เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ ICT : SCB ICT YOUTH CONNECT : เรื่องเล่าจากชาว GOTOKNOW


คลังความรู้เชิงลึกระดับประเทศ

แนวคิดการใช้เว็บไซด์เพื่อการจัดการความรู้

กรณีศึกษาที่ ๑  โครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ(Digital KM) [๑] : Gateway of Thailand's Online Knowledge Management หรือ www.gotoknow.org

 

จุดเริ่มต้นwww.gotoknow.org

เริ่มต้นโดย ผศ.ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส.)   รูปแบบของเว็บไซด์ที่มีชื่อว่า www.gotoknow.org  หรือ Gateway of Thailand's Online Knowledge Management เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ในช่วง๓ ปีแรกของการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณในพัฒนาระบบและบริหารจัดการจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ (สคส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ต่อมาเมื่อช่วงรอยต่อก่อนหมดทุนในปีที่ ๓ได้มีการรับเงินบริจาคจากสมาชิก ปัจจุบันมีจำนวนเงิน ๑๕๗,๔๒๒.๑๕ บาท[๒]  ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนหลักจาก สสส. ซึ่งเป็นทุนสนับสนุนในการพัฒนาระบบและบริหารจัดการเป็นระยะเวลา ๓ ปี

 

www.gotoknow.org มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

 ๑) ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการจัดการความรู้ ด้วยการใช้งานเว็บบล็อก (Weblog) สู่การเสริมสร้างให้ "คนไทยมีสุขภาวะที่ยั่งยืน"

๒) จัดเตรียมพื้นที่เสมือนและเครื่องมือสำหรับ "ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice)" เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนทำงาน

 

๓) สนับสนุนการเขียนเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) จากประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้เขียนเอง เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้นำไปประยุกต์ใช้หรือจุดประกายความคิดเพื่อให้ต่อยอดความรู้ในกิจกรรมการทำงานและกิจกรรมอื่นๆ ของผู้อ่านต่อไป

 

๔) สนับสนุนการให้เกียรติแก่เจ้าของความรู้โดยไม่สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์งานเขียน ภาพ เสียง และสื่อมัลติมีเดีย โดยทุกวิธี

www.gotoknow.org  ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่าKnowledge Volution http://KnowledgeVolution.org)เป็นระบบการจัดการความรู้ระดับองค์กร (Open-Source Web-BasedEnterprise Knowledge Management System) ชิ้นแรกของไทย พัฒนาโดยทีมงาน Usable Labs

  

ประสบการณ์ www.gotoknow.org จากใจผู้ดูแลระบบ

ประสบการณ์จากผู้ดูแลระบบ คุณสุนทรี แซ่ตัน  นามแฝง (มะปรางเปรี้ยว) รวมแลกเปลี่ยนในงานเด็กหัวใสฉลาดใช้ไอซีทีว่า นอกจาก www.gotoknow.org  แล้วนั้นยังมีเครือข่ายใกล้เคียงกันอีก ๒ เว็บไซด์คือ www.researcher.in.th และ www.learner.in.th  ซึ่งแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกมาเปิดพื้นที่ในการบันทึกประสบการณ์ความรู้ของนักวิจัยและนักเรียนนักศึกษาตามลำดับ ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ผู้สอนได้อย่างสะดวกไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และเวลา

ปัจจัยที่ คุณสุนทรีอธิบายว่าเหตุผลสำคัญของการทำให้ www.gotoknow.org ประสบความสำเร็จ โดยมีผู้ใช้งานเขียนบันทึกในแต่ละวันจำนวนมากและสามารถดำเนินการให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ฯนั้นแบ่งออกเป็น ๒ส่วน คือ ส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้ใช้บริการ

ส่วนของผู้ดูแลระบบ คือ

๑)      การให้การช่วยเหลือแนะนำการใช้งานเว็บไซด์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

๒)    การสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการเข้าใช้งานอย่างต่อเนื่อง

๓)    การ Monitoring การใช้งานของผู้ใช้บริการให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีการโฆษณา หรือ spam ต่างๆเข้ามารบกวนการ  สร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้บริการ

๔)    ระบบการ search หาคำสำคัญ เป็นการช่วยในการจัดการข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้สะดวกต่อการค้นหามากยิ่งขึ้น

๕)    การพัฒนาระบบให้รองรับต่อการใช้งานของผู้ใช้บริการที่สะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น

 

ส่วนของผู้ใช้บริการ

๑)      เนื่องเป็นเว็บไซด์เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนทำงานในเชิงรู้ลึกดังนั้นผู้ที่นิยมใช้  www.gotoknow.org   จึงจะมีการบันทึกเรื่องราวประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ เมื่อผู้ใช้บริการอื่นเห็นประโยชน์ก็จะมีการบอกต่อทำให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องจึงเกิดเป็น ชุมชนเสมือนของนักปฏิบัติการ

๒)    เมื่อเกิดชุมชนเสมือนดังกล่าวขึ้นแล้วจึงมีการแจ้งคำติชมและ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบแก่ผู้พัฒนาระบบอย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันผู้พัฒนาระบบก็สามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันท่วงทีอีกด้วย ทำให้เว็บไซด์มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ในส่วนของปัญหาของการดูแลระบบของ www.gotoknow.org  ส่วนหนึ่งคุณสุนทรีเล่าว่าเป็นเหตุมาจากความสนใจของประชาชนต่อ www.gotoknow.org   มีเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา ก่อให้เกิดปัญหาเครื่องแม่ข่ายจะไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ ขณะนี้ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ และ อีกประการหนึ่งซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา www.gotoknow.org  เพื่อให้เป็นคลังความรู้เชิงลึกระดับประเทศนั้นคือเรื่องของ จำนวนคนทำงานในปัจจุบันที่ไม่เพียงพอต่อพัฒนาขั้นต่อไป

 

ประสบการณ์การผู้ใช้งาน เรื่องราวของ อ.ขจิต ฝอยทอง[๔]

 

อ.ขจิต ฝอยทอง เป็นสมาชิก  www.gotoknow.org  ตั้งแต่: อ. ๒๑ ก.พ. ๒๕๔๙ ปัจจุบันมีผลงานเขียนบันทึกไว้หลายเรื่องราวใน โดยเฉพาะประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ผู้อ่านบันทึกของอาจารย์ท่านนี้กว่า ๒๙,๒๕๗ ครั้ง[๕] โดยได้อธิบายคำว่า Blog ไว้ดังนี้คือ

Web = World Wide Web

Log = บันทึก

Web+ log  = Blog   คือการบันทึกเว็บไซด์

Blog = เว็บไซด์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เพื่อสื่อสาร ประสบการณ์มุมมอง ความรู้สึกนึกคิด ความรู้และข่าวสาร

 ลักษณะเด่นของ www.gotoknow.org  จากประสบการณ์ของอ.ขจิต คือ อะไร?

๑)                          การบันทึกเนื้อหาตามความสนใจของผู้เขียนบล็อก แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งในส่วนของอาจารย์ขจิตจะเป็นบล็อกเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ค่ายภาษาอังกฤษ ทุกๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ และมีการบันทึกวันเวลาให้สำหรับผู้เขียนโดยอัตโนมัติเพื่อง่ายต่อการสืบค้น  โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ดังต่อไปนี้



๒)                        มีการจัดระบบข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ  รายการที่บันทึกล่าสุดจะอยู่ด้านบนสุด

๓)                        สามารถใส่ link  ที่เกี่ยวข้องหรือน่าสนใจของไปในบันทึกของตนเองได้

๔)                        เป็นพื้นที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่ได้นำผลงานเขียน รายงานการวิจัยที่เป็นประโยชน์สามารถสืบค้นไปอ้างอิงต่อไปได้

๕)                        มีระบบแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกแต่ละบันทึก ซึ่งทำให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนในเว็บบล๊อค

โดยหลักทั่วไปในการเขียนบล็อกไว้ดังต่อไปนี้คือ

๑)      เขียนอย่างสม่ำเสมอ

๒)    เป็นงานเขียนที่เริ่มต้นจากผู้เขียนเอง Original

๓)    ใช้ภาษาง่าย ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

๔)    มีรูปแบบการเขียนเป็นของตัวเอง

๕)    มีการใช้ภาพประกอบ มีเสียง ใช้สีตัวอักษรที่อ่านง่าย

๖)      มีการเขียนตอบความคิดเห็น หรือ ต่อยอดความรู้จากผู้มาแสดงความคิดเห็น เป็นการการสร้างความเป็นเข็มแข็งให้กับชุมชนใน www.gotoknow ด้วยเช่นกัน



[๑] สัมภาษณ์ : ผู้ดูแลเว็บไซต์ Gotoknow.org, Learners.in.th, Researchers.in.th และ Usability Engineer ชุดโครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.Usablelabs ชั้น ๓ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  ๙๐๑๑๒ ,วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑.

[๒] แหล่งข้อมูล http://www.dms.moph.go.th/dms/infocus/f09-2008/digitkm.pdf

 [๔] สัมภาษณ์ อ.ขจิต ฝอยทอง อาจารย์ประจำสาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ปรึกษาโครงการ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑.

[๕] http://gotoknow.org/profile/khajitfoythong  : ผลความนิยมประจำวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

คำสำคัญ (Tags): #ict youth connect
หมายเลขบันทึก: 222235เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาดูอีก
  • บันทึกนี้เพิ่งขึ้นเมื่อวาน
  • ลองมาใช้บ่อยๆๆนะครับ
  • จะได้ชำนาญ
  • ขอบคุณครับที่ช่วยบันทึกเรื่องราว

อ.ขจิต คะ อย่างที่บอกไปนั่นเอง ว่า..นี่เป้นการล้างบาปจะขยันๆเขียนมากๆค่ะ

พี่อี๋ แวะมาติดตามอ่าน

พออ่านปุ๊บ นึกขึ้นได้ ค้างตอบเมล์กลับหาพี่อี๋นี่นา..... :(

ขอโทษด้วยค่ะ ข้อมูลที่สอบถามมานั้นต้องใช้งานอีกไม่คะ

 

มะปรางจ๋า..จริงก็อยากได้นะ...ตอบไว้ในนี้เลยก็ได้น้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท