ครูอ่อย
นาง ประไพศรี ครูอ่อย ปานเพ็ชร

สมุนไพรไทย


ยาวิเศษของไทย

เรื่องของขิง

 


ชื่อสามัญ : Ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinalis Roscoe.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น
: เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งเรียกว่าเหง้า ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. ลักษณะเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะกลมและแบน ลำต้นแท้จะมีลัษณะเป็นข้อ ๆ เนื้อในจะเป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อน สุดท้ายของข้อนั้นจะเป็นยอดหรือต้นเทียมใหญ่เท่าแท่งดินสอดำ และกาบหรือโคนใบหุ้ม

ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยว จะออกสลับกันเป็นสองแถว ก้านใบนั้นจะยาวห่อหุ้มลำต้น ใบเขียวยาวรูปหอก ฐานใบนั้นเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบ มีความกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. รูปใบคล้ายใบไพล

ดอก : จะออกรวมกันเป็นช่อจากลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะแท่งขึ้นมาจากเหง้า มีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ทุก ๆ ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงลักษณะโค้ง ๆ ห่อรองรับ กาบนั้นจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะบานให้เห็นดอกในภายหลัง ดอกที่ปิดกันแน่นนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม. กว้างประมาณ 2.5 ซม.

กลีบดอก : จะติดกันแน่นยาวประมาณ 2 ซม. และมีสีเหลืองออกเขียวส่วนกลีบรองดอกจะยาวประมาณ 2.5 ซม. เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ และมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 ซม.ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกนั้น ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 3 กลีบ สามารถอุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนตรงปลายของกลีบจะผายกว้างออก

เกสร : จะมีอยู่ 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อไปจีมีสีม่วงแดง และจะมีจุดสีเหลือง คล้ายลิ้น ตรงปลาย จะมนกลมสั้นกว่ากลีบดอก ส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นนั้นมีก้านเกสรตัวเมียอยู่ 1 อัน และมีอับเรณูล้อมรอบรังไข่ มีอยู่ 3 ห้อง

เมล็ด (ผล) : จะมี 3 พู ภายในเมล็ด ผลจะกลม ผลโตและแข็งแรง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.

เหง้า : เมื่อแก้จะมีรสเผ็ดร้อนมก เนื้อเหง้าขิงสีเนื้ออมเหลือง ๆ

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก โดยยกดินให้เป็นร่องห่างกันประมาณ 30 ซม. ปลูกห่างกันประมาณ 20 ซม. และลึกประมาณ 5-10 ซม. ต้องระวังโรคเชื้อรา ตอนที่มีฝนตกมาก ๆ นิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือนทั่วไป ชอบดินเหนียวปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมาก อากาสค่อนข้างชื้นแต่การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขังแฉะ แสงแดดพอควร

ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล ราก เหง้า เปลือกเหง้า น้ำมันระเหยใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงไฟธาตุรักษานิ่ว คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ลมป่วง ท้องร่วงอย่างแรง อาเจียน ใบ ใช้ใบสด แล้วคั้นเอาน้ำกิน 15 มล. มีรสเผ็ดอาการชกช้ำจาการหกลมหรือกระทบกระแทก ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม รักษาโรคกำเดา นิ่ว คอเปื่อย เบาขัด ฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้ และโรคตา ดอก ทำให้ชุ่มชื่น ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ รักษานิ่ว เบาขัด คอเปื่อย และบิด ผล รักษาอาการไข้ นอกจากจะใช้เดี่ยว ๆ แล้วขิงยังใช้ผสมในยารักษาต่าง ๆ คือ รักษามะเร็งกรามช้าง มะเร็งดอกบุก หนองใน ทำให้หญิงที่มีสามีแล้วแต่ไม่มีบุตรสามารถมีบุตรได้ ยาบำรุงน้ำนม เป็นยาอายุวัฒนะ บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บอก กระหายน้ำ ตามืด ตาฟาง ตาต้อกระจก วิงเวียนหัว รักษาโรคอันผูกหัวใจ โรคประสาทพิการ โรคทั้วปวง ปวดเอว ราก จะมีรสเผ็ดและขม ทำให้เนื้อหนังสดชื่น ขับลม ทำให้เสียงไพเราะ ช่วยให้หลอดคอโปร่ง ฆ่าพยาธิซึ่งเป็นตัวเชื้อโรค เจริยอาหาร รักษาบิดตกเป็นโลหิตดุจสีขมิ้น นิ่ว ไอ เหง้า ใช้ทั้งเหง้าแก่และเหง้าอ่อน ทำเป็นเครื่องเทศ เครื่องดื่ม กลยรส แต่งกลิ่น อาเจียน ไอ หอบ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ รักษาบิด และรักษาพิษจาก ปั้วแห่ (pinellia pedatisecta Schott) และ เทียงหน่ำแช (Arisaema consanguineum Schott) และ ปู ปลา นก และเนื้อสัตว์อื่นมีพิษ เปลือกเหง้า ใช้แห้งประมาณ 1.5-5 กรัม ต้มน้ำกิน รสฉุน ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาอาการท้องอืดแน่น อาการบวมน้ำใช้ภายนอก รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน และแผลมีหนอง น้ำมันระเหย ใช้ผสมเป็นน้ำเชื่อม อุ่นรับประทานครั้งละ 10-15 มล. ในเหง้าจะมีน้ำมันระเหยประมาณ 0.25-3% ซึ่งประกอบด้วย camphene,cinelo,pellandrene,linalool,zingiberene,borneol และพวกที่ทำให้มีรสเผ็ดร้อนนั้นได้แก่ Zingerone และ shogoal มีเม็ดสี แป้ง และ resin

ตำรับยา

1. รักษาอากราท้องอืดเฟ้อจุกเสียดและปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ 5 ก. เคี่ยวให้ข้นแล้วเอาพอก ตอนอุ่น ๆ เอาผ้ากอวปิดไว้ พอผ้าเย้นให้ทาใหม่อีกจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น หรือจะใช้เหง้าสดตำแล้วนำไปต้มกิน

2. รักษาอาการท้องขึ้นและปวดท้อง นำขิง 30 กรัม มาชงกับน้ำเดือดประมาณ 500 ซี.ซี. ชงแช่ทิ้งไว้นาน 1 ชม. แล้วกรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

3. รักษาโรคจุกเสียดทำให้หลับสบาย ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำเทเอนำรับประทาน

4. รักษาอาการไอและขับเสมหะ ให้ใช้เหง้าสด ประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ใส่น้ำ
3 แก้ว นำไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว แล้จิบกินตอนอุ่น ๆ หรือใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจืบบ่อย ๆ

5.ปวดข้อ ใช้น้ำคั้นจากเหง้าสด ผสมกาวหนังวัว เคี่ยวให้ข้น พอกหรือใช้เหง้าสดนำมาย่างไฟ แล้วตำผสมน้ำมันมะพร้าวใช้ทา 6.ไอเรื้อรัง ใช้น้ำผึ้งประมาณ 500 กรัม แล้วน้ำที่คั้นจากเหง้าสดประมาณ 1 ลิตร มาผสมแล้วเคี่ยวในกระทะทองเหลือง ทำจนน้ำระเหยไปหมด แล้วจึงเอามาปั้นเป็นเม็ดเท่าพุทราจีน ใช้อมรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง

7. โรคอหิวาตกโรค ปวดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ให้นำเหง้าสดประมาณ 500 กรัม ใส่น้ำ 7 แก้ว นำไปต้ม ใหเเหลือ 2 แก้ว แล้วแบ่งกินเป็น 3 เวลา

8. ผมร่วงเริ่วหัวล้าน ให้ใช้เหง้าสด นำมาผิงไฟให้อุ่นตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ 2 ครั้ง ราว ๆ สัก 3 วัน ถ้าเห็นว่าดัขึ้น อาจใช้พอกต่อไปสักระยะจนผมขึ้น

9. ไอจากการตรากตรำทำงานหนั ควรใช้น้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากเหง้าสดอย่างละ 120 กรัม น้ำคั้นจากรากผักกาดหัวสดน้ำคั้นจกาลูกสาลี่สด และนมสด อย่าวละ 1 แก้ว ผสมกันนำไปเคี่ยวให้ข้น แล้วแบ่งรับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนคาว ครั้งละ 2 เวลา เช้า-เย็น

10. หนังมือลอกเป็นขุย ให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง เอาแผ่นขิงที่แช่น้ำถูทา ตามบริวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง

11. จุกแน่นหน้าอก ให้ใช้เหง้าสด 500 กรัม คั้นเอาน้ำออกให้หมดเหลือแต่กากหมาด ๆ ห่ผ้าผิงไฟให้อุ่น นำมาบริเวณที่ปวดจนยาเย็น นำลูกประคบไปอุ่นแช่ น้ำขิง แล้วผิงไฟให้ร้อน แล้วนำมาประคบอีก จนกว่าจะรู้สึกสบายดีขึ้น

12. บาดแผลสด ให้ใช้เหง้าสด ล้างให้สะอาด นำมาตำเอาน้ำมา

13. แมลงเข้าหู ควรใช้น้ำที่คันจากเหง้าสดนำมาหยอดหู

14. โรคริดสีดวงทวารเรื้อรัง นำเหง้าที่ยังไม่ได้ปอกเปลือกเอามาหั่นเป็นมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วเอามาบดเป็นผง คั่วให้ดำ นำมาพอกที่หัวริดสีดวงทวาร ปิดยึดเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนที่

15. ปิวหนังเป็นปื้นแดงและปื้นขาว นำเหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่นถูทาบ่อย ๆ

16. แผลเริมที่บริเวรหลัง ให้ใช้เหง้า 1 หัว เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อย ๆ นำผงถ่านที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมู ทาบริเวณที่เป็น

17. หน้า แขนขาบวมน้ำ จุกแน่นหน้าอก ท้องอืด จุกแน่นบริเวณสะดือ ผะอืดผะอม อึดอัด ใช้โงวเกียพ้วย (Acanthopanax gracillistylus W.W. Smith) แห้งเปลือกรากและต้นเก๋ากี้ (Lycium chinense Mill.) แห้ง เปลือกเหง้า ขิงแห้ง ใยเปลือกลูกหมากแก่ เปลือกโป่ง รากสร (Poria cocos Wolf.) แห้ง ให้ใช้อย่างละ 3 กรัม นำมาผสมกันบดเป็นผง แบ่งกินครั้งละ 10 กรัม ใส่น้ำ 1 แก้วครั้ง ต้มจนเหลือ 1 แก้ว เทน้ำรับประทานแบบน้ำชา ในช่วงที่รับประทานยานี้ไม่ควรจะกินอาหารที่มีมันมาก ของเย็น หรือของแข็ง

18. ฟกช้ำจาการหกล้มหรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสด นำมาผสมกับเหง้าพอก หรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย (Angelica sinensin Diels.) ประมาณ 100 กรัม บดเป็นผง ผสมกับเหง้ากิน ติดต่อกันประมาณ 3 วัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
และทางคลีนิค

1. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์สามรถป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามีสารสกัดขิงด้วยน้ำร้อน ถ้าฉีดเข้าหลอดโลหิตดำของแมว จะไม่สามารถยับยั้งการตอบสนองของหลอดลม เมื่อใช้ขิงอย่างเดียว แต่ถ้าใช้กับสมุนไพรอื่น ๆ จะได้ผล ฤทธิ์ต่อระบบการย่อยอาหารนั้นหลังจาหที่เทน้ำต้มที่สกัดจากเหง้ามีความเข้มข้นประมาณ 50% ใส่สุนัขที่ทำให้สงบแล้วนั้น จะพบว่าที่หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ในครั้งแรกมีผลซึ่งทำให้ลดกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ระยะต่อมาจะออกฤทธิ์ข่วยกระตุ้นกรดและน้ำย่อยออกมากขึ้น แต่ถ้าให้สุนัขกินผงขิงแห้งประมาณ 0.1-1 กรัม จะมีสารเมื่อกในกระเพาะอาหารมากขึ้นและกรดเกลือก็จะออกมากขึ้น น้ำที่แช่สกัดได้จากเหง้านั้นยจะสามารถยับยั้งการทำให้สุนัขอาเจียนด้วยอะโปมอร์ฟีน ส่วนกระต่ายนั้นให้กินน้ำขิงที่มี zingerone จะมีผลสามารถทำให้ลำไส้คลายตัวและมีการบีบตัวลดลง

2. ฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารสกัดได้จากเหง้าขิงด้วยน้ำร้อน โดยมีความเข้มข้นประมาณ 0.15% ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอาการชัก ที่เกิดจากการให้ยา metrazol แก่เซลล์ประสาทหอยทาก (Snail neurons) นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์ในการทำเป็นยาเฉพาะที่ต่อระบบประสาท sciatic nerve ของกบ สารสกัดด้วยเมะานอลประมาณ 50% นี้จะมีฤทธิ์สามารถลดอาการปวดในหนูถีบจักร

3. ฤทธิ์รักษาโรคมาลาเรีย ให้ใช้เหง้าสด เอามาล้างให้สะอาด แล้วเช็ดเปลือกนอกให้แห้งแล้วนำมาหั่นเป็นฝอย แล้วนำให้ละเอียด ใช้ห่อผ้าก็อตทำเป็นสี่เหลี่ยมเล้ก ๆ นำมาวางตามจุดแทงเข็ม แล้วใช้พลสเตอร์ปิดไว้ให้อยู่นิ่ง ที่จุดแทงเข็ม จากคนไข้ 40 ราย ก่อนวางมีอาการไข้ 4-6 ชั่วโมง หลังจากการวางยานี้แล้วประมาณ 8 ชั่วโมง ให้เอาห่อยาออก แล้วพอกยาอีก 2 ครั้ง ได้ผลช่วยระงับอาการจับไข้ได้ 36 ราย ได้ทำการตรวจโลหิตแล้วไม่พบเชื้อ แต่ไม่ได้ผลอีก 4 ราย

4. ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดที่ได้จากขิงนั้นไม่ไมีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Stapphyulococcus aureus (เชื้อ หนอง) Escherichia coli และ Pseudomo nas eroginosa

5. ฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิ พบว่าสามารถฆ่าพยาธิใบไม้ได้ และยังรักษาอาการปวดท้องจากพยาะตัวกลมในลำไส้ โดยใช้เหง้าขิงสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำเชื่อมให้มีปริมาตรครบ 60 มล. หลังจากที่ได้กินยานี้แล้ว อาการปวดท้องจะลดลงและหายไป หยุดอาเจียน และอาการอึดอัดปวดมวนท้อง ตามปรกติแล้วหลังจากที่กินยานี้ประมาณ 1-3 วัน ก็จะหายไป ถ้าอาการหยุดแน่นหายไปก็จะรับประทานยาขับพยาธิตัวกลมได้

6. ใช้ทำเป็นยาขัดฟัน โดยการนำมาผสม Magnesium silicate Rock Salt,borax, สีเสียด พริกไทยดำ Alum เฮ่งยิ้มหวาน Pyrethrum,Mastic และยาสูบจาการที่ได้ทดลองกับเด็กอายุประมาณ 10 ขวบ ที่มีอาการเหงือกบวม หินปูนจับ ฟันมีสี หรือฟันผุ มีผลปรกกฏว่าฟันและเหงือกดีขึ้น ภายใน 1 เดือน และอาการดีนั้นยังดีต่อไปเป็นเวลาประมาร 12 ปี

7. ฤทธิ์ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแลธโปรโตชัว นำน้ำที่แช่สกัดจากเหง้าขิง ได้พบว่ามีฤทธิ์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (Trichophyton uiolaceum และเชื้อดปรโตชัว trichomonas

8. ฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็ง พบว่ามีผู้นำสารสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ต่าง ๆ นำไปทดลองฆ่าเซลล์มะเร็งชนิด Ca-Her-lich-Ascites ซึ่งพบว่า สารสกัดด้วยน้ำนั้นไม่มีผล แต่สารสกัดด้วยเมธานอลมีผลเล็กน้อย

หมายเหตุ : เหง้าสด ใช้ตำพอก รักษาอาการปวดฟัน ปวดหัว และสายตาสั้นเนื่องจากม่านตาไม่มีกำลังบีบ นำเหง้าไปย่างไฟจนผิงข้างนอกมีสีดำ ใช้รักษษอาการตกโลหิตในช่องท้อง ในเหง้าสด มีน้ำมันระเหยประมาณ 0.25-3.0% และประกอบด้วย zingiberol,camphene,linaliil,citral,zingibferene,nonyl aldehyde,methylheptenone และ d-borneol เป็นต้น แล้วยังมี gingerol ซึ่งเมื่อย่อยแล้วจะได้สารที่มีรสเผ็ดที่เรียกว่า zingerone และ zingiberone นอกจากนี้แล้วยังมี asparagic acid,asparagine,glutamic acid,serine และ glycine ยังมี resin และแป้ง ดอก สามารถสงบประสาท และรักษาตาแฉะ ลำต้น ใช้ขับลม รักษานิ่ว และปัสสาวะขัด "ขิง (ทั่วไป) ขิงเผือก (เชียงใหม่)." In siam.Plant Names,1948,p.502 "Ginger." ขิง น. ต้นไม้จำพวกว่าน รสเผ็ด ใช้ประกอบกับเครื่องอาหาร และทำยา ขิงะรรมดานี้เรียกว่า ขิงหยวก (Zingiber officinale)., ขิงแดง น. ขิงชนิดหนึ่ง คล้ายขมิ้นชัน ใช้ทำยา., ขิงแห้ง น. ขิงชนิดหนึ่ง ที่ตากแห้งใช้ทำยา." พจนานุกรม 2493 น. 202., Zingiber officinale in Some Siam. Med.Plants 1930,p.6"ขิง", Zingiber offrcinalis Gerini,1912,p.337 "Ginger plant.",Zingiber officinale Bailey,Man, Cult.Plants 1924,p.203 "Ginger.";Dutt,Com.Drug.India,1928,p.248"Ginger"; Rhjizomes;Adrak, Ada.

พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์
เที่ยงบูรณธรรม

หมายเลขบันทึก: 222625เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท