หัวใจครูอาสา
Miss ฐิติวรกาญจน์ ต้นอ้อ วงษ์อัยรา

โอเมก้า 3 จำเป็นหรือไม่


โอเมก้า 3

โอเมก้า 3 จำเป็นหรือไม่

จาก หมอรามา ไขปัญหาสุขภาพ  เสาร์ 22 พ.ย. 51  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

โดย ศ.พญ. จุฬาภรณ์  รุ่งพิสิทธิพงษ์

          อาหารหรืออาหารเสริม ที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวหลายตำแหน่งชนิดโอเมก้า-3 Omega-3 fatty acids ช่วยลดอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

          ในปัจจุบันพบว่าการบริโภคอาหารหรืออาหารเสริมสามารถช่วยลดอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้คนทั่วไปรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม ที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งชนิดโอเมก้า-3 (n-3 polyunsaturated fatty acids, n-3 PUFA) ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น เช่น eicosapentanoic (EPA, 20:5, n-3) และ docosahexanenoic (DNA, 22:6, n-3) สามารถช่วยลดอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

          สมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้คนทั่วไปรับประทานปลาทะเลน้ำลึก 240 กรัมต่อสัปดาห์ จะสามารถลดอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยหลีกเลี่ยงการทอดและการรับประทานร่วมกับครีมซอสเพราะจะทำให้เพิ่มกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันชนิดทรานซ์ได้ การลอกผิวและไขมันใต้ผิวหนังของปลาออกก่อนนำมาปรุงอาหารสามารถลดการปนเปี้อนของสารพิษ เช่น สารปรอทได้ กรดไขมันชนิด EPA และ DHA พบได้ในปลาทะเลน้ำลึกซึ่งพบมากในส่วนของเนื้อและตับปลา

การแสดงปริมาณกรดไขมันชนิด EPA และ DHA ในอาหารต่าง ๆ

ปลาทะเลน้ำลึก                         ปริมาณกรดไขมันชนิด EPA และ DHA

ปลาแม็คเคอเร็ล (ปลาทู)                  2,500  มิลลิกรัม /  100  กรัม

ปลาเฮอริง                                    1,700  มิลลิกรัม  /  100  กรัม

ปลาแซลมอน                                1,200  มิลลิกรัม  /  100  กรัม

ปลาเทราท์                                      500  มิลลิกรัม  /  100  กรัม

ปลาทูน่า                                         400  มิลลิกรัม  /  100  กรัม

ปลาคอด                                         300  มิลลิกรัม  /  100  กรัม

(หมายเหตุ :  EPA = eicosapentaenoic acids, DHA = docosahexaenoic acids

* ปริมาณกรดไขมันชนิด  EPA  และ  DHA  จากปลาทะเลน้ำลึกอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสายพันธ์ ตามแหล่งที่มาและปัจจัยอื่น ๆ

          สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจควรได้รับกรดไขมันชนิด EPA และ DHA ประมาณ 1 กรัมต่อวันจากปลาทะเล ในประเทศไทย การรับประทานปลาทะเลที่มีประโยชน์และราคาไม่สูงมากนัก เช่น ปลาทู  ปลาโอ เป็นต้น

Omega-3 fatty acids ช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด

          กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งชนิดโอเมก้า-3 สามารถช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด การรับประทานกรดไขมันชนิด EPA และ DHA สามารถลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ประมาณร้อยละ 6 ถึง 8 ต่อ 1 กรัมของกรดไขมันชนิด EPA และ DHA โดยยับยั้งการสร้างและการหลั่งของไตรกลีเซอร์ไรด์จากเซลล์ตับมายังกระแสเลือด โดยไม่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันในทางอาหารหรือการขับหรือสลายไขมันในกระแสเลืออด

          กรณีผู้ป่วยมีภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงควรบริโภคน้ำมันปลาที่มีกรดไขมัน EPA และ DHA 2 ถึง 4 กรัมต่อวัน

          กรดไขมัน EPA และ DHA เมื่อรับประทานเข้าไปจะไปแทนที่กรดไขมันโอเมก้า-6 เช่น arachidonic acids ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ เช่น การแทนที่ arachidonic acids ของเกล็ดเลือดทำให้การสร้าง thromboxane A2 ลดลง นอกจากนี้ EPA ยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclo-oxygenase  ทำให้การแข็งตัวของเกล็ดเลือดและการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด

   ข้อควรระวังการใช้น้ำมันปลา

      ควรระมัดระวังการใช้น้ำมันปลาร่วมกับ aspirin หรือ non-steroidal antiinflammatory drugs (NSAIDs) เพราะอาจเกิดภาวะเลือดออกง่ายได้.........................

 

         

หมายเลขบันทึก: 224950เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ

ขอบคุณครับ

น้องที่ทำงานซื้อน้ำมันตับปลากิน

กินบ้างลืมบ้าง

ไม่รู้จะได้ประโยชน์เต็มที่ไหม

สวัสดีครับ นับว่ามีประโยชน์มาก หาสิ่งดีๆมาอีกนะครับ

ขอบคุณทุกข้อความค่ะ. จะหาข้อมูล หลาย ๆ แบบ มาให้อ่านนะค่ะ.

จะได้หลากหลายความรู้นะค่ะ.

สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านเรื่องที่ดีมีประโยชน์ ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะค่ะ

พิพัฒน์ ธีรเดชวณิชย์

สวัสดีครับ ได้ความรู้ดีตอนนี้เป็นโรคหัวใจอยู่ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท