TIME LINE


สรรพสิ่งในโลกล้วนเชื่อมโยงกัน

 

กิจกรรม TIME  LINE ”

หลักการ

        หากเราค้นพบมิติของอดีตกาลมาก ๆ   เราจะมีพลังในการขับเคลื่อนปัจจุบันไปสู่ภาพในอนาคตได้มากและสมบูรณ์

 

 

 

 

 

        กิจกรรมนี้  FA บรรยายประกอบการฉายภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ   ภาพลูกโลก   เพื่อชี้ให้เห็นว่า  สรรพสิ่งในโลกนี้ ย่อมเชื่อมโยงกัน

        FA  บรรยายเชื่อมโยงมาถึงเรื่องการเรียนรู้กับมิติของเวลา ซึ่งประกอบด้วย  การพึ่งตนเอง  ริเริ่ม  อิสระ  มีพลัง เคลื่อนไหว ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง  และไม่หยุดการเรียนรู้

        FA  ให้ผู้เข้าอบรมนั่งหลับตานิ่ง ๆ อยู่กับตนเอง ครุ่นคิดถึงภาพอดีตที่ตนเองมาอยู่ที่บ่อไร่แห่งนี้   เมื่อไร?  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง?  

       ผู้เข้าอบรมลืมตาขึ้น และได้รับแจกตุ๊กตากระดาษคนละ 1 ตัวซึ่งสมมุติเป็นตัวของผู้เข้าอบรมเอง   FAบอกให้ระบายสีให้สวยงาม  และนำไปติดกระดาษ TIME  LINE ช่วงเวลาที่ตนมาอยู่โรงเรียนแห่งนี้ 

 

 

 

          FA จัดให้ผู้เข้าอบรมเข้ากลุ่มตามช่วงเวลาของตนเอง และร่วมสนทนาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงนั้น ๆ เลขานุการกลุ่มบันทึกเหตุการณ์ลงในกระดาษฟลิปชาร์ท และเตรียมนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

        ครูรุ่นที่ 1 รุ่นบ้านป่าเมืองเถื่อน (ก่อนพ.ศ.2520)

         เป็นช่วงที่คนทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้  ภาคอิสาน เข้ามาแสวงโชค (ขุดพลอย)  มีผู้มีอิทธิพลมาก ผู้คนร่ำรวยจากการขุดพลอยไปขาย  โสเภณีมาก   เกิดโรคมาเลเรียระบาด 

 

         ครูรุ่นที่ 2 รุ่นเขมรแตก /เขมรแดงบุก(ช่วง พ.ศ. 2521-2525)

        เป็นช่วงที่เขมรเกิดสงคราม เปลี่ยนการปกครอง ชาวเขมรอพยพเข้ามาอยู่ที่บ่อไรเป็นแสนคน  มีการเข่นฆ่ากันด้วยปืน และระเบิด   ครู เด็ก ๆ และ ชาวบ้าน ต้องอยู่หลุมหลบภัย

           การคมนาคมไม่สะดวก  ถนนเป็นหินลูกรัง  ครูเข้ามาสอนที่นี่ต้องเดินเท้าระยะทางไม่น้อยกว่า 10  กิโลเมตร

          ครูรุ่นที่ 3 รุ่นบ่อไร่ไม่เคยหลับใหล(ช่วง พ.ศ. 2526-2535)

ช่วงนี้ผู้คนร่ำรวย  ฟุ้งเฟ้อเกิดสถานเริงรมย์ประมาณ  33  แห่ง มีโสเภณีมากที่สุด  ทำให้คนติดเอดส์เป็นอันดับ 1 ของประเทศการปล้นทรัพย์สินเงินทอง  ปล้นวัว  ปล้นควาย

           ประมาณปลายปี 2535 ปิดสัมปทานบ่อพลอย เศรษฐกิจเริ่มซบเซา 

            ครูรุ่นที่ 4 รุ่นน้ำท่วมใหญ่(ช่วง พ.ศ. 2536-2545)

เป็นช่วงที่เศรษฐกิจในชุมชนบ่อไร่ซบเซาที่สุด  ผู้คนย้ายกลับถิ่นฐาน  ชาวบ้านเริ่มหาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร  ได้แก่  ทำนา  ทำสวนผลไม้

           โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม ได้เป็นโรงเรียนพระราชทาน  เมื่อปี พ.ศ. 2545

            ครูรุ่นที่ 5 รุ่นเปลี่ยนวิถีชีวิต(ช่วง พ.ศ. 2546-2551) 

           ช่วงนี้หมดยุคขุดพลอยโดยสิ้นเชิง  ประชาชนหันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำไร่  ทำนา  ทำสวน เช่น  ปลูกปาล์ม  ไม้ผล

           ทางเทศบาลตำบลบ่อพลอย  มีการปรับภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  พัฒนาอุทยาน  น้ำตก  ตลาดชุมชน  และสร้างสวนสุขภาพ   มีการสร้างสัญญานไฟจราจร

            เด็ก ๆ เริ่มมีปัญหาด้านวัตถุนิยม ติดเกม  บกลุ่มซิ่ง

มอเตอร์ไซค์  ( เด็กแวนท์  เด็กสป๊อย)

           สิ่งที่ผู้ร่วมเวที่ได้ค้นพบ  คือ  ตำบลบ่อไร่มีความเจริญสูงสุด เศรษฐกิจดีมาก ผู้คนร่ำรวย แต่ปัจจุบันเหลือเพียงร่องรอย  

จึงทำให้ผู้ร่วมเวทีได้เรียนรู้ ดังนี้

1. การเห็นภาพในอดีต จนถึงปัจจุบันทำให้รู้เท่าทันปัญหาต่าง ๆ

2. อดีตเป็นครูของปัจจุบัน

3.  อุปสรรค  เป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา 

4. สุขภาวะครอบครัว  ชุมชน เราต้องร่วมกันดูแลเอาใจใส่

          วันนี้คือการเริ่มต้นของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการที่จะร่วมแรงร่วมใจกันดูแลช่วยเหลือครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดให้เป็นสุข อันจะส่งผลถึงสุขภาวะของชุมชนด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บ่อไร่#ไทม์ไลน์
หมายเลขบันทึก: 223726เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 02:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีจังเลยค่ะ บันทึกนี้
  • การอบรมครั้งนี้ มีประโยชน์
  • นำอดีต มาแก้ไขให้ดีได้ในปัจจุบัน
  • ขอบพระคุณค่ะ ครูตา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท