OUTCOME MAPPING II: M&E Part 3 ใจประเมินใจ


ใจประเมินใจ

ฟังดูเผินๆ workshop Monitoring & Evaluation นี่ น่าจะทฤษฎีสุดๆ มีแบบฟอร์ม มี scenario มีแบบฝึกหัดเต็มโต๊ะๆไปหมด แต่ว่านั่นไม่ใช่ spirit of Outcome Mapping (อย่างน้อยก็ version ของ สคส. แน่นอน) ที่เรากำลังมาทำด้วยกันอยู่นี้ เพราะบทบัญญัติข้อที่หนึ่งของ workshop ครั้งนี้ก็คือ "เรื่องเล่า" และเครื่องมือที่ทุกคนพามาก็คือ "หัวใจ"

การประเมินและการถูกประเมินเป็นกระบวนการสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน การดำเนินงาน การรู้ว่าเราอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่ และมุ่งหน้าไปทางใด บางทีก็มีมิติของการตัดสิน เช่น การสอบ entrance คัดเลือก ซึ่งจะมี ranking การจัดลำดับมาเกี่ยวข้อง จัดหมวด จัด category ว่าใครอยู่ชั้นไหน ต่ำหรือสูง

แต่ประเด็นสำคัญที่สุดของการประเมินอย่างหนึ่งก็คือ เป็นการบริหารจัดการการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงาน

ที่บอกว่าสำคัญก็เพราะว่า ถ้าหากเราไม่ได้นึกถึงประโยชน์ข้อนี้ที่เกิดขึ้นมาระหว่างการประเมิน ผู้ประเมินอาจจะมีพฤติกรรม เจตนคติ ที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แนวทางปฏิบัติของการประเมินบางอย่างเป็นอุปสรรคอย่างแรงต่อการเรียนรู้่ จนไปถึงอาจจะเป็นข้อจำกัด แม้่กระทั่งเป็นการทำลายศักยภาพของการเรียนรู้ไปอย่างสิ้นเชิงก็ยังได้

ในขณะที่ข้อดี ประโยชน์ และวัตถุประสงค์ของการประเมินมีมากมาย แต่ side effects หรือผลข้างเคียงจากการประเมินก็ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อคน ใน sense ที่การประเมินจะแฝง judgmental attitude หรือ judgmental activity อยู่ไม่มากก็น้อย และคนเรานั้น ไม่ชอบการถูกตัดสิน โดยเฉพาะการตัดสินคุณค่า หรืออะไรที่จะส่งผลต่อ self esteem หรือ self values ที่ปกติเราใช้่เป็นฐานของบุคลิก ของกำลังใจ ของชีวิตที่มีความหมายของเราอยู่ทุกวี่วัน

นักประเมินที่พฤติกรรม slip ลงกลายเป็น "นักจับผิด" ก็คือนักประเมินที่นำเอา judgmental attitude มาเป็น explicit behaviors และขาดเทคนิกในการนำเสนอ หรือแสดงความเห็นของตนให้เกิดการสร้างสรรค์ นักประเมินนั้น ไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ศึกษา values ของเกณฑ์การประเมิน ฝึกฝนการมองหาจุดบกพร่องเท่านั้น แต่หน้าที่ที่สำคัญกว่าก็คือการศึกษาความสัมพันธ์ของ values ของโครงการนั้นๆกับคุณค่าของคนที่ทำโครงการ และมองหาจุดพัฒนา ไม่ได้หาเพียงแค่จุดบกพร่อง และอีกทักษะก็คือ communication skill ของนักหล่อเลี้ยง ของ coach ของผู้เอื้อ ผู้ให้กำลังใจ และผู้ที่รักคนได้โดยปราศจากเงื่อนไข

กิจกรรมในช่วงบ่ายวันแรก เป็นการเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมไปจมดิ่งลงไปในประสบการณ์เก่า เพื่อที่จะดูดซับเอา "ความรู้สึก" ต่างๆที่เกิดขึ้นมาระหว่างการประเมินหรือการถูกประเมิน นำมา share กัน สมาชิกของแต่ละแผน ของแต่ละโครงการถูกจับผสมปนเปกันหมด เพื่อที่จะนำเอา highlight story ทั้งการถูกประเมิน และการประเมิน มาเล่าประกอบการ listing การประเมินที่ดี และการถูกประเมินที่ดี

เครื่องมือสำคัญในโครงการนี้ก็คือตัวผู้เข้าร่วมนั่นเอง ที่มีส่วน contribute ต่อการเรียนรู้อย่างมากมาย เราจะเน้นที่ successful stories มากกว่าเรื่องอุปสรรค หรือเรื่องความล้มเหลว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะละทิ้ง ไม่เรียนรู้อะไรจะเรื่องลบๆเอาซะเลย แต่ก็ขอให้เป็นเรื่องลบๆบวกกับวิธีการแก้ไข เผขิญปัญหาที่ผ่านมาสำเร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกเป็น lesson learnt จะได้เกิดการสานต่อ งอกเงย มีกำลังใจต่อๆไปอีก

ผมขอเอางานของกลุ่มเล็กของผมเองมาเล่าก็แล้วกัน

ถูกประเมินอย่างมีความสุข

อืม... เราก็เล่าเรื่องแลกเปลี่ยนกัน เรื่องของผมก็คือเมื่อตอนที่ผมทำ Ph.D. อยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ยังปรับตัวจากชีวิตศัลยแพทย์ไปเป็นชีวิตนักวิทยาศาสตร์ไม่ถนัดมาก เวลาเข้าไปหา supervisor ก็รู้สึกท้อแท้ เศร้าซึม อย่างบอกไม่ถูก เพราะว่างานของเรามันไม่ค่อยก้าวหน้า ทันอกทันใจ อย่างที่เคยทำงาน clinical practice ในโรงพยาบาล งานนี้เต็มไปด้วยการทบทวนวรรณกรรมหลายสิบปี กลั่นกรอง ทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์ มากมาย เรียกว่านั่งจนอ้วนเลย (นน.ผมขึ้นมา 20 kg จากก่อนไปจนถึงกลับบ้านพอดิบพอดี เรียกว่าผอมกะหร่องมาเป็นสมส่วน หล่อเหลาทีเดียว อิ อิ อิ) มีอยู่ครั้งนึงที่เป็น semi-annual review ผมก็เข้าไปหา supervisor เพื่อถูกประเมิน ก็เล่าเรื่องของเราไป เล่าความรู้ที่ค้นมา เล่า progress ของ lab ที่เราก็ยังไม่คุ้นเคย ใจคิดว่ามันช่างห่วยเสียเต็มประดา นี่ supervisor ฝรั่งเขาจะ feedback เราได้ตรงขนาดไหนก็ไม่ทราบ ใจตุ๊มๆต่อมๆ

ปรากฏว่าเล่าไปตั้งน้าน นาน แกก็นั่งฟัง โยกตัวไปมาบนเก้าอี้ เราก็สงสัยว่าคงจะรู้เรีื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้่าง (แกเรียก accents ผมว่าเป็น Bangkokian English!!!) จนต้องถึงทีแกพูดบ้าง ปรากฏว่าแกเริ่มต้นด้วยสรุปว่ามีประมาณกี่ papers กี่ปี ที่ผมย้อนกลับไปทบทวน มีกี่ lab กี่เทคนิกที่ผมมาหัดทำ และทำเป็นที่อังกฤษนี่ แกเล่าจนกระทั่งเราเริ่มเห็นว่า เออ..น่ะ เราก็เรียนอะไรมาเยอะเหมือนกันนิ แกก็บอกว่าที่ผมทำไปน่ะ มันไม่ง่ายเลยแม้แต่คนที่เรียนมาทางภูมิคุ้มกันวิทยาโดยตรง (ซึ่งความหมายโดยนัยยะก็คือ ไม่ง่ายแน่ๆอย่าว่าแต่สำหรับผม ศัลยแพทย์เก่า) เนื่องจากนี่เป็น field เฉพาะทาง (ภูมิคุ้มกันวิทยาปลูกถ่ายอวัยวะ transplantation immunology) พอแกเริ่ม cheer up เราได้สักหน่อยนึง แกก็เริ่มแนะนำทิศทางต่อไปจากสิ่งที่ผมเดินทางมาถึง ที่น่าทึ่งก็คือ ผมทำอะไรออกมา lab fail หรือ success หรือออกมาแปลกๆยังไง ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีความหมาย มีนัยยะ มีความเป็นไปได้ของคำถามดีๆงอกงามตามมาเยอะแยะไปหมด แล้วแกก็ให้ผมเลือกเอาเองว่าจะทำอะไรต่อไปดี โดยยึด research questions หลักเดิม

ผมคิดว่าในบรรดาเริื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด ความหมายดีหรือไม่ดี เป็นสิ่งที่เราเป็นคนใส่ลงไปเอง และก็จะส่งผลออกมาเป็นพฤติกรรม เป็นความรู้สึก เป็นการรับรู้ ตามมา งานที่ดูไม่ค่อยเข้าท่านั้นก็เพราะเราไปติดกับความคาดหวังเดิมว่า "มันน่าจะ...." อย่างนั้น อย่างนี้ แต่ในมุมมองของ research scientist แล้ว ผลลัพธ์ทุกชนิดก็คือความรู้ การที่ผลการทดลองไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ก็เป็นความรู้ที่สำคัญไม่แพ้เมื่อผลออกมาตามสมมติฐาน บางครั้งยังสำคัญขนาดทำให้เราสามารถมองหาปัจจัยที่สำคัญที่เราไม่เคยนึกถึงขึ้นมาได้อีกด้วย เพราะเราจะไม่มองหาต่อ ถ้าเกิดมันออกมาตามที่เราคาดไว้แต่แรก

ประเด็นร่วมที่เราได้ share กันในกลุ่มย่อย เรื่องการถูกประเมินที่ดี ก็วนเวียนอยู่แถวๆการสื่อสาร และเจตคติ ความสัมพันธ์ระหว่างคนประเมินและคนถูกประเมิน การได้เวลา (บ่น) เยอะก็เป็นผลบวก เพราะเรามีเวลาพรรณนาว่าเราได้ผ่านอะไรมาบ้าง ไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ เท่านั้น แต่มันมีประสบการณ์เป็นเดือนๆ ปีๆ ที่เราได้ผ่านมาประกอบด้วย มันเหมือนเห็นแรงการ แรงใจ หยาดเหงื่อ (หรือแม้แต่หยาดน้ำตา.... อืม...โรแมนติกซะไม่มี) ในงานนั้นๆด้วย เวลานี่ยิ่งมีความหมายถ้าผู้ประเมินเป็นผู้ฟังที่ดี คือ เป็น active and deep listener นักฟังลึก และฟังจริงจัง ฟังเพื่อจะหาทางหล่อเลี้ยง ให้กำลังใจ

ความสามารถในการชมเชยจากผู้ประเมินผมว่ามีความสำคัญมากๆ นึกๆดูแล้ว เราหัด criticize หรือหาข้อตำหนิ และแสดงออกมาทางวาจา ท่าทาง กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เชือดเฉือน ชนิดคนฟัง (ที่ไม่ใช่คนถุกประเมิน) รู้สึกมัน สนุก สะใจซาดิสต์ดี แต่เรามักจะปากหนัก เวลาที่เราจะชมคนอื่น และถ้าจะทำ ก็ทำได้ไม่แนบเนียน ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเวลาเราจะตำหนิ

การถูกประเมินที่รู้สึกดีๆ ถ้าผ่านพ้นช่วงที่ข้อบกพร่อง (หรือข้อที่เราพึงแก้ไขปรับปรุง) มาได้อย่างราบรื่น สิ่งหนึ่งที่ทุกคนรู้สึกร่วมกันก็คือ ดีใจที่มองเห็นหนทางที่ตนเองจะพัฒนาต่อไป หรือทำงานต่อ หรือแก้ไขปัญหา ซึ่งประโยชน์ข้อนี้ ผมคิดว่าขึ้่นกับวิธีและกระบวนการประเมินที่เกิดขึ้นเยอะทีเดียว คนที่ทำอาชีพประเมินเยอะๆ อาจจะมาช่วย share trade-tricks ตรงนี้กันหน่อย ว่าแต่ละคนมีเคล็ด (ไม่ค่อย) ลับอะไรบ้าง

การถูกประเมินโดยกัลยาณมิตร เป็นช่วงเวลาอันดีที่เราได้เห็น impact ของงานที่เราทำโดยสายตาแบบ objective และ unbias (hopefully!!) คุณแพทที่อยู่ในกลุ่มบอกว่า ตอนถูกประเมิน เธอเห็นผลงานของโครงการได้ถูกสาธารณชนนำไปใช้ ที่นั่น ที่นี่ ที่โน่น มี journals แมกกาซีน นำไปอ้่างอิง นำไปใช้มากมาย ตรงนี้ผมเองก็คิดว่าเป็น highlight อีกช่วงหนึ่งของการถูกประเมิน เป็น impact ที่ถูกมองโดย third party ไม่ใช่เรามองฝ่ายเดียว (และอาจจะเข้าข้างตัวเอง) ยิ่งถ้าคนประเมินเป็นผู้รับประโยชน์ตรง ยิ่งทรงพลังมาก เหมือนอย่างที่เคยเล่าเรื่องที่คนไข้ feedback น้องนักเรียนแพทย์มาไว้ครั้งหนึ่ง การได้รับคำชมจากคนที่รับประโยชน์ เป็นการประเมินที่มีพลังมากและเราจะสามารถนำเอาใช้ต่อๆไปได้อีกเยอะ

บางทีโดยกระบวนการประเมินเอง ก็เป็น "กลไกสร้างกัลยาณมิตร" ไปด้วยในตัว เมื่อเราถูกฟังอย่างลึกซึ้งโดยผู้มาประเมิน เราก็มีความรู้สึกดีอยู่แล้วระดับหนึ่ง ยิ่งได้รับคำแนะนำอัน positive ในการทำงานต่อไป ยิ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันดี มีรากฐานอยู่บนความปราถนาดี เป็นความรัก หรือเป็นความรักที่ปราศจากเงื่อนไข กลไกนี้เป็นกลไกแบบบริสุทธิ์ ซึ่งจะต่างจากกลไกอีกแบบ ที่ผู้ถูกประเมินพยายามจะเอาอกเอาใจคนมาประเมินจนเกินไป

โดยส่วนตัวของผม การที่ผู้ถูกประเมินจะบริการ หรือจะ please คนมาประเมินในขอบข่ายอันควร ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เป็นปฏิสัมพันธ์ธรรมดาที่คนที่เจริญแล้วจะพึงปฏิบัติให้คนที่มีความปราถนาดีกับเรา ขอเพียงรักษา level ของการปฏิบัตินี้ให้พอเหมาะ พอควร ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ไม่ต้องมีความกระอักกระอ่วน หรือหวาดระแวง

ในสังคมปัจจุบัน การนินทากาเลเหมือนเทน่้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้องค์พระประติมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา บางทีแม้จะซื้อขนมจีบสองสามกระทงมาให้กิน ก็นยังกลัวถูกนินทา นี่ก็เกินไป จิตใจอันหม่นหมองไม่บริสุทธิ์ หวาดระแวงจะคิดไปเร็ว คิดไปล่วงหน้า บางคนก็บอกว่าก็ห้ามหมดไว้่ก่อนเลย จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง ไม่ต้องมาคอยแก้ตัวว่าอะไร แต่ผมว่าทำเช่นนั้น ในใจเราลึกๆ เราจะเกิดความ "เกร็ง" ตลอดเวลา ทั้งๆที่เราไม่ได้คิดอะไร ตรงนี้เป็นเมล็ดแห่งการบั่นทอนความสัมพันธ์ที่แท้ระหว่างมนุษย์ เกิดจากโลกในมิติเลวร้าย มิติที่ต่ำทราม จนกระทั่งเราไม่สามารถจะทำอะไรโดยบริสุทธิ์ใจได้อีกต่อไป

ผมคิดว่าเราสามารถจะใช้สามัญสำนึกแยกแยะระหว่าง การสร้างกัลยาณมิตร (มิตรที่มีแต่ความปราถนาดีเพื่อมิตร ไม่ใช่เพื่อตนเอง และเป็นไปโดยไร้เงื่อนไข) กับการเอาอกเอาใจเพื่อหาผลประโยชน์ ถ้าเมื่อไรที่เราต้องใช้กฏหมาย ใช้แบบฟอร์ม มาตัดสินมิตรภาพ ก็เป็นวาระอันน่ากลัว

การถูกประเมินที่มีความสุขอีกแบบที่ผมเคยมีก็คือ การถูกประเมินที่เรามีความพร้อมเต็มที่ มีความมั่นใจ มีความรู้ และมีความสุขในผลงาน เพราะการประเมินครั้งนั้น จะเป็นเพียงกระบวนการทบทวนสิ่งที่เราทำ พูดถึงสิ่งที่ดีๆ ผมเคยรู้สึกอย่างนี้ครั้งหนึ่งเมื่อตอนไปสอบ Viva Voce หรือ oral examination ของ Ph.D. ที่อังกฤษ ถ้าเราทำงานอะไรอย่างหมกมุ่นจริงจังมาเป็นเวลานาน มันอดไม่ได้ที่จะเกิดความมั่นใจ เกิด conviction ในงานนั้น ใน field นั้น บางทีอาจจะถึงขนาดในโลกนี้ อาจจะมีไม่กี่คนที่รู้เรื่องนี้ลึกขนาดเรา แม้แต่คนมาประเมินเองก็ตาม เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติจริง มีประสบการณ์จริง รู้จริง รู้จากทั้งมือ หัวใจ และสมอง (hand and heart and head) การมาประเมินก็ไม่ใช่อะไรที่น่ากลัวอีกต่อไป แต่กลับน่าตื่นเต้นว่าเราจะได้อะไรใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์จาก session นี้ ไปขยายงานต่อ เป็นความกระตือรือร้น อยากจะเจอ อยากจะถึงเวลาประเมินเร็วๆ เป็น session ที่ตั้งหน่้า ตั้งตาคอย

การไปประเมินอย่างมีความสุข

ทีนี้จะเป็นการพูดถึงที่เราไปมีประสบการณ์ประเมินผู้อื่น แล้วเรารู้สึกดี ในกรณีไหนบ้าง

ผมเล่าเรื่องที่เคยเขียนไปแล้วครั้งหนึ่ง เรื่อง "อภิชาตศิษย์" ซึ่งคิดว่าเป็นประสบการณ์การเป็นครูที่ผมน่าจะจำไปตลอดชีวิต ผมเกิดข้อคิดขึ้นมาว่า ในงานของเราที่ต้องประเมิน ตัดสินผู้อื่นตลอดเวลา ทั้งๆที่เราก็ไม่ได้ชอบอะไรเรื่องการจะไป judge คนอื่นนั้น ที่จริงในอีกมุมหนึ่ง มันก็เป็นงานที่เราเองมีอภิสิทธิ์อย่างไม่น่าเชื่อ ที่จะได้มาอยู่ ณ จุดที่สามารถมองเห็นการเติบโตของคนอย่างเต็มศักยภาพได้

ผมคิดว่าทุกๆครั้งที่เราไปประเมินใคร ถ้าเราตั้งมุมมองไว้ก่อนว่า วันนี้ เราจะได้มีโอกาสเห็นคนทำงานจริง เห็นคนเติบโตจากการทำงาน เติบโตทั้งวุฒิภาวะ ทั้งสมรรถภาวะ และมีบางครั้ง เห็นแม้กระทั้งการเติบโตทางจิตวิญญาณ เหมือนอย่างที่ผมได้ประสบมากับการเห็นนักศึกษาแพทย์ของผม แสดงความรัก ความปราถนาดีกับคนไข้ได้อย่างงดงาม ต่อหน้าต่อตา สิ่งเหล่านี้ทำให้อาชีพครูของผมมีความหมาย และรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เป็นครู โชคดีที่ได้มีส่วนในการเป็นพยานการเติบโตของหมอน้อยๆเหล่านี้ ผมคิดว่าคนที่ไปทำหน้าที่ประเมินทุกคน สามารถมีความสุขเพิ่มขึ้นได้หลายระดับทีเดียว ถ้าสามารถเก็บเกี่ยวเรื่องทำนองนี้จากงานประจำของตนเองได้

เพื่อนร่วมกลุ่มเล่าว่า ตนเองเคยมีความสุขมากๆขณะไปประเมินเมื่อ "ผู้ถูกประเมินฟังเราดี"

ประเด็นนี้ก็น่าสนใจมาก เพราะ เวลาเราถูกประเมิน เราก็บอกว่ามีความสุขเมื่อผู้ประเมินฟังเราเยอะๆ ปรากฏว่าการฟังก็ยังทำให้เกิดผลเช่นเดียวกันแม้่แต่กับตัวผู้ไปประเมินด้วย เธอชี้แจงว่า เวลาเราไปประเมินแล้วคนที่ถูกประเมินตั้งใจฟัง มันมีบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ทำให้เราตั้งอกตั้งใจประเมินมากขึ้น และเกิดความสัมพันธ์อันดี และตั้งใจที่จะแนะนำมากขึ้น ไม่เกร็งเกินไป

การไปประเมินเป็นงานที่ท้าทายไม่น้อย ตรงนี้่เป็น trade-trick อีกประการที่เล่าในวง ถ้าเรามองเป็น "ความท้าทาย" ที่จะช่วยพัฒนา เป็นกระบวนการที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในที่นี้ก็คือระหว่างคนทำโปรเจค และเราที่ไปช่วยเรื่องกำกับทิศทาง ทำอย่างไรกระบวนการ tune in นี้ถึงจะเกิดขึ้นได้อย่างแนบเนียน และประสบความสำเร็จ ก็ช่วยให้ประสบการณ์ตรงนี้ของผู้ประเมินมีความหมายมากทีเดียว

=======================================================

ทั้งหมดนี้เป็นสินค้าตัวอย่างของ 1 ใน 5 กลุ่มที่มาร่วม workshop ด้วยกัน และแม้แต่ในกลุ่มของผมเองก็ยังไม่ได้เล่าหมดทุกเรื่อง เพราะมันเยอะมาก รวมความแล้ว เมื่อเอาเรื่องเล่า ประสบการณ์ตรงมาแลกเปลี่ยนกัน กระบวนการอันเรียบง่ายกลับสามารถเปิดโลกทรรศน์มุมมองกิจกรรมการประเมิน ประโยชน์ และวัตถุประสงค์ของการประเมินได้มากทีเดียว หลายๆเรื่องที่ได้ฟังจากกิจกรรมนี้ นำไปคิด นำไปใช้ได้มากมาย ต้องขอขอบพระคุณผู้เข้าร่วมทุกคน ร่วมทั้งกระบวนกร ที่ทำให้ได้ความรู้มากจริงๆจากกิจกรรมนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 222201เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อาจารย์สกลครับ วันนี้ตอนบ่าย หนังสือเรื่องเล่าเบาหวาน 8 เล่มและ การจัดการความรู้ของโรงเรียนเพลินพัฒนา 1 เล่ม ถูกจัดลงกล่องและนำไปส่งที่ไปรษณีย์แล้วครับ

และหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นสื่อ ให้ นศพ. ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนของอาจารย์ครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ในฐานะที่เป็น นักวิชาการ ด้าน การวัดและการประเมินผล ก็เลยต้องขอชะแว๊บเข้ามาอ่านนะครับ ขอเรียนถามท่านอาจารย์นะครับ

1. เกณฑ์ ของเมืองนอกนั้น เวลาที่จะวัด จะประเมินผล ดูที่ criteria ใช่หรือไม่ครับ นอกเหนือไปจากนี้ ยังอาศัยสิ่งใดประกอบอีกบ้าง? กำลังรออ่านต่อนะครับ

2.สำหรับเมืองไทยเรานั้น เวลาที่จะวัดจะประเมินผล ดูที่ ใครที่เลีย ด้วยหรือเปล่าครับ?

3. ใครที่เลีย นั้น มีผลต่อการวัดและการประเมินผล ด้วยใช่หรือไม่ครับ?

เมื่อมี ใครที่เลีย ดี ย่อมเกิด การประเมิน/ถูกประเมิน อย่างมีความสุข (กวินคิดว่า การวัดและการประเมินผลของไทย นั้นคงดูที่ เลียที่ใคร  เอ้ย ใครที่เลีย

ฉะนั้น ถ้า ใครที่เลีย ดี ก็ย่อมส่งผลต่อ โครงการ และส่งผลต่อการ ถูกประเมิน ด้วยใช่หรือไม่ครับ?   

ฉะนั้น ถ้า ใครที่เลีย ดี ก็ย่อมส่งผลต่อ โครงการ และส่งผลต่อการ ถูกประเมิน ด้วยใช่หรือไม่ครับ?  สมมติว่า กวินจะทำโครงการ กิจกรรมจิตอาสา ก็ต้องหา ใครที่เลียดี ก่อนเป็นอันดับแรกใช่หรือไม่ครับ?

อ.ธวัชครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับผม สัญญาว่าจะนำไปทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ

คุณกวิน P ครับ

สวัสดีครับ ขอบคุณที่กรุณามาเยี่ยมเยียน

ผมคงจะไม่สามารถ generalize ว่า "เมืองนอก" เขาทำกันอย่างไรทั้งหมดหรอกนะครับ เอาแค่ที่เคยเจอ ซึ่งเป็นไม่กี่ตัวอย่าง (หนึ่งในล้าน) ของกิจกรรมการประเมินที่เกิดขึ้น

สำหรับระบบบางระบบ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล หรือฟุตบอลลีค ที่อังกฤษมีเกณฑ์ มีแบบฟอร์มค่อนข้างชัดเจน กรอกกันหน้ามืดไปเลย (ฟุตบอลไม่ต้องกรอก รู้ว่าได่้เสีย ได้ promote หรือ demote ตั้งแต่ก่อนจบ season ก็มี)

ในระบบการศึกษานั้น นอกเหนือจากบางมิติที่เป็น criteria-based ยังมีการประเมิน performance ประกอบด้วย ซึ่ง criteria เป็นเชิงพรรณนา (แปลว่า เป็น semi-subjective) เพราะคุณภาพบัณฑิตหลายมิติ ไม่สามารถวัดได้เป็น absolute objective อาทิ คุณธรรม จริยธรรม (จะว่าไป ถ้าเป็นการยุติธรรมต่อวงการฟุตบอล การประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรมก็มีเกณฑ์มาตรฐาน ที่อาศัยคณะกรรมการ และอาศัย semi-subjective criteria เหมือนกัน)

ผมคิดว่าคำว่า criteria อาจจะกว้างไปนิด (รึเปล่า?) อาจจะเป็น objective criteria และ subjective criteria น่าจะตรงกับคำถามต่อเนื่องมากกว่า

ส่วนคำถามเรื่องเลียนั้น ผมอยากจะขอคำขยายความและตัวอย่างก่อนจะให้ความเห็นนะครับ ไม่อยากตีความเอาเอง

ดิฉันมีโอกาส coaching น้องพยาบาลใหม่ 2 คน..ที่จริงเธอมีข้อบกพร่องเล็กน้อย.แต่ถึงเวลาต้องประเมินดิฉันบอกกับหัวหน้าว่า..น้องเก่งทั้ง 2 คน..เธอทั้ง 2 คนได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าเวรก่อนใครทันทีค่ะ..เวลา..จะลบข้อบกพร่องเหล่านั้นค่ะ..

สวัสดีครับ คุณคุณลดา P

ผมรู้สึกว่า ที่จริงๆไม่ใช่เวลาที่เป็นตัวลบข้อบกพร่องหรอกครับ แต่คนต่างหากที่เป็นคนลบช้อบกพร่องของตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลา

ถ้าหาก "คนไม่ใช้เวลา" แก้ไขปรับปรุงตนเอง หรือแค่ "รอเวลา" นานเท่านานก็อาจจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท