โตเกียว แพค 3 (ราเม็งทีวีแชมเปี่ยน)


ต่อยอดขยายความคิดจากเกมโชว์

การต่อยอดความรู้ สู่การคิดขยาย........
เรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่อง บรรจุภัณฑ์ แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่ได้ความรู้มาจากการไปงาน โตเกียวแพค คือเป็นเรื่องของการคิดต่อยอด
หรือคิดขยายของญี่ปุ่นเขา   จากเรื่อง เรื่องเดียว จากจุดเล็กๆ  สามารถขยายให้เป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ขึ้นได้  มิใช่ใหญ่ขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สามารถทำเงินสร้างรายได้ ในทางธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นมาได้  นั้นก็คือเรื่องของอาหารแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า "ราเม็ง"   (Raumen)  ก็คือ บะหมี่ของญี่ปุ่นเขา
เป็นเส้นบะหมี่เหลือง ใส่ลงในนำซุปปรุงรส สไตล์ใคร  สไตล์มัน  และก็มีเนื้อสัตว์ประกอบ เป็นเหมือนบะหมี่น้ำนั้นแหละ  ว่าแต่ว่าเรื่องนี้น่าจะไปอยู่

        ในคอลัมภ์ของ  ท่องเที่ยว อาหารการกิน มากกว่า แต่อยากให้หัวข้ออ่านอย่างต่อเนื่องกัน คืองาน โตเกียวแพค  จึงขออนุญาตจัดอยู่  ณ ที่นี้
ก็แล้วกัน  ผิดที่ผิดทางหน่อยไม่เป็นไร ไม่ว่ากันนะ ครับ    ที่นี้มาต่อที่ว่า "ราเม็ง" นั้นเป็นอาหารที่มีประวัติมายาวนานมากของญี่ปุ่น  ขึ้นชื่อว่า
อาหารญี่ปุ่นแล้วความเป็นศิลปะในการจัดหาวัตถุดิบ  เครื่องปรุง การตกแต่อาหาร  มาเป็นที่หนึ่ง   คงจะคุ้นชื่อรายการ ที่วีเกมโชว์ของญี่ปุ่น
ที่ชื่อว่า ทีวีแชมเปี่ยน ที่เขานำบุคคลในวิชาชีพต่างๆ มาแข่งขันกันในวิชาชีพนั้น นอกเหนือจากความบันเทิงที่ผู้ชมจะได้รับแล้ว ยัง
จะได้ความรู้จากแนวคิด ทักษะ  ความอดทน ความบากบั่น อุตสาหะ การเป็นนักต่อสู้  การรู้แพ้รู้ชนะ ของบุคคลในวิชาชีพต่างๆที่มาแข่งขัน
เรียกว่าได้อะไรมามากจากเกมโชว์นี้     มีอยู่ครั้งหนึ่งจะมีการแข่งขันพ่อครัว  ราเม็งกัน  แข่งกันไปแข่งกันมาจะกี่ครั้งมิทราบได้เพราะไม่ค่อย
มีโอกาสได้ติดตามรายการนี้ทุกตอน    เอาเป็นว่า เขาได้ยอดพ่อครัวฝีมือดีด้าน ราเม็ง ทั้งหมด   8 คน   ก็ไม่ได้จบแค่เกมโชว์นี้     การต่อยอดคิด
ขยายต่อไปคือ  นำร้านพ่อครัวทั้ง  8 คนนี้ไปส่งเสริมธุรกิจ และการท่องเที่ยว ด้วยการ เปิดพิพิธภัณฑ์ ราเม็ง   ใช้ตึกแถวใจกลางเมือง 3

 


ชั้น  สร้างบรรยาการทุกอย่างให้เป็นโบราณ  ตกแต่แบบของเก่าทั้งหมด  เข้าไปในตัวพิพิธภัณฑ์นี้ ก็ต้องซื้อตั๋วเข้าไปนะครับ  และจะได้ แผ่นพับ เป็นเสมือน
ข้อมมูล ไกด์ นำชมพิพิธภัณฑ์นี้   แผ่นพับมีชื่อว่า Floor Guide Book นี้มีทั้งหมด  15  หน้า   จากนี้ไปเราจะไปเดินเที่ยวกันตามแผ่นพับนี้เลยนะครับ เริ่มจาก
หน้าแรกชื่อหัวข้อว่า Do you know Raumen   ให้ข้อมูลด้าน
ตัวราเม็งคืออะไร  ทำมาจาอะไร  เริ่มแพร่หลายที่ใด จากเกาะอะไร อยู่ตอนไหนของประเทศมีแผนที่ประกอบด้วย 

หน้าที่สองเป็นการเล่าประวัติที่มาของราเม็งในเชิงประวัติศาสตร์  และภูมิศาสตร์ การกำเนิดราเม็ง
หัวข้อว่า History of Raumen  และ Admission Fee บอกถึงการเข้าชมและการซื้อตั๋ว อายุเท่าไร ถึงเท่าไร ค่าตั๋ว
เด็กกับผู้ใหญ่ ราคาไม่เท่ากัน  
หน้าที่สามเป็นInformation  ข้อมูลข่าวสารทั่วไป  กฏกติกา ในการเยี่ยมชม
และรับบริการ
หน้าที่ สี่ เป็น Meal Tickets เป็นวิธีการซื้อราเม็งแต่ละร้านจากทางเครื่อซื้อตั๋วอัตโนมัติ
ใช้ระบบ หยอดเหรีญ กดเมนูที่ต้องการเลือก อธิบายละเอียดถึงขั้นมีรูปเครื่องซื้อตั๋วอัตโนมัติ และโยงลูกศรบอกกำกับไว้
เชื่อมโยง ว่าปุ่มไหนใช้งานอะไร  ต้องกดอย่างไร หยอดเหรียญที่ไหน  ทอนเงินช่องใด  ตำแหน่งแผนที่ของตู้
ซื้อตั๋วราเม็งติดตั้งอยู่บริเวณใดบ้าง  มีแผนที่ Section ให้ดูตำแหน่งของเครื่องซื้อตั๋วนี้
หน้าที่ห้า เป็นหน้า Floor Guide
(Information) เป็นภาพตัด ของแต่ละชั้นทั้ง 3 ชั้นว่า มีร้านค้าอะไร อยู่บริเวณไหน  ชั้นใด ชื่อร้าน
อะไรขายของอะไรบ้าง  
มาหน้า ที่หก หน้านี้ดูแล้วไม่หลงทางแน่ เป็น Floor Guide
(Information) แบบภาพตัด แสดงทัศนียภาพ มุมมองจากที่สูงลงมา ที่เรียกว่า Bird  Eyesview ให้เห็นทั้ง 3 ชั้น
ว่าร้านต่างๆ อยู่ตำแหน่งใด โดยเฉพาะไฮไลท์อยู่ที่ ตำแหน่งร้าน ราเม็ง ทั้ง 8 ร้าน ที่เป็น ทีวีแชมเปียน อยู่ที่นี่ครบทุกร้าน ด้านล่างสุด  
พอเปิดมาหน้าที่เจ็ด ถึงหน้าสิบเอ็ด ชักหิวขึ้นมาแล้ว เป็นภาพ ชื่อร้านมีหน้าพ่อครัว  สูตรเมนู พร้อมรูปราเม็ง
ร้อนๆ อยู่ในถ้วย  ทั้ง 8  ร้าน  ใครชอบพอสูตรไหน เลือกรับประทานกันได้ตามแต่จะชอบแต่ขอเตือนว่าอย่าเบิ้ล 2 เพราะแต่ละถ้วยมีปริมาณมาก รับประมานกันแทบไม่หมด  แต่ละร้านสูตรไม่เหมือนกันเลย
 เป็นการคิดค้นขึ้นมาของพ่อครัวทั้ง 8 คน  ร้าน 8 ร้าน ประกอบด้วย ร้านที่ 1 ชื่อ Ide Shoten ร้านที่ 2 ชื่อ Shinasobaya   ร้านที่ 3 ชื่อ Keyaki  ร้านที่ 4 ชื่อ Ryushanhai  ร้านที่ 5 ชื่อ Hachiya ร้านที่ 6 ชื่อ Harukiya
ร้านที่ 7 (ผมรับประทานร้านนี้) ชื่อ Fukuchan และร้านที่ 8 สุดท้ายชื่อร้าน Komurasaki  เมื่อครู่เกริ่นนำว่ารับประทาน
ในร้านที่ 7  เป็นราเม็งที่มีหมูอบหั่นเป็นแผ่นหนา ลอยเต็มถ้วยเลย ขอบอกว่าเป็นก๋วยเตี๋ยวชามแรกในชีวิตที่เวลา

รับประทานแล้วลุ้นในใจว่า ขอให้หมูหมดถ้วยซะที เพราะรับประทานยังไง หมูก็ไม่หมดสักที เนื่องจากในถ้วยมีหมูมากเหลือเกินและชิ้นก็ใหญ่มาก   รสชาดราเม็ง   เส้นเขาอร่อยนุ่มเหนียวหอม  น้ำซุปก็ขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน  รสออกจืดๆ  ถ้าคอเกี๋ยวเตี๋ยวต้มยำ
บ้านเรา  ก็อย่าเอามาเทียบกันเลย    พออิ่มหนำสำราญ ก็มาเดินย่อยอาหารกัน
เริ่มจากชั้นล่างสุดจะเป็นโถง กว้าง มีร้านค้า มีกิจกรรมการละเล่นต่างๆเช่นมายากล การแสดงทางวัฒนธรรม ที่เป็นบรรยากาศแบบโบราณมาให้สัมผัสกัน
แหงนขึ้นไปเพดานก็เพนท์สีเป็นรูปท้องฟ้ายามสลัวๆ  ตกแตกฉากด้านชั้นบนติดกันท้องฟ้าลงมาด้วยโปสเตอร์หนังก่าๆ
หลากหลานเรื่อง  ที่นี่ก็มาเปิดแผ่นพับต่อ ......
หน้าสิบสอง ถึงหน้าสิบห้า เป็นการแนะนำร้านค้าต่างๆ   ร้านขายของต่าง ล้วนแต่เป็นการตกแต่งหน้าร้านแบบโบราณ

ของที่ขายก็เป็นสินค้าทำเลียนแบบของเก่า  เดินเรื่อยไปถึงชั้น 3 เข้าเป็นพิพิธภัณฑ์ราเม็ง  รวบรวมประวัติที่มา แหล่งอารยธรรมต่างๆ ของราเม็ง มานำเสนอ  ให้ชมกันเรื่อยมาตั้งแต่วิวัฒนาการตั้งแต่สมัยโบราณ จนมาถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จ และก็มีบะหมี่กึงสำเร็จรูปซองแรกของญี่ปุ่นให้ชมกัน  ถัดจากพิพิธภัณฑ์มาก็เป็นร้านขายของคล้ายซุปเปอร์มาร็เก็ต และมีของที่ระลึกขาย  สำหรับผู้เสาะแสวงของที่ระลึก  ของฝากกัน   เป็นอันเดินครบตามที่แผ่นพับแนะนำไว้  

มีเคล็ดวิธีการเดิน อยู่ 2 รูปแบบ คือ 1 ถ้ายังไม่หิว ก็ให้เดินจากพิพิธภัณฑ์ชั้นบนลงมาเรื่อยๆเป็นการเรียกน้ำย่อย สำรวจเบื้อต้นแต่ยังไม่ต้องซื้ออะไร
พอเดินมาชั้นล่างหิวพอดี ก็จัดการกับ ราเม็ง ซะให้เรียบร้อย  แล้วเดินไปยังร้านค้าซื้อของตามที่หมายตาเอาไว้ กับ รูปแบบที่ 2 ถ้าหิวก็เดินลงไปรับประทาน ราเม็ง ก่อนเลย แล้วเดินย่อยอาหาร ช็อปปิ้ง ขึ้นมาเรื่อยๆ
 

จากที่ได้กล่าวหัวเรื่องไว้ข้างต้นว่า  เนื้อหานี้ที่เล่ามายืดยาว ต้องการให้เห็นถึงการต่อยอด การคิดขยายต่อจาก รายการทีวี แชมเปี่ยน  พ่อครัว ราเม็ง  8  ร้าน  ก็ไม่จบแค่รายการ ทีวี   สามารถนำมาต่อยอดสร้างเป็นธุรกิจการค้า
การท่องเที่ยว โดยยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมดั่งเดิม ของญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี
  ชอบตรงจุดนี้มาเลยครับ    ไม่เหมือนเกมโชว์บ้านเรา เอาดารามาเปิดป้ายโฆษณา ได้รางวัลและก็เฮ
ฮากันไป จบเป็นตอนๆ ไป    (ตอนหน้าจะเป็นเรื่อง ราเม็ง เพจเจอร์ หรือแพคลิงค์)

หมายเลขบันทึก: 228488เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาอ่าน เรียนรู้

ขอบคุณค่ะ

มีสิ่งดีๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท