ข้าวสวย


"พ่อ แม่สอนผมให้ใช้ชีวิตอยู่ในท้องนาตอนที่ยังเรียนอยู่ถึงในระดับมัธยมต้น และบอกเสมอว่ากว่าจะเป็นข้าวให้เรากินนั้นผ่านอะไรมาบ้าง"

วันที่ 13 และ 14 พฤศจิกายน 2551 ผมเดินทางจากอุบลราชธานีเพื่อไปร่วมกระบวนการเรียนรู้และนำพาการเรียนรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในจังหวัดยโสธร ตอนเย็นเดินทางกลับมาพักที่อุบลราชธานี (วันแรกกลับมาส่งอาจารย์วราภรณ์ เช้าวันที่สองมารับอาจารย์นัยนา เพื่อมาช่วยกันสร้างกระบวนการเรียนรู้) สองข้างทางผ่านทุ่งนาเป็นระยะ เห็นชาวนากำลังเกี่ยวข้าวตั้งแต่คน สองคนสามคน จนเห็นหลายสิบคนผมคิดว่าเป็นการลงแขกเกี่ยวข้าวกัน เป็นแถวหน้ากระดานการเกี่ยวๆแบบพันกำที่เกี่ยวเต็มกำมือแล้วก็เอาต้นข้าวพันกันไว้เป็นกำๆ (ทางบ้านผมจะเกี่ยวเป็นแบบวางรายที่จะต้องมาหอบทำเป็นฟ่อน) บางช่วงก็เห็นรถเกี่ยวข้าวที่เป็นเทคโนโลยี่ ที่ให้ชาวนาที่เกี่ยวข้าวพร้อมนวดไปพร้อมๆกัน (นวดเป็นการแยกเอาเมล็ดออกจากต้นข้าวที่เกี่ยวมา เราเรียกต้นข้าวนั้นว่าฟางข้าว ที่จริงมีแกลบและละอองข้าวปลิวออกมาพร้อมกับฟางข้าวด้วย) ทำให้นึกถึงช่วงวัยเด็กที่อยู่ในท้องนาแบบนี้ที่ฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม พ่อ แม่สอนผมให้ใช้ชีวิตอยู่ในท้องนาตอนที่ยังเรียนอยู่จนถึงในระดับมัธยมต้น และบอกเสมอว่ากว่าจะเป็นข้าวให้เรากินนั้นผ่านอะไรมาบ้าง ผมจึงเอาผลผลิตสุดท้ายของข้าวมาเป็นชื่อเรื่อง ข้าวสวย มาเขียนเล่าเพื่อที่จะสื่อบอกผู้คนให้เห็นที่มา พร้อมคุณค่าของข้าว  แบ่งเป็นตอนๆนะครับ ขอความเห็นด้วยครับหากตรงไหนความหมายผิดเพี้ยนไป

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 223392เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ประวัติความเป็นมาของข้าว..ไม่ค่อยจะมีประสบการณ์เลยค่ะ ต้องเรียนถามพ่อครูบาค่ะ อิอิ หรือไม่ก็ต้องพี่ครูโย่ง เพิ่งไปเกี่ยวข้าวมาค่ะ อิอิ

ที่แท้ คำว่า"ลงแขก" นั้น มีความหมายเป็นไปในทางดี เขาสามัคคีทำดีกัน

แต่ทำไมคนเราเอามาใช้ในการทำร้ายกัน คำว่า เรียงคิวก็มีความหมายดี

ที่สำคัญ ควายก็เป็นสัตว์ที่ดี มีคุณประโยชน์ต่อชาวไทย ( รวมควายเขาสวยจากบางระจันด้วย ) แต่ทำไมเวลาด่าคน จึงเอาควายมาเปรียบเทียบในเชิงลบ งานนี้ ต้องขอความกรุณาอาจารย์ จัดการกระบวนการเรียนรู้ใหม่แล้วนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท