บันทึกใบความรู้ ชนิดของคำ คำนาม


คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ พืช สิ่งของ สภาพ ลักษณะ

คำนาม

คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์ พืช  สิ่งของ  สภาพ  ลักษณะ  

คำนาม แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ ๕ ชนิด

. คำนามสามัญ (สามานยนาม)  เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป   เช่น  คน  แมว   ปู  เสือ  ปลา  หอย  เป็ด  ไก่  นก  โรงเรียน ฯลฯ

. คำชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม)  เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  พืช  สิ่ง ของ  สถานที่   เช่น   ชลบุรี พิษณุโลก  ชุมชนวัดหนองค้อ  ไอ้ตูบ  เจ้าด่าง พิชัย     นายสิทธิศักดิ์  เป็นต้น

. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)  เป็นนามที่ใช้เรียกนามซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่  เช่น  ฟอง  กอง  กลุ่ม  หมู่  ฝูง  โขลง  พวก  พรรค  วง  ฯลฯ

. คำนิยมธรรม ( อาการนาม)  คือคำนามที่ใช้ การ หรือ ความ นำหน้าคำกริยา และใช้ ความ นำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น  การเดิน  การนอน  การวิ่ง  การเกิด  ความรัก  ความตาย   ความคิด  ความดี   ความรู้  ฯลฯ

. คำลักษณนาม  เป็นคำบอกลักษณะของนาม   แบ่งย่อยได้  ๖ ชนิด  ดังนี้

            .๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น  รูป  ใช้ กับ ภิกษุ  สามเณร

เล่ม  ใช้กับ    หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร

ใบ     ใช้กับ   ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอน

            .๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น

                                    ฝูง    ใช้กับ  วัว  ควาย  ปลา  นก

                                    กอง  ใช้กับ  ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า

                                    นิกาย  ใช้กับ  ศาสนา  ลัทธิ

               .๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น

                                    วง   ใช้กับ  แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง

                                    หลัง  ใช้กับ  เรือน  มุ้ง  ตึก

                                    แผ่น  ใช้กับ  กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี

                                    บาน   ใช้กับ  ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป

                .๔  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น

                                    คู่   ใช้กับ  รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม

                                    โหล  ใช้กับ  ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ  ปากกา

                  .๕  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น

                                    จีบ      ใช้กับ   พลู

                                    จับ       ใช้กับ  ขนมจีน

                                    มวน    ใช้กับ   บุหรี่

                 .๖  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น

                                    ประเทศ   เมือง    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ

 

หน้าที่ของคำนาม
  • ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
    • นักเรียนร้องเพลง
    • นกบิน
  • ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น
    • แมวกินปลา
    • ตำรวจจับผู้ร้าย
    • น้องทำการบ้าน
  • ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนามอื่น เช่น
    • ณฐมนเป็นข้าราชการครู
    • นายมานพทนายความฟ้องนายสมชายพ่อค้า...........................
  • ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น
    • แม่ไปตลาด
    • น้องอยู่บ้าน
    • เธออ่านหนังสือเวลาเช้า
  • ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ เช่น
    • เขาเหมือนพ่อ
    • เธอคล้ายพี่
    • นุกูลเ็นครู
    • เขาเป็นนางสาวไทย
    • สมชายสูงเท่ากับคุณพ่อ
  • ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น เช่น
    • เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว
    • พ่อนอนบนเตียง
    • ปู่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
  • ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน เช่น
    • คุณครูคะหนูยังไม่เข้าใจเลขข้อนี้ค่ะ
    • คุณหมอลูกดิฉันจะหายป่วยไหม
    • นายช่างครับผมขอลากิจ ๓ วัน

  *******************************

 

 

หมายเลขบันทึก: 225510เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณครูขอนำไปให้ลูกชายหัดทำเลยนะค่ะ

สวัสดีค่ะพี่มน คิดถึงจัง รักษาสุขภาพด้วยนะ

ขอบคุณน้องรุจีและน้องขวัญ

คิดถึงเช่นกันคะ

ควายมากมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท