ระบบศาสตร์ทำให้ความรู้ทางเกษตรมีโครงสร้าง


สามารถนำความรู้หลายชิ้นมารวมเป็นองค์ความรู้

 

แต่เดิมเรื่องราวเกี่ยวกับระบบเกษตร ระบบชนบท และระบบชุมชน-เมืองมีความเรียบง่าย ทำให้การผลิตของระบบเกษตรและการบริโภคชนบทมีความสมดุลกับระบบธรรมชาติ เมื่อสังคมมนุษย์มีการพัฒนามากขึ้นปรับเปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรมและสังคมข่าวสาร ประกอบกับการมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้มีความต้องการและความจำเป็นในการแสวงหาแนวคิดใหม่ แนวทางใหม่เพื่อการแก้ปัญหาและนำสู่การอธิบายความเป็นไปของระบบและเรื่องราวได้ ทั้งในกรณีที่ได้รับผลสำเร็จและไม่ได้รับผลสำเร็จ

ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ในรอบหลายร้อยปีที่ผ่านมานี้มีความสำเร็จในแต่ละศาสตร์ในการจัดการและทำให้มีโครงสร้างของการจัดการองค์ความรู้เฉพาะด้าน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับแต่ไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหาดั่งเดิมของสังคมได้อย่างชัดเจนหรือมีความเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม ดังนั้นเมื่อ ไม่มีการจัดการและการรวบรวมความรู้แต่ละด้านก็เป็นเพียงชิ้นงานแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน วิธีการและหลักการของระบบศาสตร์มีการพัฒนาเพื่อการนำความรู้แต่ละด้านมาประกอบกันอย่างมีโครงสร้าง ส่งผลดีต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตและการจัดการทรัพยากรในอนาคต การที่วิทยาศาสตร์มีหลักการและโครงสร้างเพื่อจัดการความรู้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมส่งผลให้สังคมมนุษย์มีความเข้าใจและความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตข้าวในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งมีความสามารถในการยกระดับผลผลิตได้อย่างชัดเจน การผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร หรือ การแพร่ขยายของกิจการขายปลีกและขายส่งในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ การแพร่ขยายของระบบธนาคาร เป็นต้น

โครงสร้าง หรือ Structure มีความสำคัญต่อการจัดการ ต่อการเรียงลำดับความรู้และข้อมูลซึ่งได้รับจากการสังเกตุ จากการเก็บข้อมูลของศาสตร์ต่าง ๆ การทำให้มีโครงสร้าง หมายถึง การทำให้ทราบว่าเรื่องราวและส่วนประกอบต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้อง มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร มีความหมายอย่างไรต่อสังคมต่าง ๆ การเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาจึงเป็นส่วนสำคัญทำให้เกิดความสามารถในการนำเนื้อหาและความเข้าใจที่ไปสู่การจัดการที่เป็นประโยชน์ในอนาคต

โครงสร้างระบบ

การจัดโครงสร้างให้กับความรู้ที่มีอยู่มีความสำคัญอย่างน้อย 4 ด้าน ได้แก่

1. ทำให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจเรื่องราวได้โดยง่าย เช่น โครงสร้างการจัดจำแนกดินจากระบบของ Soil Taxonomy ช่วยให้เข้าใจความแตกต่างและความเหมือนกันของดินแต่ละพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว หรือ สารบัญหนังสือทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดของหนังสือมีรายละเอียดอย่างใด หรือ โครงสร้างหลักสูตรทำให้ผู้เรียนทราบว่าต้องผ่านกระบวนวิชาใดบ้างจึงจะมีระดับการเรียนรู้และศึกษาจนจบหลักสูตร เป็นต้น

2. ด้วยมนุษย์มีความสามารถในการจดจำเรื่องราวที่สั้นมาก การมีโครงสร้างเอื้อต่อการจดจำ สารบัญของหนังสือเป็นโครงสร้างช่วยจำของผู้อ่านสามารถย้อนกลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมในรายละเอียดเฉพาะเรื่องของหนังสือเล่มนั้น ๆ ได้

3. สะดวกต่อการแพร่ขยายความรู้ไปสู่คนรุ่นต่อไป คนที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม-ภาษา โดยการสื่อสารโครงสร้างของความรู้

4. ช่วยลดความแตกต่างและความห่างไกลระหว่างความรู้เบื้องต้นและความรู้ชั้นสูงของแต่ละแขนงวิชา

5. โครงสร้างทำให้การนำความรู้แต่ละชิ้นมาประกอบกันเป็นองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาโดยพิจารณาหลาย ๆ ด้าน

หมายเลขบันทึก: 22289เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 06:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท