Admin Journal Club 1/2552 : ชุมชนแพรกหนามแดง โดย พี่ฐา


ทุกปัญหาแก้ไขได้,,หากใจรวมเป็นหนึ่งเดียว

 

 

 

 

Admin Journal Club ครั้งที่ 1/2552

 

Admin Journal Club ได้ทำการโอนย้ายมาอยู่บล็อกของหน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล และจะเริ่มตั้งต้นนับครั้งการจัดเวที Admin Journal Club ของ ปีงบประมาณ 2552

ซึ่งผู้ที่มาประเดิมนำเสนอคนแรก คือ พี่ฐา (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล)

โดยนำวิดีโอ “ปัญหาของชุมชนแพรกหนามแดง” มาให้ชมพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลจึงสรุปเนื้อหามาให้ทุกท่านได้อ่านกันคะ...

 

บทสรุปแพรกหนามแดง

ต. อัมพวา  จ. สมุทรสงคราม

 

ความขัดแย้งที่ยาวนานมากว่า 20 ปี แก้ไขได้ด้วย ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และสิ่งที่สำคัญคือกระบวนการในการแก้ปัญหา

 

ปัญหาคือ ชุมชนแพรกน้ำแดง จ.สมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่มีลำคลองมากกว่า 36 สาย มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน พื้นที่แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งน้ำจืด และฝั่งน้ำเค็ม ซีกหนึ่งทำนาข้าว สวนผัก บ่อปลา อีกซีกหนึ่งทำนากุ้ง โดยพฤติกรรมการใช้น้ำแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงมีแค่เพียงบานประตูกั้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา กรมชลประทานได้ทำประตูน้ำปิดลำคลอง มีที่ใช้ได้ 10 ประตูเพื่อป้องกันปัญหาน้ำเค็มรุกพื้นที่ โดยการสร้างประตูได้แบ่งน้ำจืด-น้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ปัญญาความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นหากอาชีพอีกฝั่งหนึ่งไม่ไปสร้างปัญหากับอีกฝั่งหนึ่ง

 

หากประตูน้ำเปิดออกปัญหาก็คือโคลน น้ำเสียจากน้ำจืดทะลักเข้าบ่อเลี้ยงกุ้ง ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งเกิดความเสียหาย เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดประชาคม ทำให้ชาวบ้านทั้ง 2 ฝั่งมีความเห็นร่วมกันว่าจะมาแก้ไขปัญหาด้วยกัน ดังนั้นจึงเกิดแนวร่วม มีงานวิจัย โดยได้รับทุนจาก สกว. เริ่มโดยมีการจัดประชุม ปัญหาคือชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ จึงมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้เขามามีส่วนร่วม ก็พยายามดึงคนทั้ง 2 ฝั่งเข้ามาคุยกัน มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ มีการร่างแบบประตูกั้นน้ำใหม่ จากการพูดคุยและสำรวจทำให้ทีมวิจัยได้รู้ว่า แพรกหนามแดงมีการทำประตูกั้นน้ำมากว่า 100 ปี มีข้อสงสัยว่า แล้วทำไมประตูน้ำในอดีตจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นในปัจจุบัน? เมื่อคุยกันลงไปในอดีตพบว่าประตูน้ำในอดีตเปิด-ปิดด้วยแรงดันน้ำ โดยประตูทำด้วยบานไม้ใส่ลงไปทีละชิ้นเวลาน้ำมากก้อจะดึงบานไม้ออกเพื่อระบายน้ำ และนี้เองคือที่มาของคำถามสำคัญว่า ถ้าจะสร้างประตูที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับชาวบ้านควรทำอย่างไร?

 

ชาวบ้านได้ระดมความคิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีรูปแบบประตูกว้างเท่ากับลำคลอง เพื่อระบายน้ำได้ดีต้องมีบ่นทึบอยู่ด้านล่างเพื่อป้องกันโคลนทะลักของตะกอน บานประตูสามารถเปิด-ปิดได้เองโดยใช้หลักการไหลของบน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เมื่อมีน้ำจืดมากประตูจะเปิดน้ำจะไหลออก และเมื่อน้ำเค็มสูงขึ้นจะดันประตูให้ปิด แต่การเปลี่ยนประตูก็ติดอยู่กับงบประมาณ และนโยบายรัฐบาล ทีมวิจัยจึงนำข้อมูลและแบบเสนอกับหน่วยงานต่างๆ จนชลประทานยอมให้ทดลองทำประตู ผู้ว่าราชการก็ให้ อบต. มาทำประตูให้อีก 2 บาน จากนั้นทางจังหวัดก็มีการสานต่อทำเพิ่มอีก 8 บาน

 

หลัก 5 ร. ที่ทางทีมวิจัยยึดถือปฏิบัติ

- ร่วมคิด

- ร่วมตัดสินใจ

- ร่วมทำ

- ร่วมตรวจสอบ

- ร่วมรับประโยชน์

 

การขจัดปัญหาความขัดแย้ง เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และกระบวนการสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยข้อมูลความเป็นจริง ทางทีมวิจัยสามารถตอบโจทย์ข้อขัดแย้งได้ ปัญหาความขัดแย้งก็ลดลง ชุมชนแพรกน้ำแดงกลายเป็นแหล่งศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

 

ตัวอย่าง..วีซีดี..ชุมชนแพรกหนามแดง,,

 

 

** หากท่านใดสนใจรับชมแบบเต็มๆ ติดต่อได้ที่ หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล โทร.5010 คะ **

 

 

หมายเลขบันทึก: 224139เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท