องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม


ส่วนท้องถิ่น
ประวัติ
     องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีอยู่ในทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) จังหวัดละ 1 แห่ง ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ และเป็นองค์กรที่ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง และสามารถตรวจสอบการบริหารงานได้ด้วย ลำดับความเป็นมามีดังต่อไปนี้
    1. ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ที่ถือกำเนิดมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 )  เรียกว่า สุขาภิบาล มีอยู่ 2 แบบคือ

           1.1 สุขาภิบาลกรุงเทพฯ จัดตั้งขึ้นโดย "พระราชกำหนด สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116  " (พ.ศ.2440)

           1.2  สุขาภิบาลตามหัวเมือง จัดตั้งขึ้นโดย "พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127  "(พ.ศ.2451) ทั้งนี้ ปรากฏตามสำเนาพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     2. ได้จัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรก ตามความใน "พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476" สภาจังหวัดทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาแก่กรมการจังหวัด และยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกจากจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค

     3. ได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481" ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2487) ที่ต้องการจะแยกกฏหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัดเช่นเดิม

     4. ได้มีประกาศใช้ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495" กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารราชการในจังหวัด ทำให้อำนาจของกรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้น สภาจังหวัดยังทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

    5."องค์การบริหารส่วนจังหวัด" เกิดขึ้นตามความใน "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498" ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 10 (พ.ศ.2523) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกจากจังหวัดซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง

    6. องค์การบริหารส่วนจังหวัดในปัจจุบัน เป็นไปตาม "พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540" ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2546)  มีการกำหนดภารกิจ อำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ให้ซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น นอกจากนั้นยังปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งให้การได้มาซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจะสอดคล้องกับกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น   องค์การบริหารส่วนจังหวัดนอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ยังมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 12 (15) 17 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
คำสำคัญ (Tags): #ท้องถิ่นไทย
หมายเลขบันทึก: 227677เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2008 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจที่ได้เข้ามาเยี่ยม

  • ตามมาให้กำลังใจ ในโลกใบใหม่แห่งการสร้างสรรค์ และการเรียนรู้
  • นี่คือแหล่งประกาศความเป็นตัวเราอย่างจริงใจต่อผู้คนครับ
  • อีกไม่นาน หากได้ใช้ Blog สม่ำเสมอ โลกเสมือน จะทำให้ โลกจริง ของเราเปลี่ยนไปมาก และอาจเหนือความคาดหมายก็ได้ครับ
  • ความรู้ และ ความไม่รู้ มีอยู่ในทุกตัวคน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเกิดได้เสมอ เมื่อคนมีใจแบ่งปัน
  • Blog ที่ gotoknow เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อการดังกล่าวครับ
  • อยากทราบ www. ของ อบจ.มหาสารคาม ไม่ทราบว่า อบจ.มหาสารคามมีเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือไม่ รบกวนขอข้อมูลด้วยค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท