อนุศาสนาจารย์ทางการศึกษา 2


ยกครูเป็นอนุศาสนาจารย์ให้การอบรมสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม

        สำหรับการมีอนุศาสนาจารย์นั้น  นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์   ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กล่าวถึงกรณีที่เด็กไทยในปัจจุบันห่างวัดมากขึ้นว่า ตนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องให้เด็กเข้าวัดก็ได้ เพราะคำสอนในเรื่องศีล เรื่องคุณธรรมต่างๆ ครูอาจารย์ที่อยู่ในสถานศึกษาก็สามารถสอนได้ โดยเป็นไปตามมาตรา  ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ว่าการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาคนไทยให้มีทั้งความรู้คู่คุณธรรม และมาตรา ๒๔ () การจัดการเรียนการสอนในทุกลักษณะวิชาจะต้องสอดแทรกคุณธรรมไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าในวิชาอื่นๆ ยังมีอาจารย์ที่สอนประจำวิชาต่างๆ ดังนั้น หากจะมีอาจารย์ประจำวิชาพุทธศาสนา โดยเรียกว่า อนุศาสนาจารย์ ที่เป็นอาจารย์ที่มีความรู้ด้านศาสนา โดยอาจจะมาจากอาจารย์จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นต้น มาอยู่ประจำโรงเรียนให้ความรู้ด้านศาสนา และคุณธรรมแก่ผู้เรียนก็น่าจะเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามากขึ้น

           ให้มีอนุศาสนาจารย์คอยให้ความรู้ด้านศาสนาแก่นักเรียน เช่น ให้มีห้องจริยธรรมให้นักเรียนฝึกปฏิบัติธรรม หัดให้เด็กได้ปฏิญาณเรื่องศีล ๕ ทุกๆ วัน ให้ได้ ก็จะเป็นการฝังในจิตสำนึกตัวเด็กเอง เหมือนเป็นการยกวัดไปไว้ในโรงเรียน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมาที่วัดก็ได้ การเรียนรู้อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ทั้งนั้น ขณะเดียวกันเด็กที่นับถือศาสนาอื่นๆ ก็ปฏิบัติตนตามปกติ เพราะในวิชาอื่นๆ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษเรายังจ้างครูมาสอนได้ แล้วทำไมวิชาด้านศาสนาจะให้มีอาจารย์มาประจำวิชาด้วยไม่ได้หรืออย่างไร นายสุทธิวงศ์ กล่าวและว่า ส่วนการตั้งอนุศาสนาจารย์จะมีความซ้ำซ้อนกับอาจารย์ที่สอนวิชาพุทธศาสนาหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าไม่น่าจะมีความซ้ำซ้อน เพราะในขณะที่วิชาอื่นๆ  ยังมีอาจารย์ประจำวิชาได้หลายคน น่าจะเป็นการดีมากกว่าที่วิชาศาสนาพุทธ จะมีอาจารย์มากขึ้น

             คงพอสรุปเป็นภาพรวมตอนท้ายนี้ได้ว่า  อนาคตของเยาวชนของชาติก็คืออนาคตของประเทศ  น่าจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพ  ประสิทธิภาพ ไม่ว่าทั้งโรงเรียน  ครอบครัว  ฯลฯ  แต่คงจะต้องผูกพันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกระทำ    จากการกำหนดนโยบาย  การปฏิบัติ   การตรวจสอบ  การประเมินประสิทธิผล   ซึ่งคงจะต้องตามความเปลี่ยนแปลงในกระแสของโลก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์      (ราชบัณฑิต) องค์ประธานคณะที่ปรึกษาประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภา ได้พยายามสร้างความเข้าใจ  ให้ความสำคัญและผลักดัน ขอความร่วมมือของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหา ตลอดจนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวมบรรลุมรรคผลอย่างยั่งยืนสืบไป

 

หมายเลขบันทึก: 222677เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท