เทคนิคการสอน


กิจกรรม หลากหลายมิติ
วิธีการและเทคนิคการสอนอิสลามศึกษา การศึกษาและกลวิธีการสอนหลากหลายมิติ ความหมายของการศึกษา ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษา คือ การนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า การศึกษา คือ การรังสรรค์พลเมืองให้มีความประพฤติ และมีอุปนิสัยที่ดีงาม เฟรดริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ 1. การศึกษา คือ ชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต 2. การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม 3. การศึกษา คือ กระบวนการทางสังคม 4. การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์ชีวิต คาร์เตอร์ วี.กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ 1. การศึกษา หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม 2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจาก สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น 3. การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่น ใหม่ได้ศึกษา ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล ดร.สาโรช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง การเรียนรู้ (Learning) 1. หมายถึง กระบวนการที่ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ทางอ้อมกระทำให้อินทรีย์เกิด การเปลี่ยนแปลง 2. หมายถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม (มนุษย์ด้วยกัน) และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น โดยทั่วไป สภาพแวดล้อมมีทั้งดีและไม่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี ในทางตรงข้าม ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ทั้งนี้ เมื่อพันธุกรรมเป็นตัวคงที่ ดังนั้น ถ้าต้องการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางดี (การศึกษา – เจริญงอกงาม) จึงไม่อาจปล่อยให้บุคคลไปปะทะกับสิ่งแวดล้อมโดยอิสระ จำเป็นต้องจัดสถานการณ์เฉพาะให้บุคคลปะทะถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี และนี่คือที่มาของ การจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษา จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อให้มี การสอน ที่ถูกต้องชัดเจน ความหมายของการสอน - การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ - การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ - การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ - การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้ - การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ - การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะ นำความรู้ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม - การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะ เพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต 1. ตัวป้อน (Input) ได้แก่ ครูหรือผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์ 2. กระบวนการ (Process) ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การ สร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ 3. ผลผลิต (Output) ได้แก่ ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย จุดประสงค์การเรียนการสอน ความหมายของจุดประสงค์การเรียนการสอน จุดประสงค์การเรียนการสอน คือ ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการเรียนรู้และความสามารถที่ครูต้องการให้เกิดขึ้นกับนักรเยน หลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนในบทหนึ่ง ๆ แล้วการจำแนกประเภทของจุดประสงค์ทางการศึกษาของ บลูม และคณะ บลูม (Benfamin S. Bloom) และคณะ ได้จำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา (Taxonomy of Education Objects) ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือด้านสติปัญญา หรือด้านความรู้และการคิด ประกอบด้วยความรู้ความจำเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ การนำเอาสิ่งที่เป็นความรู้ความจำไปทำความเข้าใจ นำไปใช้ การใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า 2. ด้านจิตพิสัย (Effective Domain) หรือด้านอารมณ์ จิตใจ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และคุณธรรม เช่น การเห็นคุณค่า การรับรู้ การตอบสนอง และการสร้างคุณค่าในเรื่องที่ตนรับรู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านั้นมาจัดระบบและสร้างเป็นลักษณะนิสัย 3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หรือด้านทักษะทางกาย หรือด้านการเลียนแบบ การทำตามคำบอก การทำอย่างถูกต้องเหมาะสม การทำได้ถูกต้องหลายรูปแบบ การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ 1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง หรือให้ประสบการณ์ที่ มีความหมาย 2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจ และมีความ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชา หรือบูรณาการวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ เป็นอย่างดี 5. มีการใช้สื่อการสอน ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ บทเรียนได้ง่ายขึ้น 6. มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเร้าความสนใจ ให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน ได้ลงมือ ปฏิบัติจริง และประเมินผลการปฏิบัติของตนเองได้ 7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ โดยการซักถาม หรือให้แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ คิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ 8. ส่งเสริมความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ การคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่เลียนแบบ ใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และการแสดงละคร 9. ใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนการแข่งขัน เครื่องเชิดชู เกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มี การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู 11. มีการเร้าความสนใจก่อนการสอนเสมอ 12. มีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด วิธีสอนแบบต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีวิธีสอนใดเป็นวิธีสอนที่ดีที่สุด เพราะการเรียนการสอนต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอนตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนด การเลือกวิธีสอน - สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียน เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วย ให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด - สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอนนั้น - เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และจำนวนผู้เรียน ประเภทของวิธีสอน 1. วิธีสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-Centered Method) ได้แก่ การสอนที่ครูเป็นผู้สอน ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ครูจะเป็นผู้ตั้งจุดมุ่งหมาย ควบคุมเนื้อหา จัดกิจกรรมและวัดผล เป็นต้น วิธีสอนแบบนี้มีหลายวิธี ได้แก่ วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต และวิธีสอนโดยการทบทวน เป็นต้น 2. วิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Centered Method) ได้แก่ วิธีสอนที่ให้นักเรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้วางแผนบทเรียน ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ ครูเป็นเพียง ผู้แนะแนวไปสู่การค้นคว้า แนะนำสื่อการเรียนการสอนจนนักเรียนได้ความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ วิธีสอนแบบบูรณาการ วิธีสอนแบบทดลอง วิธีสอนแบบโครงงาน วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบหน่วย วิธีสอนแบบแสดงบทบาท วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ และวิธีสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม เป็นต้น เทคนิคการสอนของศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) กับความเป็นไปได้ของการปฏิรูปการเรียนการสอนศาสนาอิสลาม คำว่า เทคนิค หมายถึง ศิลปะหรือกลวิธี ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และบังเกิดประสิทธิผลได้ คำว่า ปฏิรูป หมายถึงการปรับปรุง แก้ไขในส่วนปลีกย่อย ให้มีความเหมาะสม เข้ารูปแบบ และเป็นระบบที่ดีขึ้น คำว่า การสอน หมายถึง การแนะนำ อบรม และชี้แจงบุคคลอื่นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจปละสามารถนำไปประพฤติ ปฏิบัติได้ ปัจจุบัน มักใช้เทียบเคียงกับคำว่า การเรียนการสอน หรือ การเรียนรู้ โดยถือเป็น ศาสตร์ อย่างหนึ่ง สำหรับบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่นี้ กล่าวคือ เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ โดยอาศัย ศิลปะ แห่งตนเป็นสำคัญ ดังนั้น การสอน จึงเป็นทั้ง ศาสตร์ และ ศิลป์ ในตัวเอง จึงจะนำไปสู่สัมฤทธิผลของการปฏิบัติหน้าที่อย่างแท้จริง ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) เป็นบรมครู แห่งการดะอ์วะห์ การเผยแผ่ การสอน การอบรม และการแนะนำสั่งสอนอย่างครบวงจร ท่านเป็น นบีและรอซู้ลที่เปี่ยมล้นด้วยคุณลักษณะของผู้เผยแผ่ และการสอนประชาชาติที่เรียบง่ายแต่แฝงเร้นด้วยคุณค่าและความหมายอย่างยิ่ง แม้แต่ท่านมุอาวียะห์ บุตรอัล-ฮะกัม อัสสุละมีย์ ซึ่งเป็นซอฮาบะห์ อัครสาวกทานหนึ่งของท่านศาสดา ได้กล่าวว่า ฉันขอสาบานว่าฉันไม่เคยเห็นครูท่านใดที่สอนได้ดีกว่าท่านนบี และไม่เคยเห็นครูท่านใดที่ทำหน้าที่อบรม ตักเตือนดีกว่าท่านนบี ตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ที่ปฏิบัติหน้าที่การดะอ์วะห์ เผยแผ่ การสอนของอิสลามแก่มนุษยชาตินั้น ท่านได้ฉายภาพแห่งความเป็น บรมครู อย่างน่าประทับใจยิ่ง โยได้แสดงบทบาทและเทคนิคการเป็นผู้สอนที่หลากหลาย สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพธรรมชาติยองผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ อาจประมวลเทคนิคการสอนของท่าน ศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) ได้ดังต่อไปนี้ 1. มีการสอนเชิงบูรณาการ และมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล) มิได้เป็นผู้สอนที่ให้ความรู้ทางวิชาการเฉพาะบรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก เท่านั้น แต่ท่านศาสดายังเป็นผู้อบรมสอดแทรกจริยธรรมควยคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ท่านศาสดาสอนประเด็นที่เป็นความรู้คู่คุณธรรม และหลายโอกาส ท่านศาสดาได้มุ่งเน้นประเด็นที่เป็นคุณธรรมนำความรู้ทางวิชาการด้วย นอกจากนี้ท่านศาสดายังเป็นผู้อบรม และให้แนวทางแก้ปัญหาการดำเนินชีวิต นับตั้งแต่เรื่องปลีกย่อยไปสู่เรื่องที่สำคัญที่สุด ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว สังคม และการเมือง จากหลักการดังกล่าว จึงสามารถประมวลเทคนิคการสอนของท่านศาสดาได้ คือ 1.1 สอนให้รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นสาเหตุ และที่มาของศาสนบัญญัติ ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) สั่งห้ามการแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายผลไม้สดกับผลไม้แห้ง เนื่องจากผลไม้สดทุกชนิด เมื่อแห้ง จะทำให้ผลและน้ำหนักลดลง จากรูปแบบการสอนลักษณะนี้ จึงเป็นการสอนถึงสาเหตุ และการประทานโองการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ครั้งหนึ่งเมื่อท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ถูกถามเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนซื้อขายอินทผลัมสดกับอินทผลัมแห้ง ท่านศาสดาย้อนถามกลับว่า “อินทผลัมสดจะมีน้ำหนักลดลงหรือไม่ เมื่อมันแห้งลง เหล่าซอฮาบะห์-อัครสาวกตอบว่า “แน่นอน” ท่านศาสดาจึงกล่าวเพิ่มเติมว่า “ดังนั้น จงอย่าแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างทั้งสองอย่างนั้น” 1.2 สอนให้รู้จักซักถาม และสอดแทรกจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) สอนแก่บรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก ให้รู้จักซักถามในสิ่งที่ไม่รู้หรือสงสัย เพราะการถามเป็นจุดกำเนิดแห่งวิชาความรู้ และท่านศาสดายังสอนอีกว่า บางสิ่งที่ไม่เหมาะสม ก็ไม่ควรถาม เพราะถ้าถามแล้ว อาจนำไปสู่ความเสียหายมาสู่ผู้ถามได้เช่นเดียวกัน ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงซักถามในสิ่งที่ท่านไม่รู้ แท้จริงยาที่รักษาความโง่ คือ การถาม” ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “แท้จริง มุสลิมที่กระทำความผิดที่รุนแรงที่สุด คือ ผู้ที่ถามเกี่ยวกับสิ่งที่ยังมิได้มีการบัญญัติต้องห้าม เพราะคำถามของเขาทำให้สิ่งนั้น กลายเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้เรียนทุกคนต้องมีคำถามที่ต้องการคำตอบจากผู้สอน ท่านศาสดา มุฮัมหมัด (ซ.ล.) จึงแนะนำว่า เวลาใดเหมาะสมที่จะถาม สิ่งใดที่ควรถาม ใครเป็นผู้ถาม และควรถามอย่างไร เป็นต้น 1.3 สอนให้รู้จักใช้วิจารณญาณ วันหนึ่งท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ถามบรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวกว่า “ในต้นไม้เหล่านี้ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใบของมันจะไม่ร่วง ดังนั้น ถามว่า ต้นอะไร” อิบนุอุมัรเล่าว่า คนส่วนใหญ่ตอบว่าเป็นต้นไม้ย่านชนบท แต่ในความคิดของฉันคือต้นอินทผลัม ขณะนั้น ฉันยังเป็นคนเล็กที่สุด จึงมีความรู้สึกเขินอายที่จะตอบ และแล้วท่านศาสดาก็ตอบว่า “มันคือต้นอินทผลัม 1.4 สอนให้รู้จักการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทบทวน อัลบุคอรีได้บันทึกจากท่านหญิงอาอีซะห์ว่า ท่านจะไม่รับฟังหรือได้ยิน สิ่งใดที่ท่านไม่เข้าใจ เว้นแต่ท่านจะสอบถามและทบทวนจนได้รับความชัดเจนจากท่านศาสดา ความจริง สิ่งดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติของท่านหญิงอาอีซะห์ และจะไม่ปรากฏขึ้นหากมิได้เกิดจากการชี้นำจากท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) 2. สร้างแรงกระต้นและปลุกเร้าให้ผู้เรียนมีความสนใจอยู่เสมอ 2.1 เน้นย้ำถึงความประเสริฐของความรู้และผู้เรียนรู้ ท่านศาสดากล่าวว่า “บุคคลใดเดินทางเพื่อการแสวงหาความรู้ แน่นอน อัลเลาะห์จะทำให้เข้าได้รับความสะดวกสู่สวนสวรรค์ บรรดามลาอิกะห์จะคลุมปีก เพราะมีความพึงพอใจต่อผู้แสวงหาความรู้ แท้จริง สรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดิน จะขออภัยโทษให้แก่ผู้รู้ แม้กระทั่งปลาต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยในน้ำ” 2.2 ให้ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของวิชาความรู้ ครั้งหนึ่ง มีชาวชนบทคนหนึ่งปฏิบัติละหมาดไม่ถูกต้อง เมื่อเขาไปในมัสยิด ก็ปฏิบัติละหมาดเช่นที่เคยปฏิบัติ หลังจากนั้น ก็หันไปสลามกับท่านนบี ท่านนบีกล่าวว่า “จงกลับไปปฏิบัติละหมาดใหม่ แท้จริง ท่านยังมิได้ปฏิบัติละหมาด” บุคคลนั้นก็กลับไปปฏิบัติละหมาดใหม่ แล้วก็มาพบนบีอีก และทุกครั้งที่มาพบนบี นบีก็สั่งให้ไปปฏิบัติละหมาดใหม่ และบอกว่าเขายังมิได้ละหมาด จนเกิดความท้อใจ และต้องการทราบว่า การปฏิบัติละหมาดที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นเขาจึงกล่าวกับท่านนบีว่า “ฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่บังเกิดท่านด้วยสัจธรรม ฉันไม่สามารถปฏิบัติได้ดีกว่านี้ โปรดสอนวิธีการปฏิบัติละหมาดที่ถูกต้องแก่ฉันด้วย” 3. ให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้เรียนด้วยการกล่าวคำชมเชย และให้รางวัล วันหนึ่ง ท่านอบูฮุรอยเราะห์ ได้ถามท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ว่า “ผู้ใดที่โชคดีที่สุดที่จะได้รับชะฟาอะห์ (ความช่วยเหลือ) จากท่าน” ท่านศาสดาตอบชมเชยว่า “แท้จริง ฉันคิดว่าไม่มีผู้ใดถามฉันเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนจากท่าน เพราะฉันทราบดีถึงความกระตือรือร้นของท่านต่อเรื่องนี้ การให้รางวัลด้วยการกล่าวชมเชยดังกล่าว ย่อมมีส่วนทำให้ผู้เรียนมีจิตใจกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ และขยันหมั่นเพียรมากขึ้น 4. สอนและแนะนำความรู้ และความถนัดเฉพาะด้านที่เหมาะสมกับผู้เรียน ท่านเซด บุตรซาบิตเล่าว่า ชนเผ่าของเขาได้กล่าวกับท่านนบีว่า มีเด็กเผ่านัจญารฺคนหนึ่งไดท่องจำอัลกรุอานมากกว่าสิบซูเราะห์ ดังนั้น ท่านนบีขอให้ฉันอ่าน ฉันจึงอ่านซูเราะห์ (ก็อฟ) และท่านนบีกล่าวกับฉันว่า “แท้จริง ฉันมีหนังสือไปยังชนกลุ่มหนึ่ง (หมายถึงชาวยิว) แต่ฉันกลัวว่าพวกเขาจะต่อเติม หรือตัดตอนฉัน ดังนั้น ท่านจงตั้งใจศึกษาภาษาซิรฺญาน” หลังจากนั้น ท่านเซดจึงศึกษาภาษาซิรฺญาน โดยใช้เวลาเพียง 10 วัน เท่านั้น จากสาระของอัล-หะดิษ ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ท่านศาสดาได้ประจักษ์ถึงความฉลาดรอบรู้และความจำเป็นที่ดีเยี่ยมของท่านเซด ท่านจึงส่งเสริมให้เรียนภาษาซิรฺญาน ซึ่งเป็นภาษาของชาวยิว และมีคนไม่มากนักที่มีความเข้าใจภาษานี้ 5. มีความเข้าใจถึงความสามารถของผู้เรียน และระดับสติปัญญาเป็นรายบุคคล ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ผู้มีเมตตาที่สุดในหมู่ประชาชาติของฉัน คือ อบูบักรผู้ที่มีความหนักแน่นมั่นคงที่สุดต่อคำสั่งของอัลเลาะห์ คือ อุมัร ผู้ที่มีความและอายมากที่สุด คือ อุสมานผู้ที่เป็นนักอ่านคัมภีร์อัลกรุอานที่ดีที่สุด คือ อุบัยย์ บุตรกะอฺบ์ และผู้ที่มีความสามารถเรื่องมรดกดีที่สุด คือ เซด สำหรับทุกประชาชาติย่อมมีผู้ที่ซื่อสัตย์ และผู้ที่มีความซื่อสัตย์ในหมู่ประชาชาติของฉัน คือ อบูอุบัยดะห์ อามิรฺ บุตร อัลญัรเราะห์” 6. เอาใจใส่และถือผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนรู้ ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) กำลังพูดคุยกับบรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก มีชายคนหนึ่งเดินมาถามเกี่ยวกับวันสิ้นโลก แต่ท่านนบียังคุยต่อจนเสร็จ หลังจากนั้น ท่านนบีก็เรียกหาชายคนนั้น และตอบว่า “เมื่อมีการทำลายความซื่อสัตย์/ความน่าเชื่อถือ ดังนั้น จงรอการมาถึงของวันสิ้นโลก” ชายคนนั้นถามต่อว่า “ทำลายอย่างไรหรือ ?” ท่านนบีตอบว่า “เมื่อมีการมอบอำนาจการปกครองแก่บุคคลที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น จงรอการมาถึงของวันสิ้นโลก” จากสาระอัลหะดิษดังกล่าว ท่านศาสดาจะไม่หยุดจากการกล่าวปราศรัยแก่บรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก เพราะเกรงว่าจะทำให้เกิดความสับสน และขาดตอนในการฟัง แม้กระนั้นก็ตาม ท่านศาสดาก็ยังให้ความสำคัญผู้ถามเสมอ อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านศาสดากำลังแสดงธรรมกถาในวันฮัจย์อำลาย (วิดาอฺ) มีชายคนหนึ่ง ชื่อ อบูซาฮฺ ยืนขึ้นและกล่าวว่า “จงเขียนให้ฉันด้วย” ท่านศาสดาจึงตอบว่า “จงเขียนให้แก่อบูชาฮฺ” 7. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ในกระบวนการเรียนการสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านศาสดาจะให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทั้งด้านวัย ความนึกคิด สติปัญญา อารมณ์ สังคม สถานที่ และโอกาส อยู่เสมอ เกือบทุกครั้งที่มีคนมาถามท่าน ท่านจะเริ่มให้ความรู้ หรือตบคำถาม โดยถามบุคคลเหล่านั้นถึงชื่อ เป็นบุตรของใคร มาจากเผ่า และอาศัยอยู่ ณ ที่ใด เป็นต้น เพื่อจะได้ทราบถึงภูมิหลัง และสถานภาพของแต่ละคน หลังจากนั้น ท่านศาสดาก็จะเริ่มให้ความรู้หรือสอน ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ได้กล่าวว่า “ผู้สอนควรจะอุทิศตน และใช้ความพยายามเพื่อทำให้พวกเขาเข้าใจ และสร่างความเข้าใจที่สอดคล้องกับระดับความคิดและความจำของเขา ดังนั้น ไม่ควรสอนในสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถรับได้ และอย่าละเลยในสิ่งที่พวกเขาสามารถรับได้ง่าย และจงพูดจาปราศรัยกับพวกเขาให้เหมาะสมกับระดับความคิด ความเข้าใจ และความต้องการของพวกเขา ดังนั้นเป็นการเพียงพอ โดยการชี้นำแก่ผู้ที่สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี อธิบายชี้แจงแก่บุคคลอื่น และชี้แจงหรืออธิบายซ้ำ ๆ หลายครั้ง สำหรับผู้ที่มีความสามารถแห่งการรับรู้ต่ำกว่านั้น 8. รู้จักใช้สื่อนวัตกรรมอย่างหลากหลาย ในกระบวนการเรียนการสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) นั้น ท่านศาสดามักจะใช้สื่อเพื่อช่วยการอธิบายสาระบทเรียนให้มีความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจจำแนกการใช้สื่อนวัตกรรมของท่านศาสดาได้ ดังนี้ 8.1 ใช้วิธีชี้ด้วยนิ้ว ท่านศาสดากล่าวว่า “ฉันและผู้ปกครองดูแลเด็กกำพร้าเหมือนกับทั้งสองนิ้วนี้” หลังจากนั้น ท่านก็ชูนิ้วชี้และนิ้วกลางขึ้น ท่านศาสดากล่าวว่า “ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นทางทิศตะวันออก โดยที่ไชฏอนจะโผล่าขึ้นทางนั้น” แล้วท่านศาสดาก็ชี้มือไปยังทิศตะวันออก 8.2 กำหนดเรื่องและเปรียบเทียบ ท่านศาสดากล่าวว่า “พวกท่านเห็นหรือไม่ว่า ถ้ามีแม่น้ำลำคลองไหลผ่านหน้าบ้านของคนใดคนหนึ่ง เขาอาบน้ำทุกวัน วันละห้าเวลา แล้วจะยังมีสิ่งสกปรกติดเขาอีกหรือไม่ ?” บรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก ตอบว่า “ไม่เหลือสิ่งสกปรกแต่อย่างใด” ท่านศาสดาจึงกล่าวต่อว่า “ในทำนองเดียวกันกับการละหมาดวันละ 5 เวลา อัลเลาะห์จะชำระล้างความผิดต่าง ๆ ด้วยการละหมาดดังกล่าว 8.3 วาดเส้นหรือภาพประกอบเพื่อเพิ่มความชัดเจน ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) มักใช้สื่อการสอนเพื่ออธิบายแก่ซอฮาบะห์-อัครสาวกของท่าน ดังมีรายงานว่า ท่านใช้กิ่งไม่ขีดลงบนพื้นดินเป็นรูปสี่เหลี่ยม และลากเส้นยาวตรงกลางรูปสี่เหลี่ยมและลากยาวออกมา และขีดเส้นเล็ก ๆ ทับเส้นยาวภายในกรอบสี่เหลี่ยม และท่านก็อธิบายว่า “เส้นตรงกลางคือมนุษย์ กรอบสี่เหลี่ยมคือกำหนดความตายที่ล้อมรอบทุกด้าน และเส้นที่เกินออกมาคือ ความหวัง ส่วนเส้นเล็ก ๆ นั้น คือ อุปสรรค เมื่อพลาดจากเรื่องนี้ ก็จะโดนเรื่องนั้น หากพลาดเรื่องนี้ ก็จะโดนเรื่องนั้น” ท่านอิบนูมัสอูดเล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ขีดเส้นด้วยมือของท่านบนพื้นทรายเส้นหนึ่ง แล้วกล่าวว่า “นี่คือเส้นทางของอัลเลาะห์ (อิสลาม) อันเที่ยงตรง หลังจากนั้น ท่านศาสดาก็ขีดเส้นสั้น ๆ ด้านขวา และซ้ายของเส้นดังกล่าว แล้วกล่าวว่า “นี่คือเส้นทางต่าง ๆ ซึ่งไม่มีเส้นใดแม้แต่เส้นเดียว นอกจากมีไชฏอนเคยร้องเรียก และเชิญชวนอยู่ตลอดเวลา แล้วท่านศาสดาก็อ่าน อายะห์ที่ 153 ของซูเราะห์อัลอันอาม ดังนี้ ความว่า “แท้จริง นี่คือทางของข้า (อิสลาม) อันเที่ยงตรง ดังนั้น พวกเจ้าจงปฏิบัติตาม และจงอย่าปฏิบัติตามทางต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าห่างไกลจากทางของพระองค์ นั่นแหละ คือ สิ่งที่พระองค์ได้สั่งเสียแก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะมีความยำเกรง” 8.4 เล่าประวัติที่เกิดขึ้นกับประชาชนในอดีต เพื่อเป็นนิทัศน์ – อุทาหรณ์ ตามประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึกไว้ มีประวัติของชายสามคนที่เจ้าไปในถ้ำ และมีก้อนหินใหญ่เลื่อนมาปิดปากถ้ำ ทำให้ออกมาข้างนอกไม่ได้ ดังนั้น พวกเขาจึงขอดุอาอ์ต่ออัลเลาะห์ได้โปรดเมตตาพวกเขา จนปากถ้ำถูกเปิดออกอีกครั้งหนึ่ง เป็นต้น 8.5 สอนภาคสนามด้วยจินตนาการและประจักษ์ได้ด้วยสายตา ณ คืนจันทร์เพ็ญคืนหนึ่ง ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้แหงนหน้าขึ้นมองดวงจันทร์เต็มดวง และกล่าวว่า “แท้จริง พวกเจ้าจะสามารถมองเห็นองค์พระผู้อภิบาลของพวกเจ้าอย่างชัดแจ้ง เสมือนพวกเจ้ามองเห็นดวงจันทร์ในคืนนี้ โดยไม่มีการแก่งแย่งที่จะมองดวงจันทร์แต่อย่างใด 8.6 นำสื่อนวัตกรรมที่สัมผัสได้มาใช้ประกอบการสอน ท่านอาลีเล่าว่า “ฉันเห็นท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้หยิบผ้าไหม และวางไว้ในมือขวาของท่าน แล้วหยิบทองคำ และวางไว้ในมือซ้ายของท่าน แล้วท่านนบีก็กล่าวพร้อมชูมือทั้งสองข้างว่า “แท้จริง ทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่ต้องห้ามสำหรับประชาชาติที่เป็นบุรุษเพศของฉัน” 8.7 กำหนดให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบและทำการทดสอบด้วยตนเอง ตามธรรมเนียมปฏิบัติของอาหรับนั้น พวกเขาจะผสมเกสรอินทผลัมก่อนที่อินทผลัมจะออกผล บางคนทำโดยไม่รู้ว่ามีเหตุผลใด ดังนั้น ท่านนบีต้องการสอนบรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก ของท่าน ให้รู้จักการทดลอง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และเหตุผลของการกระทำดังกล่าว ฎ็อลฮะห์เล่าว่า “ฉันและท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้เดินผ่านชาวสวนกลุ่มหนึ่งที่กำลังอยู่บนยอดต้นอินทผลม แล้วท่านนบีก็ถามขึ้นว่า “กำลังทำอะไรหรือ ?” พวกเขาตอบว่า “กำลังทำการผสมเกสรของดอกอินทผลัมโดยการนำเอาเกสรตัวผู้ไปผสมกับเกสรตัวเมีย ดังนั้น ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าว จะเกิดประโยชน์แต่อย่างใด” ดังนั้น บรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก จึงบอกแก่ชาวสวนเหล่านั้น พวกเขาจึงหยุดการผสมเกสร แต่พบว่าอินทผลัมไม่ออกผลดีในปีนั้นท่านนบีจึงกล่าวว่า “ถ้าหากว่า การกระทำดังกล่าวยังประโยชน์แก่พวกเขา ก็ให้พวกเขาทำ แท้จริง ฉันเพียงแต่คาดคะเนเท่านั้น” 9. มีเทคนิคการนำเสนอที่เร้าความสนใจและหลากหลาย ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) มักจะเปิดประเด็นการเรียนการสอนด้วยการตั้งคำถามเสมอ “พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่าการนินทาคืออะไร ?” “พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่าใตรคือผู้ที่ล้มละลาย ?” “ในต้นไม้เหล่านี้ มีต้นไม้อยู่ชนิดหนึ่งที่ใบของมันจะร่วง ดังนั้น จงบอกว่า มันคือต้นอะไร ?” ยิ่งกว่านั้น ท่านศาสดาจะเปลี่ยนบุคลิกหรือท่าทาง จากการนอนตะแคงสู่การนั่งตรง เพื่อบ่งบอกถึงความสำคัญและความจริงจังของเรื่องที่กำลังพูด เป็นต้น 10. มีความสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ท่านอนัสเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ท่านศาสดานั่งอยู่กับบรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก มีหญิงเชลยคนหนึ่งกำลังค้นหาลูกของนาง และทันทีที่นางพบลูก ก็สวมกอดทันที ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “พวกเจ้าเห็นว่าผู้หญิงคนนี้จะโยนลูกของนางลงไปในไฟหรือไม่ ?” บรรดาซอฮาบะห์-อัครสาวก จึงตอบว่า “ไม่” ท่านศาสดากล่าวว่า “และอัลเลาะห์ก็ไม่ยอมโยนผู้ที่เป็นที่รักของพระองค์ ลงในไฟนรก เช่นเดียวกัน” เมื่อมนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้สอนที่มีความสามารถ ย่อมจะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์ใดผ่านพ้นไป โดยไม่หยิบยกมาเป็นบทเรียนสอนผู้เรียนของตน ท่านอิบนูมัสดูดรายงานว่า มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ฉันต้องล่าช้าในการปฏิบัติละหมาดซุบฮิ เพราะผู้นำละหมาดอ่านยาวในละหมาด ท่านศาสดาแสดงอาการโกรธอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลังจากนั้น ท่านได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย มีพวกท่านบางคนทำให้ผู้คนเตลิดหนี ดังนั้น ผู้ใดนำละหมาด เขาพึงปฏิบัติให้เร็ว เพราะผู้คนที่ปฏิบัติละหมาดด้านหลังเขา มีคนที่อ่อนแอ คนชรา และคนที่มีภารกิจด้วย” 11. หมั่นทบทวนความรู้ ความจำ และคำนึงถึงความกระตือรือร้น และความพร้อมของผู้เรียน ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้สั่งเสียบรรดานักท่องจำอัลกุรอานให้ระวังรักษา และให้ความสำคัญกับอัลกุรอาน ด้วยการอ่านเป็นประจำ ขณะที่ท่านศาสดาสอนอัลบัรรออ์เกี่ยวกับดุอาอ์ก่อนนอน ท่านกล่าวกับอัลบัรรออ์ว่า “จงทบทวนให้ฉันฟังซิ” ดังนั้น อัลบัรรออ์จึงทบทวนดุอาอ์จนถึงคำว่า “วะบิเราะห์ซูลิกัลละซีอัรซัลตะ” ท่านกล่าวว่า “ไม่ใช่...........วะบิ-นบียิกัลละซีอัรซัลตะ” ท่านอิบมัสอูดเล่าว่า “ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ให้ความสนใจกับการสอนพวกเราเพียงระยะเวลาหนึ่ง เพราะเกรงว่า พวกเราจะมีความเบื่อหน่าย” เป็นต้น 12. เน้นย้ำในสิ่งที่ควรเน้นย้ำ ภาพรวมแห่งการสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) นั้น จะพบว่า ท่านจะกล่าวคำสาบานหลายครั้งในเรื่องสำคัญที่พูด เช่น คำว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลเลาะห์ เขายังมิได้ศรัทธา......ขอสาบานด้วยพระนามของอัลเลาะห์ เขายังมิได้ศรัทธา......ขอสาบานด้วยพระนามของอัลเลาะห์ เขายังมิได้ศรัทธา” เป็นต้น จากประเด็กและสารัตถะดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เทคนิคการสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ที่ประมวลนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคนิคการสอนของท่านศาสดาเท่านั้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ท่านศาสดามีวิญญาณแห่งความเป็น “บรมครู” อย่างแท้จริง ทำให้ “คำสอน” ของท่านมีคุณค่า และเป็น “ทางนำ” แก่มนุษยชาติอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง จน Michael H. Heart นักว
หมายเลขบันทึก: 222800เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 05:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านยากจังค่ะ

อานีตา โต๊ะปาราวัน

ขอรายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดข้างล่างนี้ทั้งหมด หนุจะทำรายงานน่ะค่ะ ขอบคุรล่วงหน้าน่ะค่ะ

คุณลักษณะของความเป็นครูในทรรศนะของอิสลาม (อ้างอิง อัลกรุอ่าน, อัลหะดิหรือทรรศนะของนักวิชาการ)

สรุปถึงวิธีการสอนของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ)โดยข้อดีและการนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเเละเกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้อิสลามศึกษา

-การสอนแบบบรรยาย

-การสอนเเบบสาธิต

-การสอนแบบสนทนาอภิปราย

-การสอนแบบฝึกฝนและปฎิบัติ

-การสอนแบบบทบาทสมมุติ

-การสอนแบบใช้คำถาม

-การสอนเเบบอุปมาอุปมัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท