คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือประเทศไทย


คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือประเทศไทย

คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือประเทศไทย

                วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่เมืองคุณหมิงมณฑลยูนนาน  ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนแปลงการปกครอง  บรรดาชาวจีนที่ไม่ยินยอมใช้ชีวิตภายใต้ระบบลัทธิคอมมิวนิสต์ต่างพากันอพยพออกนอกประเทศ  บางส่วนพำนักชั่วคราวที่บริเวณชายแดนยูนานกับพม่า  มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอย่างแสนสาหัสเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่งเป็นเวลาถึง 10 กว่าปี  เมื่อ  พ.ศ.2495 และ พ.ศ.2504  ถูกกดดันจากสังคมสากลประเทศ  ให้อพยพไปไต้หวันสองครั้ง  การอพยพเมื่อ พ.ศ.2504  นั้น  ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับคำสั่งลับจากเบื้องบน  อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากเงื่อนไขส่วนตัวและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม  จึงยังคงอาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยกับพม่า  ใช้ชีวิตสุดแสนลำเค็ญในป่าเขา  ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าแห่งองค์พระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัวภูมิพล  และวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้น  จึงมีการหารือกับไต้หวันหลายครั้ง และบรรลุข้อตกลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2512  ให้รัฐบาลไทยจัดการและดูแลชนกลุ่มนี้ตามความเหมาะสม  โดยวางนโยบายร่วมอาสาป้องกันการโอนสัญชาติ  และอบรมอาชีพการเกษตรตามลำดับ  ทั้งไทยและไต้หวันร่วมมือกันปฏิบัติอย่างจริงจัง  จนนำมาซึ่งความสุขสงบและความมั่นคงทางภาคเหนือของไทยและชาวจีนอพยพที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นนี้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตที่อิสระเสรีเป็นสุข  และ  ร่วมพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของท้องถิ่นมานานถึง 40 กว่าปี ณ  วันนี้แม้ว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกยังคงผันแปรไปตามครรลอง  แต่ความรู้สึกสำนึกใน  พระมหากรุณาธิคุณ  และพระคุณของแผ่นดินไทยยังคงตราตรึงอยู่ในจิตใจชาวจีนอพยพอกลุ่มนี้อย่างมิรู้ลืม  และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบต่อไป  ผู้อาวุโสทั้งปวงต่างปรารถนา  ที่จะร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางประวีติศาสตร์ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจความเป็นจริงต่อไป  ในอนุสรณ์สถานแห่งนี้มีอนุสรณ์สถานวีรชนที่เสียสละในการสู้รบ  จักเป็นประโยชน์ต่อจิตสำนึกต่อชนรุ่นหลัง  ให้รู้จักรักชาติรักแผ่นดิน  เทิดทูนและสนองพระมหากรุณาธิคุณ  ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาเพื่อความก้าวหน้ารุ่งเรือง  สุขสงบ  และความมั่นคงของชีวิตและแผ่นดินไทย  อนุสรณ์สถานแห่งนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการท่องเที่ยง  ของท้องถิ่นและส่วนรวม  ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่และเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ดังกล่าวนี้  จึงได้รับความเห็นชอบจากกองบันชาการ  ทหารสูงสุดของไทย  อนุญาตให้ใช้พื้นที่ 6 ไร่  ที่แม่สลองเพื่อทำการก่อสร้างและตั้งคณะกรรมการเตรียมงานการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือของประเทศไทยขึ้น  โดยมีนายก่งเฉิงเย่  หัวหน้าทำงานภาคเหนือของไทย  แห่งสมาคมช่วยเหลือชาวจีนโพ้นทะเล  เป็นผู้ประสานงาน

                คณะกรรมการเตรียมงานประกอบด้วย  นายพลหลุยอี่เถียน  เป็นประธานคณะกรรมการ  นายพลเฉินเม่าชิว  นายจางกั๋วจี่  และนายจางเจ้าชิง  เป็นรองประธานฯ กรรมการมี  นายฉีสู้เฉิง  นายจางสู้เหยา  นายหวังซื่อจุ้น  นายหรี่เหรินเจี๋ย  นายเหรินเจิ้น  นายหวงเคอ  นายหลู่ต้าจั้น  นายหลิวซื่อชง  นายหลิวเจี่ยหลี่  นายเหรินจื้อฟาง  นายจางไคเฉิง  นายหลีไท่เจิง  นายหลี่เหวินถัน  และนางเจิงฮั่วอี๋  สมาคมช่วยเหลือชาวจีนโพ้นทะเล  นำโดยนายกัวเจ๋อนายกสมาคม  ได้ทุ่มเทให้การช่วยเหลือโครงการนี้อย่างเต็มกำลัง  สมณเจ้าจิ้งซิน  ก็ให้การสนับสนุนด้วยมุทิตาจิต  นายเอี๋ยนเจิ้นจังวิศวกรไต้หวัน  ได้กรุณาออกแบบการก่อสร้างให้เป็นการกุศล  และดำเนินการก่อสร้าง  โดยบริษัท  โชคชัยวิบูลย์  เริ่มดำเนินวิศกรรมก่อสร้าง  เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2546  รายละเอียดการตกแต่งภายใน  ก็แล้วเสร็จในปลายปี  ระหว่างการดำเนินงานได้รับความ่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธา  และชาวบ้านบริจากสมทบทุน  จำสำเร็จสมความตั้งใจ  จึงจารึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเป็นที่ทราบโดยทั่วกันตลอดไป

 

คณะกรรมการเตรียมงานก่อสร้างอนุสรณ์สถาน

ชาวจีนอพยพภาคเหนือประเทศไทย

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

หมายเลขบันทึก: 223337เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

ตามมาอ่านประวัติครับ

เมื่อสักครู่ไปเที่ยวมาแล้ว

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณPompier

ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชมและติดตามนะครับ

 

มาร่วมเรียนรู้ด้วยค่ะ

 

 

 

อยากอพยพมั่งจัง

อยากไปอยู่บนดอยจังงเลยตอนนี้

ทำไมอยากไปอยู่บนดอยล่ะครับคุณMT LAB

ตอนนี้หนาวมาก ๆ

น้ำก็เย็นมาก ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท