ไปดูชาวบ้านวิจัยเพื่อหาทางลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมี


เพราะแท้จริงแล้วเกษตรกรเขาก็ทำการทดลองหรือวิจัยกันในแปลงนากันมากมายอยู่แล้ว

         เมื่อวันที่  19  พ.ย.  ที่ผ่านมา  ผมและทีมงานของกลุ่มงานสถาบันเกษตรกร  ได้ไปเยี่ยมการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบึงบ้านพัฒนา  หมู่ที่  12  ตำบลบึงสามัคคี  ซึ่งคุณภูมิรพี  ขัดเกลา  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของอำเภอบึงสามัคคีเป็นไกด์นำเราไปเยี่ยมเยียนกลุ่มฯ ในวันนั้น

          เกษตรกรกลุ่มนี้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกอ้อย  และปลูกข้าว   เนื่องจากที่ผ่านมาปัจจัยการผลิต  โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้มีราคาที่สูงขึ้น  ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว    ในวันที่เราไปเยี่ยมเยียนนั้นกลุ่มฯ ได้พาเราไปดูกิจกรรมการปลูกข้าวของสมาชิกที่มีหลายๆ ช่วงอายุ  และในการปลูกข้าวนั้นสมาชิกจะใช้ปุ๋ยเคมีกันในอัตราไร่ละปาะมาณ 1 กระสอบ (กระสอบละ 50 กิโลกรัม)   ต้นทุนเฉพาะปู่ยเคมีก็จะตกประมาณไร่ละ  1,300  บาท

          กลุ่มเลยคิดที่จะหาวิธีการปลูกข้าวเพื่อลดต้นทุน แต่มีผลตอบแทนที่ไม่ต่างไปจากเดิม  กลุ่มจึงได้ทำการทดลองใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานทำผงชูรส    ที่มีชื่อทางการตลาดคือปุ๋ยน้ำ "อามิ" ฉีดพ่นต้นข้าว 2 ครั้ง ในช่วง  2 อายุ  คือ

  • ครั้งที่ 1 เมื่อต้นข้าวอายุ  20- 30 วัน  ใช้ปุ๋ยน้ำในความเข้มข้น  100 เปอร์เซ็นต์
  • ครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าวอายุได้ประมาณ 50-60 วัน ใช้ปุ๋ยน้ำอามิร้อยละ  70  ผสมน้ำร้อยละ  30

        โดยทำการฉีดพ่นทางใบ อัตราการใช้อยู่ที่ประมาณ 1,000 ลิตรต่อข้าว  6  ไร่เศษ (ครั้งที่ 2 จะใช้ประมาณ 700 ลิตรและผสมน้ำเป่าเข้าไปอีก 300 ลิตร) และเนื่องจากราคาปุ๋ยน้ำอามินั้นมีราคาประมาณลิตรละ  1.70 บาท   ทำให้ต้นทุนในการใช้ปุ๋ยน้ำชนิดนี้ตกประมาณ ไร่ละ  500  บาท (ไม่รวมค่าแรงฉีดพ่น)  ต้นทุนการใช้ปุ๋ยลดจากเดิมประมาณ  700-800 บาท  ต่อไร่

        แต่เนื่องจากไม่มีผลการทดลองของทางราชการ  กลุ่มจึงทำการทดลองกันเอง  มีหลายคนที่ได้ลองใช้แล้วผลผลิตไม่แตกต่างจากการผลิตแบบเดิม  จึงบอกต่อและปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มหลายคนสนใจแต่ก็ไม่มีความเชื่อมั่น   สมาชิกของกลุ่มจึงต้องใช้แปลงนาของแต่ละคน  มาเป็นแปลงทดลองหรือวิจัยผลผลิตว่าจะเป็นอย่างไรจะแตกต่างกันไหมระหว่างแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมี  กับแปลงที่ใช้ปุ๋ยน้ำ

   
ชาวบ้านทำลอง-วิจัยเอง


แปลงนี้อีกไม่นานก็จะพ่นปุ๋ยน้ำแล้ว

           เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มฯ ได้มีการปลูกข้าวในหลายๆ ช่วงอายุ  วันน้นเราเลยได้ไปดูแปลงปลูกข้าวพันธุ์สพรรณบุรี 60 ของคุณสมเกียรติ  พิมพ์บุบผา  ในพื้นที่  22 ไร่  เพิ่งฉีดปุ๋ยน้ำครั้งที่ 2 ไปได้ไม่กี่วันข้าวก็กำหลังชูรวงสม่ำเสมอ และต้นข้าวก็แข็งแรงดี  ที่แน่ๆ ได้กำไรจากการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีไปเป็นเรือนหมื่นแล้ว


          เป็นตัวอย่างหนึ่งของเกษตรกร  ที่ปรับตัว  หาทางรอดด้วยการลดต้นทุนการผลิต  แม้ว่ายังไม่มีงานทางวิชาการมารองรับว่าผลของปุ๋ยน้ำนี้ว่าเป็นอย่างไร   หรือว่าท่านใดมีข้อมูลก็ช่วยนำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันบ้างนะครับ  จะได้เป็นวิทยาทาน

           ส่วนผมก็คงจะติดตามดูในระยะยาวต่อไปว่าผลจะเป็นอย่างไร    ก็คงต้องไปเรียนรู้กับชาวบ้านนั่นแหละครับ  เพราะแท้จริงแล้วเกษตรกรเขาก็ทำการทดลองหรือวิจัยกันในแปลงนากันมากมายอยู่แล้ว  เป็นงานวิจัยตามบริบทและธรรมชาติ  แม้ไม่ได้มีตำแหน่งทางวิชาการรองรับ  แต่เขามีชีวิตจริงและความเป็นอยู่ดีมีสุขเป็นหลักประกัน  อันเป็นเรื่องจริงที่น่ายกย่อง....

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ   สมป่าสัก   26  พ.ย.  2551

หมายเลขบันทึก: 225649เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

เดี๋ยวนี้ที่โรงแรมก็ใช้ปุ๋ยชีวภาพ วันนี้ตั้งแต่เช้าเหม็นกันทั้งโรงแรมเลย แต่ฝรั่งกลับว่าไม่เป็นไร ขอแค่ลดสารเคมีใช้ภูมิปัญญาไทยๆ ดีที่สุดค่ะ

  • มาเยี่ยมทันทีที่เห็นบันทึกด้วยความคิดถึง
  • พี่กำลังจะเริ่มขยายผลเรื่องน้ำหมักชีวภาพที่ร.พ.ค่ะ
  • ที่กำลังติดอยู่ เป็นเรื่องการปรับปรุงดินเค็มที่เป็นดินแข็งด้วย
  • ไม่แน่ใจว่าน้ำหมักจะช่วยแก้ได้แค่ไหน
  • มีอะไรแลกเปลี่ยน...ขอนะน้องชาย
  • ......
  • เสียดายจังไม่เจอที่เหนืออีกแล้ว
  • ......
  • ถ้าชวนไปกระบี่....จะไปมั๊ยละน้องชาย

สวัสดีครับ

เกษตรกรบางรายที่ไม่มีเครื่องฉีดพ่น

ใช้วิธีการเจือจางน้ำ+น้ำหมัก (ปุ๋ยน้ำชีวภาพ) ในขันหรือถังใบเล็กแล้วสาดในแปลงนาเลย...ได้ผลไม่แตกต่างกับวิธีการฉีดครับ

สวัสดีครับ

  • งานวิจัยและภูมิปัญญาชาวบ้าน
  • เนผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
  • เพื่อการแก้ปัญหา ในการประกอบอาชีพ
  • ขอบคุณากครับ

สวัสดีค่ค่ะ

:) แวะมาเยี่ยมค่ะ

:) ที่หน่วงงานก็ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองเหมือนกัน ได้ผลมากทำให้ต้นไม้ออกผล ออกดอกเยอะ

                              

P

 

  • สวัสดีครับ Mama Mem
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ
  • น้ำหมักอาจมีกลิ่นบ้างแต่ก็ปลอดภัยนะครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

P

 

  • สวัสดีครับ หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
  • ขออภัยที่เข้ามาตอบล่าช้ามากๆ
  • ช่วงนี้มีภารกิจที่จำเป็นมาก  จึงหมดโอกาสแม้แต่จะเข้ามาที่บล็อก
  • น่าเสียดายเหมือนกันที่ไม่ได้ไปเชียงราย
  • หากมีโอกาสก็ยังอยากไปนะครับกระบี่
  • หรือว่าจะมีเฮฮาศาสตร์ทางใต้อีกครั้งครับ
  • คิดถึงทุกๆ คนเสมอครับ

P

 

  • สวัสดีครับคุณพิทักษ์
  • ขอบคุณครับที่นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยน
  • จะนำประเด็นนี้ไปแลกเปลี่ยนต่อนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • สิ่งที่เหมาะสมและทำได้ เกษตรกรบ้านเราสู้อยู่แล้วนะครับ
  • พี่สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับคุณ สารินี ไกรพจน์
  • ขอบคุณมากครับที่นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยน
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยนะครับ

อามิ อามิ จัดเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ชนิดน้ำ เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่ได้จากกระบวนการผลิตผงชูรส มีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และใช้ในการปรับสภาพน้ำ และเพาะเลี้ยงไรแดงเพื่อเป็นอาหารของปลาและกุ้ง มีงานวิจัยจากหลายหน่วยงานรองรับ ทั้งจากกรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง และมหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อ

ได้ที่ บริษัท เอฟ ดี กรีน(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีสองสาขา คือ สาขากำแพงเพชร 055-702010 สาขากรุงเทพ 02-8192649

หรือ www.fdgthailand.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท