ได้แนวอบรม"เยียวยาวิทยฐานะ"


วิทยฐานะ

ได้แนวอบรม"เยียวยาวิทยฐานะ"


.....

 

พัฒนากลุ่มครูไม่ผ่านประเมิน2หมื่นคน ใช้เวลา2-7วัน/ก่อนเสนอผลงานใหม่



เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน นายประเสริฐ งามพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ค.ศ.มีมติให้เยียวยาอบรมพัฒนาข้าราชการครูที่ไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษว่า สำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังพิจารณาจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรการอบรม โดยเบื้องต้นได้กำหนดระยะเวลาการอบรมพัฒนาไว้คร่าวๆ ดังนี้ 1.กลุ่มข้าราชการครูที่ยื่นประเมินไม่ผ่าน แต่กรรมการประเมินอ่านผลงาน 2 ใน 3 คน ให้ผ่านการประเมิน มีจำนวน 2,418 คน จะให้เข้ารับการอบรมพัฒนา 2-5 วัน โดยเน้นอบรมเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน เทคนิควิธีการสอน เนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มสาระวิชา จากนั้นให้ไปพัฒนาการเรียน ปรับปรุงผลงานวิชาการ และให้นำเสนอกรรมการอ่านผลงานภายใน 6 เดือน และ 2.กลุ่มข้าราชการครูที่กรรมการประเมินอ่านผลงาน 1 คน หรือไม่มีกรรมการอ่านผลงานให้ผ่านการประเมิน ซึ่งมีจำนวน 19,932 คน จะให้เข้ารับการอบรมพัฒนาประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นให้นำไปพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเสนอผลงานวิชาการภายใน 1 ปี

"จะนำข้อเสนอดังกล่าวนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ ในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งมีนายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานที่ประชุม" นายประเสริฐกล่าว

เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อว่า เมื่อขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอบรมพัฒนาข้าราชการครูที่ไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางสำนักงาน ก.ค.ศ.จะทำหนังสือแจ้งไปยังกรรมการประเมินอ่านผลงานเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า การทำผลงานวิชาการของข้าราชการครูที่ยื่นประเมินขอวิทยฐานะชำนาญการพิเศษจะไม่เข้มข้นถึงขั้นการวิจัยวิชาการแท้ๆ แต่เป็นการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งตนคิดว่าจุดนี้กรรมการอ่านผลงานน่าจะทราบอยู่แล้ว เพราะหากดูสถิติของผู้ที่ผ่านประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษแล้วก็มีไม่น้อย เพระให้ผ่านถึงกว่า 9,000 คน และกลุ่มที่ให้ปรับปรุงอีกกว่า 10,000 คน ซึ่งกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะผ่านการประเมิน อย่างไรก็ตาม คงจะต้องมาพิจารณาดูถึงสาเหตุด้วยว่า การไม่ผ่านการประเมินเป็นเพราะผลงานที่ข้าราชการครูเสนอ หรือเป็นเพราะกรรมการประเมิน โดยควรให้ความเป็นธรรมกับกรรมการประเมินอ่านผลงานด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปอาจจะไม่มีใครต้องการเข้ามาเป็นกรรมการประเมิน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของการประเมินวิทยฐานะในอนาคตได้

ที่มา มติชนรายวัน วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11216หน้า 22

 

คำสำคัญ (Tags): #วิทยฐานะ
หมายเลขบันทึก: 226766เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2008 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะอุ๊
  • พี่คิดถึงนะ

..หวัดดีค่ะพี่สาว..

..จำกันได้ป่าว แวะมาทักทายค่ะ..

ครูจากเมืองพนัส (อุ๊)

ขอบคุณพี่เมี้ยว...กับน้องปาจัง...มากๆ ค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมชม

คิดถึงเสมอเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท