แหงนหน้าขึ้นฟ้า มองหากระเป๋าเครื่องมือ


สัปดาห์ที่แล้วในขณะที่นักอวกาศ (Heidemarie Stefanyshyn-Piper) กำลังเช็ดสารหล่อลื่น (grease) ที่รั่วไปติดเป็นฟิล์มเคลือบกับถุง กระเป๋าเครื่องมือที่หยิบออกมาจากถุงใหญ่ ได้ล่องลอยออกไปในอวกาศ  ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมานักดาราศาสตร์สมัครเล่นชื่อ คุณ Kevin Fetter ที่มณฑลออนตาริโอ แคนาดา ส่องกล้องดูได้ตรวจพบวัตถุที่เคลื่อนในวงโคจร ด้วยความเร็วประมาณของสถานีอวกาศสากล (ISS) เชื่อว่าน่าจะเป็นถุงเครื่องมือดังกล่าว  (รายการเครื่องมือในกระเป๋าอยู่ท้ายหน้านี้ เครื่องมือที่ออกแบบพิเศษ ราคาประมาณ 1 แสนดอลลาร์ เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดยวัสดุพิเศษ คงทนสภาพในอวกาศ  แต่ถ้าหล่นจากวงโคจรลงมาสู่ผิวโลก น่าจะไหม้เป็นจุน) และเขายังว่าทุกคนสามารถใช้กล้องส่องทางไกลสองตา (binoculars) ส่องดูได้โดยจับภาพในตำแหน่งที่เหมาะสม (แถวๆ อะควอเรียส [Aquarius] ดูแผนที่ดวงดาวข้างล่าง)

 

 

โดยใช้เว็บนี้ คุณสามารถตรวจดูว่าจะมีวัตถุบนท้องฟ้า (สถานีอวกาศสากล กล้องเทเลสโคปฮับเบิลในอวกาศ ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลก ฯลฯ) โคจรผ่านสนามหลังบ้านวันใดเวลาใด โดยเลือก ประเทศ จังหวัด อำเภอ/หมู่บ้านที่คุณอยู่ แล้วคลิก "Go"

ข้อมูล วัตถุที่จะมองเห็นได้บางอัน

1. สถานีอวกาศสากล ISS เริ่มประกอบขึ้นในอวกาศตั้งแต่ พ.ศ. 2541 (1998) ขนาด 44.5 x 58.2 x 27.4 (ก.x ย. x ส. หน่วยเป็นเมตร) ปริมาตร 358 ลูกบาศ์กเมตร orbit 340.5 km (ไต่ระดับขึ้นแล้วค่อยๆตกกลับมาโดยอิพธิพลจากดวงอาทิตย์ ดูกราฟ) ความเร็วเฉลี่ยเกือบ 2 หมื่น 8 พันกิโลเมตรต่อชั่วโมง วันหนึ่งๆจะโคจรรอบโลก 15.7 รอบ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากสนามหญ้าหลังบ้าน (ดูส่วนประกอบ ISS) ถ้าคุณเห็นแล้ว อย่าลืมโบกมือให้นักอวกาศที่ทำงานที่สถานีที่นั่นด้วย :)

2. กล้องในอวกาศ Hubble Space Telescope (ติดคั้ง April 24, 1990) โคจร 7,500 m/s (17,000 mph) คิดเป็นประมาณ 2 หมื่น 7 พันกิโลเมตรต่อชั่วโมง อยู่ในวงโคจรระดับล่าง (Low Earth orbit  คือ orbit high = 589 km or 366 miles) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร 11 ตัน

 

วิดีทัศน์ข้างล่าง เป็นข่าวขณะที่ถุงเครื่องมือหลุดลอยไป (อังคาร 18 พ.ย.)

ในกระเป๋ามีเครื่องมือจำเป็นสำหรับซ่อม ข้อต่อโรตารี่สำหรับหมุนแผงรับแสงอาทิตย์ (Solar Alpha Rotary Joint ย่อว่า SARJ) ขนาดกว้าง 3 เมตร เนื่องจากปีทีแล้วนักอวกาศแจ้งว่ามีเศษโลหะเข้าไปติดและทางนาซาว่าถึงเวลาต้องใส่สารหล่อลื่น

  • ถุงบรรจุสำหรับทำงานนอกยานอวกาศ (EVA crew lock bag)
  • สายพ่วงที่ดึงสายเก็บได้  (retractable tethers) 4 ชิ้น
  • ตัวจับพ่วงอุปกรณ์แบบปรับได้ (adjustable equipment tethers) 2 ชิ้น (อาจมีลักษณะดังรูปข้างล่าง
  • ปืนอัดฉัดสารหล่อลื่นหัวตรง (a grease gun with a straight nozzle) 1 กระบอก
  • ที่รัดสาย (wire ties) 2 เส้น
  • ปืนอัดฉัดสารหล่อลื่นหัวเป็นตะขอรูปตัว เจ (a grease gun with a J-hook nozzle) 1 กระบอก
  • ภาชนะหรือกล่องบรรจุผ้าสำหรับเช็ดขณะทำงานนอกยานอวกาศ (an EVA wipe caddy)
  • ผ้าเช็ดสำหรับงานนอกยาน 6 ผืน เปียก 2 แห้ง 4 ผืน (six EVA wipes)
  • ภาชนะหรือถังบรรจุเศษผงจากการขูด (a scraper debris container)
  • เครื่องมือสำหรับขูดที่ข้อต่อโรตารี่ของแผงโซลาร์ (a SARJ scraper )
  • ถุงขยะใบใหญ่ 1 ใบ (a large trash bag)

ดูๆไม่น่าจะแพง แต่อุปกรณ์พวกนี้ผลิตและออกแบบขึ้นอย่างพิเศษ สามารถใช้งานได้ในภาวะสุญญกาศ และทนต่ออุณฆภูมิในช่วงกว้าง จาก 93 ดีกรีเซลเซียส จนถึง -128 ดีกรีเซลเซียส (+200 ถึง -200 ดีกรีฟาเรนไฮซ์)

 

ภาพของ ตัวจับพ่วงอุปกรณ์แบบปรับได้ (adjustable equipment tethers) อาจมีลักษณะคล้ายกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า STS EVA Equipment Tether Hook (ไม่ยืนยันครับ เพียงแต่หาอุปกรณ์จากเว็บนาซาที่ชื่อใกล้เคียงกันเพื่อให้เห็นภาพ) ดังรูปต่อไปนี้

 

EVA = extravehicular activity

 

 

References and more info.

http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNews/20081125/tool_bag_081125/20081125?hub=Canada

http://en.wikipedia.org/wiki/Hubble_Space_Telescope

กราฟความสูงของ ISS (ISS Height Profile)
http://www.heavens-above.com/IssHeight.aspx?lat=0&lng=0&loc=Unspecified&alt=0&tz=CET

Dr. Tony Phillips : http://www.spaceweather.com/flybys/index_coords.php?PHPSESSID=i15jjpj02bho2ksbqj9pq4psi0

http://www.universetoday.com/2008/11/23/satellite-tracker-captures-lost-toolbag-on-video/

http://en.wikipedia.org/wiki/International_Space_Station
http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/7737250.stm

Clearing skies off view of space station. Available at http://weblogs.marylandweather.com/sky_watching/

 


 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 225552เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท