มีคำถามว่าในยามที่ประเทศกำลังมีวิกฤติทางการเมือง สภามหาวิทยาลัยควรทำอะไรบ้าง และไม่ควรทำอะไรบ้าง
คำตอบไม่น่าจะมีมิติเดียว
น่าจะต้องคำนึงถึงมิติหลายชั้น ได้แก่
1. ตีความหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (พรบ.)
ของแต่ละมหาวิทยาลัย
นำมาพิจารณาตามสภาพของสังคมและมหาวิทยาลัยในขณะนั้น
2. พิจารณาวัฒนธรรมประเพณี
หรือประวัติศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ
3. กำหนดนโยบายเฉพาะช่วงเวลาที่มีวิกฤติ
ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
โดยเน้นเรื่องใดบ้างเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะการค้นคว้าวิจัย
ทำความจริงให้ปรากฏแก่สังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่มองได้หลายแง่หลายมุม
หรือมีความซับซ้อน
แล้วนำความจริงนั้นบอกแก่สังคม
เน้นความจริงที่มีข้อมูลหลักฐานยืนยัน
ไม่ว่าในบรรยากาศแบบใดในสังคม มหาวิทยาลัยมีหน้าที่จรรโลง ความจริง
ความดี และความงาม
ดังนั้นในบรรยากาศที่สังคมสับสน
มหาวิทยาลัยควรถือเป็นโอกาสที่จะทำหน้าที่เป็นเสาหลักด้านความจริง
ความดี ความงาม ของสังคม
4. ไม่หลงเข้าไปทำหน้าที่เชิงบริหาร
เนื่องจากโดนสถานการณ์ฉุกเฉินลากเข้าไป
หน้าที่บริหารเป็นของฝ่ายบริหารที่นำโดยอธิการบดี
5. ให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหาร
ในกรณีที่ฝ่ายบริหารต้องการปรึกษาประเด็นเชิงนโยบาย
วิจารณ์ พานิช
๓๐ มีค. ๔๙
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก