิดนะ บ้านเราทำนาเยอะฟางก็มาก มาย เก็บก็ไม่ทัน ส่วนที่อื่นๆอย่างที่ลำปางแม่ทะ เถินเกาะคา ที่เขาเลี้ยงวัวมากพอเกี่ยวข้าวเสร็จ ต้อนวัวจากป่าละเมาะมากินเดือนเดียวก็หมดทุ่งแล้ว ฟางอัดฟ่อนเขารับชื้อราคาตั้ง๒๐บาทต่อฟ่อน แต่มันอยู่ไกลจะอัดแล้วขนไปขายคงไม่ไหวแน่

คุณเพื่อนคนหนึ่งแนะนำเข้าท่านะ สร้างจิตสำนึก สร้างผู้นำค่อยๆทำไปจะลองดูนะครับ ทุกวัน อบต.ทุ่งก่อ เขาก็ประกาศรับชื้อฟางอัดนะแต่ว่าเครื่องอัดที่อาสาปศุสัตว์ดำเนินการช้าไม่ทันใจ..กลุ่มที่จะปลูกข้าวก็ไม่เอาแล้วเผาดีกว่า ..

ขอบคุณนะครับสำหรับคำแนะนำดีๆ

เมื่อไม่มีตัวอย่างที่ดี ทำให้คนที่นี่ไม่เข้าใจประโยชน์จากฟาง ....น่าจะมีคนทดลองใช้..หรือไม่ก็คนทำเป็นแบบอย่างในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นที่จะกล้าหรือยอมแปลสภาพฟางให้เกิดประโยชน์นะค่ะลุงหมอ..จิงมั้ย

ขอบคุณน้องลินดา วันนี้ลุงไปฉีดยาควายมาที่ตำบลป่าซางหนักเข้าไปใหญ่เลย เออาเศษฟางมาปูให้เต็มทุ่งนาแล้วก็จุดไฟเผาก่อนจะไถเพื่อปลูกถั่วเหลือง มองไปทางไหนก็มีแต่ควันไฟ อดไม่ได้ถามว่าทำไมได้รับคำตอบว่าถาไม่เผามันมีหญ้าออกเยอะ ถั่วเหลืองโตไม่ทันหญ้า ทำอย่างนี้มาตลอด สงสารแม่ธรณีจังเลยครับ

เกษตรอินทรีย์หรือโรงเรียนชาวนาหลายแห่งแนะนำใช้น้ำหมักชีวภาพหน่อกล้วย

การทำน้ำหมักหน่อกล้วยทำได้ไม่ยากนักเพียงเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังนี้ หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร แต่ถ้าสูงเกินตัดให้เหลือความสูง 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ (มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซีส) เอาทั้งเหง้าต้นใบด้วยชั่งน้ำหนักให้ได้ 30 ก.ก. แล้วหั่นสับหรือบด ให้ละเอียดใส่ถังพลาสติกขนาดจุ 150- 200 ลิตร ใส่กากน้ำตาล (Molasses) 10 ก.ก. เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม ละลายสารเร่ง พด.2 กับน้ำมะพร้าวอ่อน คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไม้หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่น้ำ สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน

การนำไปใช้ในการเร่งการย่อยสลาย “ฟางข้าว” โดยใช้น้ำหมักหน่อกล้วยจำนวน 10 ลิตรต่อพื้นที่นา 1 ไร่ อาจใช้การหยดหรือเทตามร่องน้ำไหล หรือวิด้วยท่อน้ำ หมักฟางข้าวเป็นเวลา 10 วัน (ระดับน้ำ 4 – 7 ซม.) แล้วไถทำเทือกได้ตามปกติ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้หลายชนิดเช่น ปรับโครงสร้างของดิน ปรับสภาพน้ำเสีย ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ และป้องกันกำจัดโรคพืช

ขออนุญาตผู้ดูแลบอร์ดในการจำหน่าย "ฟางข้าว"

มาตันบุญ ธุรกิจเกษตร

จำหน่าย : ฟางอัดฟ่อน รับอัดฟาง และมีรถไถบริการ สนใจติดต่อ

คุณแจ๊ค 084-5931998 หรือ 0835764431

E – mail : [email protected]

ฟางมีขายตลอดปี ราคากันเอง

มีทั้งฟางอัดฟ่อน และฟางมัดจำหน่าย

ตั้งอยู่เลขที่ 301 หมู่ 4 บ้านห้วยรากไม้ ถนนสายเชียงใหม่-ฮอด กม.ที่ 35

ตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 50160

…………………………………..

รายละเอียดทั่วไป

ราคาฟาง

1. อัดเป็นก้อนแล้วในนาผู้ซื้อเอารถลงไปใส่ในนาเอง คิด 25 บาท

2. ผู้ซื้อจอดรถข้างถนนแล้วขนมาให้คิด 27 - 28 บาท

3. ผู้ซื้อไปซื้อที่โกดังคิด 30 -35 บาท

4. รับจ้างอัดก้อนละ 18 - 20 บาท

ขนาดการบรรทุก

1. รถบรรทุก 6 ล้อ จุฟางได้ 100 - 330 ก้อน

2. รถกระบะช่วงยาว จุฟางได้ 60 – 100 ก้อน

3. รถกระบะแค็บ จุฟางได้ 20- 50 ก้อน

มีคนงานแบกขึ้น-ลงรถให้ แต่ไม่รวมการแบกเข้าพื้นที่ไกลๆ และการจัดฟางในสถานที่

หมายเหตุ ค่าขนส่งระยะไม่เกิน 20 กม. ฟรี ถ้าเกิน 20 กม. คิดตามระยะทาง (ราคาฟางขายส่ง 30 บาท + ค่าขนส่ง เพราะต้องจ้างรถบรรทุกข้างนอก)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท